ถ้าหากชาวพุทธทั้งหลาย ได้พิจารณา พระบาลีพุทธพจน์ จาก ปัจจัยสูตร อย่างรอบคอบ ด้วยปัญญาอันชอบ
ท่านอาจได้พบเห็นอะไรบางอย่างที่ไม่ปกติ ในถ้อยคำชั้นสาวก ซึ่งปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ กถาวัตถุ ก็เป็นได้
ข้อความในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึง ธรรม ๒ อย่าง คือ
๑ ปฏิจจสมุปบาท และ ๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม(ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น)
ในกรณีของ ปฏิจจสมุปบาทนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า .........
(๑) พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่
(๒) เป็นความจริงแท้(ตถตา) ความไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา) ความไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญถตา) มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุ
อันนั้น(อิทัปปัจจยตา)
ส่วนกรณีของ ปฏิจจสมุปปันนธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า .........
(๑) ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
(๒) ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...อวิชชา
เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
ดังนั้น ข้อความ อันเป็นพระพุทธดำรัส จากพระสูตรนี้ จึงมีความชัดเจนอย่างมากว่า .......
ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง สิ่งซึ่ง ๑ เป็นความจริงแท้(ตถตา) ๒ เป็นความไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา)
๓ เป็นความไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญถตา) และ ๔ มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น(อิทัปปัจจยตา)
และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ไม่ว่า พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ........... ก็ยังดำรงอยู่ !
ส่วน ปฏิจจสมุปปันนธรรม กลับเป็นไปในทางตรงข้าม คือ เป็นสิ่งที่
๑ มีความสิ้นไป ๒ เสื่อมไป ๓ คลายไป และ ๔ ดับไปเป็นธรรมดา
สอดคล้องกับ คำของท่านพระสารีบุตร ซึ่งกล่าวยืนยันว่า
ปฏิจสมุปปันนธรรม หมายถึง อุปาทานขันธ์ ๕
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับชาวพุทธเถรวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิลังกาวงศ์ ก็คือ
คนเหล่านี้ ไม่สามารถแยกแยะ ปฏิจจสมุปบาท ออกจาก ปฏิจสมุปปันนธรรม ได้
โดยเข้าใจผิดไปว่า สองสิ่งนี้ เป็น ธรรมอันเดียวกัน ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาทั้ง พระพุทธดำรัส
และคำของท่านพระสารีบุตร ย่อมได้ความที่ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ปฏิจจสมุปบาท คือ กฏ
ส่วน ปฏิจจสมุปปันนธรรม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายใต้ กฏ อันนั้น
โดยที่ กฏ ดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ว่าอย่างไรๆ มันก็จักดำรงอยู่อย่างนั้น
โดยที่มันคือ ความจริงแท้(ตถตา) หมายถึง มันเป็นอย่างนั้นเอง โดยไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญตถตา)
มิหนำซ้ำ ยังตรัสว่า มันไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา) ซึ่งตรงข้ามกับ สิ่งที่อยู่ภายใต้ กฏ โดยตรัสว่า
สิ่งเหล่านั้น ย่อมมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และ ดับไปเป็นธรรมดา
ยังมีใครอ่านพระสูตรนี้ แล้วยังเข้าใจว่า ปฏิจจสมุปบาท = ปฏิจจสมุปปันนธรรม อีกหรือไม่ครับ ?
***************************************************************************
ทีนี้ เราลองมาพิจารณา ถ้อยคำในระดับ สาวก กันดูบ้าง โดยอ้างความจาก ปฏิจจสมุปบาทกถา
คัมภีร์ กถาวัตถุ แต่งโดยท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ในราว ศตวรรษที่ ๓ เมื่อครั้ง ตติยสังคายนา
ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้จดบันทึกการสอบไล่ จับสึกพระ ที่ท่านเห็นว่าเป็นพวกอัญญเดียรถีย์ปลอมบวช
แต่ในกรณีนี้ ผมเห็นว่า แปลก เหลือเกิน ................
เพราะเมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ผมกลับเห็นว่า ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ เป็นฝ่ายผิด !
ถ้าสังเกตให้ดีๆ ฝ่ายปรวาที(ฝ่ายผู้ถูกสอบไล่) เขาได้ถามแย้งว่า ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ
เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ อสังขตะ ใช่หรือไม่ ? ท่านก็ตอบรับว่า ........ ถูกแล้ว
จากนั้น ฝ่ายปรวาที ได้ยก ปัจจัยสูตร ขึ้นอ้าง แล้วถาม ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ว่า พระสูตรนี้มีอยู่จริง ใช่หรือไม่ ?
ท่านก็ตอบรับว่า ......... ถูกแล้ว
ดังนั้น ฝ่ายปรวาที จึงสรุปความว่า ถ้าอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ
คราวนี้ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ไม่มีคำตอบ นะครับ
แต่สิ่งที่ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ กระทำในลำดับต่อมา กลับแปลก อย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือ
ท่านได้พยายามไล่ถามฝ่ายปรวาที ด้วยตรรกะ ที่อ่อน และ ไร้สาระเต็มที เพราะคำถามทุกๆ คำของท่าน
ล้วนตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ผิดว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นสิ่งเดียวกับ ปฏิจจสมุปบาท !
และยิ่งตามไปพิจารณา คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ในกรณีนี้ ก็ได้พบความเข้าใจที่ผิดพลาด
ที่ไม่ต่างไปจากกันเลย นั่นจึงหมายความว่า ความเข้าใจ และ คำอธิบาย ในระดับสาวก
เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรม ระดับ โลกุตตระ อันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
กำลังมีปัญหาอย่างรุนแรง และ ร้ายแรงยิ่ง !
หากถามว่า ใช่ผมคนเดียวหรือไม่ ที่เห็นว่า
ความเข้าใจ หรือ ระบบตรรกะ ของ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ มีปัญหา
ก็ต้องตอบว่า .......... เปล่า
ตัวอย่างเช่น คุณ เสถียร โพธินันทะ ก็เห็นว่า เรื่องนี้ เป็นปัญหาเช่นกัน ท่านทั้งหลาย
สามารถพิจารณารายละเอียดได้จาก ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดย เสถียร โพธินันทะ นะครับ
หรือไม่ ท่านก็ลอง พิจารณา ความเห็นของ คุณ สุชีพ ปุญญานุภาพ ใน พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ดูก็ได้ว่า
หลายๆ กรณี เป็นการจับสึก ด้วยเหตุผลด้านการใช้ภาษา ซึ่งไม่มีความสลักสำคัญอะไรเลย
ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่แปลก ที่คุณ เสถียร จะกล่าววิจารณ์ว่า เรื่อง จับสึกเดียรถีย์ หกหมื่นรูปในปกรณ์บาลี เป็นเพียงแค่
เกมการเมืองของคณะสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง ในการจัดการกับคณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ที่มีความเห็นแตกต่างไปจากตน เท่านั้นเอง
ในเมื่อ ฝ่ายบ้านเมืองให้การหนุนหลัง ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ
ย่อมถือว่า เป็นคราวซวย ของคณะสงฆ์ปุพพเสลิยะ และ มหิสาสกะ เอง
ที่ต้องสึกหาลาเพศออกไป ด้วยเหตุผลแปลกๆ แบบนี้ !
***************************************************************************
ข้อความทั้งหมด ในกระทู้นี้ เฉพาะในส่วนที่เป็นความเห็นของผม
ย่อมไม่มีความมุ่งหมาย ที่จะให้ท่านทั้งหลายเชื่อตาม นะครับ
แต่จุดประสงค์หลัก ก็คือ หวังว่า ท่านทั้งหลาย จะพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ
อย่างได้หลงเชื่อ อัตตโนมัติของผู้ใดง่ายๆ แม้ว่านั่นจะหมายถึง ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก็ตาม
เพราะถึงอย่างไรๆ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้า
ดังนั้น เมื่อใดก็ตาม ถ้าพบว่า ท่านกล่าวขัด หรือ แย้ง กับพระพุทธดำรัส
เราในฐานะชาวพุทธเถรวาท ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อตาม นี่ครับ
ธรรมสวัสดี
ปฏิจจสมุปปันนธรรม กับ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ
ท่านอาจได้พบเห็นอะไรบางอย่างที่ไม่ปกติ ในถ้อยคำชั้นสาวก ซึ่งปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ กถาวัตถุ ก็เป็นได้
ข้อความในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึง ธรรม ๒ อย่าง คือ
๑ ปฏิจจสมุปบาท และ ๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม(ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น)
ในกรณีของ ปฏิจจสมุปบาทนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า .........
(๑) พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่
(๒) เป็นความจริงแท้(ตถตา) ความไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา) ความไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญถตา) มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุ
อันนั้น(อิทัปปัจจยตา)
ส่วนกรณีของ ปฏิจจสมุปปันนธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า .........
(๑) ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
(๒) ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...อวิชชา
เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
ดังนั้น ข้อความ อันเป็นพระพุทธดำรัส จากพระสูตรนี้ จึงมีความชัดเจนอย่างมากว่า .......
ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง สิ่งซึ่ง ๑ เป็นความจริงแท้(ตถตา) ๒ เป็นความไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา)
๓ เป็นความไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญถตา) และ ๔ มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น(อิทัปปัจจยตา)
และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ไม่ว่า พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ........... ก็ยังดำรงอยู่ !
ส่วน ปฏิจจสมุปปันนธรรม กลับเป็นไปในทางตรงข้าม คือ เป็นสิ่งที่
๑ มีความสิ้นไป ๒ เสื่อมไป ๓ คลายไป และ ๔ ดับไปเป็นธรรมดา
สอดคล้องกับ คำของท่านพระสารีบุตร ซึ่งกล่าวยืนยันว่า
ปฏิจสมุปปันนธรรม หมายถึง อุปาทานขันธ์ ๕
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับชาวพุทธเถรวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิลังกาวงศ์ ก็คือ
คนเหล่านี้ ไม่สามารถแยกแยะ ปฏิจจสมุปบาท ออกจาก ปฏิจสมุปปันนธรรม ได้
โดยเข้าใจผิดไปว่า สองสิ่งนี้ เป็น ธรรมอันเดียวกัน ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาทั้ง พระพุทธดำรัส
และคำของท่านพระสารีบุตร ย่อมได้ความที่ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ปฏิจจสมุปบาท คือ กฏ
ส่วน ปฏิจจสมุปปันนธรรม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายใต้ กฏ อันนั้น
โดยที่ กฏ ดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ว่าอย่างไรๆ มันก็จักดำรงอยู่อย่างนั้น
โดยที่มันคือ ความจริงแท้(ตถตา) หมายถึง มันเป็นอย่างนั้นเอง โดยไม่เป็นอย่างอื่น(อนัญญตถตา)
มิหนำซ้ำ ยังตรัสว่า มันไม่คลาดเคลื่อน(อวิตถตา) ซึ่งตรงข้ามกับ สิ่งที่อยู่ภายใต้ กฏ โดยตรัสว่า
สิ่งเหล่านั้น ย่อมมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และ ดับไปเป็นธรรมดา
ยังมีใครอ่านพระสูตรนี้ แล้วยังเข้าใจว่า ปฏิจจสมุปบาท = ปฏิจจสมุปปันนธรรม อีกหรือไม่ครับ ?
***************************************************************************
ทีนี้ เราลองมาพิจารณา ถ้อยคำในระดับ สาวก กันดูบ้าง โดยอ้างความจาก ปฏิจจสมุปบาทกถา
คัมภีร์ กถาวัตถุ แต่งโดยท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ในราว ศตวรรษที่ ๓ เมื่อครั้ง ตติยสังคายนา
ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้จดบันทึกการสอบไล่ จับสึกพระ ที่ท่านเห็นว่าเป็นพวกอัญญเดียรถีย์ปลอมบวช
แต่ในกรณีนี้ ผมเห็นว่า แปลก เหลือเกิน ................
เพราะเมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ผมกลับเห็นว่า ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ เป็นฝ่ายผิด !
ถ้าสังเกตให้ดีๆ ฝ่ายปรวาที(ฝ่ายผู้ถูกสอบไล่) เขาได้ถามแย้งว่า ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ
เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ อสังขตะ ใช่หรือไม่ ? ท่านก็ตอบรับว่า ........ ถูกแล้ว
จากนั้น ฝ่ายปรวาที ได้ยก ปัจจัยสูตร ขึ้นอ้าง แล้วถาม ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ว่า พระสูตรนี้มีอยู่จริง ใช่หรือไม่ ?
ท่านก็ตอบรับว่า ......... ถูกแล้ว
ดังนั้น ฝ่ายปรวาที จึงสรุปความว่า ถ้าอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ
คราวนี้ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ไม่มีคำตอบ นะครับ
แต่สิ่งที่ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ กระทำในลำดับต่อมา กลับแปลก อย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือ
ท่านได้พยายามไล่ถามฝ่ายปรวาที ด้วยตรรกะ ที่อ่อน และ ไร้สาระเต็มที เพราะคำถามทุกๆ คำของท่าน
ล้วนตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ผิดว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นสิ่งเดียวกับ ปฏิจจสมุปบาท !
และยิ่งตามไปพิจารณา คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ในกรณีนี้ ก็ได้พบความเข้าใจที่ผิดพลาด
ที่ไม่ต่างไปจากกันเลย นั่นจึงหมายความว่า ความเข้าใจ และ คำอธิบาย ในระดับสาวก
เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรม ระดับ โลกุตตระ อันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
กำลังมีปัญหาอย่างรุนแรง และ ร้ายแรงยิ่ง !
หากถามว่า ใช่ผมคนเดียวหรือไม่ ที่เห็นว่า
ความเข้าใจ หรือ ระบบตรรกะ ของ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ มีปัญหา
ก็ต้องตอบว่า .......... เปล่า
ตัวอย่างเช่น คุณ เสถียร โพธินันทะ ก็เห็นว่า เรื่องนี้ เป็นปัญหาเช่นกัน ท่านทั้งหลาย
สามารถพิจารณารายละเอียดได้จาก ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดย เสถียร โพธินันทะ นะครับ
หรือไม่ ท่านก็ลอง พิจารณา ความเห็นของ คุณ สุชีพ ปุญญานุภาพ ใน พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ดูก็ได้ว่า
หลายๆ กรณี เป็นการจับสึก ด้วยเหตุผลด้านการใช้ภาษา ซึ่งไม่มีความสลักสำคัญอะไรเลย
ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่แปลก ที่คุณ เสถียร จะกล่าววิจารณ์ว่า เรื่อง จับสึกเดียรถีย์ หกหมื่นรูปในปกรณ์บาลี เป็นเพียงแค่
เกมการเมืองของคณะสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง ในการจัดการกับคณะสงฆ์ฝ่ายอื่น ที่มีความเห็นแตกต่างไปจากตน เท่านั้นเอง
ในเมื่อ ฝ่ายบ้านเมืองให้การหนุนหลัง ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ
ย่อมถือว่า เป็นคราวซวย ของคณะสงฆ์ปุพพเสลิยะ และ มหิสาสกะ เอง
ที่ต้องสึกหาลาเพศออกไป ด้วยเหตุผลแปลกๆ แบบนี้ !
***************************************************************************
ข้อความทั้งหมด ในกระทู้นี้ เฉพาะในส่วนที่เป็นความเห็นของผม
ย่อมไม่มีความมุ่งหมาย ที่จะให้ท่านทั้งหลายเชื่อตาม นะครับ
แต่จุดประสงค์หลัก ก็คือ หวังว่า ท่านทั้งหลาย จะพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ
อย่างได้หลงเชื่อ อัตตโนมัติของผู้ใดง่ายๆ แม้ว่านั่นจะหมายถึง ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก็ตาม
เพราะถึงอย่างไรๆ ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้า
ดังนั้น เมื่อใดก็ตาม ถ้าพบว่า ท่านกล่าวขัด หรือ แย้ง กับพระพุทธดำรัส
เราในฐานะชาวพุทธเถรวาท ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อตาม นี่ครับ
ธรรมสวัสดี