การตรวจไวรัสอีโบล่านั้นทำไมต้องลงทุนด้านความปลอดภัยของห้องแล็บด้วย

เห็นช่วงนี้พูดถึงกันมากเรื่อง biosafety level 3 และ 4 (ฺBSL-3,-4)  แถมชุดตรวจราคาเป็นล้านๆ
เลยสงสัยว่าในความเป็นจริงมันจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอครับ  
หรื่อว่าเป็นเรื่องฉาบฉวยเท่านั้น  สำหรับตั้งเป็นประเด็นสำหรับของบประมาณมหาศาล

ลองคิดดูหากมันระบาดจริงในระดับชุมชน  ไม่ใช่แค่คนสองคนที่สนามบินสุวรรณภูมิที่จะทำอะไรๆเป็น"พิเศษ"ได้
ถ้ามีคนไข้ขึ้นมาในโรงพยาบาลจริงรับรองมันจะมีปัญหาตั้งแต่ป้อมยามหน้าประตูโรงพยาบาลไปจนกระทั่งห้องดับจิตท้าย รพ.
โดนความเสี่ยงกันถ้วนหน้าถ้าไม่มีมาตรการรัดกุมมารองรับจริงๆ

ต่อให้เป็นประเด็นห้องแล็บเองก็ตาม   เวลาหมอเจาะเลือดจะส่งตรวจอีโบล่าก็เจาะแค่ครั้งสองครั้งเท่านั้น  เท่านั้นจริงๆรู้ผลก็จบ
แต่คนไข้ต้องเจาะเลือดส่งอย่างอื่นอีกเป็นลิตรๆ ทั้ง Routine CBC, Blood chem, UA, CSF, Bacterial culture  เจาะกันวันละหลายครั้ง
แถมต้อง differential แยกโรคอื่นทั้ง dengue, lepto, rickettsia, salmonella, HIV, HBV, etc.
ซึ่งแล็บพวกนี้ไม่มีทางขนไปไว้ใน BSL-3, -4 ได้   แถมส่งไปตรวจที่อื่นก็ไม่ได้เพราะต้องใช้ผลทันทีสำหรับรักษาคนไข้
ตรวจแล็บพวกนี้ทั้งปั่น ทั้งดูด ทั้งไถ ทั้งเปิดฝา tube กันเป็นว่าเล่นในห้องแล็บระบบเปิดธรรมดาทั้งสิ้น
ก็ลองคิดดูแล้วกันว่าใครกันแน่ที่เสี่ยง   คนกลุ่มเล็กๆที่ทำเฉพาะอีโบล่า  หรือคนกลุ่มใหญ่ๆที่ทำงานรองรับทั้งระบบ

ว่าแต่ว่า ไอ้การทำ PCR เชื้ออีโบล่า  หรือแม้แต่การตรวจแอนติเจนแอนติบอดี   มันก็เอา sample ไปทำให้เชื้อตายก่อนได้อยู่แล้ว
จะเอาไปต้ม ใส่สาร inactivate หรือเอาไปฉายรังสีก็ได้   การทำงานสำหรับวินิจฉัยโรคธรรมดาไม่มีใครลงทุนเอาเชื้อไป culture หรอก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่