1984 เป็นนวนิยายชิ้นสุดท้ายของจอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ
ซึ่งมีนามจริงว่าเอริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) งานเขียนชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก
ในปี 1949 (พ.ศ. 2492) สี่ปีหลังจากการตีพิมพ์นวนิยายที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขาอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ
Animal Farm และเป็นหนึ่งปีก่อนที่ตัวเขาเองจะเสียชีวิต 1984 บรรยายถึงเรื่องราวสมมติที่ผู้เขียน
จินตนาการว่าเกิดขึ้นไปปี 1984 แม้ว่าการคาดการณ์ของออร์เวลล์จำนวนมากจะได้รับการพิสูจน์
ในเวลาต่อมาว่าผิดพลาด แต่กระนั้น ผู้คนก็ยังคงอ่าน 1984 กันต่อไปเหตุใดเรื่องราวสมมติ–ที่ครั้ง
ล่าสุดนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สมมติ—จึงยังคงได้รับการอ่านและพูดถึงยาวนานข้ามกาลเวลา
มันได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซึ่งออกฉายในปี 1984 ตามชื่อเรื่องและปีที่เรื่องราวสมมติขึ้น
กระทั่งปัจจุบันความคิดเรื่อง Big Brother กลายมาเป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดัง ส่วนฮารูกิ มูราคามิก็นำ
1984 มาล้อโดยแต่งเป็นนิยาย 1Q84 เรื่องราวสมมติที่เต็มไปด้วยการคาดการณ์ผิดพลาดมากมายนี้มีดี
อะไรถึงทำให้มันคงทนถาวรมาจนถึงปีที่หกสิบสาม และยังมีทีท่าว่าจะถูกอ่านต่อไปไม่รู้จบ
***เนื้อหาในหนังสือคงไม่พูดถึง ให้ลองหาอ่านในกูเกิล***
ก็แค่เรื่องสมมติ (หรือก็แค่เรื่องขี้โม้ หน่ะแหละ) ไม่รู้ว่าจะจริงจังไปทำไม
และเรื่องราวในหนังสือก็ไม่ได้เกิดขึ้นในบ้านเราด้วย มันบ้านลุงแซมโน่น
หนังสือ 1984 ก็แค่เรื่องสมมติว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่เรื่องจริงสักนิดท่านจะกลัวไปทำไม
1984 เป็นนวนิยายชิ้นสุดท้ายของจอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ
ซึ่งมีนามจริงว่าเอริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) งานเขียนชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก
ในปี 1949 (พ.ศ. 2492) สี่ปีหลังจากการตีพิมพ์นวนิยายที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขาอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ
Animal Farm และเป็นหนึ่งปีก่อนที่ตัวเขาเองจะเสียชีวิต 1984 บรรยายถึงเรื่องราวสมมติที่ผู้เขียน
จินตนาการว่าเกิดขึ้นไปปี 1984 แม้ว่าการคาดการณ์ของออร์เวลล์จำนวนมากจะได้รับการพิสูจน์
ในเวลาต่อมาว่าผิดพลาด แต่กระนั้น ผู้คนก็ยังคงอ่าน 1984 กันต่อไปเหตุใดเรื่องราวสมมติ–ที่ครั้ง
ล่าสุดนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สมมติ—จึงยังคงได้รับการอ่านและพูดถึงยาวนานข้ามกาลเวลา
มันได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซึ่งออกฉายในปี 1984 ตามชื่อเรื่องและปีที่เรื่องราวสมมติขึ้น
กระทั่งปัจจุบันความคิดเรื่อง Big Brother กลายมาเป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดัง ส่วนฮารูกิ มูราคามิก็นำ
1984 มาล้อโดยแต่งเป็นนิยาย 1Q84 เรื่องราวสมมติที่เต็มไปด้วยการคาดการณ์ผิดพลาดมากมายนี้มีดี
อะไรถึงทำให้มันคงทนถาวรมาจนถึงปีที่หกสิบสาม และยังมีทีท่าว่าจะถูกอ่านต่อไปไม่รู้จบ
***เนื้อหาในหนังสือคงไม่พูดถึง ให้ลองหาอ่านในกูเกิล***
ก็แค่เรื่องสมมติ (หรือก็แค่เรื่องขี้โม้ หน่ะแหละ) ไม่รู้ว่าจะจริงจังไปทำไม
และเรื่องราวในหนังสือก็ไม่ได้เกิดขึ้นในบ้านเราด้วย มันบ้านลุงแซมโน่น