สัตยา นาเดลลา ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลังจากประกาศถึงพนักงานทุกคนว่า
ไมโครซอฟท์จะเป็นบริษัทแห่ง "การเพิ่มผลผลิตและแพลตฟอร์ม" แทน "อุปกรณ์และบริการ" ที่
สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอริเริ่มไว้ ขอสรุปประเด็นจากหนังสือพิมพ์ The Seattle Times และเว็บไซต์ The Verge ดังนี้
• นิยามของ "การเพิ่มผลผลิต" (productivity) ในกลยุทธ์ใหม่นั้นกว้างกว่าที่ผู้คนทั่วไปคิดกัน โดยนาเดลลากล่าวว่าการเพิ่มผลผลิตหมายถึงความสามารถที่จะลดเวลาที่ผู้คนใช้ทำสิ่งต่างๆ และให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ผ่านเครื่องมือที่สามารถทำนายสิ่งต่างๆ และทำสิ่งเหล่านั้นแทนพวกเขาได้ [1] เขายกตัวอย่างการเพิ่มผลผลิตโดยกล่าวถึง Cortana กับพนักงานขายที่เพิ่งเสร็จสิ้นการพูดคุยดีลว่า Cortana รู้ตารางนัดหมาย ดังนั้นจึงรู้ว่าพนักงานคนนั้นไปติดต่อบริษัทอะไร กับใคร และที่ไหน ดังนั้น Cortana เสมือนทำงานด้าน CRM ให้พนักงานขายคนนั้น [2]
• กลยุทธ์ครอบคลุมถึง "แพลตฟอร์ม" ด้วย เพราะแพลตฟอร์มทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงสิ่งที่คู่แข่งขายหรือให้บริการลูกค้าได้ อาทิ Salesforce.com หรือ Dropbox [1]
• กลยุทธ์ใหม่นี้ไม่ได้หมายความว่าไมโครซอฟท์จะเน้นตลาดผู้ใช้องค์กร โดยนาเดลลามองว่าทุกคนบนโลกใบนี้เป็น "dual user" คือเป็นทั้งผู้ใช้องค์กรและผู้ใช้ตามบ้าน [1] แต่เมื่อเขาถูกถามว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการโน้มน้าวใครมากกว่า ระหว่างผู้ใช้ตามบ้านกับผู้ใช้องค์กรรายใหญ่ (ต้นฉบับบอกบริษัทใน Fortune 500) [2] เขากล่าวว่าการโน้มน้าวผู้ใช้ตามบ้านสำคัญที่สุด บนพื้นฐานของบริษัทที่แข็งแกร่งในฝั่งผู้ใช้องค์กร ซึ่งจุดนี้ทำให้กูเกิลและแอปเปิลยังไม่ชนะไมโครซอฟท์เสียที ถึงแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะคิดว่าสองคู่แข่งชนะไมโครซอฟท์แล้วเพราะบริษัทเหล่านั้นชนะในฝั่งผู้ใช้ตามบ้านก็ตาม
• ในเรื่องธุรกิจฮาร์ดแวร์นั้น นาเดลลาเน้นย้ำว่าบริษัทสนับสนุน Xbox เต็มที่ (ก็คือย้ำอีกครั้งว่า
จะไม่ขายธุรกิจ Xbox ออกไปนั่นเอง) และเขาจะพูดถึงส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตและดีลซื้อธุรกิจมือถือและบริการจากโนเกียเพิ่มเติมในการรายงานผลประกอบการของบริษัทที่จะมีขึ้นวันอังคารหน้า อย่างไรก็ตามเขาเน้นว่าไมโครซอฟท์ไม่ได้ทำฮาร์ดแวร์เพื่อมีส่วนแบ่งในตลาดฮาร์ดแวร์ แต่ทำฮาร์ดแวร์เพื่อที่บริษัทจะนำเสนอแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์เพิ่มผลผลิตในทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (unique) [1], [2]
• อนาคตคือโลกที่มีอุปกรณ์หลากหลายขนาดหน้าจอมาก ระบบโดยรวมต่างๆ (ecosystems) ที่ครอบอุปกรณ์หลากหลายขนาดหน้าจอเหล่านั้นไว้ และบริการบนกลุ่มเมฆที่จะมีให้ใช้งานในทุกระบบโดยรวม เป้าหมายของบริษัทคือการให้เซอร์วิสต่างๆ ของไมโครซอฟท์ (อาทิ สไกป์) ไปปรากฏอยู่ทุกหน้าจออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบโดยรวมทั้งหมดที่มี รวมถึงต้องการให้ระบบโดยรวมของบริษัทบนอุปกรณ์ทุกประเภท (เข้าใจว่าหมายถึงระบบโดยรวมของ Windows) มีส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้น [2]
• ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับ
วิสัยทัศน์ Mobile-First Cloud-First แต่เขาปฏิเสธที่จะสอบถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่า
บริษัทอาจปลดพนักงานออกร้อยละ 10 เพราะดีลธุรกิจมือถือจากโนเกียและกำไรหด [1]
ที่มา: [1]:
The Seattle Times, [2]:
The Verge ผ่าน
Blognone
Satya Nadella ย้ำเป้าหมาย คือทำให้เซอร์วิสของ Microsoft ปรากฏบนอุปกรณ์ทุกขนาดใน ecosystem ทั้งหมดที่มี
สัตยา นาเดลลา ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลังจากประกาศถึงพนักงานทุกคนว่า ไมโครซอฟท์จะเป็นบริษัทแห่ง "การเพิ่มผลผลิตและแพลตฟอร์ม" แทน "อุปกรณ์และบริการ" ที่สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอริเริ่มไว้ ขอสรุปประเด็นจากหนังสือพิมพ์ The Seattle Times และเว็บไซต์ The Verge ดังนี้
• นิยามของ "การเพิ่มผลผลิต" (productivity) ในกลยุทธ์ใหม่นั้นกว้างกว่าที่ผู้คนทั่วไปคิดกัน โดยนาเดลลากล่าวว่าการเพิ่มผลผลิตหมายถึงความสามารถที่จะลดเวลาที่ผู้คนใช้ทำสิ่งต่างๆ และให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ผ่านเครื่องมือที่สามารถทำนายสิ่งต่างๆ และทำสิ่งเหล่านั้นแทนพวกเขาได้ [1] เขายกตัวอย่างการเพิ่มผลผลิตโดยกล่าวถึง Cortana กับพนักงานขายที่เพิ่งเสร็จสิ้นการพูดคุยดีลว่า Cortana รู้ตารางนัดหมาย ดังนั้นจึงรู้ว่าพนักงานคนนั้นไปติดต่อบริษัทอะไร กับใคร และที่ไหน ดังนั้น Cortana เสมือนทำงานด้าน CRM ให้พนักงานขายคนนั้น [2]
• กลยุทธ์ครอบคลุมถึง "แพลตฟอร์ม" ด้วย เพราะแพลตฟอร์มทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงสิ่งที่คู่แข่งขายหรือให้บริการลูกค้าได้ อาทิ Salesforce.com หรือ Dropbox [1]
• กลยุทธ์ใหม่นี้ไม่ได้หมายความว่าไมโครซอฟท์จะเน้นตลาดผู้ใช้องค์กร โดยนาเดลลามองว่าทุกคนบนโลกใบนี้เป็น "dual user" คือเป็นทั้งผู้ใช้องค์กรและผู้ใช้ตามบ้าน [1] แต่เมื่อเขาถูกถามว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการโน้มน้าวใครมากกว่า ระหว่างผู้ใช้ตามบ้านกับผู้ใช้องค์กรรายใหญ่ (ต้นฉบับบอกบริษัทใน Fortune 500) [2] เขากล่าวว่าการโน้มน้าวผู้ใช้ตามบ้านสำคัญที่สุด บนพื้นฐานของบริษัทที่แข็งแกร่งในฝั่งผู้ใช้องค์กร ซึ่งจุดนี้ทำให้กูเกิลและแอปเปิลยังไม่ชนะไมโครซอฟท์เสียที ถึงแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะคิดว่าสองคู่แข่งชนะไมโครซอฟท์แล้วเพราะบริษัทเหล่านั้นชนะในฝั่งผู้ใช้ตามบ้านก็ตาม
• ในเรื่องธุรกิจฮาร์ดแวร์นั้น นาเดลลาเน้นย้ำว่าบริษัทสนับสนุน Xbox เต็มที่ (ก็คือย้ำอีกครั้งว่าจะไม่ขายธุรกิจ Xbox ออกไปนั่นเอง) และเขาจะพูดถึงส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตและดีลซื้อธุรกิจมือถือและบริการจากโนเกียเพิ่มเติมในการรายงานผลประกอบการของบริษัทที่จะมีขึ้นวันอังคารหน้า อย่างไรก็ตามเขาเน้นว่าไมโครซอฟท์ไม่ได้ทำฮาร์ดแวร์เพื่อมีส่วนแบ่งในตลาดฮาร์ดแวร์ แต่ทำฮาร์ดแวร์เพื่อที่บริษัทจะนำเสนอแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์เพิ่มผลผลิตในทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (unique) [1], [2]
• อนาคตคือโลกที่มีอุปกรณ์หลากหลายขนาดหน้าจอมาก ระบบโดยรวมต่างๆ (ecosystems) ที่ครอบอุปกรณ์หลากหลายขนาดหน้าจอเหล่านั้นไว้ และบริการบนกลุ่มเมฆที่จะมีให้ใช้งานในทุกระบบโดยรวม เป้าหมายของบริษัทคือการให้เซอร์วิสต่างๆ ของไมโครซอฟท์ (อาทิ สไกป์) ไปปรากฏอยู่ทุกหน้าจออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบโดยรวมทั้งหมดที่มี รวมถึงต้องการให้ระบบโดยรวมของบริษัทบนอุปกรณ์ทุกประเภท (เข้าใจว่าหมายถึงระบบโดยรวมของ Windows) มีส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้น [2]
• ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Mobile-First Cloud-First แต่เขาปฏิเสธที่จะสอบถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่าบริษัทอาจปลดพนักงานออกร้อยละ 10 เพราะดีลธุรกิจมือถือจากโนเกียและกำไรหด [1]
ที่มา: [1]: The Seattle Times, [2]: The Verge ผ่าน Blognone