بسم الله الرحمن الرحيم
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
เพื่อให้การกำหนดวันที่ 1 เดือนเชาวาล (อีฎิ้ลฟิตริ) ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1435 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
หากมีผู้เห็นดวงจันทร์ในวันและเวลาดังกล่าวโปรดแจ้งกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจักได้ตรวจสอบและรายงานผลการดูดวงจันทร์ดังกล่าวไปยังจุฬาราชมนตรี เพื่อออกประกาศแจ้งให้พี่น้องมุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนาต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายอาศิส พิทักษ์คุมพล)
จุฬาราชมนตรี
วันอีด คือเทศกาลแห่งความสุขที่ชาวมุสลิมทั่วโลกรอคอยมาถึงอีกครั้งแล้ว คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นวันปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม แต่ผิดถนัด!! แท้จริงมันคือวันสำคัญทางศาสนา เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติศาสนกิจ และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน
วันอีด Eid (عيد) ในภาษาอาหรับหมายถึง วันรื่นเริง,วันเฉลิมฉลอง ในบทบัญญัติของศาสนาอิสลามอนุญาติให้มุสลิม ฉลองวันสำคัญในศาสนาได้เพียง 2วัน
คือวันอิฎิ้ลฟิตรี(สิ้นสุดเดือนรอมฎอน)หรือที่เรียกอีกชื่อว่าวันอีดเล็ก และวันอิฎิ้ลอัฎฮา(ช่วงเริ่มพิธีฮัจญ์)หรือเรียกว่า วันอีดใหญ่
วันอีฎิลฟิตรี แปลว่า สภาพเดิม เมื่อนำเอาคำว่า “อีด” มารวมกับ “อัลฟิรต” จึงได้เป็นอีฎิลฟิตรี มีความหมายว่า วันรื่นเริงเนื่องในการครบรอบเข้าสู่สภาพเดิมหรือเทศกาลของการเข้าสู่สภาพเดิม หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน คือสภาพที่ไม่ต้องอดอาหารอีกแล้ว วันอีดิลฟิตริ คือวันรื่นเริงที่กลับสู่สภาพเดิมคือไม่ต้องถือศีลอด ชาวไทยมุสลิมที่อยู่ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเรียกวันนี้ว่า "ฮารีรายอ"
เดิมคำนี้มีรากศัพท์มาจากคำว่า Hari Raya (ฮารีรายา) ในภาษามลายู ชาวมุสลิมไทย3 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาสจะออกเสียงเป็นภาษามลายูถิ่นว่า “ฮารีรายอ” ส่วนชาวไทยมุสลิมภาคอื่นๆและมุสลิมภาคใต้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ภูเก็ต พังงา กระบี่ จะนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช,วันอีด หรือว่าวันรายา
วันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันอีด มุสลิมจะการแต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ใหม่ที่สุด ดีที่สุด และสะอาดเรียบร้อย มีการจ่ายซะกาตหรือการบริจาคทานเมื่อมีทรัพย์สินครบถึงจำนวนที่กำหนด ทั้งนี้สามารถเทียบเคียงได้กับการจ่ายภาษีให้แก่สังคมนั่นเอง ถือเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และเติมเต็มช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ก่อนเริ่มพิธีละหมาดอีด มีการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า(ตักบีร) ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดฟังคุตบะฮ์ที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง มอบของขวัญ รับประทานอาหาร ร่วมกัน มีการไปเยี่ยมเยียนสุสานของญาติพี่น้อง มีการให้อภัยความผิดต่างๆที่ผ่านมาต่อกัน ภายในกรอบของศาสนา
การกล่าวอวยพรเนื่องในเทศกาลอิฎิลฟิตรี
สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในเทศกาลแห่งความสุขก็คือ คำอวยพร สำหรับวันอีดทั้ง 2 วันของชาวมุสลิมนี้ก็เช่นเดียวกัน โดยนิยมอวยพรกันและกัน ดังนี้
تقبل الله منا ومنك
“ตะก็อบบะลัลลอฮ์ มินนา วะมินกุม”
แปลว่า ขออัลลอฮ์ทรงตอบรับการงานที่ดีจากเราและจากท่าน
พร้อมทั้งมีการขออภัยในความผิดที่ได้กระทำต่อกันแล้วๆ มาด้วยคำว่า “ขอมอัฟ” ซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่า ขอโทษ
ส่วนคำว่า "อีด มูบาร็อค" Eid Mubarak (عيد مبارك) นั้นมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า สุขสันต์วันอีด
เช่นเดียวกับคำว่า “เซอลามัต ฮารีรายา Selamat Hari Raya / เซอลามัต ฮารีรายอ” ในภาษามลายูกลาง และมลายูถิ่น(3จังหวัด)
_____________________________________________________________
ในคืนวันนี้ อาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2557 สำนักจุฬาราชมนตรีจะถ่ายทอดสดผลการดูดวงจันทร์ เพื่อจะประกาศผลการดูดวงจันทร์ ของวันที่ 1 เดือนเซาวาล (วันอีฎิ้ลฟิตริ) ประจำปี ฮ.ศ.1435 ระหว่างเวลา 20.30 – 20.45 น ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT (ช่อง 11) กรมประชาสัมพันธ์ ถ้าหากคืนนี้เห็นดวงจันทร์ วันอีดอิฎิ้ลฟิตรี คือวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2557พรุ่งนี้ แต่ถ้าหากไม่เห็น วันอีดก็จะเป็น วันอังคาร ที่ 29 กรกฎาคม 2557
ถ้าหากว่าคืนนี้เห็นดวงจันทร์ ภายหลังจากประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรีแล้ว ทุกชุมชนมุสลิมทั้งประเทศ ตามมัสยิด บ้านเรือน หรือจะมีการกล่าวตักบีร(สรรเสริญพระเจ้า) กันอย่างกึกก้อง ถือเป็นสโลแกนของวันสำคัญ สิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำในคืนวันอีด
สุดท้ายผมขอส่งความสุขและอวยพรพี่น้องมุสลิมในPantip ด้วยกับคำว่า
عيد مبارك سعيد
تقبل الله منا ومنك
จุฬาราชมนตรี ประกาศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันอีด(อีฎิ้ลฟิตริ)
بسم الله الرحمن الرحيم
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
หากมีผู้เห็นดวงจันทร์ในวันและเวลาดังกล่าวโปรดแจ้งกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจักได้ตรวจสอบและรายงานผลการดูดวงจันทร์ดังกล่าวไปยังจุฬาราชมนตรี เพื่อออกประกาศแจ้งให้พี่น้องมุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนาต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายอาศิส พิทักษ์คุมพล)
จุฬาราชมนตรี
วันอีด คือเทศกาลแห่งความสุขที่ชาวมุสลิมทั่วโลกรอคอยมาถึงอีกครั้งแล้ว คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นวันปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม แต่ผิดถนัด!! แท้จริงมันคือวันสำคัญทางศาสนา เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติศาสนกิจ และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน
วันอีด Eid (عيد) ในภาษาอาหรับหมายถึง วันรื่นเริง,วันเฉลิมฉลอง ในบทบัญญัติของศาสนาอิสลามอนุญาติให้มุสลิม ฉลองวันสำคัญในศาสนาได้เพียง 2วัน
คือวันอิฎิ้ลฟิตรี(สิ้นสุดเดือนรอมฎอน)หรือที่เรียกอีกชื่อว่าวันอีดเล็ก และวันอิฎิ้ลอัฎฮา(ช่วงเริ่มพิธีฮัจญ์)หรือเรียกว่า วันอีดใหญ่
วันอีฎิลฟิตรี แปลว่า สภาพเดิม เมื่อนำเอาคำว่า “อีด” มารวมกับ “อัลฟิรต” จึงได้เป็นอีฎิลฟิตรี มีความหมายว่า วันรื่นเริงเนื่องในการครบรอบเข้าสู่สภาพเดิมหรือเทศกาลของการเข้าสู่สภาพเดิม หลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอน คือสภาพที่ไม่ต้องอดอาหารอีกแล้ว วันอีดิลฟิตริ คือวันรื่นเริงที่กลับสู่สภาพเดิมคือไม่ต้องถือศีลอด ชาวไทยมุสลิมที่อยู่ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเรียกวันนี้ว่า "ฮารีรายอ"
เดิมคำนี้มีรากศัพท์มาจากคำว่า Hari Raya (ฮารีรายา) ในภาษามลายู ชาวมุสลิมไทย3 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาสจะออกเสียงเป็นภาษามลายูถิ่นว่า “ฮารีรายอ” ส่วนชาวไทยมุสลิมภาคอื่นๆและมุสลิมภาคใต้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ภูเก็ต พังงา กระบี่ จะนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช,วันอีด หรือว่าวันรายา
วันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันอีด มุสลิมจะการแต่งกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ใหม่ที่สุด ดีที่สุด และสะอาดเรียบร้อย มีการจ่ายซะกาตหรือการบริจาคทานเมื่อมีทรัพย์สินครบถึงจำนวนที่กำหนด ทั้งนี้สามารถเทียบเคียงได้กับการจ่ายภาษีให้แก่สังคมนั่นเอง ถือเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และเติมเต็มช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ก่อนเริ่มพิธีละหมาดอีด มีการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า(ตักบีร) ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดฟังคุตบะฮ์ที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง มอบของขวัญ รับประทานอาหาร ร่วมกัน มีการไปเยี่ยมเยียนสุสานของญาติพี่น้อง มีการให้อภัยความผิดต่างๆที่ผ่านมาต่อกัน ภายในกรอบของศาสนา
การกล่าวอวยพรเนื่องในเทศกาลอิฎิลฟิตรี
สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในเทศกาลแห่งความสุขก็คือ คำอวยพร สำหรับวันอีดทั้ง 2 วันของชาวมุสลิมนี้ก็เช่นเดียวกัน โดยนิยมอวยพรกันและกัน ดังนี้
تقبل الله منا ومنك
“ตะก็อบบะลัลลอฮ์ มินนา วะมินกุม”
แปลว่า ขออัลลอฮ์ทรงตอบรับการงานที่ดีจากเราและจากท่าน
พร้อมทั้งมีการขออภัยในความผิดที่ได้กระทำต่อกันแล้วๆ มาด้วยคำว่า “ขอมอัฟ” ซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่า ขอโทษ
ส่วนคำว่า "อีด มูบาร็อค" Eid Mubarak (عيد مبارك) นั้นมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า สุขสันต์วันอีด
เช่นเดียวกับคำว่า “เซอลามัต ฮารีรายา Selamat Hari Raya / เซอลามัต ฮารีรายอ” ในภาษามลายูกลาง และมลายูถิ่น(3จังหวัด)
ในคืนวันนี้ อาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2557 สำนักจุฬาราชมนตรีจะถ่ายทอดสดผลการดูดวงจันทร์ เพื่อจะประกาศผลการดูดวงจันทร์ ของวันที่ 1 เดือนเซาวาล (วันอีฎิ้ลฟิตริ) ประจำปี ฮ.ศ.1435 ระหว่างเวลา 20.30 – 20.45 น ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT (ช่อง 11) กรมประชาสัมพันธ์ ถ้าหากคืนนี้เห็นดวงจันทร์ วันอีดอิฎิ้ลฟิตรี คือวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2557พรุ่งนี้ แต่ถ้าหากไม่เห็น วันอีดก็จะเป็น วันอังคาร ที่ 29 กรกฎาคม 2557
ถ้าหากว่าคืนนี้เห็นดวงจันทร์ ภายหลังจากประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรีแล้ว ทุกชุมชนมุสลิมทั้งประเทศ ตามมัสยิด บ้านเรือน หรือจะมีการกล่าวตักบีร(สรรเสริญพระเจ้า) กันอย่างกึกก้อง ถือเป็นสโลแกนของวันสำคัญ สิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำในคืนวันอีด
عيد مبارك سعيد
تقبل الله منا ومنك