หลายปีก่อน ผมได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเยาวชนดี ๆ ที่แต่งโดยนักเขียนชาวญี่ปุ่นเล่มหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนราคาแพงจากสงครามที่ส่งเสียหายร้ายแรงต่อผู้คนมากมาย หลายคนเสียชีวิตทันทีในขณะที่อีกหลายคนแม้รอดชีวิตแต่ก็ได้รับผลกระทบไปนานตราบชีวีร่วงโรย...โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก ๆ T^T
ก็น่าทึ่งเหมือนกันนะครับ ที่เมือง "ฮิโรชิม่า"สถานที่เกิดเหตุที่มีการกล่าวถึงในเนื้อเรื่อง จากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสงคราม (แบบราบเป็นหน้ากลองเลย) กลับมาฟื้นฟูได้อย่างสวยงาม แม้เมืองนี้พัฒนาอย่างมากแต่ผู้คนที่นั่นก็ไม่ลืมที่จะถ่ายทอดผลกระทบจากสงครามเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก จนเป็นเมืองแห่งสันติภาพไปแล้วล่ะครับ ^^
ผมมีความประทับในใจเนื้อหา, การดำเนินเรื่องและการผูกเรื่องของหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างมากครับ จนกระทั่งไปเขียนรีวิวในบล็อก (แบบว่าประทับใจมากจนอยากเขียนภาพประกอบใหม่ตามสไตล์ตัวเองเลย >_<) ในเวลาต่อมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว…ในวันที่ 6 สิงหาคม 2556
เนื่องในโอกาสที่ปีนี้ (พ.ศ. 2558) เพื่อเป็นการระลึกถึงการครบรอบ 70 ปีหลังจากที่เกิดเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น ผมขอนำเนื้อหาจากหนังสือดี ๆ เล่มนี้มาถ่ายทอดอีกครั้ง (อ่านแล้วอาจจะดูแปลก ๆ หน่อยนะครับ เพราะผมเขียนหนังสือไม่เก่งเท่าไหร่ก็เลยลอกข้อความจากบล็อกมาตรง ๆ ไม่ได้เรียบเรียงใหม่เลย ^^”) ขอบคุณที่แวะมาอ่านกระทู้ครับ
เด็กหญิงอีดะ
ผู้แต่ง : มัตสุทานิ มิโยโกะ
ผู้แปล : ผุสดี นาวาวิจิต
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
เล่าเรื่อง : พุทราน้อย อ้อยอิ่ง
เล่าภาพ : ทุเรียนกวน ป่วนรัก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=durianguan&month=06-08-2013&group=4&gblog=55
[cb-02] ปกหนังสือ เด็กหญิงอีดะ
. . . . . . หนังสือที่นำมาแนะนำวันนี้ชื่อว่า
“เด็กหญิงอีดะ” เขียนโดยคุณมัตสุทานิ มิโยโกะ ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2512 ส่วนฉบับภาษาไทยแปลโดยคุณผุสดี นาวาวิจิต เคยตีพิมพ์หลายครั้งแล้วนะคะ ตอนแรกใช้ชื่อ
“เก้าอี้กับเด็กหญิงอีดะ” แล้วก็มาเปลี่ยนเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันกับ สนพ. ผีเสื้อ ที่ฉันใช้ประกอบการรีวิวเป็นฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2544 ค่ะ
. . . . . . เนื้อหาในหนังสือค่อนข้างหนักสำหรับเด็กและเยาวชนเอาการอยู่นะคะ แถมมีเรื่องลึกลับให้ชวนคิดด้วย แต่ผู้เขียนแต่งเรื่องได้ดีจริง ๆ ไม่มีอะไรส่อความรุนแรงเลยสักนิด และที่ดีมากที่สุดก็คือเความทรงคุณค่าของเนื้อหานี่แหละค่ะ ดีซะจนได้รับรางวัลแอนเดอร์เสนนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 ด้วยนะ
. . . . . . ฉันบอกไว้ตอนต้นว่า...หนังสือเล่มนี้ต้องอัพในวันที่ 6 สิงหาคม เท่านั้น ถ้าอยากรู้ว่าเพราะอะไรก็ต้องลองตามอ่านดูเองนะคะ ใบ้ให้ว่า...“หกสิงหา-น้ำตาท่วมจอ” ตอนนี้ขอตัวไปหยิบผ้าเช็ดหน้าก่อนนะ
[cb-02] ปก Futari no Iida ฉบับภาษาไทย 4 แบบ
รีวิวหนังสือ "เด็กหญิงอีดะ" กาลเวลาที่หายไปในฮิโรชิม่า
ก็น่าทึ่งเหมือนกันนะครับ ที่เมือง "ฮิโรชิม่า"สถานที่เกิดเหตุที่มีการกล่าวถึงในเนื้อเรื่อง จากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสงคราม (แบบราบเป็นหน้ากลองเลย) กลับมาฟื้นฟูได้อย่างสวยงาม แม้เมืองนี้พัฒนาอย่างมากแต่ผู้คนที่นั่นก็ไม่ลืมที่จะถ่ายทอดผลกระทบจากสงครามเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก จนเป็นเมืองแห่งสันติภาพไปแล้วล่ะครับ ^^
ผมมีความประทับในใจเนื้อหา, การดำเนินเรื่องและการผูกเรื่องของหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างมากครับ จนกระทั่งไปเขียนรีวิวในบล็อก (แบบว่าประทับใจมากจนอยากเขียนภาพประกอบใหม่ตามสไตล์ตัวเองเลย >_<) ในเวลาต่อมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว…ในวันที่ 6 สิงหาคม 2556
เนื่องในโอกาสที่ปีนี้ (พ.ศ. 2558) เพื่อเป็นการระลึกถึงการครบรอบ 70 ปีหลังจากที่เกิดเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้น ผมขอนำเนื้อหาจากหนังสือดี ๆ เล่มนี้มาถ่ายทอดอีกครั้ง (อ่านแล้วอาจจะดูแปลก ๆ หน่อยนะครับ เพราะผมเขียนหนังสือไม่เก่งเท่าไหร่ก็เลยลอกข้อความจากบล็อกมาตรง ๆ ไม่ได้เรียบเรียงใหม่เลย ^^”) ขอบคุณที่แวะมาอ่านกระทู้ครับ
เด็กหญิงอีดะ
ผู้แต่ง : มัตสุทานิ มิโยโกะ
ผู้แปล : ผุสดี นาวาวิจิต
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
เล่าเรื่อง : พุทราน้อย อ้อยอิ่ง
เล่าภาพ : ทุเรียนกวน ป่วนรัก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=durianguan&month=06-08-2013&group=4&gblog=55
[cb-02] ปกหนังสือ เด็กหญิงอีดะ
. . . . . . หนังสือที่นำมาแนะนำวันนี้ชื่อว่า “เด็กหญิงอีดะ” เขียนโดยคุณมัตสุทานิ มิโยโกะ ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2512 ส่วนฉบับภาษาไทยแปลโดยคุณผุสดี นาวาวิจิต เคยตีพิมพ์หลายครั้งแล้วนะคะ ตอนแรกใช้ชื่อ “เก้าอี้กับเด็กหญิงอีดะ” แล้วก็มาเปลี่ยนเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันกับ สนพ. ผีเสื้อ ที่ฉันใช้ประกอบการรีวิวเป็นฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2544 ค่ะ
. . . . . . เนื้อหาในหนังสือค่อนข้างหนักสำหรับเด็กและเยาวชนเอาการอยู่นะคะ แถมมีเรื่องลึกลับให้ชวนคิดด้วย แต่ผู้เขียนแต่งเรื่องได้ดีจริง ๆ ไม่มีอะไรส่อความรุนแรงเลยสักนิด และที่ดีมากที่สุดก็คือเความทรงคุณค่าของเนื้อหานี่แหละค่ะ ดีซะจนได้รับรางวัลแอนเดอร์เสนนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 ด้วยนะ
. . . . . . ฉันบอกไว้ตอนต้นว่า...หนังสือเล่มนี้ต้องอัพในวันที่ 6 สิงหาคม เท่านั้น ถ้าอยากรู้ว่าเพราะอะไรก็ต้องลองตามอ่านดูเองนะคะ ใบ้ให้ว่า...“หกสิงหา-น้ำตาท่วมจอ” ตอนนี้ขอตัวไปหยิบผ้าเช็ดหน้าก่อนนะ
[cb-02] ปก Futari no Iida ฉบับภาษาไทย 4 แบบ