"ธปท."เผยไตรมาสแรก คนขอรับข้อมูลการเงิน1.2หมื่นเรื่องส่วนใหญ่ขอปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาสแรก ปี 2557 มีประชาชนติดต่อเข้ามายังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) เพื่อขอรับข้อมูล คำปรึกษา ตลอดจนการ ร้องเรียน และแนะนำ โดยมีการบันทึกผ่านระบบของ ศคง. รวม 12,848 เรื่องแบ่งเป็น การให้ข้อมูล คำปรึกษา 12,093 เรื่อง ส่วนใหญ่ เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการไถ่ถอนพันธบัตรตามที่ ธปท. ได้จัดส่งเอกสารคำขอรับคืนต้นเงินพันธบัตรไปยังผู้ถือพันธบัตร
ส่วนกรณีที่โทรเข้ามาร้องเรียนมีจำนวน 691 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขอลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมขณะเดียวกันก็มีผู้แจ้งเบาะแสหรือแจ้งข้อมูลเข้ามารวม 39 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับภัยทางการเงิน สุดท้าย คือ การโทรเข้ามาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่ ธปท. โดยมีจำนวน 25 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บไม่เหมาะสม
สำหรับการให้บริการข้อมูลของ ศคง. และ คำปรึกษา จำนวน 12,093 เรื่อง แบ่งเป็น ด้านพันธบัตรและตราสารหนี้ 8,078 เรื่อง ส่วนใหญ่สอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารประกอบการไถ่ถอนพันธบัตร และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
นอกจากนี้เป็นการขอรับบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 1,752 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขภาระหนี้สินที่มีจำนวนมากการขอปรับโครงสร้างหนี้ และปัญหาการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม ด้านเครดิตบูโร 190 เรื่อง เป็นการสอบถามเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบข้อมูลเครดิตและวิธีการล้างประวัติเครดิต
ขณะเดียวกันยังมีการสอบถามถึงภัยการเงิน 184 เรื่อง โดยเป็นการสอบถามข้อมูลเนื่องจากได้รับโทรศัพท์แอบอ้างเป็น ธปท. แจ้งขออายัดบัญชี รวมทั้งยังมีการสอบถามเกี่ยวกับกฎระเบียบธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ(เอฟเอ็กซ์) 175 เรื่อง ส่วนใหญ่สอบถามเรื่องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และการโอนเงินหรือรับโอนเงินตราต่างประเทศ
รายงานข่าวระบุด้วยว่า การสอบถามด้านธนบัตรมีจำนวน 111 เรื่อง โดยเป็นการสอบถามเกี่ยวกับสถานที่รับแลกธนบัตรใหม่ ธนบัตรชำรุดและธนบัตรที่ระลึก ขณะที่เรื่องอื่นๆ มีจำนวน 1,063 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันการเงินในช่วง Bangkok Shutdown
สำหรับการแจ้งเบาะแส คำแนะนำ ข้อเสนอแนะจำนวน 64 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งเรื่องภัยการเงิน โดยเฉพาะการถูกหลอกลวงทางโทรศัพท์และความไม่สะดวกในการใช้บริการของสถาบันการเงิน ขณะที่การให้คำแนะนำส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้บริการของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เช่น ค่าธรรมเนียมสูงเกินไป ไม่มีการแจ้งเตือนค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เป็นต้น
ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงิน 644 เรื่อง แบ่งเป็น 2 หมวด คือ ขอความอนุเคราะห์จากสถาบันการเงิน 200 เรื่อง และร้องเรียนบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 444 เรื่อง
โดยเรื่องขอความอนุเคราะห์สถาบันการเงิน ส่วนใหญ่เป็นการขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยลูกหนี้แต่ละรายจะมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดจำนวนมาก มีการใช้จ่ายเต็มวงเงินและผ่อนชำระขั้นต่ำ ซึ่งบางรายยังมีภาระหนี้นอกระบบ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ ที่เหลือเป็นการขอลด ยกเว้นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
สำหรับการร้องเรียนบริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน จำนวน 444 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ รองลงมาได้แก่เงินให้สินเชื่อ ปัญหาจากเงินฝากและตั๋วแลกเงิน Cross Sell และอื่นๆ เช่น ร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของสถาบันการเงิน หรือบริการทางการเงินที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.
กรุงเทพธุรกิจ
ยอดร้องเรียนการเงินไตรมาสแรก 691เรื่อง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาสแรก ปี 2557 มีประชาชนติดต่อเข้ามายังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) เพื่อขอรับข้อมูล คำปรึกษา ตลอดจนการ ร้องเรียน และแนะนำ โดยมีการบันทึกผ่านระบบของ ศคง. รวม 12,848 เรื่องแบ่งเป็น การให้ข้อมูล คำปรึกษา 12,093 เรื่อง ส่วนใหญ่ เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการไถ่ถอนพันธบัตรตามที่ ธปท. ได้จัดส่งเอกสารคำขอรับคืนต้นเงินพันธบัตรไปยังผู้ถือพันธบัตร
ส่วนกรณีที่โทรเข้ามาร้องเรียนมีจำนวน 691 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขอลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมขณะเดียวกันก็มีผู้แจ้งเบาะแสหรือแจ้งข้อมูลเข้ามารวม 39 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับภัยทางการเงิน สุดท้าย คือ การโทรเข้ามาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่ ธปท. โดยมีจำนวน 25 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บไม่เหมาะสม
สำหรับการให้บริการข้อมูลของ ศคง. และ คำปรึกษา จำนวน 12,093 เรื่อง แบ่งเป็น ด้านพันธบัตรและตราสารหนี้ 8,078 เรื่อง ส่วนใหญ่สอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารประกอบการไถ่ถอนพันธบัตร และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
นอกจากนี้เป็นการขอรับบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 1,752 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขภาระหนี้สินที่มีจำนวนมากการขอปรับโครงสร้างหนี้ และปัญหาการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม ด้านเครดิตบูโร 190 เรื่อง เป็นการสอบถามเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบข้อมูลเครดิตและวิธีการล้างประวัติเครดิต
ขณะเดียวกันยังมีการสอบถามถึงภัยการเงิน 184 เรื่อง โดยเป็นการสอบถามข้อมูลเนื่องจากได้รับโทรศัพท์แอบอ้างเป็น ธปท. แจ้งขออายัดบัญชี รวมทั้งยังมีการสอบถามเกี่ยวกับกฎระเบียบธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ(เอฟเอ็กซ์) 175 เรื่อง ส่วนใหญ่สอบถามเรื่องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และการโอนเงินหรือรับโอนเงินตราต่างประเทศ
รายงานข่าวระบุด้วยว่า การสอบถามด้านธนบัตรมีจำนวน 111 เรื่อง โดยเป็นการสอบถามเกี่ยวกับสถานที่รับแลกธนบัตรใหม่ ธนบัตรชำรุดและธนบัตรที่ระลึก ขณะที่เรื่องอื่นๆ มีจำนวน 1,063 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันการเงินในช่วง Bangkok Shutdown
สำหรับการแจ้งเบาะแส คำแนะนำ ข้อเสนอแนะจำนวน 64 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งเรื่องภัยการเงิน โดยเฉพาะการถูกหลอกลวงทางโทรศัพท์และความไม่สะดวกในการใช้บริการของสถาบันการเงิน ขณะที่การให้คำแนะนำส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้บริการของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เช่น ค่าธรรมเนียมสูงเกินไป ไม่มีการแจ้งเตือนค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เป็นต้น
ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงิน 644 เรื่อง แบ่งเป็น 2 หมวด คือ ขอความอนุเคราะห์จากสถาบันการเงิน 200 เรื่อง และร้องเรียนบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน 444 เรื่อง
โดยเรื่องขอความอนุเคราะห์สถาบันการเงิน ส่วนใหญ่เป็นการขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยลูกหนี้แต่ละรายจะมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดจำนวนมาก มีการใช้จ่ายเต็มวงเงินและผ่อนชำระขั้นต่ำ ซึ่งบางรายยังมีภาระหนี้นอกระบบ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ ที่เหลือเป็นการขอลด ยกเว้นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
สำหรับการร้องเรียนบริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน จำนวน 444 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ รองลงมาได้แก่เงินให้สินเชื่อ ปัญหาจากเงินฝากและตั๋วแลกเงิน Cross Sell และอื่นๆ เช่น ร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของสถาบันการเงิน หรือบริการทางการเงินที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.
กรุงเทพธุรกิจ