คดีนี้เป็นคดีอุบัติเหตุที่เกิดกับครอบครัวผม ซึ่งครอบครัวผมไม่เคยประสบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน
จึงไม่ทราบขั้นตอน วิธีการ ในการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหม
อาจจะซับซ้อนและยาวสักหน่อยนะครับ อยากให้อ่านจนจบ ผมจะพยามลำดับเหตุการจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ
อันใหนที่จำไม่ได้ขออนุญาตประมาณเวลาคร่าวๆนะครับ
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555
นาย A ขับขี่รถจักรยานยนต์สภาพเก่า (รถแต่งคลาสสิก) และนาย B เป็นผู้ซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์นาย A ไม่มี พรบ.
นาย A ขับขี่มาตามเส้นทางด้านซ้ายตามปกติ โดยขับขี่มาเป็นกลุ่มกับเพื่อนอีกหลายคัน แต่เป็นคันสุดท้ายของกลุ่ม
นาย C และนาย D ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ขับขี่รถจักรยานยนต์สวนมาทางไหล่ทางด้านซ้ายสุด และพยายามจะข้ามฝั่งไปช่องทางปกติ
จึงเกิดชนประสานงากับนาย A และนาย B ทำให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันล้มลงในช่องทางซ้าย
ไม่ทราบชะตากรรมของทั้งหมด เพราะนอนอยู่กับพื้นถนน รถจักรยานยนต์นาย C ไม่มี พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเช่นกัน
ระหว่างนั้นมีรถกระบะและรถมอเตอร์ไซต์หลายคันจอดเพื่อดูเหตุกาณ์ทางช่องทางขวาสุด
โดยรถบางคันมีการเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อแจ้งเหตุแก่รถคันหลังให้ชลอความเร็ว
กลุ่มเพื่อนๆของนาย A และนาย B ทราบเหตุจึงกลับรถมาและพบว่า
นาย B ที่ยังพอมีสติเพราะบาดเจ็บน้อยสุดได้พยายามไปช่วยเหลือนาย A (จากคำให้การของกลุ่มเพื่อนๆที่กลับรถมา)
เวลาเดียวกัน นาย E ได้ขับรถยนต์เก๋ง วิ่งมาช่องทางซ้ายด้วยความเร็ว พุ่งชนจุดเกิดเหตุ คาดว่าทับร่าง นาย A นาย C นาย D
ส่วนนาย B กระเด็นไปตกช่องทางขวาสุด เลยจุดเกิดเหตุไปประมาณ 20 เมตร
ซึ่งรถเก๋งคันที่พุ่งชน ได้ตกลงไปไหล่ทางด้านขวาสุดเลยไปประมาณ 5-10 เมตร
รถยนต์เก๋งมีประกันภัยชั้น 1 และ มีพรบ.
มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมที่ช่องทางด้านขวาคือ นาย F และ นาง G
โดยนาย F ถูกรถจักรยานยนต์กระเด็นเข้ากระแทกใส่ที่ขา ทำให้ขาหักทั้งสองข้าง
และนาง G โดนแฮนด์ของรถจักรยานยนต์กระแทกใส่ท้องแตก ลำใส้ไหลออกมา
สรุปผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
นาย A เสียชีวิต (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมเป็นจำนวน 500,000 บาท จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
นาย B เสียชีวิต
นาย C เสียชีวิต
นาย D พิการทางร่างกายและสมอง
นาย F ขาหักทั้งสองข้าง (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี ภายหลังปีกว่าๆเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง)
นาง G ท้องแตก (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
รถจักรยานยนต์เสียหายหลายคัน ผมไม่ทราบจำนวนแน่ชัด (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
รถยนต์กระบะผู้ไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 1 คัน จากรถจักรยานยนต์กระแทกใส่ (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
หลังจากเกิดเหตุ ญาติได้ทำพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ระหว่างนั้นนาย E ได้มอบเงินจำนวน 25,000 บาทแก่เจ้าพนักงานร้อยเวรผู้รับผิดชอบคดีมามอบให้ครอบครัวนาย B
ระหว่างบำเพ็ญกุศลศพ นาย E ได้ขอเป็นจ้าภาพหนึ่งคืน และได้ส่งตัวแทนมาฟังสวดพระอภิธรรม
แต่นาย E ไม่ได้มาร่วมพิธี ไม่ได้มาขอขมา ไม่ได้มารดน้ำศพ ไม่ได้มาฟังสวดพระอภิธรรม ไม่ได้มาฌาปณกิจศพนาย B
ณ ตอนนั้นเข้าใจว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุหลายราย นาย E อาจไปร่วมงานของผู้ประสบอุบัติเหตุรายอื่นๆ และคงไปเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บ
ภายหลังทราบข้อมูลว่ารายอื่นๆ นาย E ก็ได้ส่งตัวแทนไปเช่นกัน
เวลาผ่านไปประมาณ 1 ปี มีหมายศาลไปถึงผู้เสียหายทั้งหมดให้เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยคดีความ
วันไกล่เกลี่ยได้มีทนายของบริษัทประกันเข้าร่วมด้วย
โดยวันไกล่เกลี่ยนาย E ยังไม่ได้ให้การยอมรับว่าขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D
โดยอ้างว่า มีอุบัติเกิดขึ้นก่อนหน้าที่นาย E จะมาชนซ้ำ
แต่ที่ประกันยอมจ่ายค่าสินไหมให้นาย A เพราะนาย E อ้างว่าได้ขับรถเหยียบนาย A จริง
แต่หลังจากนั้นรถเสียหลักทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าชนใครบ้าง
โดยหลังจากนั้นทนายของบริษัทประกันรับปากว่าจะไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทว่าจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร
แต่ผู้เสียหายทั้งหมดขอนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลเลย
ประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 อัยการเป็นโจทย์ฟ้องคดีอาญา ต่อจำเลยคือ นาย E
ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โดยอัยการถามญาติผู้เสียหายนอกรอบว่า จะจ้างทนายเป็นโจทย์ร่วมฟ้องในคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมด้วยหรือไม่
แต่ไม่มีใครจ้าง เพราะเข้าใจผิดว่า หากศาลตัดสินให้นาย E มีความผิดจริง ประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทันที
ประมาณ เดือนพฤษภาคม 2557 ศาลนัดคู่กรณีเข้าพิจารณาไกล่เกลี่ย โดยถามว่าผู้เสียหายต้องการเรียกร้องค่าสินไหมเท่าไร
บิดานาย B เรียกร้องค่าสินไหมเป็นเงิน 1,000,000 บาท
มารดานาย C และ นาย D เรียกร้องค่าสินไหมเป็นเงิน 2,400,000 บาท
โดยทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทว่าจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง
ประมาณ เดือนมิถุนายน 2557 ศาลได้นัดสืบพยานโจทย์
แต่ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์บริษัทประกันได้วางเงินสินไหมเพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายรายละ 300,000 บาท
เป็นการวางเงินสินไหมเพื่อบรรเทาความเสียหายและชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยครั้งแรก หลังจากเกิดอุบัติเหตุผ่านไป 1 ปี 6 เดือน
และจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพว่าได้ขับรถชน นาย B นาย C นาย D จริง ทำให้ไม่ต้องมีการสืบพยานโจทย์ และพยานจำเลยอีกต่อไป
ศาลจึงพิจารณาไกล่เกลี่ยอีกครั้ง โดยผู้เสียหายยืนยันเรียกร้องค่าเสียหายตามเดิม
ทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัท และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง
29 กรกฎาคม 2557 ทนายประกันได้โทรสอบถามบิดาของนาย B มารดา นาย C และ นาย D ว่า ได้ว่าจ้างทนายหรือยัง ไม่ทราบถึงเหตุผลที่ถาม
30 กรกฎาคม 2557 ทนายประกันแจ้งว่ายินดีจะชดใช้สินไหมให้ 500,000 บาท แก่ นาย B นาย C และ นาย D
โดยระบบุว่าคณะผู้บริหารของบริษัทมีความประสงค์จะช่วยเหลือเท่ากับนาย A ที่ได้จ่ายสินไหมไปก่อนหน้านี้
และระบุในตอนท้ายว่าที่คณะผู้บริหารของบริษัทไม่อนุมัติตามคำร้องขอของผู้เสียหาย
เพราะมีอุบัติเกิดขึ้นก่อนหน้าที่นาย E จะมาชนซ้ำ และวิถีของล้อไม่ได้ชน นาย B นาย C และ นาย D
ทำให้ญาติและผู้เสียหายทั้งหมดไม่พอใจ
เพราะ มิถุนายน 2557 จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่าได้ขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D จริง
ทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทอีกครั้ง และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง วันที่ 30 กันยายน 2557
ศาลเห็นว่าเสียเวลาในกสรปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทมาหลายครั้ง
จึงพิจารณาให้ผู้เสียหายทั้งหมดถอนจากการเป็นผู้ร้อง(ผู้เสียหาย)ในคดีอาญา เพื่อให้ไปฟ้องแพ่งกันเอง
โดยนัดพิพากษาคดีอาญาในวันที่ 5 สิงหาคม 2557
5 สิงหาคม 2557 ศาลมีคำพิพากษาว่า นาย E ได้ขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D จริง
พิพากษาให้จำคุก นาย E เป็นเวลา 3 ปี ปรับ 30,000 บาท และบำเพ็ญประโยชน์
เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลลดโทษจำคุกเหลือ 1 ปี 6 เดือน ปรับ 30000 บาท และบำเพ็ญประโยชน์
และเนื่องจากจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน
โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี มารายงานตัวทุก 3 เดือน ปรับ 30000 และบำเพ็ญประโยชน์
จบกระบวนการดำเนินคดีอาญา นับรวมเวลา 1 ปี 8 เดือน ผู้เสียหายทั้งหมดต้องฟ้องแพ่งกับจำเลยด้วยตนเอง
จากนี้ไปเป็นความรู้ที่ผมเพิ่งทราบจากการประสบเหตุครั้งนี้นะครับ
1.ควรมีทนายขอเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการ เพราะจะได้มีคนคอยแนะนำเรื่องต่างๆได้ และนำทนายมาร่วมกับอัยการเมื่อไรก็ได้ ก่อนจะพิพากษาคดีอาญา
2.ถ้ามีทนายขอเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการแล้ว สามารถฟ้องคดีแพ่งร่วมกับคดีอาญาได้เลย
3.อัยการเป็นโจทย์ฟ้องคดีอาญา จึงไม่มีส่วนในการเรียกร้องค่าเสียหายให้ใคร
4.ศาลไม่มีอำนาจสั่งให้ประกันจ่ายค่าสินไหมแทนจำเลย และศาลพิพากษาคดีอาญาเท่านั้น ผู้เสียหายต้องฟ้องแพ่งเอง
5.การทำประกันเป็นเรื่องของจำเลยกับบริษัทประกัน ประกันจะจ่ายสินไหมเท่าไรก็ได้แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในสัญญา
หากการฟ้องแพ่งสิ้นสุด ส่วนต่างจำเลยต้องออกเองทั้งหมด
6.การวางเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายของบริษัทประกัน จะวางเมื่อไรก็ได้ก่อนวันขึ้นให้การรับสารภาพของจำเลย เพราะแปลว่าได้มีการช่วยเหลือผู้เสียหายแล้ว ลดโอกาศที่จำเลยจะถูกลงโทษรุนแรง
7.การฟ้องคดีแพ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ
8.การฟ้องคดีแพ่งหมายถึงต้องมีการ อุทรณ์ และ ฎีกา อย่างแน่นอน ซึ่งกินระยะเวลานานขึ้นไปอีก
9.เราสามารถเรียกดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากจำนวนค่าสินไหมที่เรียกร้องได้ไม่เกิน 7.5% ต่อปี แต่จะได้ก็ต่อเมื่อชนะคดี และค่าสินไหมต้องเป็นจำนวนเงินที่ศาลเห็นเหมาะสม
10.สามารถเรียกค่าธรรมเนียมการขึ้นศาล 2% และค่าจ้างทนาย จากคู่กรณีได้ แต่จะได้ก็ต่อเมื่อชนะคดี
11.ค่าสินไหมศาลจะเป็นผู้พิจารณาตามสมควร อาจไม่ได้ตามจำนวนที่ฟ้องร้อง หรือ อาจได้มากกว่า
12.หากผู้ตายเป็นผู้ที่เป็นกำลังหลักของครอบครัว ก็จะเป็นข้อในการประกอบการพิจารณาให้ได้รับสินไหมสูงกว่า เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนที่ไม่ได้ทำงาน คนที่ไม่ภาระที่ต้องเลี้ยงดู
13.หากรถของเรามี พรบ. สามารถรับค่าสินไหมจาก พรบ. กรณีเสียชีวิตได้ 200,000 บาทต่อราย
14.หากไม่มี พรบ.ต้องเรียกเอาจากคู่กรณี แปลว่าศาลต้องตัดสินว่าคู่กรณีผิดจริง จึงสามารถใช้ พรบ.คู่กรณีได้
15.การเรียกค่าสินไหมจาก พรบ.ต้องดำเนินการที่บริษัทที่เป็นตัวแทน ไม่ใช่ คปภ.
16.คปภ.ไม่มีหน้าที่ในการเรียกร้องสินไหมแทนใคร
17.คปภ.มีหน้าที่บังคับให้ ประกันชดใช้ค่าเสียหายให้ หลังจากศาลพิจารณาคดีสิ้นสุดเท่านั้น
18.วงเงินประกันชั้น 1 จะชดเชยสินไหมกรณีเสียชีวิตส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1,000,000 บาท ต่อคน และไม่เกิน 10,000,000 ต่อกรณี
19.หากไม่พอใจคำตัดสินของศาล สามารถอุทรได้ แต่เราต้องมีทนายที่ขอยื่นเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการแล้ว
จากนี้เป็นคำถามครับ
1.ระยะเวลาในการพิจารณาคดีอาญาของกรณีนี้ มีความเหมะสมหรือไม่
2.เงินจำนวน 25,000 ที่จำเลยจ่ายให้เพื่อบรรเทาความเดือนร้อน และเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา เพียงพอหรือไม่
3.การที่ประกันวางเงินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 1 ปี 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาทเหมาะสมทั้ง จำนวน และเวลาหรือไม่
4.ณ วันนี้ คดีอาญาสิ้นสุดลง ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีแพ่งเอง หากเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย ไม่มีเงิน ไม่มีที่พึ่ง จะทำอย่างไร
5.เป็นธรรมดาของบริษัทประกันทั่วไปหรือไม่ ที่จะต้องยืดเวลาในการชดใช้ค่าสินไหมให้นานที่สุด
6.กรณีนี้ นาย B อายุ 17 ปี กำลังศึกษาอยู่ จะเรียกค่าสินไหมประมาณได้เท่าไร
7.กรณีนี้ นาย C และนาย D ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน เป็นธุรกิจส่วนตัว จะเรียกค่าสินไหมประมาณได้เท่าไร
8.หากจบคดีความและนาย E ไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดได้ ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
ตัวอย่างคดีอุบัติเหตุซ้ำซ้อน และรายละเอียดปลีกย่อยที่เราอาจยังไม่รู้ พร้อมคำถามครับ
จึงไม่ทราบขั้นตอน วิธีการ ในการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหม
อาจจะซับซ้อนและยาวสักหน่อยนะครับ อยากให้อ่านจนจบ ผมจะพยามลำดับเหตุการจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ
อันใหนที่จำไม่ได้ขออนุญาตประมาณเวลาคร่าวๆนะครับ
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555
นาย A ขับขี่รถจักรยานยนต์สภาพเก่า (รถแต่งคลาสสิก) และนาย B เป็นผู้ซ้อนท้าย รถจักรยานยนต์นาย A ไม่มี พรบ.
นาย A ขับขี่มาตามเส้นทางด้านซ้ายตามปกติ โดยขับขี่มาเป็นกลุ่มกับเพื่อนอีกหลายคัน แต่เป็นคันสุดท้ายของกลุ่ม
นาย C และนาย D ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ขับขี่รถจักรยานยนต์สวนมาทางไหล่ทางด้านซ้ายสุด และพยายามจะข้ามฝั่งไปช่องทางปกติ
จึงเกิดชนประสานงากับนาย A และนาย B ทำให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันล้มลงในช่องทางซ้าย
ไม่ทราบชะตากรรมของทั้งหมด เพราะนอนอยู่กับพื้นถนน รถจักรยานยนต์นาย C ไม่มี พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเช่นกัน
ระหว่างนั้นมีรถกระบะและรถมอเตอร์ไซต์หลายคันจอดเพื่อดูเหตุกาณ์ทางช่องทางขวาสุด
โดยรถบางคันมีการเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อแจ้งเหตุแก่รถคันหลังให้ชลอความเร็ว
กลุ่มเพื่อนๆของนาย A และนาย B ทราบเหตุจึงกลับรถมาและพบว่า
นาย B ที่ยังพอมีสติเพราะบาดเจ็บน้อยสุดได้พยายามไปช่วยเหลือนาย A (จากคำให้การของกลุ่มเพื่อนๆที่กลับรถมา)
เวลาเดียวกัน นาย E ได้ขับรถยนต์เก๋ง วิ่งมาช่องทางซ้ายด้วยความเร็ว พุ่งชนจุดเกิดเหตุ คาดว่าทับร่าง นาย A นาย C นาย D
ส่วนนาย B กระเด็นไปตกช่องทางขวาสุด เลยจุดเกิดเหตุไปประมาณ 20 เมตร
ซึ่งรถเก๋งคันที่พุ่งชน ได้ตกลงไปไหล่ทางด้านขวาสุดเลยไปประมาณ 5-10 เมตร
รถยนต์เก๋งมีประกันภัยชั้น 1 และ มีพรบ.
มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมที่ช่องทางด้านขวาคือ นาย F และ นาง G
โดยนาย F ถูกรถจักรยานยนต์กระเด็นเข้ากระแทกใส่ที่ขา ทำให้ขาหักทั้งสองข้าง
และนาง G โดนแฮนด์ของรถจักรยานยนต์กระแทกใส่ท้องแตก ลำใส้ไหลออกมา
สรุปผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
นาย A เสียชีวิต (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมเป็นจำนวน 500,000 บาท จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
นาย B เสียชีวิต
นาย C เสียชีวิต
นาย D พิการทางร่างกายและสมอง
นาย F ขาหักทั้งสองข้าง (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี ภายหลังปีกว่าๆเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง)
นาง G ท้องแตก (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
รถจักรยานยนต์เสียหายหลายคัน ผมไม่ทราบจำนวนแน่ชัด (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
รถยนต์กระบะผู้ไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ 1 คัน จากรถจักรยานยนต์กระแทกใส่ (ประกันตกลงจ่ายค่าสินไหม จึงไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี)
หลังจากเกิดเหตุ ญาติได้ทำพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ระหว่างนั้นนาย E ได้มอบเงินจำนวน 25,000 บาทแก่เจ้าพนักงานร้อยเวรผู้รับผิดชอบคดีมามอบให้ครอบครัวนาย B
ระหว่างบำเพ็ญกุศลศพ นาย E ได้ขอเป็นจ้าภาพหนึ่งคืน และได้ส่งตัวแทนมาฟังสวดพระอภิธรรม
แต่นาย E ไม่ได้มาร่วมพิธี ไม่ได้มาขอขมา ไม่ได้มารดน้ำศพ ไม่ได้มาฟังสวดพระอภิธรรม ไม่ได้มาฌาปณกิจศพนาย B
ณ ตอนนั้นเข้าใจว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุหลายราย นาย E อาจไปร่วมงานของผู้ประสบอุบัติเหตุรายอื่นๆ และคงไปเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บ
ภายหลังทราบข้อมูลว่ารายอื่นๆ นาย E ก็ได้ส่งตัวแทนไปเช่นกัน
เวลาผ่านไปประมาณ 1 ปี มีหมายศาลไปถึงผู้เสียหายทั้งหมดให้เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยคดีความ
วันไกล่เกลี่ยได้มีทนายของบริษัทประกันเข้าร่วมด้วย
โดยวันไกล่เกลี่ยนาย E ยังไม่ได้ให้การยอมรับว่าขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D
โดยอ้างว่า มีอุบัติเกิดขึ้นก่อนหน้าที่นาย E จะมาชนซ้ำ
แต่ที่ประกันยอมจ่ายค่าสินไหมให้นาย A เพราะนาย E อ้างว่าได้ขับรถเหยียบนาย A จริง
แต่หลังจากนั้นรถเสียหลักทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าชนใครบ้าง
โดยหลังจากนั้นทนายของบริษัทประกันรับปากว่าจะไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทว่าจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร
แต่ผู้เสียหายทั้งหมดขอนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลเลย
ประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 อัยการเป็นโจทย์ฟ้องคดีอาญา ต่อจำเลยคือ นาย E
ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โดยอัยการถามญาติผู้เสียหายนอกรอบว่า จะจ้างทนายเป็นโจทย์ร่วมฟ้องในคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมด้วยหรือไม่
แต่ไม่มีใครจ้าง เพราะเข้าใจผิดว่า หากศาลตัดสินให้นาย E มีความผิดจริง ประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทันที
ประมาณ เดือนพฤษภาคม 2557 ศาลนัดคู่กรณีเข้าพิจารณาไกล่เกลี่ย โดยถามว่าผู้เสียหายต้องการเรียกร้องค่าสินไหมเท่าไร
บิดานาย B เรียกร้องค่าสินไหมเป็นเงิน 1,000,000 บาท
มารดานาย C และ นาย D เรียกร้องค่าสินไหมเป็นเงิน 2,400,000 บาท
โดยทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทว่าจะชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง
ประมาณ เดือนมิถุนายน 2557 ศาลได้นัดสืบพยานโจทย์
แต่ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์บริษัทประกันได้วางเงินสินไหมเพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายรายละ 300,000 บาท
เป็นการวางเงินสินไหมเพื่อบรรเทาความเสียหายและชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยครั้งแรก หลังจากเกิดอุบัติเหตุผ่านไป 1 ปี 6 เดือน
และจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพว่าได้ขับรถชน นาย B นาย C นาย D จริง ทำให้ไม่ต้องมีการสืบพยานโจทย์ และพยานจำเลยอีกต่อไป
ศาลจึงพิจารณาไกล่เกลี่ยอีกครั้ง โดยผู้เสียหายยืนยันเรียกร้องค่าเสียหายตามเดิม
ทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัท และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง
29 กรกฎาคม 2557 ทนายประกันได้โทรสอบถามบิดาของนาย B มารดา นาย C และ นาย D ว่า ได้ว่าจ้างทนายหรือยัง ไม่ทราบถึงเหตุผลที่ถาม
30 กรกฎาคม 2557 ทนายประกันแจ้งว่ายินดีจะชดใช้สินไหมให้ 500,000 บาท แก่ นาย B นาย C และ นาย D
โดยระบบุว่าคณะผู้บริหารของบริษัทมีความประสงค์จะช่วยเหลือเท่ากับนาย A ที่ได้จ่ายสินไหมไปก่อนหน้านี้
และระบุในตอนท้ายว่าที่คณะผู้บริหารของบริษัทไม่อนุมัติตามคำร้องขอของผู้เสียหาย
เพราะมีอุบัติเกิดขึ้นก่อนหน้าที่นาย E จะมาชนซ้ำ และวิถีของล้อไม่ได้ชน นาย B นาย C และ นาย D
ทำให้ญาติและผู้เสียหายทั้งหมดไม่พอใจ
เพราะ มิถุนายน 2557 จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่าได้ขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D จริง
ทนายของบริษัทประกันรับปากจะนำเรื่องไปปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทอีกครั้ง และขอนัดหมายใหม่อีกครั้ง วันที่ 30 กันยายน 2557
ศาลเห็นว่าเสียเวลาในกสรปรึกษาคณะผู้บริหารของบริษัทมาหลายครั้ง
จึงพิจารณาให้ผู้เสียหายทั้งหมดถอนจากการเป็นผู้ร้อง(ผู้เสียหาย)ในคดีอาญา เพื่อให้ไปฟ้องแพ่งกันเอง
โดยนัดพิพากษาคดีอาญาในวันที่ 5 สิงหาคม 2557
5 สิงหาคม 2557 ศาลมีคำพิพากษาว่า นาย E ได้ขับรถชน นาย B นาย C และ นาย D จริง
พิพากษาให้จำคุก นาย E เป็นเวลา 3 ปี ปรับ 30,000 บาท และบำเพ็ญประโยชน์
เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลลดโทษจำคุกเหลือ 1 ปี 6 เดือน ปรับ 30000 บาท และบำเพ็ญประโยชน์
และเนื่องจากจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน
โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี มารายงานตัวทุก 3 เดือน ปรับ 30000 และบำเพ็ญประโยชน์
จบกระบวนการดำเนินคดีอาญา นับรวมเวลา 1 ปี 8 เดือน ผู้เสียหายทั้งหมดต้องฟ้องแพ่งกับจำเลยด้วยตนเอง
จากนี้ไปเป็นความรู้ที่ผมเพิ่งทราบจากการประสบเหตุครั้งนี้นะครับ
1.ควรมีทนายขอเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการ เพราะจะได้มีคนคอยแนะนำเรื่องต่างๆได้ และนำทนายมาร่วมกับอัยการเมื่อไรก็ได้ ก่อนจะพิพากษาคดีอาญา
2.ถ้ามีทนายขอเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการแล้ว สามารถฟ้องคดีแพ่งร่วมกับคดีอาญาได้เลย
3.อัยการเป็นโจทย์ฟ้องคดีอาญา จึงไม่มีส่วนในการเรียกร้องค่าเสียหายให้ใคร
4.ศาลไม่มีอำนาจสั่งให้ประกันจ่ายค่าสินไหมแทนจำเลย และศาลพิพากษาคดีอาญาเท่านั้น ผู้เสียหายต้องฟ้องแพ่งเอง
5.การทำประกันเป็นเรื่องของจำเลยกับบริษัทประกัน ประกันจะจ่ายสินไหมเท่าไรก็ได้แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในสัญญา
หากการฟ้องแพ่งสิ้นสุด ส่วนต่างจำเลยต้องออกเองทั้งหมด
6.การวางเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายของบริษัทประกัน จะวางเมื่อไรก็ได้ก่อนวันขึ้นให้การรับสารภาพของจำเลย เพราะแปลว่าได้มีการช่วยเหลือผู้เสียหายแล้ว ลดโอกาศที่จำเลยจะถูกลงโทษรุนแรง
7.การฟ้องคดีแพ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ
8.การฟ้องคดีแพ่งหมายถึงต้องมีการ อุทรณ์ และ ฎีกา อย่างแน่นอน ซึ่งกินระยะเวลานานขึ้นไปอีก
9.เราสามารถเรียกดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากจำนวนค่าสินไหมที่เรียกร้องได้ไม่เกิน 7.5% ต่อปี แต่จะได้ก็ต่อเมื่อชนะคดี และค่าสินไหมต้องเป็นจำนวนเงินที่ศาลเห็นเหมาะสม
10.สามารถเรียกค่าธรรมเนียมการขึ้นศาล 2% และค่าจ้างทนาย จากคู่กรณีได้ แต่จะได้ก็ต่อเมื่อชนะคดี
11.ค่าสินไหมศาลจะเป็นผู้พิจารณาตามสมควร อาจไม่ได้ตามจำนวนที่ฟ้องร้อง หรือ อาจได้มากกว่า
12.หากผู้ตายเป็นผู้ที่เป็นกำลังหลักของครอบครัว ก็จะเป็นข้อในการประกอบการพิจารณาให้ได้รับสินไหมสูงกว่า เด็ก นักเรียน นักศึกษา คนที่ไม่ได้ทำงาน คนที่ไม่ภาระที่ต้องเลี้ยงดู
13.หากรถของเรามี พรบ. สามารถรับค่าสินไหมจาก พรบ. กรณีเสียชีวิตได้ 200,000 บาทต่อราย
14.หากไม่มี พรบ.ต้องเรียกเอาจากคู่กรณี แปลว่าศาลต้องตัดสินว่าคู่กรณีผิดจริง จึงสามารถใช้ พรบ.คู่กรณีได้
15.การเรียกค่าสินไหมจาก พรบ.ต้องดำเนินการที่บริษัทที่เป็นตัวแทน ไม่ใช่ คปภ.
16.คปภ.ไม่มีหน้าที่ในการเรียกร้องสินไหมแทนใคร
17.คปภ.มีหน้าที่บังคับให้ ประกันชดใช้ค่าเสียหายให้ หลังจากศาลพิจารณาคดีสิ้นสุดเท่านั้น
18.วงเงินประกันชั้น 1 จะชดเชยสินไหมกรณีเสียชีวิตส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1,000,000 บาท ต่อคน และไม่เกิน 10,000,000 ต่อกรณี
19.หากไม่พอใจคำตัดสินของศาล สามารถอุทรได้ แต่เราต้องมีทนายที่ขอยื่นเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการแล้ว
จากนี้เป็นคำถามครับ
1.ระยะเวลาในการพิจารณาคดีอาญาของกรณีนี้ มีความเหมะสมหรือไม่
2.เงินจำนวน 25,000 ที่จำเลยจ่ายให้เพื่อบรรเทาความเดือนร้อน และเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา เพียงพอหรือไม่
3.การที่ประกันวางเงินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนหลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 1 ปี 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาทเหมาะสมทั้ง จำนวน และเวลาหรือไม่
4.ณ วันนี้ คดีอาญาสิ้นสุดลง ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีแพ่งเอง หากเป็นคนที่ไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย ไม่มีเงิน ไม่มีที่พึ่ง จะทำอย่างไร
5.เป็นธรรมดาของบริษัทประกันทั่วไปหรือไม่ ที่จะต้องยืดเวลาในการชดใช้ค่าสินไหมให้นานที่สุด
6.กรณีนี้ นาย B อายุ 17 ปี กำลังศึกษาอยู่ จะเรียกค่าสินไหมประมาณได้เท่าไร
7.กรณีนี้ นาย C และนาย D ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน เป็นธุรกิจส่วนตัว จะเรียกค่าสินไหมประมาณได้เท่าไร
8.หากจบคดีความและนาย E ไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดได้ ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป