ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับช่อน แต่มีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทนโดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า “ชะโด” หรือ “อ้ายป๊อก” เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า “แมลงภู่” ตามสีของลำตัว นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้แล้ว
พฤติกรรม ลักษณะนิสัย :
ปลาชะโดมีนิสัยดุร้ายมาก หวงถิ่นเป็นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า “ชะโดตีแปลง”
ในปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืดของไทยหลายแห่ง (โดยเฉพาะแหล่งน้ำจืดในจังหวัดนครราชสีมา) ถูกคุกครามและถูกทำลายระบบนิเวศน์อย่างมากจาก “ปลาชะโด” เนื่องจากปลาชะโดเป็นปลาที่ดุร้าย และจะดุร้ายมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกอ่อนที่เรียกกันว่า ลูกครอกชะโด ลูกครอกในแต่ละฝูงนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ตัว และเนื่องจากพ่อแม่ชะโดที่ดูแลลูกครอกเหล่านี้ดุร้าย และจะกัดขย้ำทุกสิ่งที่เข้ามากวนลูกครอก ทำให้มากกว่า 90% ของจำนวนลูกครอกสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ต่อไป เป็นผลให้ปลาชนิดนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในแต่ละปี และเป็นผลทำให้ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำนี้ขาดความสมดุล ปลาอื่นๆ ที่ถูกปล่อยลงไปในแต่ละปีนับแสนๆ ตัว และจากการตรวจสอบประชากรสัตว์น้ำแล้วพบว่าเหลือรอดไม่ถึง 25%
น่ากลัวมากนะครับ สำหรับโคราชมีประการในเรื่องของการเล่นน้ำ ให้ระมัดระวังถูกปลาชนิดนี้กัดด้วยนะครับ
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ครับ
ปลาชะโด (giant snake head fish)
พอดีตัดมาแต่ส่วนที่อยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ชม
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
http://www.thaifishing.net/
มารู้จักกับ ปลาชะโด ให้ลึกซึ้ง
พฤติกรรม ลักษณะนิสัย :
ปลาชะโดมีนิสัยดุร้ายมาก หวงถิ่นเป็นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า “ชะโดตีแปลง”
ในปัจจุบันสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืดของไทยหลายแห่ง (โดยเฉพาะแหล่งน้ำจืดในจังหวัดนครราชสีมา) ถูกคุกครามและถูกทำลายระบบนิเวศน์อย่างมากจาก “ปลาชะโด” เนื่องจากปลาชะโดเป็นปลาที่ดุร้าย และจะดุร้ายมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกอ่อนที่เรียกกันว่า ลูกครอกชะโด ลูกครอกในแต่ละฝูงนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ตัว และเนื่องจากพ่อแม่ชะโดที่ดูแลลูกครอกเหล่านี้ดุร้าย และจะกัดขย้ำทุกสิ่งที่เข้ามากวนลูกครอก ทำให้มากกว่า 90% ของจำนวนลูกครอกสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ต่อไป เป็นผลให้ปลาชนิดนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในแต่ละปี และเป็นผลทำให้ระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำนี้ขาดความสมดุล ปลาอื่นๆ ที่ถูกปล่อยลงไปในแต่ละปีนับแสนๆ ตัว และจากการตรวจสอบประชากรสัตว์น้ำแล้วพบว่าเหลือรอดไม่ถึง 25%
น่ากลัวมากนะครับ สำหรับโคราชมีประการในเรื่องของการเล่นน้ำ ให้ระมัดระวังถูกปลาชนิดนี้กัดด้วยนะครับ
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ครับ ปลาชะโด (giant snake head fish)
พอดีตัดมาแต่ส่วนที่อยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ชม
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.thaifishing.net/