10 อันดับ ปลาเอเลี่ยน ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ และ วิกฤติปลาเอเลี่ยนที่รุกรานลำน้ำไทย

อยากเขียนเรื่องนี้มานานแล้ว อยากให้แสดงความคิดเห็นกันวงกว้างถึงเรื่องนี้ครับ
หากมีข้อโต้แย้งอย่างไร หรือแนวคิดส่วนตัวสามารถ นำเสนอได้
ถือว่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ







ก่อนอื่น เรามาดู 10 ‘ปลาเอเลี่ยน’ สายพันธุ์รุกรานจากใต้น้ำ ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ก่อนครับ

ขอบคุณข้อมูล จาก http://animals.spokedark.tv/2014/02/12/10-invasive-fish/


ไม่เรียงลำดับนะครับ










เอาละ ผ่านไปแล้ว 5 อันดับ ดูแล้วไกลตัวนะครับ แต่ 5 อันดับต่อไป คุณต้องไม่คิดว่ามันไกลตัวอีกต่อไป

ชะโด


ปลานิล


ปลาวงศ์ ปลาไน และกระแห


ดุกด้าน


ช่อน


เป็นไงครับ 5 อันดับท้ายนี่ คุ้นเคยและพบเห็นได้ตามแหล่งน้ำบ้านเรา จนเหมือนเรื่องปกติแล้วใช่ไหมครับ


แต่มันเป็นปลาเอเลี่ยนที่ ต่างประเทศหวาดกลัว เพราะ การหากินของมัน ทำให้ระบบนิเวศน์เสียไป

เอาละ มาดูกันทีละตัว

ปลานิล อันนี้ต้องเข้าใจ ก่อนว่า มันแพร่พันธ์จากความตั้งใจของเรา เอง ไม่ได้พลัดถิ่น
โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ริเริ่มการเพาะเลี้ยง โดยได้รับมาจากญี่ปุ่น
และเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ ในพระราชวังสวนจิตลัดดา

ทั้งนี้ เพื่อเป็นปลาเศรษฐกิจ ให้คนไทยในยุคนั้นได้เพาะเลี้ยง บริโภค

ดุกด้าน เดิมอาศัยแถบลุ่มน้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้น มันกระจายอยู่ในไทยมานานแล้ว
เป็นปลาดั้งเดิมของเราเอง

กระแห ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน
เป็นปลาดั้งเดิมของไทยเช่นกัน พบทั้ง อีสาน เหนือ ใต้ มานานแล้ว

ช่อน ผมลองสืบค้นดู พบว่าแต่เดิม ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า
"หลิม" ในภาษาเหนือ "ค้อ" หรือ "ก๊วน" ในภาษาอีสาน ดังนั้น ถือเป็นปลาพื้นถิ่นของเราเช่นกัน

ชะโด ก็เช่นเดียวกับปลาช่อน เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น
มาเลเซีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
และในหนังสือเรียนภาษาไทย ฉบับเก่า มานะ มานี ปิติ ชูใจ ก็มีการบรรยายความดุร้ายของมันไว้ในแบบเรียนเสียด้วย


ที่นี้ เราก็ทราบแล้วว่า ปลาพื้นถิ่นของเรา เอง หรืออาจพูดได้ว่าภูมิภาคของเรานั้น หากย้ายถิ่น หรือพลัดถิ่นไปอยู่ที่อื่น
หากสิ่งแวดล้อมได้ อยู่น้ำใหม่ได้ และแพร่พันธ์ได้ ย่อมทำให้แต่ละประเทศได้รับผลกระทบ มหาศาล


หากท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสงสัย แล้วมันอยู่กันในบ้านเราได้ยังไง ?

นั่นเพราะธรรมชาติ วิวัฒนาการ และสิ่งแวดล้อมทำให้มันอยู่กันได้ ครับ
โดยห่วงโซ่อาหาร และอุปนิสัยการล่า

อาทิ ปลาช่อน กิน ปลากระดี่ ตอนปลาช่อนคลอด ลูกมันก็ถูกกิน
ชะโดตอนตัวเล็กก็ถูกปลาช่อนกิน พอชะโดโต ก็ไล่กินปลาช่อนได้เช่นกัน
ปลาวงศ์ปลาไน บางชนิดก็กินพืชพอตัวใหญ่ปลาช่อนไม่โจมตี แต่การที่มันไปคุ้ย ไปไล่หาพืชกิน
ทำให้ปลาเล็กที่หลบอยู่ต้องออกจากที่ซ่อนทำให้ถูกกิน
ปลานิลตอนเล็กๆ ก็เป็นที่โปรดปราณของ ปลาล่าเหยื่อ แต่พอโต ก็มักเอาตัวรอดได้
ฯลฯ


จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมดั้งเดิม ปลาทั้ง 5 ของเราสามารถอยู่ได้ ในระบบนิเวศน์บ้านเรา


เอาละครับ ประเด็นของผมอยู่ตรงนี้


ตอนนี้เรากำลังโดนรุกราน จาก ปลาต่างถิ่น หรือ ปลาเอเลี่ยน เช่นกันครับ

มาดูกันครับ


เรดเทล แคชฟิช


1 ในปลาที่ผมเคยอยากเลี้ยง มันถูกนำเข้ามาขาย ประมาณ 10 กว่าปีก่อน
หน้าตาน่ารัก ในตอนเด็กๆ แต่ การกินของมัน คือที่สุด
มันกินทุกอย่าง ทั้งหนู กบ ปลาเล็กปลาใหญ่ก็กิน และ กิน กิน กิน ทุกอย่าง

นี่คือตัวทำลายระบบนิเวศน์ของไทย อันดับ ต้นๆ

โดยการหลุดออกมาแพร่พันธ์เกิดจาก
คนที่เลี้ยง ไม่สามารถเลี้ยงไหว
ยิ่งให้กินยิ่งใหญ่ๆๆๆๆ
ถ้าเลี้ยงรวมกับปลาใหญ่อื่นๆ
ปลาเล่านั้นก็ยังมีโอกาสโดนกิน ถ้ามันใหญ่พอ

คนเลี้ยงจึง การุณ มันด้วยการ ปล่อยลงแม่น้ำ ลำคลอง

การพบเห็น มัน ในธรรมชาติ หรือบึงในไทย
มีคนพบ ขนาด 40  กิโลกรัมมาแล้ว แน่นอน ปลาดั้งเดิมที่นั่น แทบสูญพันธ์
ซึ่งในธรรมชาติมันโตได้เกิน 100 กิโลกรัม



ชาวบ้านอ.พิมาย จ.นครราชสีมา แตกตื่น ! พบปลาประหลาดขนาดใหญ่ มาติดตาข่ายในลำน้ำมูล ลำตัวคล้าย
“ปลากด” แต่ส่วนหัวด้านหลังเหมือน“ปลาซัคเกอร์” กลายพันธุ์ ยาว 1.2 เมตร หนัก 17 กก.
http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014008



ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้

ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้ เดิมมันอยู่แถบ อเมริกา และเมกซิโก
ในไทยพบใหญ่สุด 100 กิโลกรัม และเคยมีเพื่อนนักตกปลา ตกได้ โพสลงเฟสบุ๊คด้วย



http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000004183
มหาสารคาม - ชาวบ้านแตกตื่น พบปลาประหลาด มีปากยื่นยาวออกมา และมีฟันซี่เล็กๆ แหลมคม ลักษณะคล้ายจระเข้ คาดเจ้าของเลี้ยงไม่ไหวแอบเอามาปล่อยลงคลอง ด้านเจ้าหน้าที่ประมงมหาสารคาม เผย ตัวโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวถึง 3.5 เมตร น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม


ปลาเปคู
ปลาจะละเม็ดน้ำจืด เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae)
ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา
ปลาคู้เป็นปลากินจุ กินไม่เลือก และมีนิสัยดุร้ายพอๆกับปลาปิรันย่า แต่ต่างกันตรงที่ปลาปิรันย่าเป็นปลากินเนื้อ แต่ปลาคู้กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์

ซึ่งเคยสร้างข่าวกระฉ่อนไทย กัดนิ้วเด็ก ที่แม่น้ำเจ้าพระยา
และที่สำคัญ มันมีปฎิกริยา กับ อัณฑะของเรา เมื่อเราลงเล่นน้ำ มันมักจะมุ่งไปกัดที่ ไข่ ของเราก่อนเลยครับ
อันตรายทั้งระบบนิเวศน์ และการสืบพันธ์ของทั้งปลา ทั้งตระกูลของคุณเลยนะครับ

เตือนภัย เปคู ปลากัดไข่
http://ppantip.com/topic/31476021



ซัคเกอร์



มหัตภัยเอเลี่ยนที่ ร้ายแรงที่สุดในระบบนิเวศน์ของไทย
กินจุ
แย่งที่อาศัย
มีเกราะ
นำมาทำอาหารไม่ค่อยได้
ไม่มีผู้ล่า
ขยายพันธ์เร็ว และมาก

ที่สำคัญ

คนเลี้ยงปลา มักแนะนำคนเลี้ยงปลาว่า มันคือ ปลาเทศบาล รักษาความสะอาด !!!!!!!!!!!!!!!!

เดิมทีเป็นปลา แถบอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในไทย หลายสิบปีแล้ว
โดย คนมีเงินบ้านเรา ที่ชอบปลาแปลกๆ
มันถูกเพาะพันธ์และขาย จนล้นตลาด
ทุกวันนี้เราสามารถหาซื้อมันได้ในราคา 5-10 บาท
และพบเห็นมันได้แทบทุกที่ในประเทศ อย่างน่าเศร้า


น่าเศร้าที่เราไม่ร้เลยว่ามันทำลาย วงจรชีวิตปลาดั้งเดิมและ ระบบนิเวศน์ของไทยอย่างช้าๆ
เงียบๆ จนเสียหายหนักโดยที่เราไม่รู้



ขณะนี้ปลาซัคเกอร์ได้แพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำคลองในประเทศไทย
และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืด กล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่า
เป็นปลาที่มีความอดทดสูง สามารถอยู่ในแหล่งน้ำเสียได้เป็นอย่างดี
ชอบกินอาหารบนหน้าดิน รวมทั้งวางไข่และแพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย
ปลาซัคเกอร์จะวางไข่ครั้งละประมาณ 500–600 ฟอง

เป็นปลาอันดับ 1 ที่เราต้องควบคุม ทำลาย ไม่เพาะ ไม่ขยายพันธ์
ไม่ปล่อย และล่าให้มากที่สุด

มิเช่นนั้น ระบบนิเวศน์ ในที่จำกัดเช่น บึง คลอง จะเสียหายยับเยิน



เช่นเหตุการ์ณ ล้างเผ่าพันธ์ ที่ คลองหนองใหญ๋


"ชาวบ้านหมู่ 6 บ้านหนองใหญ่ ต.นาเหลือ อ.บางละมุง
แจ้งว่าพบปลาซัคเกอร์จำนวนมากตามลำคลอง
ซึ่งมีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร
เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบ พบฝูงปลาซัคเกอร์กว่า 10,000 ตัว
แหวกว่ายอยู่ในลำคลอง ซึ่งเป็นเหตุให้ปลาชนิดอื่นๆ
ที่อาศัยอยู่ในลำคลองเดียวเริ่มสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ"

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=6060.0;prev_next=next



ซึ่ง แน่นอน กรมประมง และนักตกปลา รวมถึงนักนิเวศน์วิทยา ไม่ได้นิ่งนอนใจ

กรมประมงและชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบ ได้ทำการตั้งค่าหัวบ้าง ล่าบ้างเพื่อลดจำนวน
เช่น


ล่าค่าหัว!ปลาซัคเกอร์ในลำน้ำเข็ก
ชาวบ้านเขาค้อ เพชรบูรณ์ ออกล่าปลาซัคเกอร์ ในลำน้ำเข็ก นำมาแลกเงินรางวัล ที่ อบต.หนองแม่นา ตั้งค่าหัวไว้ ขณะที่ ประมงจังหวัดร่วมด้วย เสนอ ปลาซัคเกอร์ 1 ตัวว แลกปลาเศรษฐกิจ 5 ตัว


http://www.komchadluek.net/detail/20120410/127643/%C5%E8%D2%A4%E8%D2%CB%D1%C7!%BB%C5%D2%AB%D1%A4%E0%A1%CD%C3%EC%E3%B9%C5%D3%B9%E9%D3%E0%A2%E7%A1.html



โอดปลาน้ำจืดเกลี้ยงหนอง ถูกปลาซัคเกอร์กินหมด จนลุกฮือวางข่ายดักจับขนออกทำปุ๋ยกว่าเกือบ 2 ตัน คาดฝีมือปลาตู้นำปล่อย เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กรมประมงระบุเป็นปลาต้องห้าม เนื่องจากทำหลายสายพันธุ์สัตว์น้ำพื้นเมือง

http://www.dailynews.co.th/Content/regional/75727/%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A+%26quot%3B%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%26quot%3B+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

และนักตกปลา ส่วนมาก เมื่อตกได้ จะทำการ ปล่อยบก หรือ ปล่อยบนบกให้แห้งตายตรงนั้น
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มันทำลายระบบนิเวศน์ และเพื่อลดจำนวน

บางคนที่ตกปลา จะวางไว้ตรงจุดที่ตกได้เพื่อเป็นการบอกนักตกปลาท่านอื่นด้วย

ซึ่งในกรณีนักตกปลา ผมมองว่า เป็นการกระทำที่ถูก แต่ก็มักถูกตำหนิ จากชาวบ้าน หรือคนไม่ตกปลาว่า "บาป"




ซึ่งที่ผมหยิบยกมานี้ ยังเป็นแค่ 3-4 ชนิด ที่รุกรานระบบนิเวศน์ของไทยเรา

และบรรดา ปลาประหลาดอีกมาก ที่คนเลี้ยง ปล่อยลงธรรมชาติ
ซึ่งบางตัวเราก็ไม่รู้จักมันเลย



ฮือฮาปลาประหลาด หัวเป็นลายตัวเลข-ดุร้าย ชาวบ้านไม่กล้าจับ
http://news.sanook.com/1196600/%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82-%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A/


เดี๋ยวต่อข้างล่างครับ พื้นที่ไม่พอแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่