คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ตอบในฐานะที่ร่ำเรียนด้านนี้มานะคะ
(จริงๆข้อมูลใน google เยอะมากนะคะถ้าสนใจ ก็ลองอ่านดูได้ค่ะ)
ฝนเทียมประเทศอื่นทำยังไง เราจะไม่พูดถึงนะ เราจะพูดถึงฝนเทียมในประเทศไทย
ปกติเราไม่ค่อยเรียก"ฝนเทียม" (Artificial rain) ค่ะ เราเรียก "ฝนหลวง" (Royal rain)
เพราะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง
(เวลาต้องอธิบายให้เพื่อนฝรั่งฟัง เราก็เรียก royal rain ตลอดนะ)
การทำฝนหลวงมีหลักการง่ายๆเหมือนการเกิดฝนคือ ทำให้เมฆหนาขึ้น มีน้ำมากขึ้น และสุดท้ายกลายเป็นฝน
ฝนหลวงไม่สามารถทำได้ทุกวัน ไม่ใช่ว่าวันนี้อยากให้ฝนตก ก็ขึ้นเครื่องบินไปทำฝนได้เลย
ต้องมีปัจจัยหลายอย่างค่ะ เช่น ความชื้น (humidity) น้ำในอากาศ (percipitation) ลม (wind) ความกดอากาศ (air pressure) เป็นต้น
ขั้นตอน มี 3 ขั้นค่ะ
1. ก่อเมฆ ในที่นี้คือเราต้องมีเมฆนะคะ เรายังไม่เทพขนาดจะสร้างเมฆขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ ขั้นตอนนี้จะใส่ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl, เกลือแกง) โปรยด้านบนของเมฆ เกลือ จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้น และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก เหมือนขยายปริมาณเมฆค่ะ
2. เลี้ยงให้อ้วน เมื่อเรามีเมฆเยอะๆแล้ว เราก็ต้องเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น และทำให้น้องเมฆมีน้ำอยู่ข้างในเยอะๆ จะได้หนักๆ เราใช้
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) แคลเซี่ยมคลอไรด์มีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดี จะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้แคลเซี่ยมคลอไรด์เมื่อละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนค่ะ ความร้อนจะเพิ่มอัตราเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้น (Updraft) ในก้อนเมฆ เป็นปัจจัยเร่งกระบวนการชนกันและรวมตัวกัน (Collision and coalescence process) ของเม็ดน้ำ ทำให้เม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆ และยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้น เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวของบรรยากาศในแต่ละวัน (อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า มีปัจจัยหลายๆอย่างหน่ะค่ะ)
3. โจมตี ขั้นตอนนี้เราจะเร่งให้หยดน้ำในเมฆกลั่นตัวตกเป็นฝนค่ะ ซึ่งแบบมีวิธีโจมตี 3 วิธีด้วยกัน คือ แบบธรรมดา แบบแซนวิช และแบบซุปเปอร์แซนวิช (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในวันนั้นๆ) วันนี้ขออธิบายวิธีธรรมดาวิธีเดียวนะคะ วิธีอื่นๆลองให้ google ดูนะคะ วิธีธรรมดาเหมาะกับวันที่เมฆเย็นค่ะ ใช้พลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) ยิงเข้าสู่ยอดเมฆ ซิลเวอร์ไอโอไดด์จะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง (Ice Nuclei) ซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำเย็นจัดในยอดเมฆ เม็ดน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง และคายความร้อนแฝงออกมาด้วย ความร้อนนี้จะทำให้ยอดเมฆสูงขึ้นไปอีก ส่วนเม็ดน้ำแข็งก็จะตกลงมาเป็นฝนค่ะ
ขั้นตอนที่ 4 คือขั้นตอนพิเศษ คือไม่ได้ทำทุกครั้ง ขั้นตอนนี้คือการเพิ่มฝนค่ะ จะทำตอนที่ฝนใกล้จะตกหรือกำลังตกอยู่ โดยการเอาน้ำแข็งแห้ง (dry ice) โปรยที่ใต้ฐานเมฆ เป็นการปรับอุณหภูมิของบรรยากาศระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินให้เย็นลง ทำให้ฝนตกนานขึ้นและเยอะขึ้นค่ะ
เรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดูจากสารเคมีที่ใช้ในทุกๆกระบวนการ ก็ไม่ได้มีกระทบอะไรนะคะ แม้จะใส่เกลือไปด้วยแต่ฝนหลวงก็ไม่ได้เค็มแต่อย่างใด และกว่าจะมาเป็นฝนหลวงอย่างทุกวันนี้ ในหลวงท่านทรงค้นคว้าและวิจัยผลกระทบต่างๆมาหลายปีค่ะ
ส่วนเรื่องผลกระทบต่อฤดูกาล เราไม่ได้ทำฝนหลวงกันทุกวันทุกเดือนค่ะ เราทำในช่วงที่จำเป็น ช่วงที่แล้งมากๆ และประชาชนเดือดร้อนจริงๆ
หวังว่าจะตอบคำถามของ จขกท. ได้นะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ (แอบยาวนิดนึง)
(จริงๆข้อมูลใน google เยอะมากนะคะถ้าสนใจ ก็ลองอ่านดูได้ค่ะ)
ฝนเทียมประเทศอื่นทำยังไง เราจะไม่พูดถึงนะ เราจะพูดถึงฝนเทียมในประเทศไทย
ปกติเราไม่ค่อยเรียก"ฝนเทียม" (Artificial rain) ค่ะ เราเรียก "ฝนหลวง" (Royal rain)
เพราะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง
(เวลาต้องอธิบายให้เพื่อนฝรั่งฟัง เราก็เรียก royal rain ตลอดนะ)
การทำฝนหลวงมีหลักการง่ายๆเหมือนการเกิดฝนคือ ทำให้เมฆหนาขึ้น มีน้ำมากขึ้น และสุดท้ายกลายเป็นฝน
ฝนหลวงไม่สามารถทำได้ทุกวัน ไม่ใช่ว่าวันนี้อยากให้ฝนตก ก็ขึ้นเครื่องบินไปทำฝนได้เลย
ต้องมีปัจจัยหลายอย่างค่ะ เช่น ความชื้น (humidity) น้ำในอากาศ (percipitation) ลม (wind) ความกดอากาศ (air pressure) เป็นต้น
ขั้นตอน มี 3 ขั้นค่ะ
1. ก่อเมฆ ในที่นี้คือเราต้องมีเมฆนะคะ เรายังไม่เทพขนาดจะสร้างเมฆขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ ขั้นตอนนี้จะใส่ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl, เกลือแกง) โปรยด้านบนของเมฆ เกลือ จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้น และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก เหมือนขยายปริมาณเมฆค่ะ
2. เลี้ยงให้อ้วน เมื่อเรามีเมฆเยอะๆแล้ว เราก็ต้องเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น และทำให้น้องเมฆมีน้ำอยู่ข้างในเยอะๆ จะได้หนักๆ เราใช้
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) แคลเซี่ยมคลอไรด์มีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดี จะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้แคลเซี่ยมคลอไรด์เมื่อละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนค่ะ ความร้อนจะเพิ่มอัตราเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้น (Updraft) ในก้อนเมฆ เป็นปัจจัยเร่งกระบวนการชนกันและรวมตัวกัน (Collision and coalescence process) ของเม็ดน้ำ ทำให้เม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆ และยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้น เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวของบรรยากาศในแต่ละวัน (อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า มีปัจจัยหลายๆอย่างหน่ะค่ะ)
3. โจมตี ขั้นตอนนี้เราจะเร่งให้หยดน้ำในเมฆกลั่นตัวตกเป็นฝนค่ะ ซึ่งแบบมีวิธีโจมตี 3 วิธีด้วยกัน คือ แบบธรรมดา แบบแซนวิช และแบบซุปเปอร์แซนวิช (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในวันนั้นๆ) วันนี้ขออธิบายวิธีธรรมดาวิธีเดียวนะคะ วิธีอื่นๆลองให้ google ดูนะคะ วิธีธรรมดาเหมาะกับวันที่เมฆเย็นค่ะ ใช้พลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) ยิงเข้าสู่ยอดเมฆ ซิลเวอร์ไอโอไดด์จะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง (Ice Nuclei) ซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำเย็นจัดในยอดเมฆ เม็ดน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง และคายความร้อนแฝงออกมาด้วย ความร้อนนี้จะทำให้ยอดเมฆสูงขึ้นไปอีก ส่วนเม็ดน้ำแข็งก็จะตกลงมาเป็นฝนค่ะ
ขั้นตอนที่ 4 คือขั้นตอนพิเศษ คือไม่ได้ทำทุกครั้ง ขั้นตอนนี้คือการเพิ่มฝนค่ะ จะทำตอนที่ฝนใกล้จะตกหรือกำลังตกอยู่ โดยการเอาน้ำแข็งแห้ง (dry ice) โปรยที่ใต้ฐานเมฆ เป็นการปรับอุณหภูมิของบรรยากาศระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินให้เย็นลง ทำให้ฝนตกนานขึ้นและเยอะขึ้นค่ะ
เรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดูจากสารเคมีที่ใช้ในทุกๆกระบวนการ ก็ไม่ได้มีกระทบอะไรนะคะ แม้จะใส่เกลือไปด้วยแต่ฝนหลวงก็ไม่ได้เค็มแต่อย่างใด และกว่าจะมาเป็นฝนหลวงอย่างทุกวันนี้ ในหลวงท่านทรงค้นคว้าและวิจัยผลกระทบต่างๆมาหลายปีค่ะ
ส่วนเรื่องผลกระทบต่อฤดูกาล เราไม่ได้ทำฝนหลวงกันทุกวันทุกเดือนค่ะ เราทำในช่วงที่จำเป็น ช่วงที่แล้งมากๆ และประชาชนเดือดร้อนจริงๆ
หวังว่าจะตอบคำถามของ จขกท. ได้นะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ (แอบยาวนิดนึง)
แสดงความคิดเห็น
กราบเรียนสอบถามครับด้วยความเคารพฝนหลวง