ข้อระวัง Startup น้องใหม่ กับนักลงทุนรายใหญ่
ช่วงปี 2557 นับว่าเป็นปีที่ Startup ในไทยเกิดขึ้นมากมาย มีน้องๆ หน้าใหม่ที่มีความสามารถมารวมตัวกัน ส่วนใหญ่น้องๆ จะเก่งเรื่องการ Design การ Coding Program แต่ยังไม่ประสบการณ์เรื่องการทำธุรกิจ พอมีนักลงทุนสนใจมาลงทุนในโปรเจคที่ทำก็ดีใจ รีบตกลงร่วมธุรกิจด้วย วันนี้เลยผมอยากเล่า 2 Caseให้ฟังเป็นข้อคิดให้น้องๆ นะครับ
Case 1 นักลงทุนตีมูลค่ามากเกินไป
Case นี้คือ น้องๆ กลุ่มหนึ่งสร้าง App ขึ้นมา 1 App แล้วมีนักลงทุนเห็นว่ามีอนาคตจึงเข้ามาขอจัดการร่วมลงทุนและหาทุนเพิ่มเติมเพื่อทำธุรกิจต่อไป แต่การตีราคาและนำไปคุยกับนักลงทุนรายอื่นๆ เพื่อดึงมาร่วมทุนด้วยกัน เป็นการตีราคามากเกินไป เช่น ตีราคาว่าให้ผู้ร่วมลงทุนนำเงิน 3,500,000 บาท เพื่อมาร่วมลงทุนใน App นี้ คิดเป็น 40% ของจำนวนเงินลงทุนทั้งหมด ถึงแม้ว่า App จะดูดีมีอนาคตไกล แต่การตีมูลค่าขนาดนี้ นักลงทุนรายอื่น อาจจะคิดได้ว่า เอาเงิน 1,500,000 บาท ไปจ้างบริษัทมาเขียน App คล้ายๆ กัน ตัด เพิ่ม บางฟังก์ชั่นออกไป แล้วยังเหลือเงินอีก 2,000,000 บาท ในการนำมาบริหาร ทำโฆษณา และยังได้เป็นเจ้าของ App 100% ด้วย การตีมูลค่ามากเกินไปนี้สุดท้ายอาจจะทำให้ App ไม่ไปไหนเพราะหานักลงทุนไม่ได้ ในโลก Digital อย่าหลงตัวเองมากเกินไปว่าเราทำ App แบบนี้ได้ คนอื่นก็ทำได้เช่นกัน
Case 2 นักลงทุน ลงทุนเสร็จแล้วขายทิ้ง
Startup ส่วนใหญ่ น้องๆ จะร่วมหุ้นกันหลายคน จัดตั้งบริษัทขึ้นมา สมมุติมีนาย A B C D ถึอหุ้นเท่าๆ กัน คนละ 25% จากนั้นมีนักลงทุนมาขอซื้อหุ้น 49% โดยทำเงินสดมาลงทุนด้วย การทำแบบนี้มี 2 วิธีคือ แต่ละคนแบ่งขายหุ้นออกมา มูลค่าหุ้นรวมยังเท่าเดิม หรือ เพิ่มทุนบริษัทกลายเป็น นาย E เข้ามาถึอ 49% อีก 51% เป็นนาย A B C D มูลค่าหุ้นทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะนิยมวิธีนี้มากกว่าวิธีแรก โดยนาย E ที่เข้ามาลงทุนมักจะมีธุรกิจที่ดูน่าเชื่อถือ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เมื่อนาย E ได้ซื้อหุ้นไปแล้ว ก็ไปทำการประกาศกับผู้ถือหุ้นในบริษัทของเขา ว่าจะมีการลงทุนแบบนี้ กำไรจะได้อย่างนี้ จากนั้นหุ้นของบริษัทนาย E ก็ขึ้น นาย E ก็ขายหุ้นได้กำไรต่อที่ 1 จากนั้น นาย E ก็จะถามผู้ถือหุ้นว่ามีใครต้องการมาซื้อหุ้นของบริษัทน้องๆ บางหรือไม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่แล้ว นาย E ก็จะขายหุ้นของนาย E ให้ใครที่ทางน้องๆ ไม่รู้จักหลายคนเข้ามาถือหุ้นในบริษัทของน้อง นาย E ก็ได้กำไรต่อที่ 2 แล้วก็จากไป บริษัทน้องๆ ก็จะได้เงินเข้ามาจริง แต่ผู้ถือหุ้นกลายเป็นใครก็ไม่รู้
นี่เป็นเพียง 2 Case ยังมีอีกหลาย Case ที่เกิดขึ้น ในโลกของธุรกิจมีหลายคนที่ไม่สนใจ ไม่มีความรักในตัว Product ที่สร้างขึ้นมาจริงๆ เหมือนน้องๆ ผู้สร้าง มีแต่คนคิดแต่จะมาหากำไรจากมันให้ได้มากที่สุดในเวลาเร็วที่สุด ดังนั้นหากน้องๆ จะหาทุนเพิ่มควรหาจากผู้ที่มีความเข้าใจใน Product ของน้องจริงๆ มีช่องทางที่จะทำให้มันโต คือเขาได้ App เราไปเขาก็เอาไปต่อยอดธุรกิจได้ เราก็ได้ประโยชน์ไปด้วย Win-Win กันทั้งคู่ หากเจอแต่คนที่เอาแต่เงินมาลงทุน ไม่มีทางที่เขาจะช่วยให้ App เราเติมโตได้ ก็ไม่น่าร่วมทุนด้วยครับ
http://www.pesilp.com/blog/startup-investor/
ข้อระวัง Startup น้องใหม่ กับนักลงทุนรายใหญ่
ช่วงปี 2557 นับว่าเป็นปีที่ Startup ในไทยเกิดขึ้นมากมาย มีน้องๆ หน้าใหม่ที่มีความสามารถมารวมตัวกัน ส่วนใหญ่น้องๆ จะเก่งเรื่องการ Design การ Coding Program แต่ยังไม่ประสบการณ์เรื่องการทำธุรกิจ พอมีนักลงทุนสนใจมาลงทุนในโปรเจคที่ทำก็ดีใจ รีบตกลงร่วมธุรกิจด้วย วันนี้เลยผมอยากเล่า 2 Caseให้ฟังเป็นข้อคิดให้น้องๆ นะครับ
Case 1 นักลงทุนตีมูลค่ามากเกินไป
Case นี้คือ น้องๆ กลุ่มหนึ่งสร้าง App ขึ้นมา 1 App แล้วมีนักลงทุนเห็นว่ามีอนาคตจึงเข้ามาขอจัดการร่วมลงทุนและหาทุนเพิ่มเติมเพื่อทำธุรกิจต่อไป แต่การตีราคาและนำไปคุยกับนักลงทุนรายอื่นๆ เพื่อดึงมาร่วมทุนด้วยกัน เป็นการตีราคามากเกินไป เช่น ตีราคาว่าให้ผู้ร่วมลงทุนนำเงิน 3,500,000 บาท เพื่อมาร่วมลงทุนใน App นี้ คิดเป็น 40% ของจำนวนเงินลงทุนทั้งหมด ถึงแม้ว่า App จะดูดีมีอนาคตไกล แต่การตีมูลค่าขนาดนี้ นักลงทุนรายอื่น อาจจะคิดได้ว่า เอาเงิน 1,500,000 บาท ไปจ้างบริษัทมาเขียน App คล้ายๆ กัน ตัด เพิ่ม บางฟังก์ชั่นออกไป แล้วยังเหลือเงินอีก 2,000,000 บาท ในการนำมาบริหาร ทำโฆษณา และยังได้เป็นเจ้าของ App 100% ด้วย การตีมูลค่ามากเกินไปนี้สุดท้ายอาจจะทำให้ App ไม่ไปไหนเพราะหานักลงทุนไม่ได้ ในโลก Digital อย่าหลงตัวเองมากเกินไปว่าเราทำ App แบบนี้ได้ คนอื่นก็ทำได้เช่นกัน
Case 2 นักลงทุน ลงทุนเสร็จแล้วขายทิ้ง
Startup ส่วนใหญ่ น้องๆ จะร่วมหุ้นกันหลายคน จัดตั้งบริษัทขึ้นมา สมมุติมีนาย A B C D ถึอหุ้นเท่าๆ กัน คนละ 25% จากนั้นมีนักลงทุนมาขอซื้อหุ้น 49% โดยทำเงินสดมาลงทุนด้วย การทำแบบนี้มี 2 วิธีคือ แต่ละคนแบ่งขายหุ้นออกมา มูลค่าหุ้นรวมยังเท่าเดิม หรือ เพิ่มทุนบริษัทกลายเป็น นาย E เข้ามาถึอ 49% อีก 51% เป็นนาย A B C D มูลค่าหุ้นทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะนิยมวิธีนี้มากกว่าวิธีแรก โดยนาย E ที่เข้ามาลงทุนมักจะมีธุรกิจที่ดูน่าเชื่อถือ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เมื่อนาย E ได้ซื้อหุ้นไปแล้ว ก็ไปทำการประกาศกับผู้ถือหุ้นในบริษัทของเขา ว่าจะมีการลงทุนแบบนี้ กำไรจะได้อย่างนี้ จากนั้นหุ้นของบริษัทนาย E ก็ขึ้น นาย E ก็ขายหุ้นได้กำไรต่อที่ 1 จากนั้น นาย E ก็จะถามผู้ถือหุ้นว่ามีใครต้องการมาซื้อหุ้นของบริษัทน้องๆ บางหรือไม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่แล้ว นาย E ก็จะขายหุ้นของนาย E ให้ใครที่ทางน้องๆ ไม่รู้จักหลายคนเข้ามาถือหุ้นในบริษัทของน้อง นาย E ก็ได้กำไรต่อที่ 2 แล้วก็จากไป บริษัทน้องๆ ก็จะได้เงินเข้ามาจริง แต่ผู้ถือหุ้นกลายเป็นใครก็ไม่รู้
นี่เป็นเพียง 2 Case ยังมีอีกหลาย Case ที่เกิดขึ้น ในโลกของธุรกิจมีหลายคนที่ไม่สนใจ ไม่มีความรักในตัว Product ที่สร้างขึ้นมาจริงๆ เหมือนน้องๆ ผู้สร้าง มีแต่คนคิดแต่จะมาหากำไรจากมันให้ได้มากที่สุดในเวลาเร็วที่สุด ดังนั้นหากน้องๆ จะหาทุนเพิ่มควรหาจากผู้ที่มีความเข้าใจใน Product ของน้องจริงๆ มีช่องทางที่จะทำให้มันโต คือเขาได้ App เราไปเขาก็เอาไปต่อยอดธุรกิจได้ เราก็ได้ประโยชน์ไปด้วย Win-Win กันทั้งคู่ หากเจอแต่คนที่เอาแต่เงินมาลงทุน ไม่มีทางที่เขาจะช่วยให้ App เราเติมโตได้ ก็ไม่น่าร่วมทุนด้วยครับ
http://www.pesilp.com/blog/startup-investor/