รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร มักจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมเสมอในข้อหาไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย ไม่ว่าติดรถเมล์จอด แซงรถคันอื่น ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา 34 แต่เจ้าหน้าที่มักบอกว่า ผมจับคุณตามมาตรา 35 คือ ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย ซึ่งตามตัวบทกฏหมายมันเขียนไว้อย่างนั้นจริงๆ ไม่มีระบุไว้ว่า เว้นแต่แซงขึ้นหน้ารถอื่นตามมาตรา 34 เพราะมาตรา 35 ระบุประเภทของรถทั้ง 3 ชนิดไว้ชัดเจนครับ
มาตรา ๓๔ ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
(๑) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(๒) ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(๓) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
(๔) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
(๕) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย
มาตรา ๓๕ รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ซึ่งกฎหมายนี้ได้รับการแก้ไขในปี 2535 ในมาตรา 3 แต่รถ 3 ชนิดยังระบุไว้เหมือนเดิมครับ ไม่ปรากฏข้อความใดๆว่ารถทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถแซงได้ตามมาตรา 34 ของ พรบ.รถยนต์ปี 2522 ซึ่งถูกแก้ไขตาม พรบ รถยนต์ปี 2535 เช่นกัน ในมาตรา 6
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของ มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522
"
5) เมื่อผู้ขับขี่รถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย"
ซึ่งบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ตอบว่ารถทั้ง 3 ชนิดสามารถแซงได้ตามมาตรา 34 เช่นกัน แต่ในความเป็นจริงเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติงานบนท้องถนน ไม่ยินยอมเมื่อพบการกระทำผิด เช่น จยย แซงรถเมล์ที่จอดป้าย หรือ รถโดยสารที่ขับแซงรถบรรทุกหนัก รถบรรทุกเปล่าที่ขับแซงรถบรรทุกหนัก รถโดยสารขับหลบกิ่งไม้กันกระจกแตก ครับ
พรบ.จราจรทางบก มาตรา 35ที่แก้แล้วก็ไม่ต่างจากเดิมครับ
มาตรา ๓๔ ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
(๑) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(๒) ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(๓) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
(๔) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
(๕) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย
มาตรา ๓๕ รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ซึ่งกฎหมายนี้ได้รับการแก้ไขในปี 2535 ในมาตรา 3 แต่รถ 3 ชนิดยังระบุไว้เหมือนเดิมครับ ไม่ปรากฏข้อความใดๆว่ารถทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถแซงได้ตามมาตรา 34 ของ พรบ.รถยนต์ปี 2522 ซึ่งถูกแก้ไขตาม พรบ รถยนต์ปี 2535 เช่นกัน ในมาตรา 6
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของ มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522
"5) เมื่อผู้ขับขี่รถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย"
ซึ่งบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ตอบว่ารถทั้ง 3 ชนิดสามารถแซงได้ตามมาตรา 34 เช่นกัน แต่ในความเป็นจริงเจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติงานบนท้องถนน ไม่ยินยอมเมื่อพบการกระทำผิด เช่น จยย แซงรถเมล์ที่จอดป้าย หรือ รถโดยสารที่ขับแซงรถบรรทุกหนัก รถบรรทุกเปล่าที่ขับแซงรถบรรทุกหนัก รถโดยสารขับหลบกิ่งไม้กันกระจกแตก ครับ