รบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ ชาวหว้ากอ ให้คำแนะนำด้วยครับ คือผมสงสัยว่าถ้าหากเรานำกระบอกที่บรรจุจารบีชนิดเดียวกัน, ปริมาณเท่ากันจำนวน 3 หลอดดังรูปซึ่งมีขนาดความกว้างของกระบอกเท่ากันคือ 10 cm โดยที่ปลายด้านบนป้อนลมอัดคงที่ที่ 0.1 MPa (เหมือนกันทั้ง 3 หลอด) เพื่อขับให้จารบีไปออกทางปลายหลอดด้านล่าง ซึ่งปากทางออกของแต่ละกระบอกมีความแตกต่างกันไป (ดังรูป) เป็นเวลา 1 นาที ผมอยากทราบว่าปริมาณของจารบีที่ออกมาแต่ละหลอดเป็นเท่าใด (ด้วยวิธีการคำนวณ) และปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการไหลของจารบี
เท่าที่ผมไปลองค้นๆ ดูก็พบว่ามีสมการที่ใช้อยู่หลายตัว พื้นๆ เลยก็เช่น P=F/A, Q=VA, ส่วนที่ลึกหน่อยก็พวกสมการแบร์นูลลี่ (เขียนถูกป่าวหว่า) จะมี loss มี head มาเกี่ยวข้องด้วย (เริ่มมึน) แต่ผมก็ไม่รู้จะเอาพวกนี้มาเชื่อมโยงกันได้ยังไงถึงจะหาคำตอบได้ รบกวนชี้แนะด้วยครับว่าควรจะเริ่มตรงไหนดี
ปล.พอดีผมทำงานเกี่ยวกับเครื่องหยอดกาวอ่ะครับ หัวหน้าอยากให้หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของไหล เพราะปกติเขียนแต่โปรแกรม ^^
ของไหลที่ไหลผ่านกระบอกในกรณีหน้าตัดไม่เท่ากัน
เท่าที่ผมไปลองค้นๆ ดูก็พบว่ามีสมการที่ใช้อยู่หลายตัว พื้นๆ เลยก็เช่น P=F/A, Q=VA, ส่วนที่ลึกหน่อยก็พวกสมการแบร์นูลลี่ (เขียนถูกป่าวหว่า) จะมี loss มี head มาเกี่ยวข้องด้วย (เริ่มมึน) แต่ผมก็ไม่รู้จะเอาพวกนี้มาเชื่อมโยงกันได้ยังไงถึงจะหาคำตอบได้ รบกวนชี้แนะด้วยครับว่าควรจะเริ่มตรงไหนดี
ปล.พอดีผมทำงานเกี่ยวกับเครื่องหยอดกาวอ่ะครับ หัวหน้าอยากให้หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของไหล เพราะปกติเขียนแต่โปรแกรม ^^