วันที่ 7 ส.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนช. ให้สัมภาษณ์ หลังร่วมรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า โดยส่วนตัวอยากผลักดันกฎหมาย อาทิ การแยกสถาบันอุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ การผลักดันกฎหมายบริหารบุคคลท้องถิ่น แต่ต้องดูความพร้อมของรัฐบาล เนื่องจากฎหมายต่างๆ จะต้องเสนอมาจากรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องคัดเลือกสมาชิก สนช. 5 คน เข้าไปทำหน้าที่ โดยส่วนตัวเห็นว่าน่าจะได้รับการเสนอชื่อหลายราย อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายดิสทัต โหตระกิตย์ นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
ต่อข้อถามว่า สนช.จะมีปัญหาเกี่ยวกับองค์ประชุมหรือไม่ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ นายสมคิด กล่าวยอมรับว่าเป็นไปได้ สมาชิกได้พูดคุยและแสดงความเป็นห่วง เชื่อว่น่าจะแบ่งเวลาจัดสรรความสำคัญให้กับการประชุมสนช.ก่อน ตนไม่หนักใจในการทำหน้าที่เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาเฉพาะกาลไม่ใช่ถาวร เมื่อถามว่า ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ จะถูกผลักดันหรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวค้างอยู่ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว เช่นเดียวกับร่างกฎหมายที่คล้ายกันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏออกนอกระบบ ต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะผลักดันหรือไม่
เมื่อถามต่อว่า หากการพิจารณากฎหมายมีใบสั่งมาจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือไม่ นายสมคิดกล่าวว่า “ต้องดูว่าร่างกฎหมายฉบับนั้นเป็นไปตามหลักการและเหมาะสมหรือไม่
หากมีใบสั่งมาให้ผ่านร่างกฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จะสามารถแก้ปัญหาให้ข้าราชการได้
ผมก็พร้อมผลักดัน หรือหากมีใบสั่งมาให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ ผมจะรีบทำตามใบสั่งเลย”
ส่วนกระแสวิจารณ์การเข้ารับตำแหน่งสนช.ว่าไม่เหมาะสมจากทั้งนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสมคิด กล่าวว่า คสช. พิจารณาคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ไม่ใช่ตัวบุคคล เพื่อให้เข้ามาร่วมช่วยกันทำงานด้านกฎหมาย อย่างตนถูกคัดเลือกมาในนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่ในนามนายสมคิด
หากนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะได้รับเลือกเป็น สนช. เช่นเดียวกัน ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมาวิจารณ์แค่ตนและนายนรนิติ แต่นิด้าที่มีบุคลากรเข้ามาเป็นสนช. 3 คนกลับไม่ถูกวิจารณ์
“
อาจารย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ผมและนายนรนิติ อยากให้มาพูดคุยกันตรงๆ มากกว่า ไม่ใช่ออกมานินทาหรือตอดเล็กตอดน้อยทางสื่อออนไลน์ อย่าง นายยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา หรือนายชาญวิทย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายนรนิติ หากแน่จริงก็ควรจะมาคุยกันต่อหน้านายนรนิติมากกว่า” อธิการบดีมธ. และสนช. กล่าว
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd056UXhORGN3T1E9PQ%3D%3D&subcatid
หืมมม ถ้าอาจารย์วรเจตน์เป็นอธิการ ก็คงรับตำแหน่งนี้เหมือนกัน
สมคิด เลิศไพฑูรย์ ท้า "อ.ยุกติ - ชาญวิทย์" หากแน่จริงให้มาพูดคุยกันตรงๆ อย่าใช้สื่อออนไลน์
ต่อข้อถามว่า สนช.จะมีปัญหาเกี่ยวกับองค์ประชุมหรือไม่ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ นายสมคิด กล่าวยอมรับว่าเป็นไปได้ สมาชิกได้พูดคุยและแสดงความเป็นห่วง เชื่อว่น่าจะแบ่งเวลาจัดสรรความสำคัญให้กับการประชุมสนช.ก่อน ตนไม่หนักใจในการทำหน้าที่เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาเฉพาะกาลไม่ใช่ถาวร เมื่อถามว่า ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ จะถูกผลักดันหรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวค้างอยู่ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว เช่นเดียวกับร่างกฎหมายที่คล้ายกันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏออกนอกระบบ ต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดใหม่จะผลักดันหรือไม่
เมื่อถามต่อว่า หากการพิจารณากฎหมายมีใบสั่งมาจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือไม่ นายสมคิดกล่าวว่า “ต้องดูว่าร่างกฎหมายฉบับนั้นเป็นไปตามหลักการและเหมาะสมหรือไม่ หากมีใบสั่งมาให้ผ่านร่างกฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จะสามารถแก้ปัญหาให้ข้าราชการได้ ผมก็พร้อมผลักดัน หรือหากมีใบสั่งมาให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ธรรมศาสตร์ ออกนอกระบบ ผมจะรีบทำตามใบสั่งเลย”
ส่วนกระแสวิจารณ์การเข้ารับตำแหน่งสนช.ว่าไม่เหมาะสมจากทั้งนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสมคิด กล่าวว่า คสช. พิจารณาคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ไม่ใช่ตัวบุคคล เพื่อให้เข้ามาร่วมช่วยกันทำงานด้านกฎหมาย อย่างตนถูกคัดเลือกมาในนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ใช่ในนามนายสมคิด หากนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะได้รับเลือกเป็น สนช. เช่นเดียวกัน ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมาวิจารณ์แค่ตนและนายนรนิติ แต่นิด้าที่มีบุคลากรเข้ามาเป็นสนช. 3 คนกลับไม่ถูกวิจารณ์
“อาจารย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ผมและนายนรนิติ อยากให้มาพูดคุยกันตรงๆ มากกว่า ไม่ใช่ออกมานินทาหรือตอดเล็กตอดน้อยทางสื่อออนไลน์ อย่าง นายยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา หรือนายชาญวิทย์ ที่ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายนรนิติ หากแน่จริงก็ควรจะมาคุยกันต่อหน้านายนรนิติมากกว่า” อธิการบดีมธ. และสนช. กล่าว
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd056UXhORGN3T1E9PQ%3D%3D&subcatid
หืมมม ถ้าอาจารย์วรเจตน์เป็นอธิการ ก็คงรับตำแหน่งนี้เหมือนกัน