คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20130302015955AAnQiAI
โรคปอดอักเสบมักจะมีการติดต่อกันทางเสมหะ หรือน้ำลายจากผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบครับ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ หรือเกิดจากการติดเชื้อที่อื่นก่อน เช่นเป็นกรวยไตอักเสบ แล้วแพร่กระจายมาที่ปอดก็ได้ครับ แต่โรคปอดอักเสบไม่ได้เกิดจากการที่ไปเล่นน้ำฝนหรือ อากาศเย็นแล้วไม่ได้ใส่เสื้อผ้าหนาๆครับ
เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะแบ่งโรคปอดอักเสบ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆครับ กลุ่มที่มีอาการชัดเจน และไม่ชัดเจน
•กลุ่มที่มีอาการชัดเจน
◦อาการจะปรากฎเร็วมาก ภายในระยะเวลา 1-2 วันและอาการจะแย่ลงเร็วครับ
◦มีอาการไข้ หนาวสั่น
◦ไอมีเสมหะ หรือเสลด สีเขียว สีเหลือง หรือไอมีเลือดปน
◦เหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก อาการหายใจลำบากนี้หมายความว่าออกแรงสูดหายใจเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่พอ
◦เจ็บหน้กอก และหายใจลำบาก โดยเฉพาะเจ็บหน้าอกเวลาไอ หรือหายใจเข้าออกลึกๆ และอาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นโรคอื่นที่เป็นภาวะฉุกเฉิน เช่นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ดังนั้นอย่าวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอกเองเด็ดขาด
• กลุ่มที่มีอาการไม่ชัดเจน
◦อาการค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆและใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะปรากฎอาการของปอดอักเสบอย่างชัดเจน
◦ไข้ต่ำอาจไม่สูงมากนัก หรือไม่มีไข้
◦มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดตามข้อ
◦อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
◦รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง
◦ในผู้สูงอายุ อาการอาจไม่ชัดเจนมากครับ และผู้สูงอายุอาจซึมลง (เช่นเมื่อก่อน นั่ง เดิน พูดคุยได้ หลังจากนั้น นอนอยู่เฉยๆ หรือไม่ยอมพูด ไม่ยอมรับประทานอาหารครับ) และในผู้สูงอายุอาจไม่มีไข้ก็ได้ครับ
เมื่อใดที่คุณควรไปพบแพทย์
ทุกคนที่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเท่าไหร่ก็ไม่สุดควรไปพบแพทย์ในห้องฉุกเฉินครับ อาการเหนื่อยนี้มีความหมายว่า พยายามหายใจเท่าไหร่ก็ไม่สุด หายใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ
อาการของปอดอักเสบจะรุนแรงมากขึ้นถ้า
•มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
•มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เช่น ติดเชื้อ HIV หรือ มีการใช้ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม อยู่เป็น
ประจำ หรือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ
•เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอยู่เดิม เช่น โรคหอบหืด และผู้สูบบุหรี่
•ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยสูงอายุ
แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้…
แม้ว่าปอดอักเสบจะสามารถทำการวินิจฉัยได้ด้วยการฟังปอด ซึ่งสามารถฟังได้ครับว่ามีการติดเชื้ออยู่บริเวณใด แต่แพทย์ก็อาจตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้เพื่อประเมินความรุนแรงครับ
•การวัดระดับออกซิเจนจากปลายนิ้ว หน้าตาของเครื่องมือตัวนี้ก็คล้ายกับที่หนีบผ้าดีๆนี่แหละครับ แต่เอามาสวมนิ้วเราแทน คลิ้กที่นี่
•การเอกซ์เรย์ปอด ก็จะช่วยบอกได้ว่ามีการติดเชื้อที่ส่วนใด ซึ่งสามารถชี้ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อได้ครับ
ภาพทางซ้าย เป็น เอกซ์เรย์ปอดปกติ เงาที่อยู่ตรงกลางคือเงาของหัวใจ ซึ่งตามปกติเนื้อปอดในภาพเอกซเรย์ควรเป็นสีดำ (อากาศจะเห็นเป็นสีดำ)
ส่วนภาพทางขวา จะเห็นว่ามีส่วนที่เนื้อปอดที่เป็นสีขาว นั่นคือส่วนที่มีการติดเชื้อ
•การเจาะเลือด เป็นการเจาะดูว่าร่างกายได้มีการต่อสู้กับเชื้อโรคประเภทใดครับ และดูว่าคุณมีเม็ดเลือดแดงเพียงพอหรือไม่ที่จะขนส่งออกซิเจน
•บางครั้งแพทย์อาจมีการเจาะเลือดที่เส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณข้อมือ ซึ่งเป็นการตรวจระดับออกซิเจนในเลือดครับ ซึ่งจะบอกว่าปอดทำงานได้ดีแค่ไหน
•การตรวจเสมหะ เพื่อดูว่าเชื้อโรคที่อยู่ข้างในปอดนั้นเป็นเชื้อโรคชนิดใด จะได้ให้ยาอย่างถูกต้องและตรงกับเชื้อครับ
การดูแลตนเองที่บ้าน
ถ้าคุณสงสัยโรคปอดอักเสบ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะไม่มีการรักษาด้วยตนเองสำหรับโรคปอดอักเสบครับ เพราะมันอันตรายถึงชีวิต แม้ว่าการรับประทานยาแก้ไข้ พาราเซตตามอล หรือ ยาแก้ไอ หรือยาขับเสมหะจะช่วยบรรเทาอาการลงก็ตาม แต่สิ่งที่คุณควรทำคือไปพบแพทย์ก่อนเสมอครับ เพื่อให้แพทย์ประเมิน ถ้าประเมินแล้วอาการไม่รุนแรง อาจให้ยาไปรับประทานที่บ้าน แต่ถ้าอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลครับ
การรักษาที่บ้าน
ภายหลังจากที่แพทย์ประเมินอาการแล้วว่า สามารถกลับไปรักษาต่อที่บ้านให้ปฎิบัติดังนี้ครับ
ดื่มน้ำมากๆ นั่นเป็นเพราะว่าน้ำ ช่วยในการขับเสมหะครับ และจะทำให้เสมหะเหนียวน้อยลง
ปล. เราหาอ่านพอดีเลย
โรคปอดอักเสบมักจะมีการติดต่อกันทางเสมหะ หรือน้ำลายจากผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบครับ อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากเครื่องปรับอากาศที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ หรือเกิดจากการติดเชื้อที่อื่นก่อน เช่นเป็นกรวยไตอักเสบ แล้วแพร่กระจายมาที่ปอดก็ได้ครับ แต่โรคปอดอักเสบไม่ได้เกิดจากการที่ไปเล่นน้ำฝนหรือ อากาศเย็นแล้วไม่ได้ใส่เสื้อผ้าหนาๆครับ
เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะแบ่งโรคปอดอักเสบ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆครับ กลุ่มที่มีอาการชัดเจน และไม่ชัดเจน
•กลุ่มที่มีอาการชัดเจน
◦อาการจะปรากฎเร็วมาก ภายในระยะเวลา 1-2 วันและอาการจะแย่ลงเร็วครับ
◦มีอาการไข้ หนาวสั่น
◦ไอมีเสมหะ หรือเสลด สีเขียว สีเหลือง หรือไอมีเลือดปน
◦เหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก อาการหายใจลำบากนี้หมายความว่าออกแรงสูดหายใจเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่พอ
◦เจ็บหน้กอก และหายใจลำบาก โดยเฉพาะเจ็บหน้าอกเวลาไอ หรือหายใจเข้าออกลึกๆ และอาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นโรคอื่นที่เป็นภาวะฉุกเฉิน เช่นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ดังนั้นอย่าวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอกเองเด็ดขาด
• กลุ่มที่มีอาการไม่ชัดเจน
◦อาการค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆและใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะปรากฎอาการของปอดอักเสบอย่างชัดเจน
◦ไข้ต่ำอาจไม่สูงมากนัก หรือไม่มีไข้
◦มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดตามข้อ
◦อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
◦รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง
◦ในผู้สูงอายุ อาการอาจไม่ชัดเจนมากครับ และผู้สูงอายุอาจซึมลง (เช่นเมื่อก่อน นั่ง เดิน พูดคุยได้ หลังจากนั้น นอนอยู่เฉยๆ หรือไม่ยอมพูด ไม่ยอมรับประทานอาหารครับ) และในผู้สูงอายุอาจไม่มีไข้ก็ได้ครับ
เมื่อใดที่คุณควรไปพบแพทย์
ทุกคนที่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเท่าไหร่ก็ไม่สุดควรไปพบแพทย์ในห้องฉุกเฉินครับ อาการเหนื่อยนี้มีความหมายว่า พยายามหายใจเท่าไหร่ก็ไม่สุด หายใจเท่าไหร่ก็ไม่พอ
อาการของปอดอักเสบจะรุนแรงมากขึ้นถ้า
•มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
•มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เช่น ติดเชื้อ HIV หรือ มีการใช้ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม อยู่เป็น
ประจำ หรือผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ
•เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอยู่เดิม เช่น โรคหอบหืด และผู้สูบบุหรี่
•ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยสูงอายุ
แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้…
แม้ว่าปอดอักเสบจะสามารถทำการวินิจฉัยได้ด้วยการฟังปอด ซึ่งสามารถฟังได้ครับว่ามีการติดเชื้ออยู่บริเวณใด แต่แพทย์ก็อาจตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้เพื่อประเมินความรุนแรงครับ
•การวัดระดับออกซิเจนจากปลายนิ้ว หน้าตาของเครื่องมือตัวนี้ก็คล้ายกับที่หนีบผ้าดีๆนี่แหละครับ แต่เอามาสวมนิ้วเราแทน คลิ้กที่นี่
•การเอกซ์เรย์ปอด ก็จะช่วยบอกได้ว่ามีการติดเชื้อที่ส่วนใด ซึ่งสามารถชี้ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อได้ครับ
ภาพทางซ้าย เป็น เอกซ์เรย์ปอดปกติ เงาที่อยู่ตรงกลางคือเงาของหัวใจ ซึ่งตามปกติเนื้อปอดในภาพเอกซเรย์ควรเป็นสีดำ (อากาศจะเห็นเป็นสีดำ)
ส่วนภาพทางขวา จะเห็นว่ามีส่วนที่เนื้อปอดที่เป็นสีขาว นั่นคือส่วนที่มีการติดเชื้อ
•การเจาะเลือด เป็นการเจาะดูว่าร่างกายได้มีการต่อสู้กับเชื้อโรคประเภทใดครับ และดูว่าคุณมีเม็ดเลือดแดงเพียงพอหรือไม่ที่จะขนส่งออกซิเจน
•บางครั้งแพทย์อาจมีการเจาะเลือดที่เส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณข้อมือ ซึ่งเป็นการตรวจระดับออกซิเจนในเลือดครับ ซึ่งจะบอกว่าปอดทำงานได้ดีแค่ไหน
•การตรวจเสมหะ เพื่อดูว่าเชื้อโรคที่อยู่ข้างในปอดนั้นเป็นเชื้อโรคชนิดใด จะได้ให้ยาอย่างถูกต้องและตรงกับเชื้อครับ
การดูแลตนเองที่บ้าน
ถ้าคุณสงสัยโรคปอดอักเสบ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะไม่มีการรักษาด้วยตนเองสำหรับโรคปอดอักเสบครับ เพราะมันอันตรายถึงชีวิต แม้ว่าการรับประทานยาแก้ไข้ พาราเซตตามอล หรือ ยาแก้ไอ หรือยาขับเสมหะจะช่วยบรรเทาอาการลงก็ตาม แต่สิ่งที่คุณควรทำคือไปพบแพทย์ก่อนเสมอครับ เพื่อให้แพทย์ประเมิน ถ้าประเมินแล้วอาการไม่รุนแรง อาจให้ยาไปรับประทานที่บ้าน แต่ถ้าอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลครับ
การรักษาที่บ้าน
ภายหลังจากที่แพทย์ประเมินอาการแล้วว่า สามารถกลับไปรักษาต่อที่บ้านให้ปฎิบัติดังนี้ครับ
ดื่มน้ำมากๆ นั่นเป็นเพราะว่าน้ำ ช่วยในการขับเสมหะครับ และจะทำให้เสมหะเหนียวน้อยลง
ปล. เราหาอ่านพอดีเลย
แสดงความคิดเห็น
[สงสัยค่ะ?] ว่าด้วยเรื่องปอดติดเชื้อ วอนผู้รู้อธิบายข้อสงสัยของดิฉันหน่อยค่ะ