.....สังคมศักดินา หมายถึงระบบสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่และฐานะของแต่ละบุคคลในสังคม จุดประสงค์ก็เพื่อควบคุมกำลังคนและแบ่งฐานะของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ควบคุมกำลังคนสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ รองลงมาได้แก่ ขุนนาง (ข้าราชการ) และผู้ถูกควบคุมคือ สามัญชนหรือไพร่ ระบบศักดินา
ระบบศักดินาเกิดในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด จขกท.ก็หาได้ทราบไม่ รู้แต่ว่าระบบศักดินาได้รับการจัดระเบียบในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีการตราพระราชกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับศักดินาขึ้น ใน พ.ศ .1998 เรียกว่า “
พระไอยการตำแหน่งนายพลและนายทหารหัวเมือง”
สังคมไทยในอดีตมีการจัดระเบียบของคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นใหญ่ ๆ
1.ชนชั้นนายหรือชนชั้นผู้ปกครอง เป็นกลุ่มคนส่วนน้อยในสังคมที่มีบทบาทและอำนาจมาก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
-
เจ้านาย เป็นเชื้อพระวงศ์ได้มาจากการสืบทอด(Ascriptive status)หรือได้มาโดยกำเนิด เป็น
ระบบปิด เปลี่ยนไม่ได้ คล้ายระบบวรรณะ(Caste system) ของพราหมณ์ เจ้านายเริ่มตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าแล้วก็ลดขั้นลงเรื่อยๆจนถึงหม่อมหลวง หลังจากหม่อมหลวงแล้วจะเป็นสามัญชน ทุกGeneration จะลดลงเรื่อยๆ
-
ขุนนาง คือบุคคลที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แต่ได้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน มียศตำแหน่งเป็น
ตามลำดับชั้นจากล่างขึ้นบนตั้งแต่ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา สามารถปรับเปลี่ยนสถานภาพได้ และได้มาจากการกระทำเป็น Achieved status เป็นระบบเปิดปรับเปลี่ยนได้ ถ้าทำความดีความชอบจะได้เลื่อนยศตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ มีศักดินาและอำนาจบารมีมากขึ้น เป็นระบบเปิดจงเปิดโอกาสให้คนเข้ามารับตำแหน่งได้แต่ส่วนใหญ่จะดึงกันมาตามสายของขุนนาง มาอุปถัมภ์ค้ำชูกันมาหรือบางคนอาจมาด้วยความสามารถส่วนตัวซึ่งจะพบได้น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสงครามที่มีการออกรบได้แสดงฝีมือให้เห็น
2. ชนชั้นไพร่หรือชนชั้นผู้ใต้ปกครอง เป็นชนส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
-
ไพร่หลวง คือผู้ที่ไม่มีผู้อุปถัมภ์ ถือว่าสังกัดในพระเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่ถูกเกณฑ์แรงงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมคนในสังคมสมัยก่อน ถ้าเป็นไพร่หลวงต้องรับใช้หลวง โดยจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาก 6 เดือนต่อปีที่เรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน จนไม่ค่อยมีเวลาไปทำมาหากินของตนเอง ค่าตอบแทน(Rewarding system)ก็ไม่ได้ต้องเอาข้าวปลาอาหารไปกินเองด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจคือไม่สามารถสร้างประโยชน์แก่ครอบครัวได้ งานหลวงที่ต้องไปทำหลักๆคือสร้างวัด สร้างวัง สร้างถนน ขุดคลอง เมื่อต้องไปทำงานในป่าจะเสี่ยงต่ออันตรายทั้งไข้ป่า สัตว์ป่า อาจเสียชีวิต ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ชีวิตไพร่หลวงจึงเต็มไปด้วยความขมขื่น ทำงานโดยไม่มีแรงจูงใจ ไม่เต็มใจ ไม่อยากทำ แต่ไม่รู้จะหนีหรือต่อสู้กับผู้อำนาจอย่างไรก็เลยใช้รูปแบบการอู้งาน ทำน้อยๆ ทำช้าๆ หลบๆเลี่ยงๆไป และมองว่าการทำงานหนักเป็นสิ่งไม่ดี เป็นทุกข์ ไม่มีความผูกพันกับงาน ทำให้ติดเป็นนิสัยไม่รักการทำงานติดตัวมาในสังคมไทย มองว่างานหนักเป็นเรื่องไม่ดี สู้งานเบางานในสำนักงานไม่ได้ เช่นเวลาทักทายกันการทักทายจากผู้ใหญ่จะถามเหนื่อยไหมลูก หรือการทำงานก็จะใช้คนเปลือง มีคนมากแต่ทำงานไม่เต็มที่โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่มีคนงานเยอะแต่งานทำได้ช้า
-
ไพร่สม คือไพร่ที่ถวายตัวรับใช้เจ้านายหรือขุนนาง จะต้องทำงานรับใช้เจ้านาย โดยได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานจากหลวง นั่นคือผู้อุปถัมภ์ช่วยให้ผู้รับการอุปถัมภ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่สมจึงต้องตอบแทนกันกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นแกนหลักของการผูกพันทางสังคม เป็นการผูกพันส่วนตัว(Personalism) เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวในเชิงแลกเปลี่ยน(Exchange Relationship) ใกล้ชิด สถานะไม่เท่าเทียมกัน เป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง(Vertical social affiliation) และไม่ยั่งยืน
ในอดีต ยามใดที่ชนชั้นผู้ปกครองมีปัญหา ยามนั้นประเทศชาติจะได้รับความเสียหาย การสูญเสียเอกราชทั้ง 2 ครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด การเสียกรุงศรีครั้งแรกจากการที่พระยาจักรีแม่ทัพใหญ่ เป็นหนอนบ่อนไส้เห็นกับประโยชน์ที่ฝ่ายพม่าหยิบยื่นให้ แกล้งใช้อุบายทำให้รบแพ้ ส่วนการเสียกรุงศรีครั้งที่สอง เพราะผู้นำอย่างพระเจ้าเอกทัศน์อ่อนแอ การชิงดีชิงเด่นของขุนนางที่ต่างสะสมกำลังของตัวเอง เฝ้าหวังแต่จะไปคุมหัวเมืองแต่ไม่ยอมร่วมแรงร่วมใจต่อต้านข้าศึก
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2479 สถาบันพระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นกฎระเบียบในการปกครองประเทศ โดยที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงจะทำหน้าที่ประมุขของประเทศ โดยวางสถานะพระองค์เองเป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารปกครองบ้านเมือง
แต่ระบบศักดินาของผู้ปกครองระดับรองลงมาอย่าง ขุนนาง ที่ฝั่งรากลึกมาในประเทศนี้ก็ยังคงครอบงำและต้องการดำรงสถานะชนชั้นผู้ปกครองของตัวเองไว้ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม
ขุนนางหรือว่าที่เรียก ข้าราชการบางจำพวกในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงมองประชาชนทั่วไป เป็นชนชั้นผู้ใต้ปกครองอยู่ ยังคงคิดว่าความคิดของตัวคือสิ่งที่คนทั่วไปต้องยอมรับและทำตามโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ยังยึดติดกับศักดิ์ศรีและอำนาจที่ตนเองมีตามตำแหน่งและควรใช้มาทำประโยชน์ให้กับประชาชน มาสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง
ข้าราชการจำพวกนี้ มีใครบ้าง? เท่าที่ดูจากหน้าประวัติศาสตร์และความเป็นจริงแล้ว ก็คงสามารถยกตัวอย่างได้ ดั่งนี้ ทหาร ตำรวจ ศาล ทูต
78 ปี ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนการปกครองมา ข้าราชการ 4 จำพวกนี้ก็ยังคงทำให้ประเทศไทยยังต้องยอมรับระบบศักดินาต่อไป ทั้งที่อำนาจหน้าที่ตัวเองที่มี จะสามารถยับยั้งหรือปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นได้ เช่น
ศาลทำอะไรอยู่? ตอนที่ประเทศนี้ถูกปฏิวัติหรือรัฐประหาร นอกจากบอกว่านั้นคือ รัฐาธิปัตย์ เป็นอำนาจที่ต้องยอมรับ หากการใช้กำลังและอาวุธเข้าแย่งชิงสมบัติของผู้อื่นคือการปล้นที่มีโทษตามกฎหมาย แล้วศาลจำต้องตัดสินให้ผู้ที่กระทำการเยี่ยงนั้นมีความผิด แล้วเหตุฉไนกลับยอมรับการปล้นอำนาจของประชาชน
วิวัฒน์การความเจริญได้เปลี่ยนไป ความเสื่อมของคุณธรรม จริยธรรมยิ่งมากขึ้น เมื่อชนชั้นปกครองมิได้มีเฉพาะข้าราชการหลงยุคบางจำพวกเท่านั้น ยังมีพ่อค้าวาณิช บัณฑิตแก่เรียน ที่ใช้อำนาจเงินตรา หรือชื่อเสียงความรู้ผลักดันตัวเองให้ขึ้นมามีบทบาทต่อการชี้นิ้วสั่งสังคมอีกจำพวกหนึ่งด้วย
ระบอบประชาธิปไตย คือความเท่าเทียมและเสมอภาคกันของประชาชน แต่จะปกครองบ้านเมืองไทยได้เช่นไร
ในเมื่อส่วนหนึ่งของสังคมกลับคิดว่าตัวเองเป็นชนชั้นผู้ปกครอง คนอื่นต้องอยู่ใต้การปกครอง
ประชาธิปไตยที่มีสนิมฝั่งแน่นและคอยกัดกร่อนความเท่าเทียมกันมิให้เกิดขึ้นจริงของประเทศไทย ก็คงเป็นระบอบที่มีไว้อวดต่างชาติโก้ๆเท่านั้นแหละ ว่าฉันคือประเทศประชาธิปไตย
พระรองตลอดกาล
ป.ล. เห็นคนเก่าๆกลับมาโพสเยอะขึ้น เลยกลับมาบ้าง ทั้งๆที่ถูกยึดอดยิ้มไปแล้ว
สนิมประเทศไทย สังคมศักดินา อารายธรรมชนชั้น
ระบบศักดินาเกิดในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด จขกท.ก็หาได้ทราบไม่ รู้แต่ว่าระบบศักดินาได้รับการจัดระเบียบในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีการตราพระราชกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับศักดินาขึ้น ใน พ.ศ .1998 เรียกว่า “พระไอยการตำแหน่งนายพลและนายทหารหัวเมือง”
สังคมไทยในอดีตมีการจัดระเบียบของคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นใหญ่ ๆ
1.ชนชั้นนายหรือชนชั้นผู้ปกครอง เป็นกลุ่มคนส่วนน้อยในสังคมที่มีบทบาทและอำนาจมาก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- เจ้านาย เป็นเชื้อพระวงศ์ได้มาจากการสืบทอด(Ascriptive status)หรือได้มาโดยกำเนิด เป็น
ระบบปิด เปลี่ยนไม่ได้ คล้ายระบบวรรณะ(Caste system) ของพราหมณ์ เจ้านายเริ่มตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าแล้วก็ลดขั้นลงเรื่อยๆจนถึงหม่อมหลวง หลังจากหม่อมหลวงแล้วจะเป็นสามัญชน ทุกGeneration จะลดลงเรื่อยๆ
- ขุนนาง คือบุคคลที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แต่ได้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน มียศตำแหน่งเป็น
ตามลำดับชั้นจากล่างขึ้นบนตั้งแต่ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา สามารถปรับเปลี่ยนสถานภาพได้ และได้มาจากการกระทำเป็น Achieved status เป็นระบบเปิดปรับเปลี่ยนได้ ถ้าทำความดีความชอบจะได้เลื่อนยศตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ มีศักดินาและอำนาจบารมีมากขึ้น เป็นระบบเปิดจงเปิดโอกาสให้คนเข้ามารับตำแหน่งได้แต่ส่วนใหญ่จะดึงกันมาตามสายของขุนนาง มาอุปถัมภ์ค้ำชูกันมาหรือบางคนอาจมาด้วยความสามารถส่วนตัวซึ่งจะพบได้น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสงครามที่มีการออกรบได้แสดงฝีมือให้เห็น
2. ชนชั้นไพร่หรือชนชั้นผู้ใต้ปกครอง เป็นชนส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- ไพร่หลวง คือผู้ที่ไม่มีผู้อุปถัมภ์ ถือว่าสังกัดในพระเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่ถูกเกณฑ์แรงงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมคนในสังคมสมัยก่อน ถ้าเป็นไพร่หลวงต้องรับใช้หลวง โดยจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาก 6 เดือนต่อปีที่เรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน จนไม่ค่อยมีเวลาไปทำมาหากินของตนเอง ค่าตอบแทน(Rewarding system)ก็ไม่ได้ต้องเอาข้าวปลาอาหารไปกินเองด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจคือไม่สามารถสร้างประโยชน์แก่ครอบครัวได้ งานหลวงที่ต้องไปทำหลักๆคือสร้างวัด สร้างวัง สร้างถนน ขุดคลอง เมื่อต้องไปทำงานในป่าจะเสี่ยงต่ออันตรายทั้งไข้ป่า สัตว์ป่า อาจเสียชีวิต ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ชีวิตไพร่หลวงจึงเต็มไปด้วยความขมขื่น ทำงานโดยไม่มีแรงจูงใจ ไม่เต็มใจ ไม่อยากทำ แต่ไม่รู้จะหนีหรือต่อสู้กับผู้อำนาจอย่างไรก็เลยใช้รูปแบบการอู้งาน ทำน้อยๆ ทำช้าๆ หลบๆเลี่ยงๆไป และมองว่าการทำงานหนักเป็นสิ่งไม่ดี เป็นทุกข์ ไม่มีความผูกพันกับงาน ทำให้ติดเป็นนิสัยไม่รักการทำงานติดตัวมาในสังคมไทย มองว่างานหนักเป็นเรื่องไม่ดี สู้งานเบางานในสำนักงานไม่ได้ เช่นเวลาทักทายกันการทักทายจากผู้ใหญ่จะถามเหนื่อยไหมลูก หรือการทำงานก็จะใช้คนเปลือง มีคนมากแต่ทำงานไม่เต็มที่โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่มีคนงานเยอะแต่งานทำได้ช้า
- ไพร่สม คือไพร่ที่ถวายตัวรับใช้เจ้านายหรือขุนนาง จะต้องทำงานรับใช้เจ้านาย โดยได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงานจากหลวง นั่นคือผู้อุปถัมภ์ช่วยให้ผู้รับการอุปถัมภ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่สมจึงต้องตอบแทนกันกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นแกนหลักของการผูกพันทางสังคม เป็นการผูกพันส่วนตัว(Personalism) เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวในเชิงแลกเปลี่ยน(Exchange Relationship) ใกล้ชิด สถานะไม่เท่าเทียมกัน เป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง(Vertical social affiliation) และไม่ยั่งยืน
ในอดีต ยามใดที่ชนชั้นผู้ปกครองมีปัญหา ยามนั้นประเทศชาติจะได้รับความเสียหาย การสูญเสียเอกราชทั้ง 2 ครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด การเสียกรุงศรีครั้งแรกจากการที่พระยาจักรีแม่ทัพใหญ่ เป็นหนอนบ่อนไส้เห็นกับประโยชน์ที่ฝ่ายพม่าหยิบยื่นให้ แกล้งใช้อุบายทำให้รบแพ้ ส่วนการเสียกรุงศรีครั้งที่สอง เพราะผู้นำอย่างพระเจ้าเอกทัศน์อ่อนแอ การชิงดีชิงเด่นของขุนนางที่ต่างสะสมกำลังของตัวเอง เฝ้าหวังแต่จะไปคุมหัวเมืองแต่ไม่ยอมร่วมแรงร่วมใจต่อต้านข้าศึก
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2479 สถาบันพระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นกฎระเบียบในการปกครองประเทศ โดยที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงจะทำหน้าที่ประมุขของประเทศ โดยวางสถานะพระองค์เองเป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารปกครองบ้านเมือง
แต่ระบบศักดินาของผู้ปกครองระดับรองลงมาอย่าง ขุนนาง ที่ฝั่งรากลึกมาในประเทศนี้ก็ยังคงครอบงำและต้องการดำรงสถานะชนชั้นผู้ปกครองของตัวเองไว้ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม
ขุนนางหรือว่าที่เรียก ข้าราชการบางจำพวกในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงมองประชาชนทั่วไป เป็นชนชั้นผู้ใต้ปกครองอยู่ ยังคงคิดว่าความคิดของตัวคือสิ่งที่คนทั่วไปต้องยอมรับและทำตามโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ยังยึดติดกับศักดิ์ศรีและอำนาจที่ตนเองมีตามตำแหน่งและควรใช้มาทำประโยชน์ให้กับประชาชน มาสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง
ข้าราชการจำพวกนี้ มีใครบ้าง? เท่าที่ดูจากหน้าประวัติศาสตร์และความเป็นจริงแล้ว ก็คงสามารถยกตัวอย่างได้ ดั่งนี้ ทหาร ตำรวจ ศาล ทูต
78 ปี ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนการปกครองมา ข้าราชการ 4 จำพวกนี้ก็ยังคงทำให้ประเทศไทยยังต้องยอมรับระบบศักดินาต่อไป ทั้งที่อำนาจหน้าที่ตัวเองที่มี จะสามารถยับยั้งหรือปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นได้ เช่น ศาลทำอะไรอยู่? ตอนที่ประเทศนี้ถูกปฏิวัติหรือรัฐประหาร นอกจากบอกว่านั้นคือ รัฐาธิปัตย์ เป็นอำนาจที่ต้องยอมรับ หากการใช้กำลังและอาวุธเข้าแย่งชิงสมบัติของผู้อื่นคือการปล้นที่มีโทษตามกฎหมาย แล้วศาลจำต้องตัดสินให้ผู้ที่กระทำการเยี่ยงนั้นมีความผิด แล้วเหตุฉไนกลับยอมรับการปล้นอำนาจของประชาชน
วิวัฒน์การความเจริญได้เปลี่ยนไป ความเสื่อมของคุณธรรม จริยธรรมยิ่งมากขึ้น เมื่อชนชั้นปกครองมิได้มีเฉพาะข้าราชการหลงยุคบางจำพวกเท่านั้น ยังมีพ่อค้าวาณิช บัณฑิตแก่เรียน ที่ใช้อำนาจเงินตรา หรือชื่อเสียงความรู้ผลักดันตัวเองให้ขึ้นมามีบทบาทต่อการชี้นิ้วสั่งสังคมอีกจำพวกหนึ่งด้วย
ระบอบประชาธิปไตย คือความเท่าเทียมและเสมอภาคกันของประชาชน แต่จะปกครองบ้านเมืองไทยได้เช่นไร ในเมื่อส่วนหนึ่งของสังคมกลับคิดว่าตัวเองเป็นชนชั้นผู้ปกครอง คนอื่นต้องอยู่ใต้การปกครอง
ประชาธิปไตยที่มีสนิมฝั่งแน่นและคอยกัดกร่อนความเท่าเทียมกันมิให้เกิดขึ้นจริงของประเทศไทย ก็คงเป็นระบอบที่มีไว้อวดต่างชาติโก้ๆเท่านั้นแหละ ว่าฉันคือประเทศประชาธิปไตย
พระรองตลอดกาล
ป.ล. เห็นคนเก่าๆกลับมาโพสเยอะขึ้น เลยกลับมาบ้าง ทั้งๆที่ถูกยึดอดยิ้มไปแล้ว