ไม่มีใครอยากขายตัว แต่ชีวิตมันลิขิตเองไม่ได้
"ตี๋" ผู้ชายวัย 30 ปี ยอมเล่าเรื่องราวในชีวิตอย่างหมดเปลือก เพียงเพื่อหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์
ตี๋เกิดมาในครอบครัวยากจน พ่อแม่ มีอาชีพทำไร่ทำนาตามประสาชาวบ้าน เขามีพี่น้อง 4 คน เพราะเป็นลูกชายคนโตต้องทำงานทุกอย่างที่สามารถช่วยพ่อ แม่ และน้องๆ ได้
"แม้ว่าเราจะจนแต่พ่อแม่ก็อยากให้ทุกคนได้เรียน ผมรู้ว่าพ่อแม่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพวกเรา 4 คน เมื่อผมและน้องๆ โต บ้านเราเริ่มมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากที่พ่อ แม่ และผมต้องทำไร่ทำนาอย่างเดียว ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานทุกอย่างที่มีคนจ้าง แม้จะทำงานอย่างหนักแต่ก็ยังไม่พอกับรายจ่าย พ่อแม่จึงต้องไปกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แต่หนี้ก้อนแรกและก้อนเดียวนี้ทำให้ครอบครัวผมแทบพังเพราะดอกเบี้ย"
เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าตาจน ตี๋ลาออกจากโรงเรียนตอน ม.3 และมุ่งหน้าเข้ามาหาเงินในกรุงเทพฯด้วยการทำงานโรงงาน แต่เงินที่ได้ก็น้อยจนไม่สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ ตี๋เปลี่ยนไปทำงานเด็กเสิร์ฟที่โรงแรม แม้เงินจะได้มากกว่าทำงานโรงงานแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอกับการช่วยเหลือครอบครัว
ทุกอย่างเหมือนเป็นวงจรชีวิต จากเด็กเสิร์ฟ ตี๋ก้าวไปเป็นเด็กนั่งดริ๊งก์ที่คาเฟ่ แล้วชะตาชีวิตก็จูงเขาให้เข้าไปเป็นผู้ชายขายตัว
ขายตัว "ยอมรับทำทุกอย่างเพื่อเงิน อยากส่งเงินไปให้พ่อ แม่ และน้องๆ ตอนแรกที่ถูกบังคับให้ขายตัวผมรับไม่ได้ จึงตัดสินใจลาออก จากงานที่คาเฟ่ ตอนนั้นเคว้ง รายได้ไม่มี ผมจึงตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตกลางคืนอีกครั้งด้วยการเป็นเด็กเสิร์ฟ แต่เพราะรายได้มันน้อย จนแทบไม่มีเงินจะส่งไปให้พ่อแม่เพื่อใช้หนี้ในแต่ละเดือน ผมจึงตัดสินใจไปทำงานที่บาร์อะโกโก้ แต่ก่อนทำก็บอกแม่ว่าลูกจะต้องถูกตราหน้าว่าเป็นคนขายตัว"
ตี๋เล่าแบบน้ำเสียงจุกคอ ว่าแม่อึ้ง พร้อมกับถามว่าไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหรือ
"ผมจำคำพูดได้ ผมน้ำตาคลอบอกแม่ว่า ไม่มีแล้วแม่ ผมไม่มีทางเลือก แม่นิ่งและตอบผมว่า ดูแลตัวเองนะลูก"
ชีวิตในวงตัณหาไม่ได้ทำให้ตี๋มีความสุขกับอาชีพที่ทำเลย ทุกคนที่อยู่ต้องมาอยู่ในวังวนของราคะมีชีวิตที่ไม่ต่างกันเลย บ้างก็บ้านยากจน บ้างก็พ่อแม่รังเกียจ บ้างก็ไม่มีที่ไป บ้างก็โดนหลอกให้มาขายตัว
ตี๋ยอมรับว่าเขารับลูกค้าทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง รายได้จากอาชีพที่หลายคนมองว่าต่ำทำให้เขามีรายได้ 1,200 บาทต่อชั่วโมง และก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,500-2,000 บาท "มันไม่มีความสุขเลยกับการทำอาชีพนี้ บางครั้งรังเกียจ บางครั้งทุกข์ทรมาน แต่ทุกครั้งที่ทำงานผมคิดถึงหน้าพ่อ แม่ และน้องๆ เท่านั้น เพราะครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่สุด และไม่ดูถูกกับการตัดสินใจของตัวเอง"
ขายตัว หลายครั้งที่เขาต้องเจ็บปวดเพราะโดนสายตาที่ดูถูกเหยียดหยาม และหลายครั้งที่เขาท้อแท้และหมดกำลังใจกับชีวิตที่ถูกขีดเขียนเพื่อให้มาชดใช้กรรม "ทนทำงาน 1 ปีเต็ม จนพ่อแม่ใช้หนี้หมด น้องๆ ก็ได้เรียนหนังสือต่อกันทุกคน จากนั้นผมก็หันหลังให้อาชีพนี้ทันที" 8 ปีแล้วที่เขานึกย้อนในอดีตให้ฟัง วันนี้ตี๋เป็นรองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ เขาทำงานเพื่อสังคม ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์กับคนทำงานกลางคืน รวมทั้งยังสอนภาษาอังกฤษให้กับคนเหล่านั้นด้วย
"หลังจากเลิกอาชีพนี้ตั้งใจไว้ว่าอยากทำประโยชน์ให้สังคม ผมเห็นใจคนขายบริการ วันนี้ผมไม่ได้อยู่เพราะต้องการเงิน แต่ผมอยู่เพราะต้องการทำประโยชน์ให้สังคม ผมไม่ไขว่คว้าที่จะหาเงินเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกวันนี้ เมื่อส่งครอบครัวผมรอดฝั่งแล้ว ผมไม่ต้องการอะไรแล้ว นอกจากอยากช่วยเหลือพนักงานบริการทุกคน เพราะผมรู้ว่าคนเหล่านี้น่าเห็นใจแค่ไหน" เขากล่าวทิ้งท้าย
จาก นสพ.มติชน
คนเราบางครั้งก็ไม่มีทางเลือกมาก เมื่อตัดสินใจทำไปแล้วเราต้องยอมรับมัน แต่เมื่อใดที่หันหลังกลับแล้ว สิ่งนั้นสามารถเป็นบทเรียนสอนเรา สอนครอบครัวเรา ว่าอะไรดีไม่ดี
เมื่อชีวิตลิขิตไม่ได้ เขาจึงจำใจเป็น.. ผู้ชายขายตัว
"ตี๋" ผู้ชายวัย 30 ปี ยอมเล่าเรื่องราวในชีวิตอย่างหมดเปลือก เพียงเพื่อหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์
ตี๋เกิดมาในครอบครัวยากจน พ่อแม่ มีอาชีพทำไร่ทำนาตามประสาชาวบ้าน เขามีพี่น้อง 4 คน เพราะเป็นลูกชายคนโตต้องทำงานทุกอย่างที่สามารถช่วยพ่อ แม่ และน้องๆ ได้
"แม้ว่าเราจะจนแต่พ่อแม่ก็อยากให้ทุกคนได้เรียน ผมรู้ว่าพ่อแม่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพวกเรา 4 คน เมื่อผมและน้องๆ โต บ้านเราเริ่มมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากที่พ่อ แม่ และผมต้องทำไร่ทำนาอย่างเดียว ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานทุกอย่างที่มีคนจ้าง แม้จะทำงานอย่างหนักแต่ก็ยังไม่พอกับรายจ่าย พ่อแม่จึงต้องไปกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว แต่หนี้ก้อนแรกและก้อนเดียวนี้ทำให้ครอบครัวผมแทบพังเพราะดอกเบี้ย"
เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าตาจน ตี๋ลาออกจากโรงเรียนตอน ม.3 และมุ่งหน้าเข้ามาหาเงินในกรุงเทพฯด้วยการทำงานโรงงาน แต่เงินที่ได้ก็น้อยจนไม่สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ ตี๋เปลี่ยนไปทำงานเด็กเสิร์ฟที่โรงแรม แม้เงินจะได้มากกว่าทำงานโรงงานแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอกับการช่วยเหลือครอบครัว
ทุกอย่างเหมือนเป็นวงจรชีวิต จากเด็กเสิร์ฟ ตี๋ก้าวไปเป็นเด็กนั่งดริ๊งก์ที่คาเฟ่ แล้วชะตาชีวิตก็จูงเขาให้เข้าไปเป็นผู้ชายขายตัว
ขายตัว "ยอมรับทำทุกอย่างเพื่อเงิน อยากส่งเงินไปให้พ่อ แม่ และน้องๆ ตอนแรกที่ถูกบังคับให้ขายตัวผมรับไม่ได้ จึงตัดสินใจลาออก จากงานที่คาเฟ่ ตอนนั้นเคว้ง รายได้ไม่มี ผมจึงตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตกลางคืนอีกครั้งด้วยการเป็นเด็กเสิร์ฟ แต่เพราะรายได้มันน้อย จนแทบไม่มีเงินจะส่งไปให้พ่อแม่เพื่อใช้หนี้ในแต่ละเดือน ผมจึงตัดสินใจไปทำงานที่บาร์อะโกโก้ แต่ก่อนทำก็บอกแม่ว่าลูกจะต้องถูกตราหน้าว่าเป็นคนขายตัว"
ตี๋เล่าแบบน้ำเสียงจุกคอ ว่าแม่อึ้ง พร้อมกับถามว่าไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหรือ
"ผมจำคำพูดได้ ผมน้ำตาคลอบอกแม่ว่า ไม่มีแล้วแม่ ผมไม่มีทางเลือก แม่นิ่งและตอบผมว่า ดูแลตัวเองนะลูก"
ชีวิตในวงตัณหาไม่ได้ทำให้ตี๋มีความสุขกับอาชีพที่ทำเลย ทุกคนที่อยู่ต้องมาอยู่ในวังวนของราคะมีชีวิตที่ไม่ต่างกันเลย บ้างก็บ้านยากจน บ้างก็พ่อแม่รังเกียจ บ้างก็ไม่มีที่ไป บ้างก็โดนหลอกให้มาขายตัว
ตี๋ยอมรับว่าเขารับลูกค้าทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง รายได้จากอาชีพที่หลายคนมองว่าต่ำทำให้เขามีรายได้ 1,200 บาทต่อชั่วโมง และก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,500-2,000 บาท "มันไม่มีความสุขเลยกับการทำอาชีพนี้ บางครั้งรังเกียจ บางครั้งทุกข์ทรมาน แต่ทุกครั้งที่ทำงานผมคิดถึงหน้าพ่อ แม่ และน้องๆ เท่านั้น เพราะครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่สุด และไม่ดูถูกกับการตัดสินใจของตัวเอง"
ขายตัว หลายครั้งที่เขาต้องเจ็บปวดเพราะโดนสายตาที่ดูถูกเหยียดหยาม และหลายครั้งที่เขาท้อแท้และหมดกำลังใจกับชีวิตที่ถูกขีดเขียนเพื่อให้มาชดใช้กรรม "ทนทำงาน 1 ปีเต็ม จนพ่อแม่ใช้หนี้หมด น้องๆ ก็ได้เรียนหนังสือต่อกันทุกคน จากนั้นผมก็หันหลังให้อาชีพนี้ทันที" 8 ปีแล้วที่เขานึกย้อนในอดีตให้ฟัง วันนี้ตี๋เป็นรองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ เขาทำงานเพื่อสังคม ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์กับคนทำงานกลางคืน รวมทั้งยังสอนภาษาอังกฤษให้กับคนเหล่านั้นด้วย
"หลังจากเลิกอาชีพนี้ตั้งใจไว้ว่าอยากทำประโยชน์ให้สังคม ผมเห็นใจคนขายบริการ วันนี้ผมไม่ได้อยู่เพราะต้องการเงิน แต่ผมอยู่เพราะต้องการทำประโยชน์ให้สังคม ผมไม่ไขว่คว้าที่จะหาเงินเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกวันนี้ เมื่อส่งครอบครัวผมรอดฝั่งแล้ว ผมไม่ต้องการอะไรแล้ว นอกจากอยากช่วยเหลือพนักงานบริการทุกคน เพราะผมรู้ว่าคนเหล่านี้น่าเห็นใจแค่ไหน" เขากล่าวทิ้งท้าย
จาก นสพ.มติชน
คนเราบางครั้งก็ไม่มีทางเลือกมาก เมื่อตัดสินใจทำไปแล้วเราต้องยอมรับมัน แต่เมื่อใดที่หันหลังกลับแล้ว สิ่งนั้นสามารถเป็นบทเรียนสอนเรา สอนครอบครัวเรา ว่าอะไรดีไม่ดี