".. นานาสาระ เกี่ยวกับซะกาตฟิตรฺ .."
... ซะกาตฟิตรฺ บ้างเรียกฟิตเราะฮฺ หรือ ซะกาตฟิตเราะฮฺ คืออาหารหลักประจำท้องถิ่นที่ต้องนำไปจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ในวันอีดิ้ลฟิตรฺ
... ซะกาตฟิตรฺ ถูกบัญญัติในปี ฮ.ศ. 2 เพื่อลบล้างความผิดที่อาจเกิดขึ้นขณะถือศีลอด และเพื่อให้ผู้ยากจนมีอาหารไว้รับประทาน ท่านอิบน์อั๊บบ๊าส กล่าวว่า
“ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ซ.ล.ทรงบัญญัติซะกาตฟิตรฺเพื่อลบล้างสิ่งไร้สาระและความหยาบคายให้แก่ผู้ถือศีลอด และเพื่อเป็นอาหารแก่ผู้ยากจนทั้งหลาย” หะดีษถูกต้อง รายงานโดย อบูดาวูด
... การจ่ายซะกาตฟิตรฺ เป็นหน้าที่ภาคบังคับ(วาญิบ)สำหรับผู้มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นมุสลิม ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม(กาฟิร)จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ นอกจากกาฟิรที่มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูมุสลิม เขาต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺให้แก่มุสลิมที่เขาต้องเลี้ยงดูด้วย
2. เป็นอิสระชน ผู้เป็นทาสจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ
3. มีทรัพย์เหลือจากค่าใช้จ่ายจำเป็นตลอดวันอีด หากไม่มีทรัพย์เหลือเพื่อจ่ายซะกาตฟิตรฺ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย หากมีทรัพย์เหลือไม่เพียงพอซื้อได้ครบจำนวน จำเป็นต้องจ่ายเท่าที่สามารถ หากมีภาระต้องจ่ายให้กับผู้อื่นด้วย ให้จ่ายซะกาตจากทรัพย์ที่เหลือจากค่าใช้จ่ายจำเป็นโดยเริ่มที่ส่วนของตัวเองก่อน หากมีทรัพย์เหลือเพียงพอก็ให้จ่ายส่วนของภรรยา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดา มารดาและบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วตามลำดับ
4. มีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่างช่วงรอมาดอนกับช่วงวันอีด ดังนั้นผู้เสียชีวิตในช่วงรอมาดอนและเด็กที่คลอดหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ เพราะผู้เสียชีวิตในช่วงรอมาดอนไม่มีชีวิตในช่วงวันอีด และเด็กที่คลอดหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดไม่มีชีวิตในช่วงรอมาดอน แต่ผู้ที่เสียชีวิตหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดและเด็กที่คลอดในช่วงรอมาดอนจำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ เพราะมีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่างช่วงรอมาดอนกับช่วงวันอีด
ผู้มีคุณสมบัติข้างต้น จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺของตนเอง และต้องจ่ายให้กับทุกคนที่ศาสนาระบุว่าต้องเลี้ยงดูพวกเขาด้วย
... ชนิดและจำนวนของซะกาตฟิตรฺที่จำเป็นต้องจ่ายแต่ละส่วนคือ อาหารหลักของท้องถิ่นจำนวน 1 ซออฺ หรือ 4 มุด(ซออฺ เป็นมาตราการตวงของอาหรับยุคอดีต มีปริมาณเท่ากับ 4 มุด ซึ่งมีการนำมาเทียบกับมาตราการชั่งของปัจจุบัน ได้ผลดังนี้คือ 1 มุด มีปริมาณเท่ากับข้าวสารหนักประมาณ 6-7 ขีด ดังนั้นข้าวสาร 1 ซออฺจึงมีน้ำหนักประมาณ 2.4 - 2.8 กิโลกรัม) ที่ดีแล้วให้ใช้ซออ์(กันตัง)ตวง หากใช้วิธีการชั่งดังที่กล่าวมาถือว่าถูกต้อง นักวิชาการได้วางเงื่อนไขว่า ชนิดของสิ่งที่ออกซะกาตนั้น ให้ออกจากชนิดที่ตนเองใช้บริโภคหรือดีกว่านั้น ไม่อนุญาตให้ออกชนิดต่ำกว่าที่ตนบริโภคเป็นประจำ ดังนั้นผู้บริโภคข้าวหอมมะลิจะออกซะกาตฟิตรฺเป็นข้าวเสาไห้ไม่ได้ แต่ผู้บริโภคข้าวเสาไห้ออกข้าวหอมมะลิได้ (อนึ่ง นักวิชาการมัซฮับฮานาฟีมีทัศนะว่า อนุญาตให้ออกเงินแทนอาหารหลักได้ โดยอ้างเหตุผลว่าเงินเป็นสิ่งให้ประโยชน์แก่ผู้ยากจนมากกว่า ที่แข็งแรงให้ออกเป็นข้าวสารนะครับ)
... อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิตรฺได้ตั้งแต่เริ่มเข้ารอมาดอน เวลาที่ดีที่สุดคือช่วงวันอีดก่อนการละหมาดอีด การจ่ายหลังละหมาดอีดเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง(มักรูฮฺ) และการจ่ายหลังตะวันตกซึ่งสิ้นสุดวันอีดแล้วนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม หากไม่มีอุปสรรคใดๆ
... ให้นำซะกาตฟิตรฺแจกจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตได้ มี 8 กลุ่ม ดังนี้
1. คนจนมาก(มีรายรับไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายจ่าย)
2. คนจน(มีรายรับน้อยกว่ารายจ่ายไม่มาก)
3. เจ้าหน้าที่จัดเก็บซะกาต(โดยการแต่งตั้งของผู้นำ)
4. มุสลิมใหม่(มุอั้ลลัฟ)
5. เพื่อการปลดปล่อยทาส
6. ผู้มีหนี้สินที่ไม่มีความสามารถชดใช้หนี้
7. เพื่อแนวทางแห่งการธำมรงค์ไว้ซึ่งศาสนา
8. ผู้เดินทางที่ขัดสน
(จากเอกสารประกอบการสอน ณ มัสยิดอัลคอยรียะห์ นวลน้อย ชื่อเรื่อง "รอมาดอน เดือนแห่งความประเสริฐ")
VDO สื่อการสอนเพิ่มเติม
http://www.knowislamthailand.org/zakat
นานาสาระ เกี่ยวกับซะกาตฟิตรฺ
... ซะกาตฟิตรฺ บ้างเรียกฟิตเราะฮฺ หรือ ซะกาตฟิตเราะฮฺ คืออาหารหลักประจำท้องถิ่นที่ต้องนำไปจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ในวันอีดิ้ลฟิตรฺ
... ซะกาตฟิตรฺ ถูกบัญญัติในปี ฮ.ศ. 2 เพื่อลบล้างความผิดที่อาจเกิดขึ้นขณะถือศีลอด และเพื่อให้ผู้ยากจนมีอาหารไว้รับประทาน ท่านอิบน์อั๊บบ๊าส กล่าวว่า
“ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ซ.ล.ทรงบัญญัติซะกาตฟิตรฺเพื่อลบล้างสิ่งไร้สาระและความหยาบคายให้แก่ผู้ถือศีลอด และเพื่อเป็นอาหารแก่ผู้ยากจนทั้งหลาย” หะดีษถูกต้อง รายงานโดย อบูดาวูด
... การจ่ายซะกาตฟิตรฺ เป็นหน้าที่ภาคบังคับ(วาญิบ)สำหรับผู้มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นมุสลิม ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม(กาฟิร)จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ นอกจากกาฟิรที่มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูมุสลิม เขาต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺให้แก่มุสลิมที่เขาต้องเลี้ยงดูด้วย
2. เป็นอิสระชน ผู้เป็นทาสจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ
3. มีทรัพย์เหลือจากค่าใช้จ่ายจำเป็นตลอดวันอีด หากไม่มีทรัพย์เหลือเพื่อจ่ายซะกาตฟิตรฺ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย หากมีทรัพย์เหลือไม่เพียงพอซื้อได้ครบจำนวน จำเป็นต้องจ่ายเท่าที่สามารถ หากมีภาระต้องจ่ายให้กับผู้อื่นด้วย ให้จ่ายซะกาตจากทรัพย์ที่เหลือจากค่าใช้จ่ายจำเป็นโดยเริ่มที่ส่วนของตัวเองก่อน หากมีทรัพย์เหลือเพียงพอก็ให้จ่ายส่วนของภรรยา บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดา มารดาและบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วตามลำดับ
4. มีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่างช่วงรอมาดอนกับช่วงวันอีด ดังนั้นผู้เสียชีวิตในช่วงรอมาดอนและเด็กที่คลอดหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ เพราะผู้เสียชีวิตในช่วงรอมาดอนไม่มีชีวิตในช่วงวันอีด และเด็กที่คลอดหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดไม่มีชีวิตในช่วงรอมาดอน แต่ผู้ที่เสียชีวิตหลังเข้าเวลามัฆริบของวันอีดและเด็กที่คลอดในช่วงรอมาดอนจำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺ เพราะมีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่างช่วงรอมาดอนกับช่วงวันอีด
ผู้มีคุณสมบัติข้างต้น จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตรฺของตนเอง และต้องจ่ายให้กับทุกคนที่ศาสนาระบุว่าต้องเลี้ยงดูพวกเขาด้วย
... ชนิดและจำนวนของซะกาตฟิตรฺที่จำเป็นต้องจ่ายแต่ละส่วนคือ อาหารหลักของท้องถิ่นจำนวน 1 ซออฺ หรือ 4 มุด(ซออฺ เป็นมาตราการตวงของอาหรับยุคอดีต มีปริมาณเท่ากับ 4 มุด ซึ่งมีการนำมาเทียบกับมาตราการชั่งของปัจจุบัน ได้ผลดังนี้คือ 1 มุด มีปริมาณเท่ากับข้าวสารหนักประมาณ 6-7 ขีด ดังนั้นข้าวสาร 1 ซออฺจึงมีน้ำหนักประมาณ 2.4 - 2.8 กิโลกรัม) ที่ดีแล้วให้ใช้ซออ์(กันตัง)ตวง หากใช้วิธีการชั่งดังที่กล่าวมาถือว่าถูกต้อง นักวิชาการได้วางเงื่อนไขว่า ชนิดของสิ่งที่ออกซะกาตนั้น ให้ออกจากชนิดที่ตนเองใช้บริโภคหรือดีกว่านั้น ไม่อนุญาตให้ออกชนิดต่ำกว่าที่ตนบริโภคเป็นประจำ ดังนั้นผู้บริโภคข้าวหอมมะลิจะออกซะกาตฟิตรฺเป็นข้าวเสาไห้ไม่ได้ แต่ผู้บริโภคข้าวเสาไห้ออกข้าวหอมมะลิได้ (อนึ่ง นักวิชาการมัซฮับฮานาฟีมีทัศนะว่า อนุญาตให้ออกเงินแทนอาหารหลักได้ โดยอ้างเหตุผลว่าเงินเป็นสิ่งให้ประโยชน์แก่ผู้ยากจนมากกว่า ที่แข็งแรงให้ออกเป็นข้าวสารนะครับ)
... อนุญาตให้จ่ายซะกาตฟิตรฺได้ตั้งแต่เริ่มเข้ารอมาดอน เวลาที่ดีที่สุดคือช่วงวันอีดก่อนการละหมาดอีด การจ่ายหลังละหมาดอีดเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง(มักรูฮฺ) และการจ่ายหลังตะวันตกซึ่งสิ้นสุดวันอีดแล้วนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม หากไม่มีอุปสรรคใดๆ
... ให้นำซะกาตฟิตรฺแจกจ่ายแก่ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตได้ มี 8 กลุ่ม ดังนี้
1. คนจนมาก(มีรายรับไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายจ่าย)
2. คนจน(มีรายรับน้อยกว่ารายจ่ายไม่มาก)
3. เจ้าหน้าที่จัดเก็บซะกาต(โดยการแต่งตั้งของผู้นำ)
4. มุสลิมใหม่(มุอั้ลลัฟ)
5. เพื่อการปลดปล่อยทาส
6. ผู้มีหนี้สินที่ไม่มีความสามารถชดใช้หนี้
7. เพื่อแนวทางแห่งการธำมรงค์ไว้ซึ่งศาสนา
8. ผู้เดินทางที่ขัดสน
(จากเอกสารประกอบการสอน ณ มัสยิดอัลคอยรียะห์ นวลน้อย ชื่อเรื่อง "รอมาดอน เดือนแห่งความประเสริฐ")
VDO สื่อการสอนเพิ่มเติม
http://www.knowislamthailand.org/zakat