ทำความรู้จักกับ “เดือนรอมฎอน”


ทำความรู้จักกับ “เดือนรอมฎอน” ประเพณีถือศีลอดของชาวมุสลิมที่เป็นที่รู้จักกันมาก พร้อมรู้ความสำคัญ และวิธีการเตรียมตัวของผู้นับถือศาสนาอิสลาม

ในทุกๆ ปี ศาสนิกชนชาวมุสลิมจะปฏิบัติภารกิจ “ถือศีลอด” ใน “เดือนรอมฎอน” เป็นระยะเวลา 29-30 วันตามหลักความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมที่คุ้นเคยของประชาชนต่างศาสนาเป็นอย่างดี แต่ในปีนี้นั้นจะตรงกับวันที่เท่าไรถึงเท่าไร และมีประวัติความเป็นมาความสำคัญอย่างไรบ้าง วันนื้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้

“เดือนรอมฎอน” ตรงกับวันที่เท่าไร
จุฬาราชมนตรี กำหนดวันเพื่อดูดวงจันทร์ในวันที่ 10 มี.ค. 2567 หากในวันและเวลาดังกล่าวมีผู้เห็นดวงจันทร์แล้วคณะกรรมการประจำจังหวัดจะตรวจสอบและรายงานผลการดูดวงจันทร์มายังจุฬาราชมนตรีต่อไป แล้วจะมีการพิจารณา เพื่อออกประกาศวันเริ่มต้นของ "เดือนรอมฎอน" ให้ทราบโดยทั่วกัน

โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 ตามที่สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันแรกของการเข้าสู่เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 นั้น ปรากฏว่าหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันและเวลาดังกล่าวนั้น "ไม่มีผู้พบเห็นดวงจันทร์"
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอนนั้น จะตรงกับ "วันที่ 12 มีนาคม 2567"

นิรุกติศาสตร์
ในทางนิรุกติศาสตร์ คำว่า รอมฎอน มาจากรากศัพท์ภาษาอาหรับRM-Ḍ ( ر-م-ص ) เเปลว่า "ความร้อนที่แผดเผา" ซึ่งเป็น คำกริยา ภาษาอาหรับคลาสสิก  ramiḍa ( رَمِدَ )" แปลว่า "ร้อนจัด – ลุกไหม้ แผดเผา; สว่างไสว เปล่งประกาย"                                           


ประวัติของ “เดือนรอมฎอน”
“รอมฎอน” ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อของเทศกาลหรือธรรมเนียมใดๆ แต่เป็นชื่อเรียกเดือนที่ 9 ในปฏิทินฮิจเราะญ์ หรือปฏิทินจันทรคติของอิสลาม ถือเป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าพระผู้เป็นเจ้าประทาน “พระคัมภีร์อัลกุรอาน” ลงมาให้แก่ “นบีมูฮัมหมัด” ศาสดาของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้สั่งสอนและเป็นเครื่องชี้ทางให้แก่อิสลามิกชนทั่วโลก
โดยในพระคัมภีร์ระบุว่าวันที่พระเจ้าประทานอัลกุรอานให้แก่นบีมูฮัมหมัด คือช่วงวันที่ 26-27 ของเดือนรอมฎอน
ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมจึงถือว่าเดือนรอมฎอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ชาวมุสลิมทุกคนจึงต้องรักษาศีล อดอาหาร เพื่อฝึกฝนการบังคับตนเองและเพื่อให้เข้าถึงคำสอนของนบีมูฮัมหมัดให้ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงใช้เวลาในการศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษเพื่อ เป็นการบูชาพระเป็นเจ้า จนทำให้เดือนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างในภาษาไทยว่า “เดือนบวช”

หลักปฏิบัติในการถือศีลอด
ตั้งเจตนาในใจว่า“ข้าพเจ้าตั้งใจถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนี้ เป็นเวลาทั้งเดือนเพื่ออัลเลาะห์ตะอาลา”ช่วงเวลาที่จะตั้งเจตนาในใจถือศีลอดได้ จะนับตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนกระทั่งแสงอรุณขึ้น(เข้าเวลาละหมาดซุบฮิ) หากจะตั้งเจตนาในใจถือศีลอด สามารถตั้งเจตนาในใจช่วงไหนระหว่างกลางคืนก็ได้ ข้อสำคัญคือ การตั้งเจตนาในใจนั้นต้องอยู่ในตอนกลางคืน

ตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งกินเวลา 29-30 วัน หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ชาวมุสลิมจะปฏิบัติศาสนกิจเพื่ออัลเลาะห์ ไม่ใช่เพียงแค่การอดอาหาร หรือการงดเว้นเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเตรียมใจให้พร้อมที่จะแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ด้วยการงดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง เพราะไม่เช่นนั้นหากนึกถึงแต่การอดอาหาร การคิดแต่เรื่องจัดเตรียมงบเอาไว้จัดซื้ออาหารเตรียมไว้ เดือนรอมฎอนอาจกลายเป็นเทศกาลแห่งการกินที่สูญเปล่าแทน
ดังนั้นแล้วชาวมุสลิมจะยิ่งเข้มงวดระมัดระวังตัวเองไม่ให้เกี่ยวกับสิ่งต้องห้ามของศาสนา รวมถึงเคร่งครัดในการอ่านอัลกุรอาน การละหมาด และการเตรียมงบประมาณสำหรับจัดเลี้ยงละศีลอดหรือบริจาคทานด้วย
อย่างไรก็ตามหลักในการปฏิบัตินี้ จะใช้ในกลุ่มผู้มีความพร้อมเท่านั้น กลุ่มผู้เจ็บไข้ได้ป่วย คนชรา หรือหญิงมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือคนเดินทาง สามารถละเว้นได้

สิ่งทีควรทำในการถือศีลอด
สรุปได้มีดังต่อไปนี้
1.รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา
2.ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านอัลกุรอ่าน
3.เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ควรทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก
4.ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร
5.รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก
6.เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
7.ไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ (การละหมาดในเดือนรอมฎอน) ทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ
8.แบ่งปันอาหารหรือบริจาคทานให้ผู้ที่ถือศีลอด
9.พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ
10.ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน

ข้อห้ามขณะถือศีลอด
1.ห้ามกิน/ดื่ม อย่างไรก็ตามน้ำลายกลืนได้ไม่ห้าม
2.ห้ามสูบบุหรี่
3.ห้ามร่วมประเวณี
4.ห้ามทำให้อาเจียน
5.ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนาง
 
เดือนรอมฎอนจะสิ้นสุด
1 เดือนในปฏิทินจันทรคติ อาจมี 29 หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับการมองเห็นดวงจันทร์ของเดือนใหม่ ดังนั้นในเย็นขอวันที่ 29 ของเดือนรอมฎอนมุสลิมก็จะพากันไปร่วมกันดูดวงจันทร์ หากเห็นก็ถือว่าวันต่อไปเป็นเดือนใหม่ และรอมฎอนก็สิ้นสุดลง เท่ากับว่ารอมฎอนของปีนั้นมี 29 วัน แต่หากไม่เห็นก็นับว่ารอมฎอนมี 30 วัน มุสลิมต้องถือศีลอดต่อไปอีก 1 วัน จึงถือว่าเดือนรอมฎอนของปีนั้นสิ้นสุดลง
เมื่อรอมฎอนสิ้นสุดก็จะเป็นการเฉลิมฉลอง ที่เรียกว่าวัน "วันอีฎิ้ลฟิตริ"

“รอมฎอน” ถือเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม คล้ายกับการถือศีลของชาวพุทธ เพียงแต่ของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ ยกเว้นกรณีพิเศษ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ตั้งครรภ์ หรืออายุไม่ถึง 15 ปี ถึงจะสามารถละเว้นได้

ที่มา
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/218830
https://www.thaipbs.or.th/now/content/917
https://www.thaipbs.or.th/news/content/337916
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่