ผมได้อ่านพระไตรปิฎก (ฉบับ มจร. (จำเล่มไม่ได้)) พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพ่อค้า ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจ จึงได้นำแนวความคิดของพระพุทธเจ้ามาวางเป็นโครงสร้างใหญ่ จากนั้นค่อยๆตีความในหลักการย่อย ค่อยๆคิด ค่อยๆปรับ เพื่อให้เป็นปรัชญาการลงทุนที่เหมาะกับตนเองซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแนวความคิดปัจจุบัน (ตะวันตกและตะวันออก) กับคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งผมเห็นว่าคำสอนพระพุทธเจ้าเข้ากันได้กับแนวคิดการลงทุนในโลกปัจจุบันนี้
แนวความคิดหลักของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า คุณสมบัติของพ่อค้า ต้องมีตาดี ธุรกิจดี เพียบพร้อมด้วยแหล่งที่พักพิงอาศัย หากพ่อค้ามีคุณสมบัติทั้ง ๓ อย่างนี้ จะประสบความสำเร็จในการค้าขาย สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณสมบัติของพ่อค้า เพื่อเป็นกุศโลบายในการปลุกเร้าอารมณ์พระภิกษุให้สนใจในการปฏิบัติธรรม (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) จากคำสอนที่กล่าวมา นักลงทุนก็ควรที่จะศึกษาหาความรู้ไว้เพื่อประยุกต์ ปรับใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
ส่วนปรัชญาการลงทุนของผม ก็มีการผสมผสานแนวคิดทั้งทางตะวันตก ตะวันออก ศาสนา โดยเนื้อหาจะหาความสมบูรณ์แบบไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปของโลกแห่งการลงทุน ผมจึงยึดหลักการลงทุนแบบ Dynamic Investor (DI)
การตีความโครงสร้างหลักการลงทุนของพระพุทธเจ้า ผมได้วางหลักการไว้ตามที่คิดได้ในขณะนี้ ดังนี้
1. มีตาดี (จักขุมา)
- ปรโตโฆสะ
- โยนิโสมนสิการ
- ทัศนคติ
2. มีธุรกิจดี (วิธุโร)
- สินค้าและบริการ
- ผู้บริหารเก่ง ซื่อสัตย์ มีเหตุผล
- ผลการดำเนินงานในอดีต ย้อนหลัง 10 ปี
- แนวโน้มในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า
- งบการเงิน
3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย (นิสฺสยสัมปันโน)
- Margin of safety
- Intrinsic value
- EQ
- ผู้รู้ / ข้อมูล
- เงิน
- เวลา / ประสบการณ์
จากโครงสร้างดังกล่าวนั้น เป็นการประมวลความคิดเฉพาะบุคคล ทุกคนสามารถตีความ เพื่อยึดเป็นหลักการของตนและปรับประยุกต์ตามความเหมาะสม ในแต่สถานการณ์
ปรัชญาการลงทุนของพระพุทธเจ้า
แนวความคิดหลักของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า คุณสมบัติของพ่อค้า ต้องมีตาดี ธุรกิจดี เพียบพร้อมด้วยแหล่งที่พักพิงอาศัย หากพ่อค้ามีคุณสมบัติทั้ง ๓ อย่างนี้ จะประสบความสำเร็จในการค้าขาย สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณสมบัติของพ่อค้า เพื่อเป็นกุศโลบายในการปลุกเร้าอารมณ์พระภิกษุให้สนใจในการปฏิบัติธรรม (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) จากคำสอนที่กล่าวมา นักลงทุนก็ควรที่จะศึกษาหาความรู้ไว้เพื่อประยุกต์ ปรับใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
ส่วนปรัชญาการลงทุนของผม ก็มีการผสมผสานแนวคิดทั้งทางตะวันตก ตะวันออก ศาสนา โดยเนื้อหาจะหาความสมบูรณ์แบบไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปของโลกแห่งการลงทุน ผมจึงยึดหลักการลงทุนแบบ Dynamic Investor (DI)
การตีความโครงสร้างหลักการลงทุนของพระพุทธเจ้า ผมได้วางหลักการไว้ตามที่คิดได้ในขณะนี้ ดังนี้
1. มีตาดี (จักขุมา)
- ปรโตโฆสะ
- โยนิโสมนสิการ
- ทัศนคติ
2. มีธุรกิจดี (วิธุโร)
- สินค้าและบริการ
- ผู้บริหารเก่ง ซื่อสัตย์ มีเหตุผล
- ผลการดำเนินงานในอดีต ย้อนหลัง 10 ปี
- แนวโน้มในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า
- งบการเงิน
3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย (นิสฺสยสัมปันโน)
- Margin of safety
- Intrinsic value
- EQ
- ผู้รู้ / ข้อมูล
- เงิน
- เวลา / ประสบการณ์
จากโครงสร้างดังกล่าวนั้น เป็นการประมวลความคิดเฉพาะบุคคล ทุกคนสามารถตีความ เพื่อยึดเป็นหลักการของตนและปรับประยุกต์ตามความเหมาะสม ในแต่สถานการณ์