โดย สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์
มติชนรายวัน 17 กรกฎาคม 2557
ฯพณฯ เอกอัครราชทูตชิเกะคะสุ ซะโต มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์
"127 ปี"
คือตัวเลขที่บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ไทย-ญี่ปุ่น" อย่างเป็น "ทางการ"
เป็นระยะเวลาแห่งความสัมพันธ์ของสองประเทศที่ดำรงมาอย่างยาวนานและแน่นแฟ้นยิ่ง หลังจากที่ได้มีการลงนามปฏิญญาทางพระราชไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและไทย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2430 โดยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ
แต่หากนับอย่าง "ไม่เป็นทางการ" แล้ว มิตรไมตรีนี้จะมีระยะเวลามากกว่า 600 ปี
ย้อนกลับไปตามที่มีบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ จะพบว่ามีชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาโลดแล่นและมีบทบาทในประเทศสยามเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อะคุอุอิ สึมิฮิโร, ชิโรอิ คิวเอมอน และ ยามาดะ นางามาสะ
โดยหลายคนรับราชการในราชสำนักของสยามด้วย
และในปัจจุบัน นอกจากจะมีความสัมพันธ์ในหลากหลายด้านทั้ง ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียนกันระหว่างราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น และผู้นำของทั้งสองประเทศ ยังมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมของกันและกันอีกด้วย และทางประเทศญี่ปุ่นได้เห็นความสำคัญในประเด็นนี้มาโดยตลอด
"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์และรางวัลที่ทางจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงมอบให้กับคนต่างชาติ ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของญี่ปุ่น
การมอบ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" เริ่มต้นมาตั้งแต่ในปี พ.ศ.2546 โดยจะมีการมอบให้กับชาวต่างชาติปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง และในปี 2557 ผุสดี นาวาวิจิต คือผู้หนึ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ จากชาวต่างชาติจำนวน 55 คน ที่มาจาก 100 ประเทศทั่วโลก
เหนืออื่นใด เธอคือผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยปราศจากตำแหน่งทางราชการ และทางวิชาการใดๆ เป็นเพียงประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น
เหตุใดถึง ผุสดี ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้?
สืบสาวราวเรื่องกลับไปดู จะพบว่า ผุสดี คือหนึ่งในนักแปล และเป็นล่ามญี่ปุ่นชั้นนำของไทย มีชื่อเสียงจากผลงานในการแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก อาทิ 4 ปี นรกในเขมร, เปลือกหอยจากนางเงือก, เด็กหญิงน็อนจัง, โมโมจัง, เด็กหญิงอีดะ, สมุดพกคุณครู, สมุดพกของแม่, บันทึกของผม, เพื่อนคนใหม่, และรวมแปลเรื่อง ขวัญหนี รักสามเส้า ผีญี่ปุ่น สยองขวัญ เรื่องผีผี เบ็ตตี้ซัง
งานแปลจากภาษาอังกฤษก็มีเช่น เคาตุ่ณ+คุณจิ้งจอก, คนซื่อบื้อ+นิ้ววิเศษ ผลงานแปลล่าสุด รวมเรื่องสั้น คนรถไฟ
นอกจากนี้ยังมีงานแปลบทภาพยนตร์ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย เรื่อง "Always: Sunset on Third Street" หรือชื่อไทย "ถนนสายนี้หัวใจไม่เคยลืม" ที่โด่งดังอีกด้วย
แต่เชื่อว่าที่นักอ่านหลายคนรู้จักดี เห็นจะเป็นผลงานแปลชื่อ "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ที่แต่งโดย คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ซึ่งได้รับเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศไทย
นอกจากนี้ ผุสดียังได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านพระราชไมตรีระหว่างพระราชวงศ์ของทั้ง 2 ประเทศ
โดยถวายงานในฐานะล่ามญี่ปุ่นประจำพระองค์ เป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น อุทิศตนในการเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่นให้กับคนไทยในทุกระดับชั้น ผ่านช่องทางทั้งหมดเท่าที่จะทำได้
สิ่งเหล่านี้ล้วนประจักษ์แก่สังคมและรัฐบาลญี่ปุ่น
4 กรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ ผุสดี ที่ห้องประชุมภายในสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
พิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบง่าย แต่มีสไตล์ตามแบบฉบับญี่ปุ่น เก้าอี้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ส่วนบนเวทีตกแต่งเวทีด้วยฉากกั้นห้องแบบญี่ปุ่น ท่ามกลางหมู่มิตร ญาติพี่น้อง ที่มาให้กำลังใจและแสดงความยินดี
ประเภทของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ ผุสดี ได้รับคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 4 เคียวกุจิสึ โชจูโช (The Order of the Rising Sun, Gold Rays with Rosette) จากทั้งหมด 8 ชั้น ในลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลำดับที่ 3 จากทั้งหมด 6 ลำดับ
ผุสดีในวันนี้มาพร้อมกับเสื้อผ้าไหมสีม่วง ที่ดูงดงามและเรียบร้อย รอยยิ้มแสดงผ่านทางสีหน้าตลอดเวลาที่สนทนากับผู้คนที่เข้ามาร่วมแสดงความยินดี
เธอเล่าถึงความในใจก่อนเริ่มงานว่า การที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันนี้ ถือเป็นเกียรติสูงสุดและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางสมเด็จพระจักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญในผลงาน ทั้งงานแปล งานสอนและเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่นที่ได้ทำมาตลอด 45 ปี และได้ทำเรื่องเพื่อมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่บุคคลธรรมดาอย่างตนเอง
สำหรับการเป็นผู้รอบรู้ในภาษาญี่ปุ่น
ผุสดีเล่าไว้อย่างน่าสนใจ...
"จุดเริ่มต้นทั้งหมดเกิดจากสมัยที่เรียนจบระดับชั้นมัธยมที่มีความชอบในภาษาต่างประเทศอยู่แล้ว ตอนเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ก็เรียนภาษาเยอรมันและสอบได้ที่ 1 ของรุ่น ตอนแรกตั้งใจจะไปเรียนต่อที่เยอรมัน แต่บังเอิญทุนรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเปิดสอบก่อนทุนอื่น จึงได้ไปสอบ และคิดว่าน่าสนใจดี
เพื่อนชาวไทย-ญี่ปุ่นร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
"ประกอบกับคุณพ่อทำงานอยู่ในบริษัทญี่ปุ่น จึงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี" ผุสดีกล่าว
นักแปลผู้นี้ยังบอกอีกว่า หากตัดสินใจไม่เอาทุนรัฐบาลญี่ปุ่นคงไม่มีวันที่จะได้มายืนตรงจุดนี้ มายืนเป็นตัวแทนของคนไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่นทุกคน
"เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่สำคัญเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในฐานะคนทำงานอิสระคนหนึ่งที่รักในภาษาญี่ปุ่น ถือเป็นเกียรติและขอรับแทนคนไทยคนอื่นๆ ที่ทำงานในสาขานี้ต่อไป" ผุสดีกล่าว
งานดำเนินไปพร้อมด้วยความชื่นมื่น
จากนั้นเมื่อถึงเวลา 6 โมงเย็น ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ชิเกะคะสุ ซะโต ได้ปรากฏกายมาในงานพร้อมสูทสีดำ เนกไทสีเหลือง ตรงตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ จากนั้นขึ้นกล่าวนำเพื่อเริ่มพิธี
เอกอัครราชทูตซะโตกล่าวยกย่องว่า ผุสดีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาญี่ปุ่นในประเทศไทย และในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นผ่านทางวรรณกรรมญี่ปุ่น เป็นผู้จุดประกายความนิยมต่อประเทศญี่ปุ่นขึ้นมาในประเทศไทย และอุทิศตนเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศญี่ปุ่นในหมู่เยาวชนรุ่นหลัง
พร้อมกันนี้ยังได้เปิดเผยอีกหนึ่งงานที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง
"เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บุคคลระดับสูงจากญี่ปุ่นเข้าเฝ้าฯ คุณผุสดีได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามในโอกาสนั้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับคุณผุสดี ความว่า ถึงแม้คุณผุสดีจะมิได้เป็นข้าราชการ แต่ก็ได้ปฏิบัติงานเพื่อราชวงศ์ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด
"พระราชดำรัสชื่นชมคุณผุสดีซึ่งได้อุทิศตนให้กับการพัฒนามิตรภาพความสัมพันธ์ของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย นับว่ามีความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก"
จากนั้นก็เข้าสู่พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยเอกอัครราชทูตซะโตได้อ่านสาสน์จากสมเด็จพระจักรพรรดิ และมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ประดับ
ผุสดีขึ้นมาขอบคุณทางสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และรัฐบาลญี่ปุ่น
เมื่อเสร็จสิ้น โตราจิโร่ โอฮาชิ นายกสมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทยในฐานะผู้อาวุโสในงาน ได้ขึ้นมานำการ "คัมปาย" หรือการ "ชนแก้ว" เพื่อแสดงความยินดี ปิดท้ายพิธี ท่ามกลางรอยยิ้มและเสียงปรบมืออันดังกึกก้องของทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ก่อนจะรับประทานอาหารเย็นร่วมกันและสนทนากันอย่างมีความสุข
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า มิตรภาพที่แท้จริง ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยกำลังและการบังคับ
แต่จะเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกัน
ดังที่ ผุสดี นาวาวิจิต ได้ทำให้ประจักษ์แล้วตลอดชีวิตการทำงาน
----------
"รู้จัก 3 งานเด่นผุสดี เชื่อมสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น"
1.ผลงานแปล
"โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ผลงานของ คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ
งานแปลที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2527 ชิ้นนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับผุสดีเป็นอย่างมาก เนื้อหาของหนังสือเป็นเรื่องจริงของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงโตเกียว ในยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 จะสงบไม่นานนัก และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งต้นฉบับในประเทศญี่ปุ่น และงานแปลเป็นภาษาไทย
จนได้รับเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ
2.ผลงานแปล
"เปลือกหอยจากนางเงือก" ผลงานของ นางาซากิ เก็นโนะสุเก
งานแปลเป็นภาษาไทยของผุสดีชิ้นนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมเยาวชนดีเด่นสาขาหนังสือแปล ประจำปี ค.ศ.1988 หรือ ปี พ.ศ.2531 จากเวที IBBY หรือ International Board on Books for Young People และสร้างความสุขให้กับผู้อ่านด้วยเรื่องราวของเด็กหญิงชิงคาวะ ซาจิโกะ และ เด็กชายเท็ตสึจิ ที่น่าติดตามยิ่ง
3.งานแปลบทภาพยนตร์ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย
"Always : Sunset on Third Street" หรือ "ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม"
หนึ่งในภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับในประเทศว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง โดยได้รางวัลแจแปนิส อคาเดมี ประจำปี พ.ศ.2549 ถึง 12 สาขา จากที่ถูกเสนอชื่อ 14 สาขา งานแปลบทภาพยนตร์เรื่องนี้ของผุสดีได้สร้างเสียงหัวเราะและหยาดน้ำตาให้กับคนไทย ที่ลุ้นไปกับชีวิตของนักเขียนไส้แห้งหลงตัวเองนาม ชากาวะ ริวโนะสุเกะ และอิ่มเอิบไปกับความภาคภูมิใจในการสร้างชาติของญี่ปุ่นหลังยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2
เรื่องราวการ "สร้างชาติ" ในแบบฉบับญี่ปุ่นที่ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนมากมาย
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405608978
′ผุสดี นาวาวิจิต′ ผู้หญิงธรรมดา เชื่อมแผ่นดิน ′ไทย-ญี่ปุ่น′ ด้วยภาษา
โดย สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์
มติชนรายวัน 17 กรกฎาคม 2557
ฯพณฯ เอกอัครราชทูตชิเกะคะสุ ซะโต มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์
"127 ปี"
คือตัวเลขที่บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "ไทย-ญี่ปุ่น" อย่างเป็น "ทางการ"
เป็นระยะเวลาแห่งความสัมพันธ์ของสองประเทศที่ดำรงมาอย่างยาวนานและแน่นแฟ้นยิ่ง หลังจากที่ได้มีการลงนามปฏิญญาทางพระราชไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและไทย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2430 โดยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ
แต่หากนับอย่าง "ไม่เป็นทางการ" แล้ว มิตรไมตรีนี้จะมีระยะเวลามากกว่า 600 ปี
ย้อนกลับไปตามที่มีบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ จะพบว่ามีชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาโลดแล่นและมีบทบาทในประเทศสยามเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อะคุอุอิ สึมิฮิโร, ชิโรอิ คิวเอมอน และ ยามาดะ นางามาสะ
โดยหลายคนรับราชการในราชสำนักของสยามด้วย
และในปัจจุบัน นอกจากจะมีความสัมพันธ์ในหลากหลายด้านทั้ง ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียนกันระหว่างราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น และผู้นำของทั้งสองประเทศ ยังมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมของกันและกันอีกด้วย และทางประเทศญี่ปุ่นได้เห็นความสำคัญในประเด็นนี้มาโดยตลอด
"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์และรางวัลที่ทางจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงมอบให้กับคนต่างชาติ ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของญี่ปุ่น
การมอบ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" เริ่มต้นมาตั้งแต่ในปี พ.ศ.2546 โดยจะมีการมอบให้กับชาวต่างชาติปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง และในปี 2557 ผุสดี นาวาวิจิต คือผู้หนึ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ จากชาวต่างชาติจำนวน 55 คน ที่มาจาก 100 ประเทศทั่วโลก
เหนืออื่นใด เธอคือผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยปราศจากตำแหน่งทางราชการ และทางวิชาการใดๆ เป็นเพียงประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น
เหตุใดถึง ผุสดี ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้?
สืบสาวราวเรื่องกลับไปดู จะพบว่า ผุสดี คือหนึ่งในนักแปล และเป็นล่ามญี่ปุ่นชั้นนำของไทย มีชื่อเสียงจากผลงานในการแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก อาทิ 4 ปี นรกในเขมร, เปลือกหอยจากนางเงือก, เด็กหญิงน็อนจัง, โมโมจัง, เด็กหญิงอีดะ, สมุดพกคุณครู, สมุดพกของแม่, บันทึกของผม, เพื่อนคนใหม่, และรวมแปลเรื่อง ขวัญหนี รักสามเส้า ผีญี่ปุ่น สยองขวัญ เรื่องผีผี เบ็ตตี้ซัง
งานแปลจากภาษาอังกฤษก็มีเช่น เคาตุ่ณ+คุณจิ้งจอก, คนซื่อบื้อ+นิ้ววิเศษ ผลงานแปลล่าสุด รวมเรื่องสั้น คนรถไฟ
นอกจากนี้ยังมีงานแปลบทภาพยนตร์ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย เรื่อง "Always: Sunset on Third Street" หรือชื่อไทย "ถนนสายนี้หัวใจไม่เคยลืม" ที่โด่งดังอีกด้วย
แต่เชื่อว่าที่นักอ่านหลายคนรู้จักดี เห็นจะเป็นผลงานแปลชื่อ "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ที่แต่งโดย คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ซึ่งได้รับเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศไทย
นอกจากนี้ ผุสดียังได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านพระราชไมตรีระหว่างพระราชวงศ์ของทั้ง 2 ประเทศ
โดยถวายงานในฐานะล่ามญี่ปุ่นประจำพระองค์ เป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น อุทิศตนในการเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่นให้กับคนไทยในทุกระดับชั้น ผ่านช่องทางทั้งหมดเท่าที่จะทำได้
สิ่งเหล่านี้ล้วนประจักษ์แก่สังคมและรัฐบาลญี่ปุ่น
4 กรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ ผุสดี ที่ห้องประชุมภายในสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
พิธีการต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบง่าย แต่มีสไตล์ตามแบบฉบับญี่ปุ่น เก้าอี้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ส่วนบนเวทีตกแต่งเวทีด้วยฉากกั้นห้องแบบญี่ปุ่น ท่ามกลางหมู่มิตร ญาติพี่น้อง ที่มาให้กำลังใจและแสดงความยินดี
ประเภทของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ ผุสดี ได้รับคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 4 เคียวกุจิสึ โชจูโช (The Order of the Rising Sun, Gold Rays with Rosette) จากทั้งหมด 8 ชั้น ในลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลำดับที่ 3 จากทั้งหมด 6 ลำดับ
ผุสดีในวันนี้มาพร้อมกับเสื้อผ้าไหมสีม่วง ที่ดูงดงามและเรียบร้อย รอยยิ้มแสดงผ่านทางสีหน้าตลอดเวลาที่สนทนากับผู้คนที่เข้ามาร่วมแสดงความยินดี
เธอเล่าถึงความในใจก่อนเริ่มงานว่า การที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันนี้ ถือเป็นเกียรติสูงสุดและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางสมเด็จพระจักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญในผลงาน ทั้งงานแปล งานสอนและเผยแพร่ภาษาญี่ปุ่นที่ได้ทำมาตลอด 45 ปี และได้ทำเรื่องเพื่อมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่บุคคลธรรมดาอย่างตนเอง
สำหรับการเป็นผู้รอบรู้ในภาษาญี่ปุ่น
ผุสดีเล่าไว้อย่างน่าสนใจ...
"จุดเริ่มต้นทั้งหมดเกิดจากสมัยที่เรียนจบระดับชั้นมัธยมที่มีความชอบในภาษาต่างประเทศอยู่แล้ว ตอนเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ก็เรียนภาษาเยอรมันและสอบได้ที่ 1 ของรุ่น ตอนแรกตั้งใจจะไปเรียนต่อที่เยอรมัน แต่บังเอิญทุนรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเปิดสอบก่อนทุนอื่น จึงได้ไปสอบ และคิดว่าน่าสนใจดี
เพื่อนชาวไทย-ญี่ปุ่นร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
"ประกอบกับคุณพ่อทำงานอยู่ในบริษัทญี่ปุ่น จึงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี" ผุสดีกล่าว
นักแปลผู้นี้ยังบอกอีกว่า หากตัดสินใจไม่เอาทุนรัฐบาลญี่ปุ่นคงไม่มีวันที่จะได้มายืนตรงจุดนี้ มายืนเป็นตัวแทนของคนไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่นทุกคน
"เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่สำคัญเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในฐานะคนทำงานอิสระคนหนึ่งที่รักในภาษาญี่ปุ่น ถือเป็นเกียรติและขอรับแทนคนไทยคนอื่นๆ ที่ทำงานในสาขานี้ต่อไป" ผุสดีกล่าว
งานดำเนินไปพร้อมด้วยความชื่นมื่น
จากนั้นเมื่อถึงเวลา 6 โมงเย็น ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ชิเกะคะสุ ซะโต ได้ปรากฏกายมาในงานพร้อมสูทสีดำ เนกไทสีเหลือง ตรงตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ จากนั้นขึ้นกล่าวนำเพื่อเริ่มพิธี
เอกอัครราชทูตซะโตกล่าวยกย่องว่า ผุสดีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาญี่ปุ่นในประเทศไทย และในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นผ่านทางวรรณกรรมญี่ปุ่น เป็นผู้จุดประกายความนิยมต่อประเทศญี่ปุ่นขึ้นมาในประเทศไทย และอุทิศตนเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศญี่ปุ่นในหมู่เยาวชนรุ่นหลัง
พร้อมกันนี้ยังได้เปิดเผยอีกหนึ่งงานที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง
"เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บุคคลระดับสูงจากญี่ปุ่นเข้าเฝ้าฯ คุณผุสดีได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามในโอกาสนั้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับคุณผุสดี ความว่า ถึงแม้คุณผุสดีจะมิได้เป็นข้าราชการ แต่ก็ได้ปฏิบัติงานเพื่อราชวงศ์ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด
"พระราชดำรัสชื่นชมคุณผุสดีซึ่งได้อุทิศตนให้กับการพัฒนามิตรภาพความสัมพันธ์ของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย นับว่ามีความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก"
จากนั้นก็เข้าสู่พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยเอกอัครราชทูตซะโตได้อ่านสาสน์จากสมเด็จพระจักรพรรดิ และมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ประดับ
ผุสดีขึ้นมาขอบคุณทางสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และรัฐบาลญี่ปุ่น
เมื่อเสร็จสิ้น โตราจิโร่ โอฮาชิ นายกสมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทยในฐานะผู้อาวุโสในงาน ได้ขึ้นมานำการ "คัมปาย" หรือการ "ชนแก้ว" เพื่อแสดงความยินดี ปิดท้ายพิธี ท่ามกลางรอยยิ้มและเสียงปรบมืออันดังกึกก้องของทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ก่อนจะรับประทานอาหารเย็นร่วมกันและสนทนากันอย่างมีความสุข
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า มิตรภาพที่แท้จริง ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยกำลังและการบังคับ
แต่จะเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกัน
ดังที่ ผุสดี นาวาวิจิต ได้ทำให้ประจักษ์แล้วตลอดชีวิตการทำงาน
----------
"รู้จัก 3 งานเด่นผุสดี เชื่อมสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น"
1.ผลงานแปล
"โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ผลงานของ คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ
งานแปลที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2527 ชิ้นนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับผุสดีเป็นอย่างมาก เนื้อหาของหนังสือเป็นเรื่องจริงของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงโตเกียว ในยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 จะสงบไม่นานนัก และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งต้นฉบับในประเทศญี่ปุ่น และงานแปลเป็นภาษาไทย
จนได้รับเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ
2.ผลงานแปล
"เปลือกหอยจากนางเงือก" ผลงานของ นางาซากิ เก็นโนะสุเก
งานแปลเป็นภาษาไทยของผุสดีชิ้นนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมเยาวชนดีเด่นสาขาหนังสือแปล ประจำปี ค.ศ.1988 หรือ ปี พ.ศ.2531 จากเวที IBBY หรือ International Board on Books for Young People และสร้างความสุขให้กับผู้อ่านด้วยเรื่องราวของเด็กหญิงชิงคาวะ ซาจิโกะ และ เด็กชายเท็ตสึจิ ที่น่าติดตามยิ่ง
3.งานแปลบทภาพยนตร์ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย
"Always : Sunset on Third Street" หรือ "ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม"
หนึ่งในภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับในประเทศว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง โดยได้รางวัลแจแปนิส อคาเดมี ประจำปี พ.ศ.2549 ถึง 12 สาขา จากที่ถูกเสนอชื่อ 14 สาขา งานแปลบทภาพยนตร์เรื่องนี้ของผุสดีได้สร้างเสียงหัวเราะและหยาดน้ำตาให้กับคนไทย ที่ลุ้นไปกับชีวิตของนักเขียนไส้แห้งหลงตัวเองนาม ชากาวะ ริวโนะสุเกะ และอิ่มเอิบไปกับความภาคภูมิใจในการสร้างชาติของญี่ปุ่นหลังยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2
เรื่องราวการ "สร้างชาติ" ในแบบฉบับญี่ปุ่นที่ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนมากมาย
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405608978