................................อุตสาหกรรมกาแฟของไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด จากการเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ของโลก ซึ่งส่งออกเมล็ดกาแฟคิดเป็นสัดส่วน 80% ของผลผลิตทั้งประเทศที่ประมาณ 9 หมื่นตัน - 1 แสนตัน มาปัจจุบันมีการส่งออกกาแฟด้วยสัดส่วนเพียง 5% ของผลผลิตทั้งหมดที่ลดลงเหลือ 4 หมื่นตัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลงเหลือที่ประมาณ 2.8 แสนไร่ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ภาษีการนำเข้ากาแฟจะลดลงเหลือ 0% จากปัจจุบันที่ยังจัดเก็บอยู่ที่ 5% ตั้งแต่ปี 2553 และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้คาดการณ์กันว่าจะมีกาแฟจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันในประเทศมากขึ้น
จากแนวโน้มดังกล่าว นางวารี สดประเสริฐ นายกสมาคมกาแฟไทย กล่าวว่า ภายใน 3 ปีจากนี้เราจะต้องพยายามรักษาตลาดภายในประเทศให้ได้ จึงต้องเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยเองด้วย ซึ่งการรักษาตลาดนั้นมองว่ามีความเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่เราจะต้องมีการพัฒนา และทักษะในการพัฒนาของไทยเองก็ไม่แพ้ใครแน่นอน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ภาวะตลาดกาแฟเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมาคมได้ปรับเปลี่ยนบทบาท จากเดิมจะเน้นบุกเบิกตลาดต่างประเทศ มาเป็นการดูแลตลาดในประเทศ ด้วยการมุ่งดูแลและพัฒนาคุณภาพกาแฟไทยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการตลาดในประเทศ และส่งเสริมให้มีการใช้กาแฟไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการกำหนดวิสัยทัศน์ให้มุ่งสู่การเป็น "ศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียน" ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงภาครัฐด้วย
โดยการส่งเสริมจะไม่เน้นการขยายพื้นที่เพาะปลูก แต่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพ การสร้างกาแฟเฉพาะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งขณะนี้สมาคมได้มีส่วนในการผลักดันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำการศึกษาถึงการพัฒนาพันธุ์ และสร้างพันธุ์กาแฟเฉพาะขึ้นมา เช่น ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกกาแฟจะเป็นสวนผสมกับการปลูกผลไม้ จึงน่าศึกษาดูว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้อย่างไรให้ได้มากกว่าที่จะเป็นกาแฟล้วนๆ
"การที่เราจะแข่งขันได้นั้น คงไม่ไปแข่งกับเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟโรบัสตารายใหญ่สุดของโลก รวมไปถึง ลาว และอินโดนีเซีย โดยเราจะไม่ไปแข่งขันในการทำกาแฟที่มีคุณภาพในเกรดเดียวกัน แต่จะหาทางออกโดยพัฒนากาแฟพิเศษที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละจังหวัดที่มีการปลูกกาแฟก็จะสามารถจะพัฒนาอัตลักษณ์ขึ้นมาได้" นางวารี กล่าว
อย่างไรก็ตาม การจะไปสู่ฮับกาแฟได้นั้น เราคงไม่ได้เน้นการขายเฉพาะเมล็ดกาแฟเท่านั้น แต่จะต้องดูแลให้ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจะเน้นส่งเสริมให้ใช้กาแฟที่ผลิตในประเทศก่อน แต่เกษตรกรไทยเองก็จะต้องมีการพัฒนาพันธุ์ มีการคิดค้นกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนขึ้นมา เพื่อผลิตกาแฟที่ดีป้อนตลาดรอบนอกและตลาดโลกได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ประกอบการ ก็จะเน้นเรื่องการพัฒนาสูตรกาแฟ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้กาแฟที่มาจากหลายแหล่ง พัฒนาเป็นสูตรเฉพาะขึ้นมาให้ได้
ทั้งนี้ การผลิตกาแฟเฉพาะขึ้นมาได้ก็จะทำให้มูลค่าของกาแฟเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติก็จะมีราคาสูงกว่ากาแฟปกติ 20-30%
นางวารี กล่าวถึงตลาดกาแฟในประเทศด้วยว่า คนไทยมีการบริโภคกาแฟเพิ่มขึ้นโดยตลอดระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคเติบโตเฉลี่ยที่ 10% ต่อเนื่อง มูลค่าตลาดรวมกาแฟอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และยังมองว่าตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกเนื่องจากการบริโภคกาแฟของคนไทยอยู่ที่ 200 แก้วต่อคนต่อปี ถือว่ายังมีช่องว่างอีกมาก ขณะที่อัตราการบริโภคกาแฟของชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 500 แก้วต่อคนต่อปี และคนอเมริกันบริโภคที่ 700-800 แก้วต่อคนต่อปี
ด้านนายสุธรรม วิชชุไตรภพ ประธานมูลนิธิชาวสวนกาแฟ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีนั้นได้ทำมาต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยมีการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และภาครัฐ เพื่อหาทางออกร่วมกันในแต่ละปีเน้นเกษตรกรอยู่ได้ โรงงานอยู่ได้ กำหนดราคาร่วมกันโดยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาสูงกว่าต้นทุน เท่ากับเป็นการประกันราคาที่ภาครัฐไม่จำเป็นจะต้องเข้ามาแทรกแซง นอกจากนี้ ปัจจุบันผลผลิตกาแฟในประเทศปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 4-5 หมื่นตัน ไม่พอกับการบริโภคในประเทศ ก็มีการตกลงกันว่าจะซื้อผลผลิตจากในประเทศให้หมดก่อนที่จะนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ
ส่วนความพร้อมตามเป้าหมายการจะเป็นศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียนนั้น ในขั้นต้นต้องสร้างให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในอาชีพก่อนว่ามีความมั่นคง เนื่องจากการปลูกกาแฟนั้นแม้จะได้ราคาดีแต่ก็ยากกว่าการปลูกยาง และปาล์ม ทั้งในด้านแรงงาน และการปฏิบัติดูแลรักษา การที่เราจะไปปลูกสู้เวียดนามนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะสังคม นโยบายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งในไทยเองเกษตรกรมีอิสระที่จะเลือกว่าจะปลูกพืชชนิดใด ดังนั้น การจะส่งเสริมการปลูกกาแฟ จะต้องทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นว่าในระยะยาวการปลูกกาแฟจะดีกว่า เมื่อเขาเชื่อมั่นแล้วขั้นต่อไปก็คือการเข้าไปพัฒนา ติดอาวุธให้แก่กลุ่มเกษตรกร
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20121228/148204/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2.html#.UNyn7KyI49Y<br>
ทางรอด "กาแฟไทย" ชูอัตลักษณ์-สร้างมูลค่าเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ภาษีการนำเข้ากาแฟจะลดลงเหลือ 0% จากปัจจุบันที่ยังจัดเก็บอยู่ที่ 5% ตั้งแต่ปี 2553 และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้คาดการณ์กันว่าจะมีกาแฟจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันในประเทศมากขึ้น
จากแนวโน้มดังกล่าว นางวารี สดประเสริฐ นายกสมาคมกาแฟไทย กล่าวว่า ภายใน 3 ปีจากนี้เราจะต้องพยายามรักษาตลาดภายในประเทศให้ได้ จึงต้องเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยเองด้วย ซึ่งการรักษาตลาดนั้นมองว่ามีความเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่เราจะต้องมีการพัฒนา และทักษะในการพัฒนาของไทยเองก็ไม่แพ้ใครแน่นอน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ภาวะตลาดกาแฟเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมาคมได้ปรับเปลี่ยนบทบาท จากเดิมจะเน้นบุกเบิกตลาดต่างประเทศ มาเป็นการดูแลตลาดในประเทศ ด้วยการมุ่งดูแลและพัฒนาคุณภาพกาแฟไทยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการตลาดในประเทศ และส่งเสริมให้มีการใช้กาแฟไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการกำหนดวิสัยทัศน์ให้มุ่งสู่การเป็น "ศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียน" ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงภาครัฐด้วย
โดยการส่งเสริมจะไม่เน้นการขยายพื้นที่เพาะปลูก แต่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพ การสร้างกาแฟเฉพาะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งขณะนี้สมาคมได้มีส่วนในการผลักดันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำการศึกษาถึงการพัฒนาพันธุ์ และสร้างพันธุ์กาแฟเฉพาะขึ้นมา เช่น ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกกาแฟจะเป็นสวนผสมกับการปลูกผลไม้ จึงน่าศึกษาดูว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้อย่างไรให้ได้มากกว่าที่จะเป็นกาแฟล้วนๆ
"การที่เราจะแข่งขันได้นั้น คงไม่ไปแข่งกับเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟโรบัสตารายใหญ่สุดของโลก รวมไปถึง ลาว และอินโดนีเซีย โดยเราจะไม่ไปแข่งขันในการทำกาแฟที่มีคุณภาพในเกรดเดียวกัน แต่จะหาทางออกโดยพัฒนากาแฟพิเศษที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งแต่ละจังหวัดที่มีการปลูกกาแฟก็จะสามารถจะพัฒนาอัตลักษณ์ขึ้นมาได้" นางวารี กล่าว
อย่างไรก็ตาม การจะไปสู่ฮับกาแฟได้นั้น เราคงไม่ได้เน้นการขายเฉพาะเมล็ดกาแฟเท่านั้น แต่จะต้องดูแลให้ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจะเน้นส่งเสริมให้ใช้กาแฟที่ผลิตในประเทศก่อน แต่เกษตรกรไทยเองก็จะต้องมีการพัฒนาพันธุ์ มีการคิดค้นกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนขึ้นมา เพื่อผลิตกาแฟที่ดีป้อนตลาดรอบนอกและตลาดโลกได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้ประกอบการ ก็จะเน้นเรื่องการพัฒนาสูตรกาแฟ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้กาแฟที่มาจากหลายแหล่ง พัฒนาเป็นสูตรเฉพาะขึ้นมาให้ได้
ทั้งนี้ การผลิตกาแฟเฉพาะขึ้นมาได้ก็จะทำให้มูลค่าของกาแฟเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติก็จะมีราคาสูงกว่ากาแฟปกติ 20-30%
นางวารี กล่าวถึงตลาดกาแฟในประเทศด้วยว่า คนไทยมีการบริโภคกาแฟเพิ่มขึ้นโดยตลอดระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคเติบโตเฉลี่ยที่ 10% ต่อเนื่อง มูลค่าตลาดรวมกาแฟอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และยังมองว่าตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกเนื่องจากการบริโภคกาแฟของคนไทยอยู่ที่ 200 แก้วต่อคนต่อปี ถือว่ายังมีช่องว่างอีกมาก ขณะที่อัตราการบริโภคกาแฟของชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 500 แก้วต่อคนต่อปี และคนอเมริกันบริโภคที่ 700-800 แก้วต่อคนต่อปี
ด้านนายสุธรรม วิชชุไตรภพ ประธานมูลนิธิชาวสวนกาแฟ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีนั้นได้ทำมาต่อเนื่องตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยมีการหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และภาครัฐ เพื่อหาทางออกร่วมกันในแต่ละปีเน้นเกษตรกรอยู่ได้ โรงงานอยู่ได้ กำหนดราคาร่วมกันโดยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาสูงกว่าต้นทุน เท่ากับเป็นการประกันราคาที่ภาครัฐไม่จำเป็นจะต้องเข้ามาแทรกแซง นอกจากนี้ ปัจจุบันผลผลิตกาแฟในประเทศปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 4-5 หมื่นตัน ไม่พอกับการบริโภคในประเทศ ก็มีการตกลงกันว่าจะซื้อผลผลิตจากในประเทศให้หมดก่อนที่จะนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ
ส่วนความพร้อมตามเป้าหมายการจะเป็นศูนย์กลางกาแฟสู่อาเซียนนั้น ในขั้นต้นต้องสร้างให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในอาชีพก่อนว่ามีความมั่นคง เนื่องจากการปลูกกาแฟนั้นแม้จะได้ราคาดีแต่ก็ยากกว่าการปลูกยาง และปาล์ม ทั้งในด้านแรงงาน และการปฏิบัติดูแลรักษา การที่เราจะไปปลูกสู้เวียดนามนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะสังคม นโยบายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งในไทยเองเกษตรกรมีอิสระที่จะเลือกว่าจะปลูกพืชชนิดใด ดังนั้น การจะส่งเสริมการปลูกกาแฟ จะต้องทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นว่าในระยะยาวการปลูกกาแฟจะดีกว่า เมื่อเขาเชื่อมั่นแล้วขั้นต่อไปก็คือการเข้าไปพัฒนา ติดอาวุธให้แก่กลุ่มเกษตรกร
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20121228/148204/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2.html#.UNyn7KyI49Y<br>