สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ขอแชร์ความคิดเห็นนะคะ...
คนไทยส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะมนุษย์แม่ มีมายาคติที่ว่า การบวชของลูกชายจะทำให้ได้ " เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ " ฟังดูเหมือนนิยายแฟนตาซี มีภาพลูกชายในชุดผ้าเหลืองกำลังลอยขึ้นไปบนฟ้า ตัวแม่กำลังโหนชายผ้าเหลืองปลิวไสว หน้าตาอิ่มบุญ ลอยตามขึ้นไปด้วย...555 ขออภัยค่ะ นี่เป็นภาพในมโนของเราจริงๆตั้งแต่ได้ยินคำว่า เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์
เราไม่เคยเข้าใจความหมายของคำๆนี้เลย ไม่เคยเชื่อด้วย อย่างที่กล่าวไว้ในย่อหน้าแรก นึกภาพเป็นการ์ตูนแฟนตาซีซะมากกว่า จนกระทั่ง...
เมื่อลูกตัวเองได้บวช แม้จะแค่บวชเณร แต่ด้วยภารกิจที่ตอนแรกดูเหมือนเป็น "หน้าที่" ที่ต่อเนื่องจากการที่ลูกตัวเองไปบวช ได้แก่ การตักบาตร การถวายเพล การเข้าวัด ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ฟังเทศน์ สิ่งเหล่านี้ค่อยๆซึมผ่านเข้ามา ทำให้เราได้ตระหนักว่า นี่เอง...คือภาพเปรียบเทียบของคำว่า เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์... เพราะการที่ลูกบวช ย่อมทำให้พ่อแม่ ต้องขยันเข้าวัดกว่าปกติ และทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ รู้จักความว่า ทำจิตให้สงบอย่างแท้จริงมากขึ้น ได้ทั้งความรู้และทางสว่างในชีวิตมากมาย อย่างที่ไม่คิดว่าจะได้รับ คนไทยโบราณ เขาไม่พูด ไม่สอนอะไรตรงๆ แต่ถ้าทำตามจะรู้ จะเห็น จะเข้าใจด้วยตัวเองได้ค่ะ
ในทางกลับกัน คำๆนี้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ยึดให้เกิดค่านิยมอย่างที่ จขกท.ล้อเลียน ในคนไทยบางคนที่ไม่เข้าใจ "แก่น" ของมันอย่างแท้จริง คิดเพียงว่า การได้เห็นลูกชายในผ้าเหลือง ก็จะได้รับคะแนนบุญเข้ามาโดยอัตโนมัติจำนวนมากมาย ชนิดที่ทำบุญอย่างอื่นสู้ไม่ได้ จึงเร่งเร้า บีบคั้นให้ลูกชายบวช เคยได้ยินแม้กระทั่ง มีคนมาขอเรี่ยไรเงินโดยบอกว่า จะเอาไปบวชลูกชาย แต่ตัวเองไม่มีเงินเลย แถมยังเป็นหนี้สิน ถามไปว่า ต้องใช้เงินเท่าไร เขาบอกว่า อย่างต่ำ สามหมื่น ค่าบวช ค่าแตรวงแห่นาค และโต๊ะจีน ซึ่งเขาย้ำนักย้ำหนาว่า ต้องทำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับแถวบ้านเขา ฟังแล้วก็ได้แต่ถอนใจ....
คนไทยส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะมนุษย์แม่ มีมายาคติที่ว่า การบวชของลูกชายจะทำให้ได้ " เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ " ฟังดูเหมือนนิยายแฟนตาซี มีภาพลูกชายในชุดผ้าเหลืองกำลังลอยขึ้นไปบนฟ้า ตัวแม่กำลังโหนชายผ้าเหลืองปลิวไสว หน้าตาอิ่มบุญ ลอยตามขึ้นไปด้วย...555 ขออภัยค่ะ นี่เป็นภาพในมโนของเราจริงๆตั้งแต่ได้ยินคำว่า เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์
เราไม่เคยเข้าใจความหมายของคำๆนี้เลย ไม่เคยเชื่อด้วย อย่างที่กล่าวไว้ในย่อหน้าแรก นึกภาพเป็นการ์ตูนแฟนตาซีซะมากกว่า จนกระทั่ง...
เมื่อลูกตัวเองได้บวช แม้จะแค่บวชเณร แต่ด้วยภารกิจที่ตอนแรกดูเหมือนเป็น "หน้าที่" ที่ต่อเนื่องจากการที่ลูกตัวเองไปบวช ได้แก่ การตักบาตร การถวายเพล การเข้าวัด ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ฟังเทศน์ สิ่งเหล่านี้ค่อยๆซึมผ่านเข้ามา ทำให้เราได้ตระหนักว่า นี่เอง...คือภาพเปรียบเทียบของคำว่า เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์... เพราะการที่ลูกบวช ย่อมทำให้พ่อแม่ ต้องขยันเข้าวัดกว่าปกติ และทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ รู้จักความว่า ทำจิตให้สงบอย่างแท้จริงมากขึ้น ได้ทั้งความรู้และทางสว่างในชีวิตมากมาย อย่างที่ไม่คิดว่าจะได้รับ คนไทยโบราณ เขาไม่พูด ไม่สอนอะไรตรงๆ แต่ถ้าทำตามจะรู้ จะเห็น จะเข้าใจด้วยตัวเองได้ค่ะ
ในทางกลับกัน คำๆนี้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ยึดให้เกิดค่านิยมอย่างที่ จขกท.ล้อเลียน ในคนไทยบางคนที่ไม่เข้าใจ "แก่น" ของมันอย่างแท้จริง คิดเพียงว่า การได้เห็นลูกชายในผ้าเหลือง ก็จะได้รับคะแนนบุญเข้ามาโดยอัตโนมัติจำนวนมากมาย ชนิดที่ทำบุญอย่างอื่นสู้ไม่ได้ จึงเร่งเร้า บีบคั้นให้ลูกชายบวช เคยได้ยินแม้กระทั่ง มีคนมาขอเรี่ยไรเงินโดยบอกว่า จะเอาไปบวชลูกชาย แต่ตัวเองไม่มีเงินเลย แถมยังเป็นหนี้สิน ถามไปว่า ต้องใช้เงินเท่าไร เขาบอกว่า อย่างต่ำ สามหมื่น ค่าบวช ค่าแตรวงแห่นาค และโต๊ะจีน ซึ่งเขาย้ำนักย้ำหนาว่า ต้องทำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับแถวบ้านเขา ฟังแล้วก็ได้แต่ถอนใจ....
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไทยถึงเสี้ยนบวช...
ถ้าวันโดนกวนไม่ดันทุรังบวช พี่แหลมคงไม่ตาย ไม่มีคนเจ็บกันขนาดนี้
การเห็นลูกชายได้บวช แน่นอน มันเป็นความสุขของพ่อแม่ แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดว่าเราให้ความสำคัญกับมันผิดไปรึเปล่า
ถ้าลูกไม่พร้อมที่จะบวช หรือไม่สามารถที่จะบวชได้ มันยังดีกว่าบวชแล้วไปเป็นภาระของศาสนา ดีกว่ามาเชื่อกันงมงายเหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่ากรูจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อลูกบวช ยังกับว่ามันเป็นจุดสำเร็จสูงสุดของชีวิต
น่าจะเปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น 2499ลูกกรูต้องบวช จะดีกว่า
ปล.ผมก็ตั้งหัวกระทู้ไปงั้น จริงๆคงไม่คิดว่าคนไทยทุกคนจะเป็นจะตายเมื่อลูกไม่ได้บวชหรอกนะ