รำลึกถึงยาขอบ (๑)
นักอ่านในประเทศไทย ที่เกิดก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ คงไม่มีใครไม่รู้จักนิยายอิงพงศาวดารพม่า เรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ” เพราะนิยายเรื่องนี้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ขณะที่ท่านยาขอบมีอายุ ๒๕ ปี และนิยายเรื่องนี้ได้พิมพ์ออกมาสู่นักอ่าน ก่อนที่จะถึง พ.ศ.๒๕๐๐ ถึงเจ็ดครั้ง ชื่อเสียงของนิยาย และชื่อเสียงของผู้เขียน ได้ดังไปถึงระดับสูงสุดของวงวรรณกรรมไทย เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างชื่นชม ทั่ววงการ
และเมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยจากกึ่งพุทธกาลมาอีกหลายสิบปี ผู้คนที่เกิดมาในรุ่นหลังก็ได้รู้จัก ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ มากขึ้น โดยได้ชมจากภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์ และการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ จนมาถึงยุค ละครพันทาง ของ กรมศิลปากร โดยท่านอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ได้เขียนเป็นบทละคร และจัดแสดง บนเวทีโรงละครแห่งชาติ เป็นความยาวถึง ๖๐ ตอน และแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ ซ้ำหลายครั้งหลายหน ในช่วงเวลา ๑๒ ปี มีผู้ติดตามชมไม่รู้เบื่อ ผู้ชนะสิบทิศ ของท่าน ยาขอบ จึงยืนยงคงกระพันอยู่จนถึงบัดนี้
ท่านผู้เขียนได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในคำนำการพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ว่า
.................อารมณ์ของข้าพเจ้าก็คิดกลับไปถึงวันหนึ่งในราวเดือนตุลาคมของปี ๒๔๗๔ ซึ่งในวันนั้นจำได้ว่า ข้าพเจ้ารู้สึกอึดอัดและลำบากยากใจเสียจริง ๆ ที่เพื่อนสองสามคน ซึ่งบรรลุชื่อเสียงอันดีในเชิงประพันธ์แล้วและมีความรักห่วงใยในตัวข้าพเจ้ามาก ได้ช่วยกันแสดงความเห็นว่า ข้าพเจ้าควรจะเลิกเขียนหนังสืออย่างจับจดเป็นการสนุกเสียที แล้วลองหันมาพากเพียรเขียนให้เป็นชิ้นเป็นอันกับเขาบ้าง และมิตรผู้มีอุปการคุณเหล่านั้น เชื่อว่าข้าพเจ้าจะทำได้ ข้าพเจ้าก็รับปากทั้งที่ไม่เชื่อตัวเอง หากโดยอาศัยความเชื่อของผู้อื่น
ในสมัยนั้นเรื่องเกร็ดกิ่งก้านแขนงพงศาวดาร กำลังตื่นตัวอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน และนักเขียนเรื่องชนิดนี้ในครั้งนั้นดูเหมือนจะแข่งขันกันในเชิงว่า ใครจะเขียนได้ถูกถ้วนตามพงศาวดารยิ่งกว่ากัน จนกระทั่งบางท่านสามารถเขียนขึ้นได้อย่างเดียวกับหนังสือพงศาวดาร ที่เคยตีพิมพ์มาแล้วก็มี ....................
............ข้าพเจ้าเริ่มเรื่อง “ยอดขุนพล” โดยเคร่งในคติที่ว่า จะบำเรอผู้อ่านให้สนุกยิ่งกว่ากอดพงศาวดารเดิม ข้าพเจ้าเขียน “ยอดขุนพล” เกือบ ๘๐๐๐ บรรทัด โดยอาศัยความสำคัญของพงศาวดารเดิม ๘ บรรทัด .................
.............ในที่นี้และโดยหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอชี้แจงต่อผู้อ่านด้วยความคารวะว่า ไม่มีอะไรที่ข้าพเจ้ากล้ารับรอง ว่าเป็นพงศาวดารที่ถูกต้องอยู่ในผู้ชนะสิบทิศ ข้าพเจ้าเขียนขึ้นด้วยอารมณ์ฝัน ผู้ชนะสิบทิศถูกปลอมขึ้นจนดูประหนึ่ง เป็นพงศาวดารด้วยอารมณ์ฝันเท่านั้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฟังชื่อคนและถิ่นฐานเป็นพม่า แต่ข้าพเจ้าผู้เขียนซึ่งอยู่ในเมืองไทยมา ๒๗ ปี โดยมีอายุ ๒๗ ปี ....................เพราะฉะนั้น ท่านควรลืมโลกจริง ๆ ของท่านเสีย และอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้มีเกียรติยศ พาท่านไปสนุกในดินแดนอันเป็นของข้าพเจ้าเอง
เมื่อเตรียมตัวจะปลอมพงศาวดารสักเรื่องหนึ่งนั้น ข้าพเจ้าค้นพบประวัติมหาราชพม่าองค์หนึ่งชื่อ จะเด็ด ซึ่งกำเนิดแต่ตระกูลต่ำต้อย แต่โดยเหตุที่แม่เผอิญได้เป็นพระนมลูกหลวง จะเด็ดจึงได้คลุกคลีอยู่ในที่สูง ถึงกับได้เป็นเจ้าของดวงใจพระพี่นางสาวของเจ้านายตน ตามพงศาวดารปรากฏว่า จะเด็ดเป็นแม่ทัพที่ทำการได้ประโยชน์แก่เจ้านายของตนมาก เป็นเทพบุตรแห่งการสงคราม ของสุวรรณภูมิในสมัยนั้น และเป็นผู้ที่มีเดชานุภาพทางบกมากที่สุด ในสมัยที่คนผู้นี้ได้เสวยราชย์ประกาศนามเป็น พระเจ้าบุเรงนอง
เรื่องผู้ชนะสิบทิศ เริ่มลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ และจบภาคหนึ่ง วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖
ท่านยาขอบมีนามจริงว่า โชติ แพร่พันธุ์ เกิดเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๐ นับอายุได้ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๐ และ ถึงแก่กรรมเมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๙ นับเวลาได้ ๕๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๙
จึงขอรำลึกถึงท่าน ในโอกาสนี้ ด้วยความเคารพอย่างสูง.
รำลึกถึง ยาขอบ (๑)
นักอ่านในประเทศไทย ที่เกิดก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ คงไม่มีใครไม่รู้จักนิยายอิงพงศาวดารพม่า เรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ” เพราะนิยายเรื่องนี้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ขณะที่ท่านยาขอบมีอายุ ๒๕ ปี และนิยายเรื่องนี้ได้พิมพ์ออกมาสู่นักอ่าน ก่อนที่จะถึง พ.ศ.๒๕๐๐ ถึงเจ็ดครั้ง ชื่อเสียงของนิยาย และชื่อเสียงของผู้เขียน ได้ดังไปถึงระดับสูงสุดของวงวรรณกรรมไทย เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างชื่นชม ทั่ววงการ
และเมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยจากกึ่งพุทธกาลมาอีกหลายสิบปี ผู้คนที่เกิดมาในรุ่นหลังก็ได้รู้จัก ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ มากขึ้น โดยได้ชมจากภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์ และการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ จนมาถึงยุค ละครพันทาง ของ กรมศิลปากร โดยท่านอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ได้เขียนเป็นบทละคร และจัดแสดง บนเวทีโรงละครแห่งชาติ เป็นความยาวถึง ๖๐ ตอน และแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ ซ้ำหลายครั้งหลายหน ในช่วงเวลา ๑๒ ปี มีผู้ติดตามชมไม่รู้เบื่อ ผู้ชนะสิบทิศ ของท่าน ยาขอบ จึงยืนยงคงกระพันอยู่จนถึงบัดนี้
ท่านผู้เขียนได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในคำนำการพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ว่า
.................อารมณ์ของข้าพเจ้าก็คิดกลับไปถึงวันหนึ่งในราวเดือนตุลาคมของปี ๒๔๗๔ ซึ่งในวันนั้นจำได้ว่า ข้าพเจ้ารู้สึกอึดอัดและลำบากยากใจเสียจริง ๆ ที่เพื่อนสองสามคน ซึ่งบรรลุชื่อเสียงอันดีในเชิงประพันธ์แล้วและมีความรักห่วงใยในตัวข้าพเจ้ามาก ได้ช่วยกันแสดงความเห็นว่า ข้าพเจ้าควรจะเลิกเขียนหนังสืออย่างจับจดเป็นการสนุกเสียที แล้วลองหันมาพากเพียรเขียนให้เป็นชิ้นเป็นอันกับเขาบ้าง และมิตรผู้มีอุปการคุณเหล่านั้น เชื่อว่าข้าพเจ้าจะทำได้ ข้าพเจ้าก็รับปากทั้งที่ไม่เชื่อตัวเอง หากโดยอาศัยความเชื่อของผู้อื่น
ในสมัยนั้นเรื่องเกร็ดกิ่งก้านแขนงพงศาวดาร กำลังตื่นตัวอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน และนักเขียนเรื่องชนิดนี้ในครั้งนั้นดูเหมือนจะแข่งขันกันในเชิงว่า ใครจะเขียนได้ถูกถ้วนตามพงศาวดารยิ่งกว่ากัน จนกระทั่งบางท่านสามารถเขียนขึ้นได้อย่างเดียวกับหนังสือพงศาวดาร ที่เคยตีพิมพ์มาแล้วก็มี ....................
............ข้าพเจ้าเริ่มเรื่อง “ยอดขุนพล” โดยเคร่งในคติที่ว่า จะบำเรอผู้อ่านให้สนุกยิ่งกว่ากอดพงศาวดารเดิม ข้าพเจ้าเขียน “ยอดขุนพล” เกือบ ๘๐๐๐ บรรทัด โดยอาศัยความสำคัญของพงศาวดารเดิม ๘ บรรทัด .................
.............ในที่นี้และโดยหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอชี้แจงต่อผู้อ่านด้วยความคารวะว่า ไม่มีอะไรที่ข้าพเจ้ากล้ารับรอง ว่าเป็นพงศาวดารที่ถูกต้องอยู่ในผู้ชนะสิบทิศ ข้าพเจ้าเขียนขึ้นด้วยอารมณ์ฝัน ผู้ชนะสิบทิศถูกปลอมขึ้นจนดูประหนึ่ง เป็นพงศาวดารด้วยอารมณ์ฝันเท่านั้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฟังชื่อคนและถิ่นฐานเป็นพม่า แต่ข้าพเจ้าผู้เขียนซึ่งอยู่ในเมืองไทยมา ๒๗ ปี โดยมีอายุ ๒๗ ปี ....................เพราะฉะนั้น ท่านควรลืมโลกจริง ๆ ของท่านเสีย และอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้มีเกียรติยศ พาท่านไปสนุกในดินแดนอันเป็นของข้าพเจ้าเอง
เมื่อเตรียมตัวจะปลอมพงศาวดารสักเรื่องหนึ่งนั้น ข้าพเจ้าค้นพบประวัติมหาราชพม่าองค์หนึ่งชื่อ จะเด็ด ซึ่งกำเนิดแต่ตระกูลต่ำต้อย แต่โดยเหตุที่แม่เผอิญได้เป็นพระนมลูกหลวง จะเด็ดจึงได้คลุกคลีอยู่ในที่สูง ถึงกับได้เป็นเจ้าของดวงใจพระพี่นางสาวของเจ้านายตน ตามพงศาวดารปรากฏว่า จะเด็ดเป็นแม่ทัพที่ทำการได้ประโยชน์แก่เจ้านายของตนมาก เป็นเทพบุตรแห่งการสงคราม ของสุวรรณภูมิในสมัยนั้น และเป็นผู้ที่มีเดชานุภาพทางบกมากที่สุด ในสมัยที่คนผู้นี้ได้เสวยราชย์ประกาศนามเป็น พระเจ้าบุเรงนอง
เรื่องผู้ชนะสิบทิศ เริ่มลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ และจบภาคหนึ่ง วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖
ท่านยาขอบมีนามจริงว่า โชติ แพร่พันธุ์ เกิดเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๐ นับอายุได้ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๐ และ ถึงแก่กรรมเมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๙ นับเวลาได้ ๕๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๙
จึงขอรำลึกถึงท่าน ในโอกาสนี้ ด้วยความเคารพอย่างสูง.