Nokia และ SK Telecom ร่วมกันโชว์ความสามารถเครือข่าย LTE ในเกาหลีใต้ สามารถส่งไฟล์ 5GB ได้ภายใน 11 วินาที


หลายๆ คนยังคงงงกับเรื่องซื้อขายกิจการอยู่บ้าง ถึงแม้ว่า Nokia จะได้ขายกิจการไปแล้วแต่ก็ได้ขายเพียงแผนกฮาร์ดแวร์และบริการไปเท่านั้น ซึ่งยังเหลือแผนกของทางด้านเน็ตเวิร์คเครือข่ายและบริการ Here ไว้บริหารด้วยตนเองอยู่

และหนึ่งในนั้นคือ Nokia Solutions and Networks เป็นธุรกิจเครือข่ายทั้งขายและให้เช่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายรวมไปถึงการวิจัยเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย ล่าสุด Nokia และ SK Telecom ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้ร่วมมือกันทดสอบการส่งไฟล์ที่ความเร็ว 3.78 Gbps บนโครงข่าย LTE ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่สามารถส่งไฟล์ 5GB ใช้เวลาไปเพียง 11 วินาที


ทีมวิจัยจาก Nokia และ SK Telecom ได้ทดสอบเครือข่ายเพื่อโชว์ความสามารถของ LTE ที่ความเร็ว 3.78 Gbps ซึ่งสามารถส่งไฟล์ 5GB ได้ในเวลา 11 วินาที ซึ่งมีความสามารถหลายเท่าของเทคโนโลยีปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี LTE นั้นมีความเร็วสูงสุดที่ 300 Mbps เท่านั้นเอง (มาตรฐาน 4G LTE-A )

จากการทดสอบครั้งนี้ได้ใช้เทคโนโลยี Single RAN ของ Nokia ที่ประกอบไปด้วย Flexi Multiradio จำนวน 10 สถานีฐาน, การปรับแต่งทางด้านซอฟต์แวร์ และการรวมเทคโนโลยี LTE-Advance MIMO (Multiple Input Multiple Output)  ส่งผลให้สามารถส่งข้อมูลขนาด 5GB หรือเทียบเท่าหนังความระเอียดระดับ HD 1 เรื่อง ใช้เวลาไป 11 วินาที โดยทดสอบผ่านคลื่นความถี่กว้าง 200 MHz ใช้ความถี่ย่านรวม 10 ย่าน รวมทั้งแบบ FDD และ TDD เข้าด้วยกันทำให้ผลลักธ์ความเร็วในการส่งออกมาสูงถึง 3.78 Gpbs ดังที่เห็น

สำหรับการส่งข้อมูลแบบ FDD นั้นเป็นการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่แยกใช้ความถี่ หรือใช้ถนนคนละเลนนั่นเอง ทำให้การส่งข้อมูลได้รวดเร็วและสะดวกกว่า แต่มันก็มีข้อเสียงคือการที่ใช้เส้นทางบางเส้นทางอาจจะเต็ม แต่อีกเส้นทางมัน่วางทำให้การทำงานไม่เสถียรนั่นเอง และหลังจากนั้นก็มีการคิดค้นเทคโนโลยีการส่งแบบใหม่นั่นก็คือแบบ TDD แต่เท่าที่ทราบคือประเทศไทยใช้เทคโนโลยีแบบ FDD ทั้งนั้น

TDD เป็นการส่งข้อมูลแบบนั้นจะใช้ความถี่เดียวกันทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลด เสมือนกับใช้ถนนเส้นเดียวกัน แต่สามารถแซงซ้ายขวาได้ ทำให้ข้อมูลส่งต่อแบบไม่ติดขัด ถึงแม้ว่าคันหน้าจะขับช้าก็แซงไปได้ แต่ในแง่ของเทคโนโลยีผู้ใช้จะไม่ทราบเลยว่าข้อมูลมันจะสลับไปมาเพราะมันเร็วจริงๆ แต่อย่างไรก็ดีมันมีข้อดีคือใช้ความถี่เพียงย่านเดียว แต่ข้อเสียคือความเร็วอาจจะแบบ FDD ไม่ได้ แต่เสถียรกว่า

แต่ในทางทฤษฎีนั้นการทดสอบนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีความถี่ที่กว้างถึง 200 MHz ที่ต้องนำมาให้บริการ เพราะมันเต็มไปหมดแล้ว ทางแก้ไขคือต้องใช้ความถี่ย่านที่ว่างซึ่งก็มีแต่ช่องความถี่สูงๆ แต่ข้อเสียมันก็มีเหมือนกันคือ ย่านความถี่ที่สูงนั้นมันจะสามารถส่งข้อมูลได้ไม่ไกล ซึ่งหลักฟิสิกส์บอกไว้วาง คลื่นความถี่ยิ่งต่ำก็สามารถเดินทางได้ไกล ส่วนคลื่นความถี่ที่สูงก็จะเดินทางได้ใกล้ตามลำดับ ซึ่งในเวลานี้ในโลกเราคลื่นความถี่ก็ใช้ไปเยอะมากแล้ว หลากหลายเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความถี่โดยเฉพาะทางด้านโทรคมนาคม

ซึ่งมันก็มีวิธีแก้ต่างๆ ที่งัดมาใช้คือถึงแม้ว่าจะใช้ความถี่ย่านที่สูงก็ผนวกรวมกับเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย เช่น Beamforming ที่ช่วยให้สามารถยิงสัญญาณเป็นเส้นตรง และสามารถเร่งความแรงของสัญญาณให้แรงได้มากขึ้น ซึ่งก็สามารถช่วยได้นิดหน่อย แต่ก็ไม่สู้กับการใช้ความถี่ที่ต่ำ

โดยเทคโนโลยี LTE Advance นั้นเป็นการรวมย่านความถี่หลายๆ ย่านเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ช่องความถี่ที่ติดกัน ดังนั้นสามารถทำให้สามารถรวมคลื่นที่มีอยู่เข้าด้วยกันได้ ทำให้แบนด์วิธีมากขึ้น

ซึ่งในปัจจุบัน 4G LTE นั้นที่ใช้กันอยู่สูงสุดคือ Category 6 ในมาตรฐาน 4G LTE-A ที่สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 300 Mbps ซึ่งเปิดใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปลายปี 2013 ที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าเทคโนโลยีก่อนหน้า Category 4 ถึงสองเท่า (150 Mbps) ส่วนประเทศไทย Dtac และ True ที่เปิดให้ใช้บริการ 4G ใน Category 3 ระดับธรรมดาเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ดีกว่าจะเห็นการใช้งานจริงของ 4G TLE Advance ก็คงต้องรออีกหลายปี กว่าเทคโนโลยีต่างๆ จะรองรับเพราะปัจจุบันสมาร์ทโฟนและอุปรกรณ์อื่นๆ พึ่งถึงขึ้น 300 Mbps เท่านั้น

ที่มา - Pocket-lint ผ่าน Windows Motion
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่