ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานผลการดำเนินการในการให้ข้อมูล คำปรึกษา และรับเรื่องร้องเรียน ระหว่าง 1 ม.ค.-31 ธ.ค.59 โดยในปี 59 ที่ผ่านมา มีประชาชนติดต่อมาที่ ศคง.ทั้งสิ้นรวม 46,194 รายการ ลดลงจากปี 58 13,401 รายการ โดยช่องทางที่ติดต่อมากที่สุดคือ ผ่านทางโทรศัพท์, อีเมล, เว็บไซต์, จดหมายและติดต่อโดยตรงด้วยตัวเอง ทั้งนี้ ในปี 59 ที่ผ่านมา กรณีที่ประชาชนติดต่อเข้ามามากที่สุดคือ ขอข้อมูลและปรึกษาเกี่ยวกับพันธบัตร ตราสารหนี้ และสินเชื่อทั้งสิ้น 42,820 ราย ขณะที่มียอดร้องเรียนทั้งสิ้น 1,588 ราย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงิน ขณะเดียวกัน มีข้อเสนอแนะที่ประชาชนเสนอแนะต่อ ธปท.มากที่สุดคือ การเสนอให้ลดค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แม้การร้องเรียนการให้บริการทางการเงินเรื่องอื่นๆ ในปี 59 จะลดลง แต่กรณีการรับปรึกษา รับเรื่องร้องเรียน และรับแจ้งเบาะแสที่เกี่ยวกับภัยทางการเงินยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีการติดต่อทั้งสิ้น 1,125 รายการ เพิ่มขึ้นจากปี 58 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ การหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ เช่น หลอกลวงว่ามีโครงการปล่อยเงินกู้ รวมทั้งการที่บัตรอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้โดยบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนมากเข้าใจมากขึ้น และไม่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์
สำหรับการร้องเรียนด้าน Cross sell หรือขายพ่วงนั้น ในปีที่ผ่านมามี 112 รายงาน โดยเรื่องร้องเรียนหลัก คือ บังคับซื้อประกัน หรือผลิตภัณฑ์อื่นร่วมกับเงินฝาก ปัญหาการบังคับขายบัตรเดบิตพ่วงประกัน นอกจากนั้น ในด้านการร้องเรียนด้านพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน รวมเจ้าหน้าที่ Outsource ในปี 59 ที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นมาก แต่ยังพบปัญหาทุจริตหลอกลวง โดยเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินและ Outsource แอบทำธุรกรรมแทนลูกค้า
ขณะที่การหลอกลวงที่เกิดใหม่ในช่วงนี้ คือ การหลอกลวงว่ามีโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งร้องเรียนเข้ามาถึง 94 รายการ โดยอ้างว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศและได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก ธปท. เพื่อปล่อยสินเชื่อประเภทไม่มีหลักประกัน ผ่านศูนย์วิสาหกิจชุมชน/ชมรมพัฒนาอาชีพ โดยมีวงเงินให้ประชาชนกู้รายละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีเจตนาทำให้ประชาชนหลงเชื่อเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการสมัครเป็นสมาชิก ซึ่ง ศคง.ขอให้ประชาชนมีความระมัดระวังในเรื่องภัยการเงินต่อเนื่อง.
JJNY : ชีวิตดี๊ดี...ซี้จุกสูญ คนไทยมึนยอดหลอกลวงการเงินพุ่ง แนะ ธปท.โละค่าธรรมเนียมสุดโหด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แม้การร้องเรียนการให้บริการทางการเงินเรื่องอื่นๆ ในปี 59 จะลดลง แต่กรณีการรับปรึกษา รับเรื่องร้องเรียน และรับแจ้งเบาะแสที่เกี่ยวกับภัยทางการเงินยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีการติดต่อทั้งสิ้น 1,125 รายการ เพิ่มขึ้นจากปี 58 โดยส่วนใหญ่เกิดจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ การหลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ เช่น หลอกลวงว่ามีโครงการปล่อยเงินกู้ รวมทั้งการที่บัตรอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้โดยบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนมากเข้าใจมากขึ้น และไม่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์
สำหรับการร้องเรียนด้าน Cross sell หรือขายพ่วงนั้น ในปีที่ผ่านมามี 112 รายงาน โดยเรื่องร้องเรียนหลัก คือ บังคับซื้อประกัน หรือผลิตภัณฑ์อื่นร่วมกับเงินฝาก ปัญหาการบังคับขายบัตรเดบิตพ่วงประกัน นอกจากนั้น ในด้านการร้องเรียนด้านพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน รวมเจ้าหน้าที่ Outsource ในปี 59 ที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นมาก แต่ยังพบปัญหาทุจริตหลอกลวง โดยเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินและ Outsource แอบทำธุรกรรมแทนลูกค้า
ขณะที่การหลอกลวงที่เกิดใหม่ในช่วงนี้ คือ การหลอกลวงว่ามีโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งร้องเรียนเข้ามาถึง 94 รายการ โดยอ้างว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศและได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก ธปท. เพื่อปล่อยสินเชื่อประเภทไม่มีหลักประกัน ผ่านศูนย์วิสาหกิจชุมชน/ชมรมพัฒนาอาชีพ โดยมีวงเงินให้ประชาชนกู้รายละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีเจตนาทำให้ประชาชนหลงเชื่อเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการสมัครเป็นสมาชิก ซึ่ง ศคง.ขอให้ประชาชนมีความระมัดระวังในเรื่องภัยการเงินต่อเนื่อง.