รายงานพิเศษ: ว่างงานปี 57 บัณฑิตจบใหม่ตกงาน1.5แสน- “คอมพิวเตอร์-วิศวกรรม” ติดอันดับ!

ข่าวจาก ThaiPBS ครับ
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9-%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5-57-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%9915%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E2%80%9C%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E2%80%9D-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A

รายงานพิเศษ: ว่างงานปี 57 บัณฑิตจบใหม่ตกงาน1.5แสน- “คอมพิวเตอร์-วิศวกรรม” ติดอันดับ!
Thu, 10/07/2014 - 17:46

ว่างงานรวมปี 57 คาดนักศึกษาจบใหม่ตกงาน 1.5 แสนคน รวมว่างงานสะสมเป็น 4.9 แสนคน ตะลึง 5 อันดับสาขาที่เรียนแล้วตกงาน
มากที่สุดมีสายงาน “คอมพิวเตอร์-วิศวกรรม” คู่มากับสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์
เจ้าหน้าที่กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางานระบุ “สายช่าง” เป็นสายอาชีพที่ขาดแคลนหนัก-รายได้สูง แต่คนไม่อยากทำเพราะ
อยากได้ปริญญาบัตร ขณะที่มหาลัยแห่เปิดสาขาที่คนนิยมเรียนเพิ่มแม้จบแล้วไม่มีงานทำ

ปัญหาภาคแรงงานไทย มิเพียงแต่มีปัญหาแรงงานในระดับแรงงานระดับล่างที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาค้ามนุษย์
และ คสช. กำลังมีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง แต่ปัญหาภาคแรงงานไทยกลับเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและเชื่อมกับปัญหา
การศึกษาของไทยที่เป็นปัญหาหยั่งรากลึกที่ต้องแก้ทั้งระบบ

ไม่เช่นนั้น เด็กไทยอาจยังหลงทาง เรียนแล้วไม่มีงานทำกันให้ช้ำใจภายหลัง ที่แม้แต่สาขาวิศวกรรมก็ยังถือเป็นอาชีพที่เรียนแล้วอาจ
ตกงาน!

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่าตัวเลขการว่างงานของไทยในเดือนพฤษภาคม 2557 มีกำลังแรงงานประมาณ 38.37
ล้านคน เป็นผู้มีงานทำแล้ว 37.76 ล้านคน และมีผู้ว่างงานอยู่ 3.62 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9

สอดรับกับข้อมูลของบริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ดีบี ที่ล่าสุดเพิ่งมีรายงานระบุว่า ปี 2257 นี้ทั้งปี คาดว่าจะมีนักศึกษาจบใหม่รวม 4 แสนคน
แบ่งเป็น ระดับปวช. ปวส. 1 แสนคน และปริญญาตรีประมาณ 3 แสนคน ในจำนวน 4 แสนคนนี้ คาดจะมีคนตกงานประมาณ 1.5 แสนคน
ปีนี้เมื่อนำไปรวมกับตัวเลขการตกงานที่ค้างอยู่เดิมจะมีตัวเลขคนตกงานสะสมประมาณ 490,000 คน

อนึ่ง ระดับของโครงสร้างแรงงานเวลานี้ จะมี 2 ระดับคือแรงงานระดับล่างและระดับสูง ในการหางานของแรงงานทั้งสองกลุ่มนี้มีความ
แตกต่างกัน แรงงานระดับล่างมักจะหางานโดยตรง หรือผ่านสำนักงานจัดหางาน แต่สำหรับแรงงานระดับบน หรือแรงงานที่เป็นนักศึกษา
โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยจะหางานจากบริษัทเอกชนที่ให้บริการในสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่อออนไลน์

แต่ข้อมูลของทั้งภาคเอกชนและของภาครัฐเวลานี้ตรงกัน คือ แรงงานที่ขาดแคลนหนักคือแรงงานสายช่าง

ข้อมูลจากบริษัทหางานเอกชน บริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ดีบี ระบุว่ากลุ่มธุรกิจที่มีความต้องการบุคลากรเข้าร่วมทำงานอย่างสม่ำเสมอ
มี 5 อันดับ ได้แก่
1. ธุรกิจการจัดการทรัพยากรบุคคลและธุรกิจที่ปรึกษาทรัพยากรบุคคล
2. ธุรกิจด้านไอที
3. ธุรกิจบริการด้านการเงิน
4. ธุรกิจสายการผลิตและธุรกิจโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การตลาด
5. สายการผลิต โดยสายการผลิตถือว่าตลาดแรงงานไทยยังคงเป็นที่ต้องการในทุกอุตสาหกรรมที่มีการผลิตทั้งสิ้น โดยเฉพาะตําแหน่ง
    ช่างต่างๆที่กําลังขาดแคลน

เช่นเดียวกันกับภาครัฐ เจ้าหน้าที่กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหารงาน กระทรวงแรงงาน ที่ให้สัมภาษณ์กับ “ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส-
ออนไลน์” ว่าความต้องการแรงงานในตลาดที่เป็นแรงงานสายช่างของเด็กที่จบ ปวช. ปวส. นั้นเป็นสิ่งที่ตลาดขาดแคลนอย่างหนัก

“ไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้น หรือเศรษฐกิจจะลง สาขาช่าง เป็นสาขาที่มีความต้องการจากนายจ้างสูงตลอด”

โดยเฉพาะสายช่างทุกสาขาที่เป็นที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นช่างเครื่องยนต์ ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเมื่อจบมาแล้ว
มักจะได้รับค่าจ้างมากกว่าวันละ 300 บาทตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากเป็นสาขาที่ขาดแคลน และเด็กที่จบสายช่างมาจะเป็นผู้เลือก
ว่าจะทำงานที่ไหน มีคนแย่งตัวกันไปทำงานมาก นอกจากนี้หากใครที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ด้วยอีก ค่าตอบแทนก็จะมากกว่าปกติ เพราะมีใบรับรองไปสมัครงานได้

แต่ปัญหาคือค่านิยมของคนไทยคืออยากให้ลูกหลานเรียนในระดับสูง ดังนั้นเมื่อลูกหลานเรียนจบสายช่างในระดับ ปวช.ปวส. ก็จะไป
เรียนต่อเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาปริญญาตรีในสาขาที่มีความนิยมเรียน ทำให้นักศึกษาที่เรียนจบปริญญาตรีจบมาครั้งหนึ่งจำนวนมาก
มีดีมานย์ หรือความต้องการขายล้นตลาดมากเกินกว่าตำแหน่งงานที่เปิดรับ ทำให้ที่ผ่านมาเด็กที่จบในระดับปริญญาตรี ต้องกลับไป
หางานโดยใช้วุฒิ ปวช. ปวส.

คำถามคือจะเสียเวลาไปเรียนปริญญาตรีเพื่ออะไร ในเมื่อความก้าวหน้าในอาชีพสายช่างจากประสบการณ์ก็มีอยู่สูง จึงแนะนำว่าหากใคร
ที่จบสายช่าง ควรไปหางานทำไปเลย ดังนั้นทางออกคือต้องเลิกสนใจวุฒิการศึกษา

“ตอนนี้เด็กมักนิยมไปเรียนในสาขาที่มีการเปิดการเรียนการสอนเยอะๆ ทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน เมื่อมหาวิทยาลัยเห็นคนอยาก
เรียนเยอะ ก็เปิดสาขาเพิ่ม รับคนเพิ่ม ปรากฎว่าพอเรียนจบมาจึงไม่มีงานทำเพราะแรงงานมีมากกว่าความต้องการของตลาดและที่สำคัญ
คือนายจ้างมักจะรู้สึกว่าได้คนมาทำงาน ไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ต้องการ”

ปัญหาโครงสร้างแรงงานไทยจึงต้องแก้เรื่องระบบการศึกษาด้วย ประเด็นสำคัญคือวันนี้การศึกษาไทยเน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ
หรือไม่?

การผลิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เน้นการขายหลักสูตรที่ได้รับความนิยมมากเกินไป ทำให้ทุกวันนี้เกิดปัญหาว่าเมื่อสำนักงาน
จัดหางานได้ส่งคนไปทำงาน ปัญหาที่เจอบ่อยที่สุดคือ นายจ้างไม่ให้พ้นโปร เพราะว่า ความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อคุณภาพผู้ที่
จบการศึกษาสายต่างๆ นั้นไม่สอดคล้องกัน

พูดง่ายๆคือ เรียนจบสาขาดี แต่คุณภาพของบัณฑิตที่จบมาไม่ถึงกับสิ่งที่นายจ้างคาดว่าจะเป็น หลายคนจบมา แต่ทำงานไม่ได้!

เจ้าหน้าที่กองวิจัยตลาดแรงงาน กล่าวว่า ข้อมูลที่น่าสนใจคือข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการสำรวจมา ว่า 5 อันดับของ
คนตกงานมากที่สุด คือสายอาชีพอะไรบ้าง พบว่า
อันดับที่ 1 คือ อาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ/บริหารการพาณิชย์
อันดับที่ 2 คือ สายงานคอมพิวเตอร์
อันดับที่ 3 คือ สายวิศวกร
อันดับที่ 4 คือ สังคมศาสตร์
อันดับที่ 5 คือ สายมนุษยศาสตร์

แทบเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างอาชีพสายคอมพิวเตอร์ และอาชีพสายวิศวกรที่มีการตกงานนำหน้าสายสังคมศาสตร์และสายมนุษย์ศาสตร์
ไปแล้ว

ปรากฏการณ์ที่เห็นเกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้คือ บริษัทใหญ่ๆ ได้เข้าไปร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตในส่วนที่เขาต้องการ
ขึ้นมาโดยเฉพาะ

คณะนวัตกรรมการจัดการข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นหนึ่งในนั้น ที่กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายบริษัท และ
ภาครัฐ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บริษัทซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ ได้เข้ามามีข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาของไทย จัดตั้งหลักสูตรใหม่ๆ เพื่อผลิต
คนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ป้อนภาคอุตสาหกรรมที่ขาดแคลน

แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดีว่า วันนี้การผลิตบุคคลากรกับความต้องการในตลาดนั้น ยังมีจุดอ่อน

อาชีพวิศวกรรมนี้เป็นตัวอย่างสำคัญ ที่คนในสังคมถือว่าเป็นคณะที่เรียนแล้วมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แต่ความเป็นจริงที่น่าตกใจคือคนที่เรียน
สาขานี้มามีอัตราการตกงานจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการนักศึกษาที่จบสาขาวิศวกรรม
แต่ในอดีตเป็นสาขาที่มีการผลิตบุคคลากรน้อย แต่จบออกมาไร้คุณภาพ เพื่อให้ตอบรับกับระบบการผลิต ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องโดด
เข้ามาในแวดวงการศึกษาด้วยตนเอง ปัจจุบันเมื่อรวมจำนวนกับคณะวิศวกรรมของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ บัณฑิตด้านนี้จึงจบ
ออกมาเดินเตะฝุ่นมากขึ้น

เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญด้านแรงงาน และด้านการศึกษาของไทยที่ไม่ควรมองข้าม...

ณฐา จิรอนันตกุล: ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่