(ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร)(เกาะติดประมูล4G) สำนักงานกสทช. ชี้ การประมูล 2100ภาพรวมศก.โตกว่าแสนล้าน เพื่อประมูลต่อ

(ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร)(เกาะติดประมูล4G) สำนักงานกสทช. ชี้ การประมูล 2100 ภาพรวมศก.โตกว่าแสนล้าน เพื่อปูพื้น ให้ประมูล 900 1800 ได้

ประเด็นหลัก



สำนักงานกสทช.ได้รายงานผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประมูลใบอนุญาต 3G 2.1 GHzโดยแบ่งเป็นผลประโยชน์ทางตรงคือ มีรายได้จากการประมูลคลื่นและส่งเข้ากระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 41,000 กว่าล้านบาท และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3Gดังกล่าวปีละ 3,000 ล้านบาท ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมมีการลงทุนในการวางโครงข่าย สถานีฐาน การสร้างสายเคเบิลในช่วง 3-5 ปีมากกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี มูลค่าตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้ เติบโตขึ้นปีละ 30% จากช่วงก่อนการประมูลคิดเป็น 60,000 ล้านบาท มูลค่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตขึ้น 26% จากปีก่อนคิดเป็น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ โมบาย แบงก์กิ้ง เช่นการโอนเงิน และการชำระค่าบริการมากกว่า 7 แสนล้านบาท และ มูลค่าตลาดของอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ขยายตัวขึ้น 20% คิดเป็น 2,000 ล้านบาท



       *** ประมูล 1800/900 MHz ผลประโยชน์เข้ารัฐ
       
       นอกจากนี้ในสัปดาห์หน้าสำนักงานกสทช. จะทำหนังสือรายงานเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับ การเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz กับ900 MHz และโครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งก่อนหน้านี้ให้ชะลอการประมูลออกไป โดย สำนักงานกสทช.จะชี้แจงรายละเอียดทุกอย่าง เพื่อหวังให้คสช.อนุญาตให้ดำเนินโครงการต่อไปได้เช่นเดียวกับอนุญาตให้ กสทช.ดำเนินการแจกคูปองตามโครงการสนับสนุนประชาชน ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลไปแล้ว
       
       ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือที่จะชี้แจงคสช.นั้น จะยกตัวอย่างเปรียบเทียบข้อดี จากการผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับหลังจากประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ว่าหากมีการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHzจำนวน 2 ใบอนุญาต ตามแผนเดิมภายในเดือนส.ค.นี้ ราคาใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท และการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzราคา 8,445 ล้านบาท จำนวนความถี่ 7.5 MHz 1ใบอนุญาต และ 11,260 ล้านบาทจำนวนความถี่ 10 MHz 1 ใบอนุญาตนั้นแล้ว ประเทศจะได้รับประโยชน์อื่นๆนอกจากรายรับจากการประมูลใบอนุญาต ยังมีผลต่อเนื่องจากการลงทุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมมูลค่าตลาดรวมของเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
       
       'ตามจริงสำนักงานกสทช.จะเร่งทำหนังสือเอกสารรายละเอียดทุกอย่างให้เสร็จภาย ใน สัปดาห์นี้แต่ก็ไม่ทัน ดังนั้นจึงตั้งใจว่าภายในสัปดาห์หน้าเอกสารทั้งหมดจะแล้วเสร็จและหวังว่า คสช.จะเห็นความสำคัญในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านและโครงการ USOด้วย เพื่อให้คสช.ปลดล็อกเหมือนกับที่ให้กสทช.เดินหน้าการแจกคูปองทีวีดิจิตอลได้ แล้ว'




______________________________________


กสทช.เตรียมเสนอคสช.ปลดล็อกประมูลความถี่ 1800/900 MHz




นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
       กสทช.เตรียมเสนอคสช.สัปดาห์หน้า ปลดล็อก 3 โครงการคือประมูลความถี่ 1800 MHz ความถี่ 900 MHz และโครงการ USO เปิดผลงานการประมูลความถี่ 3G 2.1 GHz ที่ผ่านมาทำภาพรวมเศรษฐกิจเติบโตกว่าแสนล้านบาท ส่วนคูปองทีวีดิจิตอล เตรียมประชาพิจารณ์ทุกประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัย ตั้งแต่ราคา 690 บาท ,เงื่อนไขการแลก ,จำนวนครัวเรือนให้เคลียร์ทุกเรื่อง หวังทันแจกในเดือนก.ย.นี้
       
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสทช.เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องการแจกคูปองตามโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) โดยเฉพาะในประเด็น 1.ราคาเริ่มต้นกล่องทีวีดิจิตอลที่มูลค่าขั้นต่ำ 690 บาทหรือสูงกว่านั้น และ 2.ในประเด็นจำนวนครัวเรือนที่จะแจกคูปอง 22 ล้านครัวเรือนหรือมากกว่านั้น 3.วงเงินที่จะใช้ในการสนับสนุนมูลค่า 25,000 ล้านบาท และ 4.ประเด็นคูปองจะสามารถนำไปแลกซื้ออะไรได้บ้าง ซึ่งในเบื้องต้นมี 4 เงื่อนไขคือ 1.ใช้คูปองเป็นส่วนลดซื้อโทรทัศน์ที่รับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้โดยตรง 2.ใช้คูปองแลกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน (DVB-T2) พร้อมเสาอากาศ 3.ใช้คูปองแลกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S2) และ 4.ใช้คูปองแลกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลผ่านเคเบิล (DVB-C)
       
       รวมไปถึงยังมีประเด็นว่าจะต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตรวจสอบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
       
       'สาเหตุที่นำราคา 690 บาทไปรับฟังประชาพิจารณ์เนื่องจากมีบอร์ดบางคนเสนอให้นำราคาดังกล่าวไปรับฟังเพราะมีประเด็นของข้อกฏหมายตามมาตรา28 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ถึงแม้บอร์ดกองทุนกทปส. และบอร์ดกสท.จะมีมติที่ราคา 1,000 บาทก็ตามที'
       
       สำหรับกระบวนการประชาพิจารณ์นั้น กสทช.จะจัดขึ้นใน 4 ภูมิภาคได้แก่ ภาคเหนือจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 4 ก.ค.2557 ภาคอีสานจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 5 ก.ค.2557 และภาคใต้จัดที่จังหวัดสงขลา ในวันที่ 8 ก.ค.2557 และภาคกลางที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 10 ก.ค. 2557 โดยเบื้องต้นคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ก.ค.2557 จากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.เพื่อพิจารณา และนำเสนอต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้เห็นชอบต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถแจกคูปองได้ภายในเดือนก.ย.2557 นี้
       
       นอกจากนี้ยังเตรียมปลดล็อกสถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดภายหลังกสทช.ได้เข้าชี้แจงต่อ พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำเสนอ คสช.ออกประกาศในการปลดล็อกให้สถานีวิทยุชุมชนดำเนินการออกอากาศได้ โดยในช่วยแรกจะสามารถกลับมาออกอากาศได้ทันทีจำนวน 377 สถานีภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผ่านเกณฑ์เงื่อนไขในการที่จะออกอากาศ คือ 1.เป็นสถานีที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. จะต้องผ่านการตรวจเครื่องส่ง สายอากาศ ให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. กำหนด คือ กำลังส่งไม่เกิน 500 วัตต์ ความสูงเสาไม่เกิน 60 เมตร และเมื่อออกอากาศแล้ว จะต้องมีรัศมีการให้บริการไม่เกิน 20 กิโลเมตร 3. หนึ่งนิติบุคคล ต่อหนึ่งใบอนุญาต 4. เนื้อหาในการออกอากาศจะต้องสอดคล้องกับประกาศของ คสช. 5.จะต้องมาทำ MOU ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดกับทางสำนักงาน กสทช.
       
       ส่วนสถานีอื่นที่เหลือจะต้องเข้ารับการตรวจเครื่องส่ง สายอากาศ ซึ่งเบื้องต้นสำนักงาน ได้ชี้แจงต่อหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย คสช. แล้วว่าการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ในการดำเนินการตรวจสอบด้านเทคนิค และด้านเนื้อหาที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ทางกองทัพภาคที่ 1-4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะร่วมกับสำนักงาน กสทช. ภูมิภาคทั้ง 14 เขต อำนวยความสะดวกให้กับสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ด้วย
       
       'ภายหลัง คสช. ประกาศปลดล็อกการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนแล้ว อำนาจทั้งหมดจะกลับมาเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ กสทช. ที่จะพิจารณาให้สถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดทยอยออกอากาศต่อไป'
       
       นายฐากร กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้ากรณีพิจารณาอนุญาตให้ช่องรายการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีที่เหลืออยู่ประมาณ 80 ช่องรายการกลับมาออกอากาศอีกครั้งคาดว่าจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดกสท.ให้ พิจารณาได้ภายในการประชุมบอร์ดกสท.ครั้งต่อไปภายหลังก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เชิญมาทำความเข้าใจ
       
       *** ประมูล 1800/900 MHz ผลประโยชน์เข้ารัฐ
       
       นอกจากนี้ในสัปดาห์หน้าสำนักงานกสทช. จะทำหนังสือรายงานเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับ การเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz กับ900 MHz และโครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งก่อนหน้านี้ให้ชะลอการประมูลออกไป โดย สำนักงานกสทช.จะชี้แจงรายละเอียดทุกอย่าง เพื่อหวังให้คสช.อนุญาตให้ดำเนินโครงการต่อไปได้เช่นเดียวกับอนุญาตให้ กสทช.ดำเนินการแจกคูปองตามโครงการสนับสนุนประชาชน ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลไปแล้ว
       
       ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือที่จะชี้แจงคสช.นั้น จะยกตัวอย่างเปรียบเทียบข้อดี จากการผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับหลังจากประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ว่าหากมีการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHzจำนวน 2 ใบอนุญาต ตามแผนเดิมภายในเดือนส.ค.นี้ ราคาใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท และการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHzราคา 8,445 ล้านบาท จำนวนความถี่ 7.5 MHz 1ใบอนุญาต และ 11,260 ล้านบาทจำนวนความถี่ 10 MHz 1 ใบอนุญาตนั้นแล้ว ประเทศจะได้รับประโยชน์อื่นๆนอกจากรายรับจากการประมูลใบอนุญาต ยังมีผลต่อเนื่องจากการลงทุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมมูลค่าตลาดรวมของเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
       
       'ตามจริงสำนักงานกสทช.จะเร่งทำหนังสือเอกสารรายละเอียดทุกอย่างให้เสร็จภายใน สัปดาห์นี้แต่ก็ไม่ทัน ดังนั้นจึงตั้งใจว่าภายในสัปดาห์หน้าเอกสารทั้งหมดจะแล้วเสร็จและหวังว่าคสช.จะเห็นความสำคัญในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านและโครงการ USOด้วย เพื่อให้คสช.ปลดล็อกเหมือนกับที่ให้กสทช.เดินหน้าการแจกคูปองทีวีดิจิตอลได้แล้ว'
       
       *** ผลงานประมูล 3G 2.1GHz ภาพรวมศก.โตกว่าแสนล้าน
       
       นอกจากนี้สำนักงานกสทช.ได้รายงานผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประมูลใบอนุญาต 3G 2.1 GHzโดยแบ่งเป็นผลประโยชน์ทางตรงคือ มีรายได้จากการประมูลคลื่นและส่งเข้ากระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 41,000 กว่าล้านบาท และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3Gดังกล่าวปีละ 3,000 ล้านบาท ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมมีการลงทุนในการวางโครงข่าย สถานีฐาน การสร้างสายเคเบิลในช่วง 3-5 ปีมากกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี มูลค่าตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้ เติบโตขึ้นปีละ 30% จากช่วงก่อนการประมูลคิดเป็น 60,000 ล้านบาท มูลค่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเติบโตขึ้น 26% จากปีก่อนคิดเป็น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ โมบาย แบงก์กิ้ง เช่นการโอนเงิน และการชำระค่าบริการมากกว่า 7 แสนล้านบาท และ มูลค่าตลาดของอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ขยายตัวขึ้น 20% คิดเป็น 2,000 ล้านบาท
       



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000071683
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่