ขอเริ่มที่ qualification เราก่อนละกันนะคะว่าเป็นใครมาจากไหนและสามารถมาพูดเรื่องนี้ได้ยังไง
ตอนนี้ ทาร่า (นามสมมุติ) เป็นนักเรียนป.เอกด้าน Human Communication อยู่ปี3 (ทั้งหมด 4ปี) ที่รัฐอริโซน่าที่สหรัฐอเมริกา อยู่เมกามารวมๆเกือบ 5ปีแล้วค่ะเพราะไปเรียนตั้งแต่ป.โท
เรื่องที่อยากเล่าให้ฟังวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านที่เราเลือกจะเรียนนะคะ หรือ specialization/concentration/research area/major นั่นเอง
พี่ๆน้องๆที่กำลังคิดจะไปเรียนต่อเมืองนอกอาจจะรู้สึก overwhelm (มันเยอะหลายสิ่ง) กับการเลือกด้านวิชาที่จะเรียนมากเพราะเมกาเค้าเน้นรู้จิงรู้ลึก
อย่างเช่นสายที่ทาร่าเรืยนฟังดูเหมือนง่ายหรือครอบคลุมทั้งจักรวาลเพราะ Human Communication ก็ครอบคลุมหลายสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันของชีวิต
แต่จริงๆแล้วเวลาจะไปเรียนโท และโดยเฉพาะด๊อกเตอร์ที่เมกาส่วนใหญ่เค้าจะให้เราเลือกทำเป็นด้านถนัดของเราเล็กๆนะคะ
เช่นทาร่าเวลาคนถามว่าวิจัยด้านไหนอยู่ก็จะบอกว่าทำหลายด้านแล้วแต่ว่าได้ funding มาด้านไหนบ้างนะคะแต่ด้านเฉพาะคือ
Interpersonal communication and social media in intercultural contexts. ฟังดูเยอะสุดๆ แต่ก็ narrow down ลงมาจาก Communication แล้วมาก
เรียนด้านที่ไม่มีคนไทยเรียน ดีหรือไม่
ด้านที่ทาร่าเรียนตอนนี้ไม่มีคนไทยเรียนด๊อกเตอร์อยู่ค่ะ (มีคนเดียวที่เป็นอาจาร์ที่นู่นแต่เค้าเกิดและโตที่นู่นค่ะ) ที่คนไทยไม่นิยมอาจจะคิดว่าแล้วจะกลับมาทำอะไร ไม่มีอาชีพตายตัวเหมือนหมอ วิศวกร etc.
แต่จิงๆแล้วเรียนด้านที่ไม่มีคนไทยเรียนมี benefit หลายอย่างอยู่ค่ะ
1. เราจะสามารถนำ perspective ความเป็นคนไทยของเราไปช่วย expand วิจัยด้านที่เราเรียนได้ค่ะ คนเมกาจะฮือฮามากกับtopicที่เป็นไทยๆของเรา
จะยกตัวอย่างให้นะคะ งานวิจัยของทาร่าหลายชิ้นที่เกี่ยวกับ Thai Culture ได้รับเชิญให้ไปพรีเซ้นที่ National Communication Conference 3 ครั้งแล้วค่ะ
เพื่อนๆพี่ๆน้องๆก็สามารถใช้ความเป็นไทยและความคิดแบบไทยเข้าไปช่วยปรับและขยายสาขางานวิจัยของตัวเองได้ค่ะ คนที่นู่นเค้าจะเห็นว่าเป็น valuable contribution เพราะไม่เคยมีคนทำอ่ะค่ะ
2. โอกาสได้เงิน Scholarship, grant, funding เยอะขึ้นค่ะ มันก็มีหลายfactorเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ทาร่าสมัครขอgrantไปตอนนั้นมีให้เงินคนไทยโดยเฉพาะ
ก็ได้มา 5000 เหรียญฟรีๆแบบไม่ต้องคืน ก็ต้องเป็นที่ความสามารถเขียนขอgrantด้วย แต่ทาร่าเชื่อว่าเป็นเพราะไม่มีคู่แข่งเยอะด้วยค่ะ
3. กลับมาคนไทยจะตื่นเต้นกับ topic เรามากเวลาเล่าให้ฟังเพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ต้องเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าจิงๆเราเรียนด้านอะไรถ้าไม่มีเวลาอธิบายนะคะ แต่เมื่อได้อธิบายแล้วเนี่ยจะคิดว่าด้านที่เราเรียนมัน amazing Thailand มาก เพราะไม่มีคนอื่นพูดถึง
แค่นี้ก่อนสำหรับกระทู้นี้นะคะ เดี๋ยวโพสต์เพิ่มให้อีกอันสำหรับผู้ที่กำลังจะสมัครจิงจังโดยเฉพาะ ว่าจะเขียนใน application ว่ามาเรียนด้านเฉพาะยังไงกับadvisorท่านใดดี
เรียน ป.โทและด๊อกเตอร์ ด้านที่ไม่ค่อยมีคนไทยเรียนที่อเมริกา ดีอย่างไร
ตอนนี้ ทาร่า (นามสมมุติ) เป็นนักเรียนป.เอกด้าน Human Communication อยู่ปี3 (ทั้งหมด 4ปี) ที่รัฐอริโซน่าที่สหรัฐอเมริกา อยู่เมกามารวมๆเกือบ 5ปีแล้วค่ะเพราะไปเรียนตั้งแต่ป.โท
เรื่องที่อยากเล่าให้ฟังวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านที่เราเลือกจะเรียนนะคะ หรือ specialization/concentration/research area/major นั่นเอง
พี่ๆน้องๆที่กำลังคิดจะไปเรียนต่อเมืองนอกอาจจะรู้สึก overwhelm (มันเยอะหลายสิ่ง) กับการเลือกด้านวิชาที่จะเรียนมากเพราะเมกาเค้าเน้นรู้จิงรู้ลึก
อย่างเช่นสายที่ทาร่าเรืยนฟังดูเหมือนง่ายหรือครอบคลุมทั้งจักรวาลเพราะ Human Communication ก็ครอบคลุมหลายสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันของชีวิต
แต่จริงๆแล้วเวลาจะไปเรียนโท และโดยเฉพาะด๊อกเตอร์ที่เมกาส่วนใหญ่เค้าจะให้เราเลือกทำเป็นด้านถนัดของเราเล็กๆนะคะ
เช่นทาร่าเวลาคนถามว่าวิจัยด้านไหนอยู่ก็จะบอกว่าทำหลายด้านแล้วแต่ว่าได้ funding มาด้านไหนบ้างนะคะแต่ด้านเฉพาะคือ
Interpersonal communication and social media in intercultural contexts. ฟังดูเยอะสุดๆ แต่ก็ narrow down ลงมาจาก Communication แล้วมาก
เรียนด้านที่ไม่มีคนไทยเรียน ดีหรือไม่
ด้านที่ทาร่าเรียนตอนนี้ไม่มีคนไทยเรียนด๊อกเตอร์อยู่ค่ะ (มีคนเดียวที่เป็นอาจาร์ที่นู่นแต่เค้าเกิดและโตที่นู่นค่ะ) ที่คนไทยไม่นิยมอาจจะคิดว่าแล้วจะกลับมาทำอะไร ไม่มีอาชีพตายตัวเหมือนหมอ วิศวกร etc.
แต่จิงๆแล้วเรียนด้านที่ไม่มีคนไทยเรียนมี benefit หลายอย่างอยู่ค่ะ
1. เราจะสามารถนำ perspective ความเป็นคนไทยของเราไปช่วย expand วิจัยด้านที่เราเรียนได้ค่ะ คนเมกาจะฮือฮามากกับtopicที่เป็นไทยๆของเรา
จะยกตัวอย่างให้นะคะ งานวิจัยของทาร่าหลายชิ้นที่เกี่ยวกับ Thai Culture ได้รับเชิญให้ไปพรีเซ้นที่ National Communication Conference 3 ครั้งแล้วค่ะ
เพื่อนๆพี่ๆน้องๆก็สามารถใช้ความเป็นไทยและความคิดแบบไทยเข้าไปช่วยปรับและขยายสาขางานวิจัยของตัวเองได้ค่ะ คนที่นู่นเค้าจะเห็นว่าเป็น valuable contribution เพราะไม่เคยมีคนทำอ่ะค่ะ
2. โอกาสได้เงิน Scholarship, grant, funding เยอะขึ้นค่ะ มันก็มีหลายfactorเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ทาร่าสมัครขอgrantไปตอนนั้นมีให้เงินคนไทยโดยเฉพาะ
ก็ได้มา 5000 เหรียญฟรีๆแบบไม่ต้องคืน ก็ต้องเป็นที่ความสามารถเขียนขอgrantด้วย แต่ทาร่าเชื่อว่าเป็นเพราะไม่มีคู่แข่งเยอะด้วยค่ะ
3. กลับมาคนไทยจะตื่นเต้นกับ topic เรามากเวลาเล่าให้ฟังเพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ต้องเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าจิงๆเราเรียนด้านอะไรถ้าไม่มีเวลาอธิบายนะคะ แต่เมื่อได้อธิบายแล้วเนี่ยจะคิดว่าด้านที่เราเรียนมัน amazing Thailand มาก เพราะไม่มีคนอื่นพูดถึง
แค่นี้ก่อนสำหรับกระทู้นี้นะคะ เดี๋ยวโพสต์เพิ่มให้อีกอันสำหรับผู้ที่กำลังจะสมัครจิงจังโดยเฉพาะ ว่าจะเขียนใน application ว่ามาเรียนด้านเฉพาะยังไงกับadvisorท่านใดดี