พัฒนาการของเด็กวัย 8 เดือน ถึง 36 เดือน (3 ขวบ)

พอดีไ จขกท ไปค้นคว้าอ่านดู และเห็นว่าน่าจะมีหลายคนอยากทราบเหมือนกัน เลยเอามาโพสไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะครับ ยิ้ม

ขอเริ่มจาก 8 เดือนเป็นต้นไปนะครับ เพราะคิดว่า ทารก 0 - 6 เดือน เป็นช่วงแรกๆที่คุณพ่อคุณแม่มักจะหาข้อมูลเยอะพอสมควร  และจะแบ่งเป็นโพสสามช่วงนะครับ เพื่อง่ายต่อการอ่าน ผิดพลาดหรือมีข้อมูลเพิ่มเติมอะไร ก็แนะนำได้ครับ

Credit: พัฒนาการเด็กวัยต่างๆ   (พ.ท.พญ.กมลพรรณ  ชีวพันธุศรี) จาก   http:/www.nncc.org/Child.Dev.    9 กค.46 / นำมาจากเวบ http://www.parent-youth.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538689003&Ntype=5

•    อายุ 8 เดือน
พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์    พัฒนาการความฉลาด
- รับรู้ชื่อตนเอง    - ร้องไห้เมื่อเปียก, หิว, เหงา
- กลัวความสูง    - ทำเสียงชอบ/ไม่ชอบได้
- กลัวคนแปลกหน้า, กลัวการแยกจากพ่อแม่    - จดจำเสียงที่คุ้นเคยได้
- ต้องให้เมื่อโดนแย่งของ    - เริ่มเรียนรู้รส, กลิ่น, สีแสง, เสียง
- ยิ้มกับตัวเองในกระจก    - หาของเล่นเองได้
- ยื่นมือเมื่ออยากให้อุ้ม    - เรียนรู้วัตถุโดยแตะ, กัด, สั่น, เคาะ
- จำสมาชิกครอบครัวได้    - ชอบขว้างของ

•    อายุ 12 เดือน
พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์    พัฒนาการความฉลาด
- ชอบใช้โทรศัพท์เลียนแบบผู้ใหญ่    - พูดคำแรกได้
- เรียกชื่อหัน    - พูดมามา, ปาปาได้
- ชอบดูกระจก    - ชอบเต้นตามจังหวัดเพลง
- กลัวคนแปลกหน้า    - สนใจรูปภาพในหนังสือ
- อยากเห็นผู้เลี้ยงดูตลอดเวลา    - ตบมือ, โบกมือบาย ๆ ได้
- อาจติดของเล่น/ผ้าห่ม    

•    ความช่วยเหลือของผู้เลี้ยงดู
-    ช่วยให้เด็กมีความรู้สึกไว้วางใจ ปลอดภัยโดยตอบสนองเมื่อเขาร้อง โดยสม่ำเสมอ    เมื่อเขารู้สึกวางใจ เขาจะพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  อย่างไม่ลังเล
-    เวลาให้นมควรจะอุ้มเขา    เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น คลายความกังวลและความเครียดของเด็กได้ อย่าให้นอนดูดนมโดยไม่มีคนอุ้ม เพราะว่าจะสำลักได้
-    ยอมรับความต้องการ นิสัยแต่ละคนต่างกันของเด็ก เด็กทุกคนจะมีช่วงเวลากิน, นอน, ถ่าย แตกต่างกัน เช่น บางคนนอนมาก บางคนนอนน้อย
-    เด็ก ๆ มักจะชอบเรียนรู้และพิสูจน์ทุกอย่าง (ส่วนมากใช้ปาก)       เพราะฉะนั้นควรจะเอาสารที่เป็นพิษ, อันตรายห่างจากเด็ก เช่น น้ำยาล้างจาน, ยา, กาต้มน้ำ, ปลั๊กไฟ, มุมแหลม ๆ และให้นอนในที่เตี้ย ๆ หรือมีที่กั้นที่ไม่ใช่มีรูโหว่ให้เด็กลอดได้  เพราะหัวอาจจะติดคาช่องโหว่ ทำให้เด็กตายได้
-    ให้มีของเล่นที่มีสีฉูดฉาด, รูปภาพ, โมบาย, ของที่มีสีตัดกัน
-    ให้มีเสียงต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน เพื่อเด็กได้เรียนรู้ เช่น เสียงนาฬิกา, กริ่งประตู ฯลฯ
-    ให้ของเล่นที่หลากหลายรูปแบบในการใช้ปาก, มือ, จมูก, ตา, หู แต่ห้ามเอาของเล่นที่ขนาดเล็กกว่า 1 1/4 นิ้ว (เท่าเหรียญ 10 บาท) เช่น เม็ดมะขาม, เม็ดน้อยหน่า  เพราอาจจะติดคอ  หลอดลมตายได้
-    ให้สัมผัสอาหารที่มีความแตกต่างในรสชาดและอุณหภูมิ อุ่น  เย็น
-    ช่วยให้เด็กพัฒนาการทรงตัว, การเคลื่อนไหว
-    พูดกับเด็กบ่อย ๆ และจ้องหน้าเขา การเรียกชื่อสิ่งของ, คน, สัตว์ ฯลฯ
-    อ่านให้เด็กฟังชี้ให้ดูรูปภาพ, ให้ฟังเสียงต่าง ๆ กัน
-    พยายามให้เด็กกินเองในเด็กที่โต ใกล้1 ขวบแล้ว เช่น กล้วย, ขนมปัง หรือกินด้วยช้อน แต่อาจจะเลอะเทอะก็ต้องอดทน และใช้เวลาในการเรียนรู้
-    ชอบเล่นจะเอ๋
-    ให้อิสระเด็กในการเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ ถ้าหากให้อยู่ในคอก, เปล จะหยุดการพัฒนาทักษะที่สำคัญ   แต่ต้องระวังความปลอดภัย
-    เมื่อมีคนแปลกหน้าต้องอยู่ใกล้ ๆ เด็กและให้เด็กค่อย ๆ เรียนรู้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่