การให้ความหมาย คือ อำนาจการปรับตัว
สไตล์การมองโลก ก็คือ แนวทางการรับรู้สิ่งรอบตัวอย่างไร ที่ไปกำหนดความหมายต่อภววิสัยเช่นนั้น
เป็นความสัมพันธ์ของ figure&ground ที่เราเลือกให้มันมี ให้มันเป็น บนเส้นทางการดำรงอยู่
การปรับตัว และการสร้างตัวตน สร้างสังคมของคน ทั้งในระดับมนุษย์ ระดับสังคม และระดับปัจเจกบุคคล
วิทยาศาสตร์ สมัยหนึ่งยกให้กฏแรงโน้มถ่วง เป็นสารัตถะของกรอบอ้างอิงทุกสิ่งบนโลก
มันใช้อธิบายเรื่องราวต่างๆได้ดี เข้าใจได้และใช้งานได้ ภายใต้ชีวิตประจำวัน ภายใต้สามัญสำนึก
ต่อมาทฤษฏีสัมพัทธภาพได้ถูกค้นพบและให้ความหมายเรื่องราวต่างๆอย่างเหนือจินตนาการออกไป กว้างไกลออกไป
ซึ่งพบต่อมาว่า เป็นจริง ใช้งานได้ในกรอบความเร็วสูงๆ
สามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์ที่แสงเบี่ยงเบน เพราะถูกแรงโน้มถ่วงของมวลขนาดใหญ่ดึงดูดได้
เวลากลายเป็นสิ่งไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้สังเกต ซึ่งต่างกับกฏแรงโน้มถ่วงที่เชื่อว่า เวลาเป็นสิ่งสมบูรณ์
ไอน์สไตน์ได้ทำลายสามัญสำนึกของเราในเรื่อง เวลา การเดินทางด้วยความเร็วสูง และแสงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง
การให้ความหมายในระดับสังคม ก็ถูกสถาปนาเป็นทฤษฏีทางสังคมต่างๆ มีตั้งแต่ยุคก่อนสมัยใหม่ สมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่
ซึ่งโดยมาก ก็มักจะล้อสะท้อนฐานแนวคิดจากวิทยาศาสตร์
เช่น จิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ก็สะท้อนอิงแนวคิดของนิวตัว....
ปรัชญาหลังสมัยใหม่ กระทั่งยุคใหม่ก็สะท้อนอิงทฤษฏีสัมพัทธภาพ และทฤษฏีควอนตั้ม
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว กลับพบว่า มนุษย์ได้ขับเคลื่อนโลกทางวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ขณะที่ได้ลดทอนตัวเอง ให้กลายเป็นวัตถุที่ดิ้นรนไปโดยปริยาย อีกด้วย
ส่งผลทำให้จะมีคนเพียงน้อยนิด ที่อาจเห็นภาพรวมของความเป็นจริงที่แปรเปลี่ยนไปอย่างทั้งเชื่องช้าและรวดเร็ว ..ขณะเดียวกัน
และทำให้อำนาจการปรับตัวของมนุษย์ มักพบทางสองแพร่งหรือขัดแย้งกันเองบ่อยครั้งขึ้น
อำนาจการปรับตัว
สไตล์การมองโลก ก็คือ แนวทางการรับรู้สิ่งรอบตัวอย่างไร ที่ไปกำหนดความหมายต่อภววิสัยเช่นนั้น
เป็นความสัมพันธ์ของ figure&ground ที่เราเลือกให้มันมี ให้มันเป็น บนเส้นทางการดำรงอยู่
การปรับตัว และการสร้างตัวตน สร้างสังคมของคน ทั้งในระดับมนุษย์ ระดับสังคม และระดับปัจเจกบุคคล
วิทยาศาสตร์ สมัยหนึ่งยกให้กฏแรงโน้มถ่วง เป็นสารัตถะของกรอบอ้างอิงทุกสิ่งบนโลก
มันใช้อธิบายเรื่องราวต่างๆได้ดี เข้าใจได้และใช้งานได้ ภายใต้ชีวิตประจำวัน ภายใต้สามัญสำนึก
ต่อมาทฤษฏีสัมพัทธภาพได้ถูกค้นพบและให้ความหมายเรื่องราวต่างๆอย่างเหนือจินตนาการออกไป กว้างไกลออกไป
ซึ่งพบต่อมาว่า เป็นจริง ใช้งานได้ในกรอบความเร็วสูงๆ
สามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์ที่แสงเบี่ยงเบน เพราะถูกแรงโน้มถ่วงของมวลขนาดใหญ่ดึงดูดได้
เวลากลายเป็นสิ่งไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้สังเกต ซึ่งต่างกับกฏแรงโน้มถ่วงที่เชื่อว่า เวลาเป็นสิ่งสมบูรณ์
ไอน์สไตน์ได้ทำลายสามัญสำนึกของเราในเรื่อง เวลา การเดินทางด้วยความเร็วสูง และแสงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง
การให้ความหมายในระดับสังคม ก็ถูกสถาปนาเป็นทฤษฏีทางสังคมต่างๆ มีตั้งแต่ยุคก่อนสมัยใหม่ สมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่
ซึ่งโดยมาก ก็มักจะล้อสะท้อนฐานแนวคิดจากวิทยาศาสตร์
เช่น จิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ก็สะท้อนอิงแนวคิดของนิวตัว....
ปรัชญาหลังสมัยใหม่ กระทั่งยุคใหม่ก็สะท้อนอิงทฤษฏีสัมพัทธภาพ และทฤษฏีควอนตั้ม
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว กลับพบว่า มนุษย์ได้ขับเคลื่อนโลกทางวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ขณะที่ได้ลดทอนตัวเอง ให้กลายเป็นวัตถุที่ดิ้นรนไปโดยปริยาย อีกด้วย
ส่งผลทำให้จะมีคนเพียงน้อยนิด ที่อาจเห็นภาพรวมของความเป็นจริงที่แปรเปลี่ยนไปอย่างทั้งเชื่องช้าและรวดเร็ว ..ขณะเดียวกัน
และทำให้อำนาจการปรับตัวของมนุษย์ มักพบทางสองแพร่งหรือขัดแย้งกันเองบ่อยครั้งขึ้น