รังเกลียด...
ช่วงไม่นานมานี้ ผมได้เห็นคำคำนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนอดรนทนไม่ได้ต้องเอามาเขียน เพราะเริ่มเห็นคนใช้คำนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ครั้งแรกที่เห็นเลยคือ น้ำเพชร รองอันดับ 2 MUT (ตามรูปครับ)
เครติดรูป: www.thairath.co.th
หลังจากนั้นก็เริ่มเห็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกๆ ก็คิดว่าเป็นเทรนด์รึเปล่า แต่คิดไปคิดมาคงไม่ใช่ น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า ที่ใช้คำว่า "รังเกลียด" แทนที่จะใช้ "รังเกียจ" ซึ่งคำสองคำนี้ คือคำว่า"เกลียด" และคำว่า"รังเกียจ" มีความหมายในทางเดียวกัน แต่ใช่ในต่างกรณีกัน และไม่สามารถนำมาเขียนว่า "รังเกลียด" ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ้างอิงความหมายตาม พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน
เกลียด ก. ชัง รังเกียจมาก ไม่ชอบจนรู้สึกไม่อยากพบอยากเห็นเป็นต้น บางทีใช้คู่กับคํา ชัง ว่า เกลียดชัง.
รังเกียจ ก. เกลียดเพราะรู้สึกขยะแขยงหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
ผมมานั่งอภิปรายกันกับคุณพ่อเรื่องนี้ ผมมีความเห็นว่า เป็นที่การเรียนการสอนและความใส่ใจของครูอาจารย์ เปรียบเทียบกับสมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ตอนมัธยมต้น อาจารย์ภาษาไทยจะให้เขียนไทย 10 คำก่อนเรื่มเรียนทุกคาบเรียน นักเรียนทุกคนจะมีสมุดเขียนไทย ถ้าเขียนผิด 1 คำ จะต้องคัด คำที่เขียนผิด 100 จบ ซึ่งไม่รู้สมัยนี้ยังทำกันอยู่ไหม รวมทั้งการใช้งานอินเตอร์เนตที่มากเกินไป ทำให้เกิดการเรียนรู้การใช้คำและการเขียนคำที่ผิดๆ มาจากในอินเตอร์เนต ซึ่งต่างจากแบบเรียนต่างๆ หรือหนังสือต่างๆ ที่มีบรรณาธิการคอยตรวจทานความถูกต้อง
ส่วนคุณพ่อท่านให้ความเห็นโดยสรุปว่า จะสังเกตได้ว่าคนสมัยเขียนผิดโดยเกิดจากความเข้าใจผิดค่อนข้างเยอะ ทั้งที่มีการศึกษามากขึ้นแต่เขียนผิดกันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการอ่านน้อย เห็นคำน้อย ทำให้จำไม่ได้ว่าคำจริงๆ ต้องเขียนอย่างไร ในสมัยที่ย้ายไปอาศัยอยู่ต่างจังหวัด พ่อได้เคยรับเชิญจากทางโรงเรียนประจำตำบลให้ไปช่วยสอนภาษาอังกฤษ และได้เห็นว่าเด็กมัธยมต้นที่นั่น เขียนผิดกันเยอะมาก ถึงแม้คุณพ่อผมท่าจะจบแต่ ป.4 แต่ด้วยความที่ท่านอ่านหนังสือมากทำให้เขียนได้ถูกต้องกว่า
ความเห็นลงท้ายของผมและพ่อที่เหมือนกันคือ ภาษาไทยคือภาษาที่ยังไม่ตาย ฉะนั้นภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการของภาษา หากจะย้อนไปดูภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีหลายคำที่เขียนไม่เหมือนคำที่เราใช้ในปัจจุบัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เช่นคำว่า "เป็น" สมัยก่อนเขียนว่า "เปน" เป็นต้น
แต่การเขียนคำหลายๆ คำเช่น "รังเกียจ" เป็น "รังเกลียด" ถือว่าเป็นการขาดความเข้าใจในภาษา ซึ่งควรได้รับการแก้ไข และเอาใจใส่ต่อปัญหานี้ให้มากขึ้นในสังคมบ้านเรา
เรื่องคำที่ใช้กันแปลกๆ ตามเทรนด์ต่างๆ หรือเขียนแปลกๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการพิมพ์ผิดเพื่อผลให้พิมพ์ง่ายนี่ผมยังรับได้นะครับ เพราะผมก็ทำบ่อยครั้งเช่นกัน(ในการใช้งานส่วนบุคคล กับเพื่อนและคนรู้จัก) แต่การใช้คำผิดและการเขียนผิดบางครั้งผมก็ทำใจไม่ได้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตัวอย่าง (ตัวอย่างนี้คัดลอกคำมาจากข้อความที่รุ่นน้องของผมคนหนึ่งได้โพสไว้)
ไอเดียร์ -> ไอเดีย
อารมย์ -> อารมณ์
แรงบรรดารใจ -> แรงบันดาลใจ
สไตร์ -> สไตล์
ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม เราเกิดเป็นคนไทยทั้งที ควรพยายามเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องถ้าทำได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเขียนอะไรให้คนหมู่มากอ่านยิ่งควรพิมพ์ให้ถูกต้อง ไม่ให้ใครมาว่าได้ว่าเป็นคนไทยแต่เขียนภาษาไทยให้ถูกยังทำไม่ได้เลย
อยากเห็นคนไทยเขียนภาษาไทยกันอย่างถูกต้องครับ
เพื่อนๆ มีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้าง ออกความเห็นแตกประเด็นกันได้เต็มที่เลยครับ
ป.ล. ทักษะทางภาษาผมก็ไม่ได้เลิศเลอมาจากไหนนะครับ หากมีคำที่เขียนผิดไปบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี้
"รังเกลียด" VS "รังเกียจ"
ช่วงไม่นานมานี้ ผมได้เห็นคำคำนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนอดรนทนไม่ได้ต้องเอามาเขียน เพราะเริ่มเห็นคนใช้คำนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ครั้งแรกที่เห็นเลยคือ น้ำเพชร รองอันดับ 2 MUT (ตามรูปครับ)
เครติดรูป: www.thairath.co.th
หลังจากนั้นก็เริ่มเห็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ตอนแรกๆ ก็คิดว่าเป็นเทรนด์รึเปล่า แต่คิดไปคิดมาคงไม่ใช่ น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า ที่ใช้คำว่า "รังเกลียด" แทนที่จะใช้ "รังเกียจ" ซึ่งคำสองคำนี้ คือคำว่า"เกลียด" และคำว่า"รังเกียจ" มีความหมายในทางเดียวกัน แต่ใช่ในต่างกรณีกัน และไม่สามารถนำมาเขียนว่า "รังเกลียด" ได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมมานั่งอภิปรายกันกับคุณพ่อเรื่องนี้ ผมมีความเห็นว่า เป็นที่การเรียนการสอนและความใส่ใจของครูอาจารย์ เปรียบเทียบกับสมัยที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ตอนมัธยมต้น อาจารย์ภาษาไทยจะให้เขียนไทย 10 คำก่อนเรื่มเรียนทุกคาบเรียน นักเรียนทุกคนจะมีสมุดเขียนไทย ถ้าเขียนผิด 1 คำ จะต้องคัด คำที่เขียนผิด 100 จบ ซึ่งไม่รู้สมัยนี้ยังทำกันอยู่ไหม รวมทั้งการใช้งานอินเตอร์เนตที่มากเกินไป ทำให้เกิดการเรียนรู้การใช้คำและการเขียนคำที่ผิดๆ มาจากในอินเตอร์เนต ซึ่งต่างจากแบบเรียนต่างๆ หรือหนังสือต่างๆ ที่มีบรรณาธิการคอยตรวจทานความถูกต้อง
ส่วนคุณพ่อท่านให้ความเห็นโดยสรุปว่า จะสังเกตได้ว่าคนสมัยเขียนผิดโดยเกิดจากความเข้าใจผิดค่อนข้างเยอะ ทั้งที่มีการศึกษามากขึ้นแต่เขียนผิดกันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการอ่านน้อย เห็นคำน้อย ทำให้จำไม่ได้ว่าคำจริงๆ ต้องเขียนอย่างไร ในสมัยที่ย้ายไปอาศัยอยู่ต่างจังหวัด พ่อได้เคยรับเชิญจากทางโรงเรียนประจำตำบลให้ไปช่วยสอนภาษาอังกฤษ และได้เห็นว่าเด็กมัธยมต้นที่นั่น เขียนผิดกันเยอะมาก ถึงแม้คุณพ่อผมท่าจะจบแต่ ป.4 แต่ด้วยความที่ท่านอ่านหนังสือมากทำให้เขียนได้ถูกต้องกว่า
ความเห็นลงท้ายของผมและพ่อที่เหมือนกันคือ ภาษาไทยคือภาษาที่ยังไม่ตาย ฉะนั้นภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการของภาษา หากจะย้อนไปดูภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีหลายคำที่เขียนไม่เหมือนคำที่เราใช้ในปัจจุบัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่การเขียนคำหลายๆ คำเช่น "รังเกียจ" เป็น "รังเกลียด" ถือว่าเป็นการขาดความเข้าใจในภาษา ซึ่งควรได้รับการแก้ไข และเอาใจใส่ต่อปัญหานี้ให้มากขึ้นในสังคมบ้านเรา
เรื่องคำที่ใช้กันแปลกๆ ตามเทรนด์ต่างๆ หรือเขียนแปลกๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการพิมพ์ผิดเพื่อผลให้พิมพ์ง่ายนี่ผมยังรับได้นะครับ เพราะผมก็ทำบ่อยครั้งเช่นกัน(ในการใช้งานส่วนบุคคล กับเพื่อนและคนรู้จัก) แต่การใช้คำผิดและการเขียนผิดบางครั้งผมก็ทำใจไม่ได้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม เราเกิดเป็นคนไทยทั้งที ควรพยายามเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องถ้าทำได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเขียนอะไรให้คนหมู่มากอ่านยิ่งควรพิมพ์ให้ถูกต้อง ไม่ให้ใครมาว่าได้ว่าเป็นคนไทยแต่เขียนภาษาไทยให้ถูกยังทำไม่ได้เลย
อยากเห็นคนไทยเขียนภาษาไทยกันอย่างถูกต้องครับ
เพื่อนๆ มีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้าง ออกความเห็นแตกประเด็นกันได้เต็มที่เลยครับ
ป.ล. ทักษะทางภาษาผมก็ไม่ได้เลิศเลอมาจากไหนนะครับ หากมีคำที่เขียนผิดไปบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี้