วันนี้ไปเดินออกกำลังกายตอนเช้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านค่ะ แล้วเจอกับสิ่งที่ไม่สบายใจ นั่นคือกองขยะแก้วน้ำถูกทิ้งอยู่ไม่น้อยกว่าสี่ห้าใบ ใกล้กับซุ้มลั่นทมและใกล้กับวัดน้อย สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนึงของคนน่าน
ความจริงแค่กองขยะ หลายคนอาจสงสัยว่าจะดราม่าทำไม อะไร เดี๋ยวเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ก็มาเก็บทำความสะอาดเอง
แต่ท่านรู้ไหมคะ ว่าคนที่เก็บขยะเหล่านั้นไป ไม่ใช่คนของพิพิธภัณฑ์แต่เป็นคนเมืองน่าน ที่มาเดินออกกำลังกาย เพราะเขาทนไม่ได้กับสิ่งที่เห็น
สาเหตุคือ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิม เป็นหอคำ หรือคุ้มหรือวังของเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งคนน่านเรียกว่า เจ้าชีวิต คนน่าน ณ ปัจจุบันยังรำลึกและยำเกรงกับสถานที่แห่งนี้อยู่ หากคนแก่อายุมากๆ พอตกเย็น พระอาทิตย์ตก เขาจะไม่กล้าเข้ามาเดินในพิพิธภัณฑ์หรอกค่ะ ด้วยถือว่าคือที่อยู่ของเจ้าชีวิต
และภายในพิพิธภัณฑ์ น่าน เป็นที่รวมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนน่านเคารพนับถือมากมาย นี่คือเหตุผลที่ทำไมต้องดราม่าในวันนี้
การท่องเที่ยว ณ ปัจจุบัน เมืองน่าน ถือว่ามาไกลมาก มีการพูดคุยกันว่า จะไม่มีการประชาสัมพันธ์แล้ว แต่น่านจะรับเฉพาะนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่ต้องการมาเที่ยว และชื่นชมความเป็นเมืองน่านจริงๆ นั่นคือ คุณต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองน่าน และรักน่านอย่างที่เจ้าบ้านเขารักด้วย
มีคนมากมายวิตก ว่าน่านจะกลายสภาพเป็นเหมือนปาย หลายคนบอกว่า ช่วยเก็บน่านไว้อย่างนี้ ให้เป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่ยังคงสภาพเช่นนี้ ไว้สำหรับพักผ่อน ผ่อนคลายได้จริง แม้แต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านก็เคยตรัสไว้ว่า "อยากให้จังหวัดน่าน รักษาวัฒนธรรมอย่างนี้ไว้"
เชื่อว่าหลายคนที่เคยมาน่าน รักน่านอย่างที่น่านเป็น น่านเป็นเมืองสะอาด บางคนบอกมาน่าน เหมือนอยู่ต่างประเทศ เพราะสะอาดสะอ้าน เทศบาลจะจ้างคนในชุมชนดูแลทำความสะอาดชุมชนของตนเอง ถ้าชุมชนไหนสกปรก จะเป็นที่ขายหน้าของชุมชนอื่นๆ ทุกคนดูแลหน้าบ้านตัวเองให้สะอาด
น่านมีวัดวาอารามที่ พระสงฆ์ขยันขันแข็ง แม้แต่เจ้าอาวาสก็ยังตื่นเช้าขึ้นมาปัดกวาดทำความสะอาดภายในวัดเป็นกิจวัตร
นี่คือเมืองน่านค่ะ ถ้าท่านอยากมาเที่ยวเมืองน่าน โปรดศึกษาให้รู้ถึงความเป็นน่าน โปรดเคารพความเป็นเมืองน่าน และสุดท้าย ปริมาณนักท่องเที่ยวมากมาย เมืองน่านไม่ได้ต้องการ แต่คนน่านต้องการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
ถนนสะอาดมากค่ะ
อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริพงษ์ เจ้าชีวิตของเมืองน่าน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
สนามหญ้าเขียว ถ่ายไปยังวัดพระธาตุช้างค้ำฯที่อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
เมืองน่าน ต้องการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มากกว่าปริมาณ
ความจริงแค่กองขยะ หลายคนอาจสงสัยว่าจะดราม่าทำไม อะไร เดี๋ยวเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ก็มาเก็บทำความสะอาดเอง
แต่ท่านรู้ไหมคะ ว่าคนที่เก็บขยะเหล่านั้นไป ไม่ใช่คนของพิพิธภัณฑ์แต่เป็นคนเมืองน่าน ที่มาเดินออกกำลังกาย เพราะเขาทนไม่ได้กับสิ่งที่เห็น
สาเหตุคือ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิม เป็นหอคำ หรือคุ้มหรือวังของเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งคนน่านเรียกว่า เจ้าชีวิต คนน่าน ณ ปัจจุบันยังรำลึกและยำเกรงกับสถานที่แห่งนี้อยู่ หากคนแก่อายุมากๆ พอตกเย็น พระอาทิตย์ตก เขาจะไม่กล้าเข้ามาเดินในพิพิธภัณฑ์หรอกค่ะ ด้วยถือว่าคือที่อยู่ของเจ้าชีวิต
และภายในพิพิธภัณฑ์ น่าน เป็นที่รวมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนน่านเคารพนับถือมากมาย นี่คือเหตุผลที่ทำไมต้องดราม่าในวันนี้
การท่องเที่ยว ณ ปัจจุบัน เมืองน่าน ถือว่ามาไกลมาก มีการพูดคุยกันว่า จะไม่มีการประชาสัมพันธ์แล้ว แต่น่านจะรับเฉพาะนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่ต้องการมาเที่ยว และชื่นชมความเป็นเมืองน่านจริงๆ นั่นคือ คุณต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองน่าน และรักน่านอย่างที่เจ้าบ้านเขารักด้วย
มีคนมากมายวิตก ว่าน่านจะกลายสภาพเป็นเหมือนปาย หลายคนบอกว่า ช่วยเก็บน่านไว้อย่างนี้ ให้เป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่ยังคงสภาพเช่นนี้ ไว้สำหรับพักผ่อน ผ่อนคลายได้จริง แม้แต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านก็เคยตรัสไว้ว่า "อยากให้จังหวัดน่าน รักษาวัฒนธรรมอย่างนี้ไว้"
เชื่อว่าหลายคนที่เคยมาน่าน รักน่านอย่างที่น่านเป็น น่านเป็นเมืองสะอาด บางคนบอกมาน่าน เหมือนอยู่ต่างประเทศ เพราะสะอาดสะอ้าน เทศบาลจะจ้างคนในชุมชนดูแลทำความสะอาดชุมชนของตนเอง ถ้าชุมชนไหนสกปรก จะเป็นที่ขายหน้าของชุมชนอื่นๆ ทุกคนดูแลหน้าบ้านตัวเองให้สะอาด
น่านมีวัดวาอารามที่ พระสงฆ์ขยันขันแข็ง แม้แต่เจ้าอาวาสก็ยังตื่นเช้าขึ้นมาปัดกวาดทำความสะอาดภายในวัดเป็นกิจวัตร
นี่คือเมืองน่านค่ะ ถ้าท่านอยากมาเที่ยวเมืองน่าน โปรดศึกษาให้รู้ถึงความเป็นน่าน โปรดเคารพความเป็นเมืองน่าน และสุดท้าย ปริมาณนักท่องเที่ยวมากมาย เมืองน่านไม่ได้ต้องการ แต่คนน่านต้องการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
ถนนสะอาดมากค่ะ
อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริพงษ์ เจ้าชีวิตของเมืองน่าน ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
สนามหญ้าเขียว ถ่ายไปยังวัดพระธาตุช้างค้ำฯที่อยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์