โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำลังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันในวงการแพทย์ สถานพยาบาล ที่คนไข้ ชาวบ้านต่างลุ้นกันว่า โครงการนี้จะถูกยกเลิกไปหรือไม่ แต่แน่นอนว่า กระแสออกมาถูกคัดค้านอย่างรุนแรง เพราะโครงการนี้ทำให้คนจนได้มีโอกาสเข้ารับการรักษาอย่างเท่าเทียม
ที่ผ่านมา โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มักถูกโยนเป็นจำเลยในหลายๆเหตุการณ์ โดยบุคลากรทางการแพทย์ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง บางส่วนเสียประโยชน์จากการเปิดคลีนิค รายได้หดหาย อีกทั้งยังให้เหตุผลว่า ทำให้มาตรฐานการรักษาต่ำลง โรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานได้
นอกจากนี้ โรงพยาบาลเกือบทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุขอาจจะเกิดภาวะ “ขาดสภาพคล่องทางการเงิน” ขาดเงินหมุนเวียนที่จะจ่ายค่ายาให้แก่บริษัทยา ทำให้บริษัทยาไม่ส่งยาให้โรงพยาบาลนั้นๆ เป็นเหตุให้ประชาชนอาจไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษา
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค
สิ่งที่แพทย์ และพยาบาล ได้รับผลจากโครงการนี้คือ มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น บางครั้งคนไข้ที่ป่วยเพียงเล็กน้อย ก็มาโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัย และเรียกร้องให้แพทย์จ่ายยาตามที่ต้องการ หากไม่จ่ายตามใจก็อาจจะมีการโต้เถียงกันขึ้น หรือบางครั้งผู้ป่วยไม่พอใจผลการรักษา อาจจะไปกล่าวหาและร้องเรียนว่า “แพทย์ชุ่ย” กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ฟ้องร้องกันเป็นข่าวครึกโครม
นั่นเองคือสิ่งที่แพทย์ และพยาบาล ได้ประสบพบเจอ เพราะหากเกิดเรื่องทีไร ก็จะกลายเป็นจำเลยที่ 1 เสมอ
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาตามโครงการนี้ก็เป็นการรักษาฟรี เป็นสวัสดิการของประชาชนอยู่แล้ว แต่การชูนโยบาย 30 บาท ก็เพื่อให้ทุกคนได้ชื่อว่า ” ผู้ใช้บริการ ” เป็นศักดิ์ศรีที่คนไข้มี ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
ล่าสุด ประเด็นนี้เป็นข้อถกเถียงในโลกออนไลน์ เมื่อมีข่าวว่า นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ข้อความว่ากระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวคิดให้ ประชาชนร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ในสัดส่วนร้อยละ 30-50 ต่อที่ประชุมคสช.นั้น ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมาตอบโต้ว่าไม่เป็นความจริง เป็นเพียงข้อเสนอที่มีผู้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และที่ประชุมไม่มีการพูดคุยและมีข้อสรุปในประเด็นดังกล่าว ยืนยันไม่ใช่มติที่กระทรวงสาธารณสุขที่จะเสนอ คสช.แต่อย่างใด
กระแสตีกลับสะท้อนให้เห็นว่า หากจะยกเลิก โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค คงเป็นไปได้ยาก และไม่มีใครกล้าคิดที่จะยกเลิก สิ่งที่เป็นปัญหาจะเห็นว่าแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐคือผู้รับรู้ปัญหาโดยตรง หากแยกการเมืองกับระบบสุขภาพออกจากกัน เราสามารถนำเรื่องนี้มาปรับเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางแก้ไข ไม่ใช่การยกเลิกเสียทั้งหมด
หรืออีกแนวทางหนึ่ง รัฐบาลอาจจะใช้วิธีการ รูปแบบประกันสังคม ประกันตนเอง จัดเก็บเงินรายปีจากประชาชน เพื่อรับสิทธิ์ประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ก็สามารถใช้สิทธิ์นี้ในการรักษา หรืออาจจะมีการประกันตนเรื่อง ค่าทำศพ รวมถึง เบี้ยยังชีพ หากใช้วิธีนี้ก็เป็นการออมเงินทางอ้อมได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลที่ต้องจ่าย
เงินทุนการรักษา เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประชาชน และแม้ว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจะดำเนินต่อไป แต่หากออกกำลังกายเป็นประจำ ดูแลสุขภาพตัวเอง ก็ไม่ต้องเสียเงินสักบาท เป็นต้นทุนสุขภาพที่จะทำให้มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรค อย่างที่สำนวนไทยกว่าวไว้ว่า…อโรคยา ปรมาลาภา ….ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ยังเป็นคำพูดที่ฟังดูแล้วไม่ล้าสมัย
MThai SMS News
จริงหรือ ? จะยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค
ที่ผ่านมา โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มักถูกโยนเป็นจำเลยในหลายๆเหตุการณ์ โดยบุคลากรทางการแพทย์ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง บางส่วนเสียประโยชน์จากการเปิดคลีนิค รายได้หดหาย อีกทั้งยังให้เหตุผลว่า ทำให้มาตรฐานการรักษาต่ำลง โรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานได้
นอกจากนี้ โรงพยาบาลเกือบทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุขอาจจะเกิดภาวะ “ขาดสภาพคล่องทางการเงิน” ขาดเงินหมุนเวียนที่จะจ่ายค่ายาให้แก่บริษัทยา ทำให้บริษัทยาไม่ส่งยาให้โรงพยาบาลนั้นๆ เป็นเหตุให้ประชาชนอาจไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษา
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค
สิ่งที่แพทย์ และพยาบาล ได้รับผลจากโครงการนี้คือ มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น บางครั้งคนไข้ที่ป่วยเพียงเล็กน้อย ก็มาโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัย และเรียกร้องให้แพทย์จ่ายยาตามที่ต้องการ หากไม่จ่ายตามใจก็อาจจะมีการโต้เถียงกันขึ้น หรือบางครั้งผู้ป่วยไม่พอใจผลการรักษา อาจจะไปกล่าวหาและร้องเรียนว่า “แพทย์ชุ่ย” กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ฟ้องร้องกันเป็นข่าวครึกโครม
นั่นเองคือสิ่งที่แพทย์ และพยาบาล ได้ประสบพบเจอ เพราะหากเกิดเรื่องทีไร ก็จะกลายเป็นจำเลยที่ 1 เสมอ
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาตามโครงการนี้ก็เป็นการรักษาฟรี เป็นสวัสดิการของประชาชนอยู่แล้ว แต่การชูนโยบาย 30 บาท ก็เพื่อให้ทุกคนได้ชื่อว่า ” ผู้ใช้บริการ ” เป็นศักดิ์ศรีที่คนไข้มี ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
ล่าสุด ประเด็นนี้เป็นข้อถกเถียงในโลกออนไลน์ เมื่อมีข่าวว่า นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ข้อความว่ากระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวคิดให้ ประชาชนร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ในสัดส่วนร้อยละ 30-50 ต่อที่ประชุมคสช.นั้น ซึ่งเจ้าตัวก็ออกมาตอบโต้ว่าไม่เป็นความจริง เป็นเพียงข้อเสนอที่มีผู้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม และที่ประชุมไม่มีการพูดคุยและมีข้อสรุปในประเด็นดังกล่าว ยืนยันไม่ใช่มติที่กระทรวงสาธารณสุขที่จะเสนอ คสช.แต่อย่างใด
กระแสตีกลับสะท้อนให้เห็นว่า หากจะยกเลิก โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค คงเป็นไปได้ยาก และไม่มีใครกล้าคิดที่จะยกเลิก สิ่งที่เป็นปัญหาจะเห็นว่าแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐคือผู้รับรู้ปัญหาโดยตรง หากแยกการเมืองกับระบบสุขภาพออกจากกัน เราสามารถนำเรื่องนี้มาปรับเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางแก้ไข ไม่ใช่การยกเลิกเสียทั้งหมด
หรืออีกแนวทางหนึ่ง รัฐบาลอาจจะใช้วิธีการ รูปแบบประกันสังคม ประกันตนเอง จัดเก็บเงินรายปีจากประชาชน เพื่อรับสิทธิ์ประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ก็สามารถใช้สิทธิ์นี้ในการรักษา หรืออาจจะมีการประกันตนเรื่อง ค่าทำศพ รวมถึง เบี้ยยังชีพ หากใช้วิธีนี้ก็เป็นการออมเงินทางอ้อมได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลที่ต้องจ่าย
เงินทุนการรักษา เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประชาชน และแม้ว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคจะดำเนินต่อไป แต่หากออกกำลังกายเป็นประจำ ดูแลสุขภาพตัวเอง ก็ไม่ต้องเสียเงินสักบาท เป็นต้นทุนสุขภาพที่จะทำให้มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรค อย่างที่สำนวนไทยกว่าวไว้ว่า…อโรคยา ปรมาลาภา ….ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ยังเป็นคำพูดที่ฟังดูแล้วไม่ล้าสมัย
MThai SMS News