ปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ข้อแสดงความคิดเห็น)

‪#‎ภาวะซึมเศร้า‬ ‪#‎งานวิจัย‬ ‪#‎บัณฑิตศึกษา‬ ‪#‎จิตวิทยา‬ ‪#‎จะบ่นจนกว่าจะจบ‬
เล่าสู่กันฟังอาจจะยาวสักหน่อยนะคะ
สำหรับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ข้าพเจ้าร้อนตัวก่อนว่าเป็นบทความแสดงความคิดเห็น โปรดใช้วิจารณญาณ ความรู้ในเชิงจิตวิทยาไม่ค่อยมีค่ะ

เนื่องจากมีประสบการณ์โดยตรงกับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต้องเข้ารับการรักษา และปัจจุบันคนรอบตัวในสังคมก็เป็นกันมากขึ้น โดยที่บุคคลนั้นไม่รู้ตัว
และวันก่อนได้ไปเห็นคอมเม้นท์ของรุ่นพี่ที่คุยกัน และก็คุยกับแฟน เรื่องภาวะของนิสิต ป โท เอก ซึ่งมีความดราม่าของแต่ละคนต่างกัน
ซึ่งจะแตกต่างกับภาวะเครียดของ นิสิต ปี 1 ที่ยังมี รุ่นพี่ เพื่อน อาจารย์ คอยเกาะกลุ่มเป็นก้อนให้ความช่วยเหลือกัน
แต่นิสิต นักศึกษา ป โท เอก ที่เป็นชีวิตอิสระอยู่กันแบบหมู่น้อยหรือโดดเดี่ยวนี่แหละ โดยเฉพาะเด็กไทย ที่ Culture แตกต่างกับชาติตะวันตกในด้านความมีวินัย และความคิด (ภาวะยินยอม+ภาวะจำทน+ภาวะขี้เกียจ+ภาวะแสร้งโง่+ภาวะหดหู่ อันนี้เป็นคำนิยามที่คิดมาเอง ที่เกิดขึ้นขณะทำงานวิจัย)

การเรียนระดับบัณฑิตในหลักสูตรภาคปกติของ ม ที่มีความเข้มข้น ในด้านงานวิจัย ต้องมีวินัยอย่างมาก แต่สำหรับเด็กไทย ถ้าเด็กไม่เข้มแข็งพอ เป็นอะไรที่ยากจะปรับตัว (เพราะวินัยไม่ใช่สไตล์ของคนไทย)
กอปรกับเมื่อคืนนั่งไล่ดูซีรี่ส์ Broken ช่อง 3 วัยแสบสาแหรกขาด (ตอน ม ๔ เคยอยากเรียนอยู่นะไอ้จิตวิทยาอ่ะ แต่กลัวไง)ที่เป็นการสะท้อนปัญหาครอบครัวที่มีต่อเด็ก ในเชิงจิตวิทยาและการแสดงอารมณ์และความประพฤติในการสะท้อนออกมาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาของสังคม การนำเอาเครื่องมือทางจิตวิทยามาใช้ในการบำบัดจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ยกตัวอย่าง นิสิตระดับ ป โท เอก หรือที่เรียกว่าบัณฑิตศึกษานั้นยิ่งเด็กที่ไปเรียนเมืองนอก โดยเฉาะได้เคยฟังสัมภาษณ์ของ อ ดร. นาวินตาร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม เกษตร เล่าเรื่องภาวะเครียดตอนเรียนเมืองนอกที่ขังตัวเองไว้ในห้องนานกว่า 2 ปี ไม่ไปไหน ไม่ปฏิสัมพันธ์กับใคร อยู่ในห้องจนเป็นคนอ้วนมาก สุดท้ายที่บ้านบินมาตามและให้กำลังใจ จนนาวินตาร์ออกมาจากภาวะนั้นได้

ความสงสัยของข้าพเจ้าจึงบังเกิดว่าภาวะซึมเศร้าในเด็ก ป โท มันมีงานวิจัยรองรับไม๊ ก็เลยหนีไม่พ้นเลขาพี่ google ของนศ.นักเรียนทุกคน
ผลการค้นหามาเป็นพรืดเลย แต่ด้วยที่ข้าพเจ้าไม่ได้เรียนจิตวิทยาโดยตรงศัพท์เทคนิคบอกเลยว่าไม่รู้ เคยนั่งเรียนในคลาสของกายภาพบำบัดงงศัพท์เทคนิคมาก อะไรนะ พวก School of thinking นู่นนี่นั่น

สรุปผลการค้นหาคือมันมีงานวิจัยว่า เด็กในมหาวิทยาลัยมีภาวะเครียดและซึมเศร้ากันเยอะ โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะเป็นการศึกษาในเด็กระดับ ป ตรี ส่วนในระดับบัณฑิตมีบ้างพอสมควร แต่มันก็มีข้อจำกัดในการศึกษานะ แล้วคิดว่าการทำวิจัยกับมนุษย์พวกนี้ข้อจำกัดเยอะมากจริงๆ ต้องมี approve นู่นนี่นั่น
ในหน่วยของมหาวิทยาลัยเริ่มอยากรู้ว่าในเมืองนอกมีคลินิกให้คำปรึกษาไม๊ แล้วระบบการศึกษาไทยหล่ะ แต่ในไทยที่เคยเห็นชัดๆตอนเรียนมหิดลสมัยคาเฟทสีชมพู มีห้อง consult เปรียบเสมือนคลินิกให้คำปรึกษา ที่นิสิตทุกคนต้องเดินผ่าน เพราะเรียกได้ว่าการเรียนที่มหิดล ชีวิตของปี 1 โดยเฉพาะเด็ก ตจว ที่พื้นการเรียนไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่จะมีภาวะความกดดันและไม่สามารถปรับตัวได้ บางคนก็หายจากไป หรือ ออกเรียนกลางคันก็มีส่วนหนึ่ง เมื่อพูดถึงภาวะกดดันที่แสดงออกมาของข้าพเจ้าคืออาการไมเกรนตอนปี 1 (กินยาไปเกือบแผง ปวดหัวข้างเดียว ครั้งแรก ครั้งเดียวในชีวิต แล้วได้มาคุยกับน้องอีกคนจากมหิดลที่มาเรียนโทเกษตร น้องบอกเป็นเหมือนกันเด๊ะๆ เลยพี่)

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่นอกจากการตะบี้ตะบันเอางานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตนักศึกษายึดมาเป็น KPI แต่ บุคลากรอุปกรณ์ไม่พร้อม สุขภาพจิต สุขภาพกายไม่พร้อม เขามีการฟื้นฟูกันหรือไม่อย่างไร หรือก็ภาวะจำยอมกันไปจนกว่าจะจบ หรือบางคนก็เฟลเลิกเรียนไปกลางคันก็มีเยอะมากพอสมควรในทุกมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างในงานวิจัยด้านล่างเป็นการศึกษาภาวะซึมเศร้าของบัณฑิตศึกษาในแคนนาดา ซึ่งสรุปว่า
แหล่งทุนงานวิจัย และความสัมพันธ์ของ อ กับ ลูกศิษย์ เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ประธาณและคณะกรรมการหลักสูตรก็มีส่วนสำคัญที่จะต้องมีความเข้าใจช่วยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่เด็กเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและสร้างสรรค์งานวิจัยที่ได้ให้ออกมาอย่างดี

Canadian Journal of Behavioural Science © 2011 Canadian Psychological Association 2011, Vol. 43, No. 2, 119 –127
Depression Symptoms in Canadian Psychology Graduate Students: Do Research Productivity, Funding, and the Academic Advisory
Relationship Play a Role?
Daniel L. Peluso, R. Nicholas Carleton, and Gordon J. G. Asmundson
University of Regina
Depression is one of the most common psychological disorders affecting university students (Rimmer, Halikas, & Schuckit, 1982; Vazquez & Blanco, 2008); however, undergraduate students have received the majority of the research focus. The limited research available on graduate students suggests they may also be vulnerable to developing depression (Eisenberg, Gollust, Golberstein, & Hefner, 2007). The current investigation provides initial data on depression symptoms in Canadian psychology graduate students. Participants included psychology graduate students from across Canada (N  292; 87% women) who were currently enrolled in clinical, experimental, counselling, and educational programmes. Each of the participants completed the Center for Epidemiological Studies Depression Scale (CES-D;
Radloff, 1977) and measures of: funding, research productivity, hours worked, and their advisory relationship. A substantial proportion of students (33%) reported clinically significant symptoms of depression (CES-D 16), with a significant minority reporting severe symptoms of depression and impairment. There were no differences in symptom reporting across programme type; however, results of regression analyses indicated that advisory relationship satisfaction and greater current weekly hours worked were significant predictors of depressive symptoms for students enrolled in experimental programmes. In contrast, depression symptoms were unrelated to funding, research productivity, hours worked, and advisory relationship satisfaction for students in all other programmes. Implications and future directions for research are discussed.
Keywords: graduate psychology students, depression, research productivity, graduate student funding,
advisory relationship
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่