ตัวตันหา โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ส่วนไหนของขัณฑ์ ๕

ทราบว่า ขัณฑ์ ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๑. โดยส่วนตัวคิดว่า ตัวตันหา ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ  อยู่ในส่วนของ เจตสิก ที่ทำงานร่วมกันระหว่าง สัญญา  เวทนา สังขาร  
โดยมีวิญญานเป็นตัวรับรู้ใช่หรือไม่ครับ

๒. โดยเมื่อพิจารณาในสายปฏิจสมุทบาท นั้น พบว่า เพราะมีเวทนา จึง เกิด ตันหา หรือเมื่อมีเวทนาแล้ว สัญญา และสังขาร ก็ปรุงต่อไปเป็นตัวตันหาใช่หรือไม่ครับ

๓. เมือพิจารณาการปฏิบัติ สติปัฐฐานสี่  เมื่อมีสติระลึกรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ฐานใดฐานหนึ่งนั้น
     การระลึกรู้ธรรม นั้น สามารถระลึกตัวตันหาได้หรือไม่ครับ เช่น รู้สึกอยากกิน  อยากนอน  อยากเที่ยว อยากรวย   ความโกรธ พยาบาท เป็นต้นครับ
     และถือว่าเป็นการปฏิบัติหัวข้อ ธรรมานุสติหรือไม่ครับ หรือควรปฏิบัติอย่างไรดีครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
ท่าน จขกท ถามว่า
ตัวตันหา โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ส่วนไหนของ ขัณฑ์ ๕

ผม เสนอ ให้ปรับคำถามเป็น
ตัวตันหา โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ส่วนไหนของ อุปาทานขัณฑ์ ๕

ขอปรับคำถามนิดหน่อย ( แต่เรื่องมันยาวมาก ) แล้ว จึงมา สนทนาธรรมกัน ครับ

เริ่มที่ อุปทานในรูป, อุปาทานในเวทนา, อุปาทานในสัญญา, อุปาทานในสังขาร, อุปาทานในวิญญาณ
อุปาทานเหล่านี้ ไล่ศึกษากันได้ในเรื่อง ปฎิจจสมุปบาท
ซึ่ง ทุกท่าน ก็ทราบกันพอสมควรแล้วว่า เรื่องมันเป็นอย่างไร

ผม สรุปให้ว่า จขกท ต้องการทราบ ทุกข์ และ เหตุให้เกิดทุกข์ ครับ
ซึ่ง จำเป็นต้อง ศึกษา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ศึกษาแล้ว ก็จะได้คำตอบ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

อุปาทานขันธ์ 5 คือ ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหา อันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปรกติเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นๆ

แล้ว ก็ต้องไป ศึกษา พีชสูตร
ที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการเปรียบเทียบ
จขกท ควรไปศึกษาพระสูตรนี้ด้วยตนเอง
แต่ ตอนนี้ ผม สรุป เสนอให้ก่อนครับ ( ตามที่ผมเข้าใจ, ท่าน จขกท เห็นเหมือนหรือต่างจากผม ก็ได้ครับ ทางใคร ทางมัน )
คือ

พืช 5 ชนิด เมื่อได้ดิน, น้ำ, อาหาร เหมาะสม
พืช 5 ชนิดนั้น ก็จะ งอกงาม เจริญได้ดี ( อุปาทานขันธ์ 5 หรือ ทุกข์เกิดต่อเนื่อง นั่นแหละ )

ดิน คือ การหยั่งลงของวิญญาณ ( รู้ ) ใน รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร ( จะไม่เป็นอุปาทานใน พระอรหันต์ ครับ )

น้ำ คือ ทุกขสมุทัยอริยสัจ หรือ เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา และ ตัวประกอบของมัน ตาม ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ( พระอรหันต์ ไม่รดน้ำ อีกแล้ว )

อาหาร คือ อาหาร 4 ศึกษาได้ที่ อาหารสูตร แต่ สรุปสั้นๆได้ว่า รูปอาศัยอาหาร, เวทนาอาศัยผัสสะ, วิญญาณอาศัยมโนสัญเจตนาหาร, วิญญาณาหารอาศัยนามรูป ( นามรูปเป็นปัจจัยแต่วิญญาณ, วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป ตาม มหานิทานสูตร )

มหานิทาน สรุปในเรื่อง เหตุเกิดทุกข์จากการเสพกาม ไว้ดังนี้ ครับ
ยึดถือในปัจจบัน
พอใจใน ตาหูจมูกลิ้นกาย รุปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้สำเร็จในสภาพเที่ยงแท้
ยินดีในการกระทบ เกิด วิญญาณ ( ตาหูจมูกลิ้นกายใจ )
ยินดีในเวทนา
ทะยานอยาก ในเวทนา ( กามตัณหา )
ทะยานอยาก เสพเป็นเวทนาอันน่าพอใจ ( ภวตัณหา )
ทะยานอยาก ไม่อยากเป็นเวทนาอันไม่น่าพึงพอใจ ( วิภวตัณหา )
อาศัยความทะยานอยาก จึงเกิดความ แสวงหา
อาศัยความแสวงหา จึงเกิด ลาภ
อาศัยลาภ จึงเกิด ความตกลงใจ
อาศัยความตกลงใจ จึงเกิด การรักใคร่พึงใจ
อาศัยความรักใคร่พึงใจ จึงเกิด ความพะวง
อาศัยความพะวง จึงเกิด ความยึดถือ
อาศัยความยึดถือ จึงเกิด ความตระหนี่
อาศัยความตระหนี่ จึงเกิด ความป้องกัน
อาศัยความป้องกัน จึงเกิด อกุศลธรรมทั้งหลายเช่น ทะเลาะ แย่งชิง วิวาท

ตัวตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ ที่ จขกท ถามนั้น
แสดงตัวออกมาให้เห็น เป็น ผล คือ อกุศลธรรมทั้งหลาย ตามตัวอย่างข้างบน ครับ
คือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ นั่นเอง

ส่วน เหตุ นั้น คือ ตัณหา และ ตัวประกอบของมัน

สรุปว่า
เหตุ ไม่ได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของ ผล
แต่ ผล เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย เหตุ ครับ

นี่คือ การเห็นสภาวะธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ขั้นต้นที่ สัพพาสวสังวรสูตร ว่า

อาสวะที่พึงละได้เพราะการเห็น
รู้ว่า ธรรมที่ไม่ควรทำไว้ในใจ คือ กามาสวะ, ภวาสวะ, อวิชชาสวะ ( เรื่องยาวเลยละครับ )
รู้ว่า ธรรมที่ควรทำไว้ในใจ คือ นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับทุกข์, นี้ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์
สรุปง่ายๆคือ
น้อม ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ไว้ในใจ นั่นเองครับ
ต้อนนี้ เรากำลังน้อม ในเรื่อง นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์ อยู่


ก็ ตอบ คำถาม จขกท ได้ว่า

ตัวตันหา และ ส่วนประกอบ เป็น เหตุ ให้เกิด ทุกข์ คือ อุปาทานขัณฑ์ ๕
ความหลงในอวิชชา ( โมหะ ) ไม่ควรทำไว้ในใจ
ความโลภ ( ผล จาก เหตุ คือ ตัณหา ) ไม่ควรทำไว้ในใจ
ควาโกรธ ( ผล จาก เหตุ คือ ไม่ได้ดั่งที่โลภไว้ ) ไม่ควรทำไว้ในใจ

อาการ ทำไว้ในใจ คือ
มโนธาตุ เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
เมื่อถูกอวิชชาสัมผัส ย่อม เกิดตัณหา และ อุปาทานในขันธ์ 5

รูปธาตุ เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
เมื่อ มีวิญญาณพัวพันด้วยราคะ ในรูปธาตุ
อุปาทานในรูป ย่อมปรากฎ

เวทนาธาตุ เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
เมื่อ มีวิญญาณพัวพันด้วยราคะ ใน เวทนาธาตุ
อุปาทานในเวทนา ย่อมปรากฎ

สัญญาธาตุ เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
เมื่อ มีวิญญาณพัวพันด้วยราคะ ใน สัญญาธาตุ
อุปาทานในสัญญา ย่อมปรากฎ

สังขารธาตุ เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
เมื่อ มีวิญญาณพัวพันด้วยราคะ ใน สังขารธาตุ
อุปาทานในสังขาร ย่อมปรากฎ

แล้ว ก็มาทำการ ทำไว้ในใจ อีก คือ
นี้ความดับทุกข์, นี้ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ความดับทุกข์, นิโรธ คือ ผล
ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ เหตุ

พวกเรา ทำได้ที่ เหตุ ครับ
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นั้น
ทุกท่าน ก็ทราบเรื่อง นี้ดีพอควร เช่นกัน
ก็ทำกันไปตามนั้น

จุดสำคัญอยู่ที่
ท่าน ทำอะไรก็ตาม
มันก็วนเวียนอยู่ใน อุปาทานขันธ์ 5 นั่นแหละ
ที่ ตาเห็นรูป อยู่ในปัจจุบันนี้
อุปาทานในสังขาร กำลัง เล่นกันอยู่ ( ไม่ว่า แต่ละท่าน จะใช้ กรรมวิธีอะไร ก็แล้วแต่ )

ทางออกจากเรื่อง อุปาทาน มี ทางเดียว คือ
มรรค หรือ เส้นทางที่ท่านกำลังปฎิบัติ ต้อง
ไม่กำหนัด ใน อารมณ์ ( ที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารณ์ และ วิญญาณที่เกิดต่อเนื่อง และ เวทนาที่เนื่องกัน )
ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษ
ทำให้ อุปาทานขันธ์ 5 ไม่พอกพูนต่อไป ( สฬายตนวิภังสูตร, สฬายตนวรรค )

ทำได้เช่นนี้ มรรคที่ท่านปฎิบัติอยู่ ก็จะเป็น อัฎฐังคิกมรรค ซึ่งมี
สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์ ที่เจริญบริบูรณ์
สมถะและวิปัสสนาจะคู่กัน
กำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ( อุปาทานขันธ์ 5)
ละ ธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ( อวิชชา, ตัณหา )
เจริญ ธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ( อริยมรรคองค์ 8 )
ทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ( นิโรธ, นิพพาน )

ปัญหาใหญ่ที่สุด ที่ ท่านผู้สนใจในธรรม ต้องเผชิญ คือ
อาการ ทำไว้ในใจ
ท่านใด ทำ อาการทำไว้ในใจ ได้ ท่านนั้น เห็นธรรม ได้
ท่านใด ทำ อาการทำไว้ในใจ ไม่ได้ ท่านนั้น เห็นธรรม ไม่ได้

กำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ( อุปาทานขันธ์ 5)
คือ หนึ่งขั้น ของ การ เห็นธรรม ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่