15. วิเคราะห์หุ้น TPAC : บริษัท พลาสติค และหีบห่อไทย จำกัด (มหาชน)


ลักษณะธุรกิจ
บรรจุภัณฑ์พลาสติก









ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ถือหุ้นอันดับที่ 1 โดยบริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นสัดส่วน 47.78% (มีหุ้นอยู่ใน Set ใช้ชื่อว่า MODERN)
และเมื่อน้องสี่ไปหาข้อมูลการถือหุ้นย้อนหลังพบว่า ทาง Modern ก็ยังถือหุ้นในสัดส่วนเดิมตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2014 (ปัจจุบัน)



*** แต่จากรูปสังเกตว่า เดิมมี 48% เหลือ 47.78% ที่ลดลงไปนิดนึงมาจากโครงการ ESOP ให้แก่พนักงานในบริษัทครับ ***


แต่น้องสี่ก็แอบสงสัยว่า Modern Form เค้าผลิตสินค้าพวก Furniture ของตกแต่งบ้านต่างๆ
แล้วบริษัท TPAC ที่ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก มันเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Modern น้องสี่จึงได้คำตอบมาดังนี้ครับ (จาก 56-1)


ด้านงบการเงิน
1. ในด้านรายได้จะเห็นว่า TPAC สามารถสร้างยอดขายได้เติบโตขึ้นในทุกๆปีครับ ซึ่งถือว่าดีในระดับหนึ่ง

2. ในด้าน RoA , RoE ในช่วงที่ผ่านมาถือว่ารักษาได้ในระดับที่สูง ซึ่งอาจจะมีลดลงบ้าง ตามภาวะเศรษฐกิจ
และสภาพแวดล้อมในประเทศที่ส่งผลต่อ Demand ความต้องการใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคครับ

3. ด้าน Net Profit Margin อยู่ที่ประมาณ 6% - 9% ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทำได้ไม่ค่อยดีเท่าทีควร
เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นโดยวัตุดิบหลักที่ใช้คือ เม็ดพลาสติก ครับ




4. P/E อยู่ที่ประมาณ 10 เท่า ก็ถือว่าอยู่ในดับที่ไม่แพงมากจนเกินไป

5. P/BV จะสังเกตเห็นว่าตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2557
P/BV มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แปลว่า กิจการมีส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น แต่ราคาไม่ได้ขึ้นมากเท่าไหร่ครับ

6. Dividend Yield ในช่วงที่ผ่านมา จ่ายปันผลอยู่ที่ประมาณปีละ 4% - 6%
ก็อยู่ในระดับที่พอใช้ได้ แต่ไม่ถึงกับว่าดีมากเท่าที่ควร โดยในช่วงประมาณ 9 ปีที่ผ่านมา TPAC จ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอครับ


ในเรื่องของรายได้นะครับจาก Q1 ที่ลดลงไปมากมีสาเหตุดังนี้ครับ



โครงสร้างรายได้มาจากในประเทศประมาณ 90% ต่างประเทศประมาณ 10% ครับผม




จากนั้นถ้าตามไปดูเจาะงบการเงินในส่วนของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วมียอดเพิ่มขึ้นเท่าตัว !!
แปลว่า จำนวนหุ้นนั้นก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วยครับ (คือการเพิ่มทุนแต่ให้สิทธิในสัดส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นครับ)



ซึ่งในปี 2556 บริษัทได้เพิ่มทุนเพื่อ จ่ายปันผลเป็นหุ้น 1:1 + มีการเพิ่มทุนโดยการแจก Warrant ครับผม

ซึ่งในส่วนนี้คงต้องประเมินมูลค่ากันต่อไปครับว่า จะมีคนแปลง Warrant มาเป็นหุ้นตัวแม่ มากน้อยเพียงใด
ถึงจะประเมิน EPS (กำไรต่อหุ้นได้ดีมากขึ้นครับ) เพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมาก แปลว่า เงินปันผลจะได้รับน้อยลงครับ

แต่โดยรวมแล้วน้องสี่คาดการณ์ว่า การเพิ่มทุน โดยให้หุ้นแทนการจ่ายเงินสดในครั้งนี้
ทาง TPAC น่าจะนำเงินไปลงทุนในอะไรสักอย่าง เพื่อเพิ่มศักยภาพในอนาคตนะ ต้องลองติดตามดูกันต่อไปนะครับ


โดยสินทรัพย์ ส่วนใหญ่ของ TPAC จะเป็นลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง และที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ครับ
ส่วนหนี้สิน จะเป็นในด้านของ เจ้หานี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวครับ
ในส่วนนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรที่น่าเป็นห่วงครับ อยู่ในระดับที่ใช้ได้ครับผม

ด้านกราฟ
กราฟ Day


กราฟ Week

จากการวิเคราะห์จากกราฟ Day จะพบว่าราคาค่อนข้างไปในทาง Side Way ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่นัก
ซึ่งน้องสี่คาดว่า น่าจะมาจากผลประกอบการใน Q1 ที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

แต่อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ไปในกราฟภาพ Week น้องสี่สังเกตว่า มี Volume ประมาณหนึ่งเข้ามา
ในขณะที่ราคาหุ้นอยู่ในช่วง Side Way ตรงแนวรับราคาประมาณ 6 บาท ประมาณ 2 เดือนแล้ว

โดยรวมน้องสี่คิดว่า ถ้าราคาย่อลงมาแล้วไม่มีหลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ที่ราคาประมาณ 5.60 - 5.70 บาท
ก็อาจจะเริ่มเป็นจังหวะที่น่าจะทยอยสะสมไว้บ้างส่วนก็น่าจะดีครับ เพราะ Dividend Yield ก็ค่อนข้างพอใช้ได้ครับ

***ข้อควรระวัง***

1. ต้นทุนวัตถุดิบจากเม็ดพลาสติก
จะพบว่า ค่อนข้างผันผวนอยู่บ่อยครั้งคือถ้าต้นทุนในส่วนนี้สูง
ก็จะทำให้ กำไรสุทธิลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปีนั้นๆ

แต่ถ้าเราสามารถจับจังหวะในช่วงที่ต้นทุนส่วนนี้เริ่มถูกลง
น้องสี่คาดว่า กำไรของ TPAC ก็น่าจะขยับออกมาให้ทิศทางเชิงบวกมากขึ้นนะครับ

2. ประเด็นเรื่องของ Warrant ของ TPAC จะเห็นว่า TPAC ได้ออก Warrant อายุ 3 ปี
เป็นจำนวนที่คิดเป็นหุ้น(เมื่อแลกครบ) อยู่ที่ 55 ล้านหุ้น !!!


แปลว่า ถ้า Warrant ที่แจกออกไปมีการนำแลกเป็นหุ้นแม่ TPAC ทั้งหมด
จำนวนหุ้นของ TPAC ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านหุ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านหุ้น

ซึ่งผลกระทบจากจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ก็จะกระทบในส่วนของกำไรต่อหุ้นจะลดลง เพราะตัวหารมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
กำไร 200 บาท หาร 200 หุ้น = 200 บาท/200 หุ้น = EPS 1      บาท/หุ้น
กำไร 200 บาท หาร 250 หุ้น = 200 บาท/250 หุ้น = EPS 0.80  บาท/หุ้น

ซึ่งถ้านโยบายของกิจการมีนโยบายจ่ายปันผล 50% ของ EPS สุทธิ
ก็จะเห็นว่า หากจำนวนหุ้นยิ่งมาก ปันผลที่ได้ยิ่งน้อย คือ

ถ้า EPS = 1 บาท/หุ้น ปันผลที่ได้ คือ (1บาท)*50% = 0.50 บาท/หุ้น
แต่ถ้า EPS = 0.80/หุ้น ปันผลที่ได้ คือ (0.80บาท)*50% =0.40 บาท/หุ้น

ดังนั้น ในส่วนประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าจับตามองพอสมควรเลยนะครับ
เพราะหากจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมามาก แต่กำไรไม่สามารถโตตามได้ทัน ก็อาจจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนเท่าที่ควรครับ

เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ ทาง TPAC คงต้องนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนจากการจ่ายปันผลเป็นหุ้น 1:1 และการแจก Warrant
ไปลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อที่กำไรจะได้สามารถเติบโตเพิ่มขึ้น ได้อย่างมีนัยสำคัญในอนาคตครับ

3. ภาพรวมของธุรกิจค่อนข้างแข็งขันสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
ก็มีคู่แข่งที่อยู่ในตลาดหุ้น เช่นเดียวกันครับ อาทิเช่น


PJW : บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)


PDG : บริษัท พรอดดิจิ จำกัด (มหาชน)



ดังนั้น ทาง TPAC คงต้องเตรียมกลยุทธ์ในการรับมือต่อการแข่งขันที่ค่อนข้างเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
ให้เพียงพอและเหมาะสมต่อไป เพื่อที่กิจการจะได้อยู่อย่างยั่งยืน สืบเนื่องต่อไปครับผม

น้องสี่ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ และนักลงทุนทุกท่าน ประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ อมยิ้ม03

การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนและนักลงทุนควรหาความรู้และตัดสินใจให้ดีก่อนการลงทุนนะครับ อมยิ้ม36

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : "ฅนเล่นหุ้น" นะครับหัวใจ

https://www.facebook.com/StockTrader.Club


Date : 22 July 2014
Time : 22.30 น.
บทวิเคราะห์ที่น้องสี่ได้วิเคราะห์ไว้นะครับ Season 1 หัวใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บทวิเคราะห์ที่น้องสี่ได้วิเคราะห์ไว้นะครับ Season 2 หัวใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่