อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาโพสต์ใช้มือถือขณะรถติด-รอสัญญาณไฟไม่ผิดกฎหมาย !!
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng วันที่ 8 สิงหาคมว่า
....การที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบาย จับจริง จอมแชต คือการจับกุมผู้ขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้ขับขี่รถและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนทุกคนรวมทั้งจะฝึกให้ผู้ขับขี่รถมีวินัยในการขับขี่รถและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรซึ่งจะช่วยให้การจราจรลดการติดขัดลงได้มาก
.....ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่คงเห็นด้วยอย่างไรก็ดี การปฏิบัติงานหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมาย
.....พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ
.....มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ ฯลฯ (๒๘) “ผู้ขับขี่” หมายความว่า ผู้ขับรถ
.....มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
.......ฯลฯ
.......(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
.....มาตรา๑๕๗ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ (๙) ฯลฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔๐๐ บาทถึง ๑,๐๐๐ บาท
.....เนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่ได้ให้คำนิยาม คำว่า ขับ และ ขับขี่ ไว้ จึงต้องดูความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
.....คำว่า ขับ หมายความว่า บังคับให้ไป, บังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ
.....คำว่า ขับขี่ หมายความว่า สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้
.....เมื่อดูบทบัญญัติของกฎหมายและพจนานุกรมแล้วก็สรุปได้ดังนี้
.....ห้ามไม่ให้ผู้ที่กำลังขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
.....การขับขี่รถก็คือการบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะคือรถเคลื่อนที่ไป
.....ถ้ารถไม่เคลื่อนที่คือจอดอยู่เฉยๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ เช่น รถเสีย จอดรอผู้ที่นัดกันไว้ จอดรอสัณญาณจราจร หรือการจราจรติดขัดจนต้องจอดอยู่กับที่ ย่อมไม่ใช่การขับขี่รถ
.....การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะจอดรถ จึงสามารถกระทำได้เพราะในขณะนั้นไม่ใช่การขับขี่รถ ย่อมไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407685336
น่าจะเป็นบรรทัดฐานให้ยกมาต่อสู้กับข้อหาของตำรวจนะครับ ผมว่าเกินไปจริงๆ รถติดจะทำอะไรกับโทรศัพท์ของตัวเองไม่ได้เลยแบบนี้
ใช้มือถือขณะรถติด-รอสัญญาณไฟไม่ผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng วันที่ 8 สิงหาคมว่า
....การที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบาย จับจริง จอมแชต คือการจับกุมผู้ขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้ขับขี่รถและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนทุกคนรวมทั้งจะฝึกให้ผู้ขับขี่รถมีวินัยในการขับขี่รถและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรซึ่งจะช่วยให้การจราจรลดการติดขัดลงได้มาก
.....ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่คงเห็นด้วยอย่างไรก็ดี การปฏิบัติงานหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมาย
.....พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ
.....มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ ฯลฯ (๒๘) “ผู้ขับขี่” หมายความว่า ผู้ขับรถ
.....มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
.......ฯลฯ
.......(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
.....มาตรา๑๕๗ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ (๙) ฯลฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔๐๐ บาทถึง ๑,๐๐๐ บาท
.....เนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่ได้ให้คำนิยาม คำว่า ขับ และ ขับขี่ ไว้ จึงต้องดูความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
.....คำว่า ขับ หมายความว่า บังคับให้ไป, บังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ
.....คำว่า ขับขี่ หมายความว่า สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้
.....เมื่อดูบทบัญญัติของกฎหมายและพจนานุกรมแล้วก็สรุปได้ดังนี้
.....ห้ามไม่ให้ผู้ที่กำลังขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
.....การขับขี่รถก็คือการบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะคือรถเคลื่อนที่ไป
.....ถ้ารถไม่เคลื่อนที่คือจอดอยู่เฉยๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ เช่น รถเสีย จอดรอผู้ที่นัดกันไว้ จอดรอสัณญาณจราจร หรือการจราจรติดขัดจนต้องจอดอยู่กับที่ ย่อมไม่ใช่การขับขี่รถ
.....การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะจอดรถ จึงสามารถกระทำได้เพราะในขณะนั้นไม่ใช่การขับขี่รถ ย่อมไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407685336
น่าจะเป็นบรรทัดฐานให้ยกมาต่อสู้กับข้อหาของตำรวจนะครับ ผมว่าเกินไปจริงๆ รถติดจะทำอะไรกับโทรศัพท์ของตัวเองไม่ได้เลยแบบนี้