‘ภูฏาน’ เป็นทริปที่รวบรวมความเป็นที่สุดไว้ด้วยกัน
หนึ่ง ตัดสินใจเร็วที่สุด เราใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงในการตัดสินใจไปเที่ยวภูฏาน แบบว่านั่งดูโปรแกรมทัวร์ตอน 2 ทุ่ม วันรุ่งขึ้นประมาณบ่ายโมงก็โอนเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าแทบจะไม่ได้เปรียบเทียบราคาหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมอะไรเลย
สอง มีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุด (สำหรับทริปต่างประเทศ) ตอนที่เราจองทัวร์เป็นอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม แล้ววันเดินทางก็คือช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้เรามีเวลาเตรียมตัวไม่ถึง 3 อาทิตย์ โชคดีอย่างหนึ่งที่ทริปนี้เป็นการเดินทางไปกับทัวร์ เราก็เลยไม่ต้องวางแผนอะไรมาก แต่ปัญหาสำคัญก็คือช่วงที่เราไปภูฏานเป็นฤดูใบไม้ผลิของที่นั่น อากาศจะประมาณ 5-15 องศา (ทุกวันนี้แค่ทำงานในห้องแอร์ 23 องศา เราก็แย่แล้ว) ขณะที่เมืองไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนที่ร้อนแบบสุดๆ การหาซื้อเสื้อกันหนาวแบบดีๆ และถูกใจก็เลยยากเป็นพิเศษ แล้วเราก็ไม่เคยไปประเทศหนาวมาก่อนซะด้วย ทุกอย่างก็เลยเหมือนเริ่มต้นใหม่หมด กว่าจะหาเสื้อผ้าได้ครบก็เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน
สาม เป็นทริปที่แพงที่สุดในชีวิต และถ้าเทียบกับระยะเวลา 5 วันแล้วก็ถือว่าแพงมาก การที่รัฐบาลภูฏานกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับนักท่องเที่ยวไว้เป็นมาตราฐานทำให้ราคาทัวร์ของแต่ละบริษัทไม่ต่างกันมาก (ถ้าเทียบกับโปรแกรมทัวร์ที่คล้ายๆ กัน) หลายคนอาจจะสงสัยว่าที่ว่าแพงนั้นเท่าไหร่กันแน่ เอาเป็นว่าทริปหลวงพระบาง 5 วัน ทริปมาเก๊า-ฮ่องกง 4 วัน ทริปพม่า 4 วัน ทริปนครวัด 2 วัน แล้วก็ทริปเวียดนามกลาง-ใต้ 5 วัน รวมกันแล้วยังไม่ได้ค่าทัวร์ของทริปภูฏานหนึ่งทริป เรียกได้ว่าต้องทุบกระปุกไปกันเลยทีเดียว
สี่ เป็นทริปที่ประทับใจที่สุด ไม่แน่ใจว่าความประทับใจผันแปรตามราคารึเปล่า แต่เราประทับใจจริงๆ ขนาดว่ากลับมา 2 เดือนแล้วก็ยังอยากจะกลับไปเที่ยวที่นี่อีก ตอนที่จองทัวร์แรกๆ เราก็กังวลเหมือนกัน กลัวว่าจะไม่สนุกเพราะว่าเดินทางคนเดียว แต่พอไปจริงๆ แล้วสนุกมาก เรา enjoy แบบสุดๆ จนมีคนคิดว่าเราเป็นไกด์ ภูฏานมีเสน่ห์ทั้งด้านทางสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม แล้วก็ธรรมชาติ สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือชุดแต่งกายประจำชาติ นอกจากนี้เรายังโชคดีที่มีเพื่อนร่วมเดินทางที่น่ารักมากๆ
ทริปนี้เราเดินทางโดยสารการบินดรุ๊กแอร์ สายบินแห่งชาติของภูฏาน ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิประมาณตี 5 ถึงสนามบินนานาชาติพาโร ซึ่งเป็นสนามบินแห่งเดียวของภูฏานเวลา 6.45 น. (เวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) อากาศเช้าวันนั้นราวๆ ซัก 7-8 องศา อากาศเย็นแต่ไม่หนาวมากเท่ากับตอนที่อยู่บนเครื่อง สำหรับกิจกรรมแรกที่นักท่องเที่ยวทุกคนทำหลังจากที่ลงเครื่องก็คือการถ่าย รูป แบบว่าแค่สนามบินก็ได้กันไปหลายรูปแล้ว
ก่อนที่จะเดินทางมาภูฏาน เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสนามบินนานาชาติพาโรมาพอสมควร เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของที่นี่เต็มไปด้วยภูเขา พื้นที่ราบที่จะสร้างสนามบินจึงมีน้อย สนามบินนานาชาติพาโรก็เลยติดอันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก การนำเครื่องบินลงจอดต้องอาศัยนักบินที่มีความสามารถและประสบการณ์จริงๆ แต่สำหรับเรามันก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรมาก อาจจะเป็นเพราะว่าเราให้ความสนใจกับวิวภูเขาที่สลับซับซ้อนไปมาและเพลงพื้นเมืองที่สายการบินเปิดอยู่มากกว่าก็เป็นได้
เมื่อเข้ามาภายในตัวอาคารผู้โดยสารเราจะเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์วังชุกทั้ง 5 พระองค์เป็นอันดับแรก สนามบินนานาชาติพาโรเป็นสนามบินขนาดเล็ก ถ้าเทียบกับสนามบินที่เราเคยใช้บริการมา (ไม่กี่แห่ง) ที่นี่มีขนาดเล็กที่สุดรองจากสนามบินเว้ของเวียดนาม
หลังจากผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองและแลกเงินกันเรียบร้อยแล้ว เราก็ออกมายังรถบัสซึ่งจอดรออยู่ด้านนอก จากสนามบินเราจะไปรับประทานอาหารเช้ากันที่ร้านอาหารในตัวเมืองพาโร จริงๆ แล้วบนเครื่องก็มีอาหารบริการ แต่เราขอผ่านหลังจากลองชิมไปได้แค่คำเดียว เพราะมันมีกลิ่นเครื่องเทศ แต่ก็ได้โยเกิร์ตกับขนมปังรองท้องมาเล็กน้อย สำหรับของที่เสิร์ฟบนเครื่องที่หลายคนพูดตรงกันว่าอร่อยก็คือน้ำแอปเปิ้ล
แม้ว่าพาโรจะเป็นเหมือนประตูบานแรกที่เปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศภูฏาน แต่ตัวเมืองพาโรก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่อะไรมาก ถือเป็นเมืองเล็กๆ ที่น่ารักก็ว่าได้ ช่วงที่เราไปถึงร้านรวงต่างๆ ยังไม่เปิดบริการเท่าไหร่นัก
ร้านอาหารของพวกเราอยู่บนชั้น 2 ของอาคารเช่นเดียวกับร้านอาหารที่ภูฏานส่วนใหญ่ ช่วงที่เราไปถึงเป็นช่วงที่ประชากรนักท่องเที่ยวยังไม่เยอะมาก มีเพืยงชาวตะวันตก 2-3 โต๊ะเท่านั้น มื้อแรกของเราที่ภูฏานก็คือข้าวต้ม ข้าวผัด ผัดผัก แล้วก็แตงโม ด้วยความที่อาหารบนเครื่องเปิดตัวด้วยความประทับใจสุดๆ มื้อนี้เราก็เลยต้องสงวนท่าทีไว้ก่อน แต่หลังจากที่ลองชิมแล้วปรากฏว่าข้าวต้มซึ่งทำจากข้าวแดง อร่อยมาก เราไม่แน่ใจว่ามีการใส่ชีสไปด้วยรึเปล่า เพราะรสชาติมันๆ คล้ายกะทิ ส่วนข้าวผัดนั้นแข็งไปหน่อย
วันที่เราไปถึงภูฏานตรงกับวันแรกของเทศกาลระบำหน้ากากเมืองพาโร หรือ Paro Tsechu พอดี เราก็เลยโชคดีได้ร่วมงานเทศกาลประจำปีของที่นี่ด้วย เทศกาลระบำหน้ากากจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงท่านคุรุรินโปเช ซึ่งแต่ละเมืองจะจัดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
ระหว่างทางเดินที่จะไปชมเทศกาลระบำหน้ากากที่จัดขึ้นบริเวณลานใกล้ๆ กับพาโร รินปุง ซอง เราจะเห็นชาวภูฏานทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมไปถึงเด็กตัวเล็กๆ พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดประจำชาติสีสันสดใส ชุดประจำชาติของผู้ชายเรียกว่า โก (Kho) ส่วนชุดของผู้หญิงจะเรียกว่า คีร่า (Kira)
เราใช้เวลาอยู่ที่ลานแสดงเกือบ 3 ชั่วโมงก็เลยสามารถเก็บภาพบรรยากาศต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่ว่าเราไม่ค่อยได้สนใจการแสดงระบำหน้ากากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเดินไปเดินมาเพื่อถ่ายรูปเด็กๆ มากกว่า เทศกาลระบำหน้ากากถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญของภูฏาน วันนี้ก็เลยมีบุคคลสำคัญมาร่วมงานด้วย และเราก็มีโอกาสได้ไปยืนใกล้ๆ กับขบวนรับเสด็จฯ แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ตอนแรกเราก็ไม่รู้เหมือนว่าเป็นใคร แต่มารู้ทีหลังว่าเป็นขบวนเสด็จฯ ของอดีตพระราชินี หรือ Queen Mother ซึ่งเป็นป้าของกษัตริย์จิกมี่
หลังจากเก็บภาพบรรยากาศต่างๆ จนพอใจและเริ่มรู้สึกว่าร้อนแล้ว เราก็ไปเดินเล่นต่อในพาโร รินปุง ซอง แบบงงๆ เพราะว่าต่างคนไปต่างไป เรียกได้ว่ากลุ่มที่มาด้วยกันกระจัดกระจายกันสุดๆ แต่ก็ดีที่อิสระไปอีกแบบ
ด้านในของพาโร รินปุง ซอง สวยงามเหมือนที่คิดไว้ แต่ความกว้างและความสูงของตัวอาคารนั้นเกินกว่าความสามารถของกล้องเราจะเก็บมาได้หมด สุดท้ายก็เลยได้แต่เก็บภาพไว้ในความทรงจำเท่านั้น
เนื่องจากวันที่เราไปภูฏานตรงกับช่วงเทศกาลของท้องถิ่นและยังตรงกับวันหยุดยาวของไทย นักท่องเที่ยวก็เลยเยอะกว่าปกติ ไกด์ชาวภูฏานเลยไม่สามารถแจ้งเวลาที่จะเจอกันได้ก่อนที่พวกเราจะสลายตัว เพราะต้องโทรเช็คกับทางร้านอาหารก่อน วันนั้นพวกเราก็เลยต้องรอสมาชิกกันนานเป็นพิเศษกว่าจะครบองค์ประชุม
เราเดินตามครอบครัวที่น่ารักครอบครัวหนึ่งมายืนรอคนอื่นๆ ที่ลานจอดรถ ระหว่างนั้นก็สังเกตคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นไปด้วย จะว่าหิวก็หิว จะว่าเพลินก็เพลิน แต่ที่ชอบที่สุดก็คือการนั่งมองแฟชั่นของหนุ่มสาวที่นี่ โดยเฉพาะหนุ่มๆ ชาวภูฏานที่นิยมสวมแว่นตาดำยี่ห้อ Ray-Ban บางคนมองผ่านๆ นึกว่าพระเอกฮ่องกงสวมชุดโกซะอีก
พวกเรากลับไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านเดิม (ร้านเดียวกับตอนเช้า) มื้อนี้หลายคนต้องเริ่มหันมาพึ่งพาน้ำพริกตาแดง เพื่อให้เจริญอาหารขึ้น รวมถึงตัวเราด้วย และที่ร้านนี้เราก็ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ขาดน้ำเป็นครั้งแรก เพราะน้ำไม่ไหล ทำให้พวกเราต้องตักน้ำจากหน้าห้องน้ำเข้าไปทีละถังๆ ห้องน้ำที่ร้านอาหารในภูฏานจะมีแค่ 2 ห้อง ผู้ชายและผู้หญิงอย่างละหนึ่งห้อง แต่แถวผู้หญิงมักจะยาวกว่าเสมอ สุดท้ายห้องน้ำชายก็ถูกยึดไปในที่สุด
หลังจากอาหารกลางวันเราเดินทางต่อไปยังกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน ใช้เวลาประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง ระหว่างทางเราได้แวะชมวิวที่จุดชมวิววัดตัมชู ซึ่งมีสะพานโซ่ที่เก่าแก่เป็นเอกลักษณ์ เส้นทางระหว่างพาโรและทิมพูจะมีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านตลอด ความรู้สึกตอนนี้เราไม่รู้จะอธิบายยังไงดี มันชิลล์บอกไม่ถูก โดยเฉพาะตอนที่เราเปิดเพลงคลอไปด้วย อากาศเย็นๆ กับเพลงฟังสบายๆ ฟินสุดๆ
ทิมพูน่าจะเป็นเมืองหลวงที่เงียบสงบแล้วก็น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อากาศช่วงเย็นของวันนี้ประมาณ 5 องศา อากาศดีเหมาะกับการเดินเล่นชมเมืองมากๆ โชคดีที่โรงแรมที่เราพักอยู่ใจกลางเมือง เราก็เลยออกมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศได้อย่างสบายๆ
อากาศเย็นๆ เดินเล่น(คนเดียว)แบบชิลล์ๆ ก็สนุกไปอีกแบบ ในย่านช็อบปิ้งของเมืองทิมพู เราจะเห็นวัยรุ่นใส่กางเกงยีนส์กับรองเท้าบูทเดินไปเดินมาอยู่หลายกลุ่ม ตอนแรกเราคิดว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี แต่จริงๆ แล้วพวกเธอคือสาวๆ ชาวภูฏานนั่นเอง
Part II: http://ppantip.com/topic/32202027
[CR] ภูฏาน...กาลครั้งหนึ่ง บันทึกการเดินทางสั้นๆ ในดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า [Part I]
หนึ่ง ตัดสินใจเร็วที่สุด เราใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงในการตัดสินใจไปเที่ยวภูฏาน แบบว่านั่งดูโปรแกรมทัวร์ตอน 2 ทุ่ม วันรุ่งขึ้นประมาณบ่ายโมงก็โอนเงินมัดจำเรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าแทบจะไม่ได้เปรียบเทียบราคาหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมอะไรเลย
สอง มีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุด (สำหรับทริปต่างประเทศ) ตอนที่เราจองทัวร์เป็นอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม แล้ววันเดินทางก็คือช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้เรามีเวลาเตรียมตัวไม่ถึง 3 อาทิตย์ โชคดีอย่างหนึ่งที่ทริปนี้เป็นการเดินทางไปกับทัวร์ เราก็เลยไม่ต้องวางแผนอะไรมาก แต่ปัญหาสำคัญก็คือช่วงที่เราไปภูฏานเป็นฤดูใบไม้ผลิของที่นั่น อากาศจะประมาณ 5-15 องศา (ทุกวันนี้แค่ทำงานในห้องแอร์ 23 องศา เราก็แย่แล้ว) ขณะที่เมืองไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนที่ร้อนแบบสุดๆ การหาซื้อเสื้อกันหนาวแบบดีๆ และถูกใจก็เลยยากเป็นพิเศษ แล้วเราก็ไม่เคยไปประเทศหนาวมาก่อนซะด้วย ทุกอย่างก็เลยเหมือนเริ่มต้นใหม่หมด กว่าจะหาเสื้อผ้าได้ครบก็เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน
สาม เป็นทริปที่แพงที่สุดในชีวิต และถ้าเทียบกับระยะเวลา 5 วันแล้วก็ถือว่าแพงมาก การที่รัฐบาลภูฏานกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับนักท่องเที่ยวไว้เป็นมาตราฐานทำให้ราคาทัวร์ของแต่ละบริษัทไม่ต่างกันมาก (ถ้าเทียบกับโปรแกรมทัวร์ที่คล้ายๆ กัน) หลายคนอาจจะสงสัยว่าที่ว่าแพงนั้นเท่าไหร่กันแน่ เอาเป็นว่าทริปหลวงพระบาง 5 วัน ทริปมาเก๊า-ฮ่องกง 4 วัน ทริปพม่า 4 วัน ทริปนครวัด 2 วัน แล้วก็ทริปเวียดนามกลาง-ใต้ 5 วัน รวมกันแล้วยังไม่ได้ค่าทัวร์ของทริปภูฏานหนึ่งทริป เรียกได้ว่าต้องทุบกระปุกไปกันเลยทีเดียว
สี่ เป็นทริปที่ประทับใจที่สุด ไม่แน่ใจว่าความประทับใจผันแปรตามราคารึเปล่า แต่เราประทับใจจริงๆ ขนาดว่ากลับมา 2 เดือนแล้วก็ยังอยากจะกลับไปเที่ยวที่นี่อีก ตอนที่จองทัวร์แรกๆ เราก็กังวลเหมือนกัน กลัวว่าจะไม่สนุกเพราะว่าเดินทางคนเดียว แต่พอไปจริงๆ แล้วสนุกมาก เรา enjoy แบบสุดๆ จนมีคนคิดว่าเราเป็นไกด์ ภูฏานมีเสน่ห์ทั้งด้านทางสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม แล้วก็ธรรมชาติ สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือชุดแต่งกายประจำชาติ นอกจากนี้เรายังโชคดีที่มีเพื่อนร่วมเดินทางที่น่ารักมากๆ
ทริปนี้เราเดินทางโดยสารการบินดรุ๊กแอร์ สายบินแห่งชาติของภูฏาน ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิประมาณตี 5 ถึงสนามบินนานาชาติพาโร ซึ่งเป็นสนามบินแห่งเดียวของภูฏานเวลา 6.45 น. (เวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) อากาศเช้าวันนั้นราวๆ ซัก 7-8 องศา อากาศเย็นแต่ไม่หนาวมากเท่ากับตอนที่อยู่บนเครื่อง สำหรับกิจกรรมแรกที่นักท่องเที่ยวทุกคนทำหลังจากที่ลงเครื่องก็คือการถ่าย รูป แบบว่าแค่สนามบินก็ได้กันไปหลายรูปแล้ว
ก่อนที่จะเดินทางมาภูฏาน เราจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสนามบินนานาชาติพาโรมาพอสมควร เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของที่นี่เต็มไปด้วยภูเขา พื้นที่ราบที่จะสร้างสนามบินจึงมีน้อย สนามบินนานาชาติพาโรก็เลยติดอันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก การนำเครื่องบินลงจอดต้องอาศัยนักบินที่มีความสามารถและประสบการณ์จริงๆ แต่สำหรับเรามันก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรมาก อาจจะเป็นเพราะว่าเราให้ความสนใจกับวิวภูเขาที่สลับซับซ้อนไปมาและเพลงพื้นเมืองที่สายการบินเปิดอยู่มากกว่าก็เป็นได้
เมื่อเข้ามาภายในตัวอาคารผู้โดยสารเราจะเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์วังชุกทั้ง 5 พระองค์เป็นอันดับแรก สนามบินนานาชาติพาโรเป็นสนามบินขนาดเล็ก ถ้าเทียบกับสนามบินที่เราเคยใช้บริการมา (ไม่กี่แห่ง) ที่นี่มีขนาดเล็กที่สุดรองจากสนามบินเว้ของเวียดนาม
หลังจากผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองและแลกเงินกันเรียบร้อยแล้ว เราก็ออกมายังรถบัสซึ่งจอดรออยู่ด้านนอก จากสนามบินเราจะไปรับประทานอาหารเช้ากันที่ร้านอาหารในตัวเมืองพาโร จริงๆ แล้วบนเครื่องก็มีอาหารบริการ แต่เราขอผ่านหลังจากลองชิมไปได้แค่คำเดียว เพราะมันมีกลิ่นเครื่องเทศ แต่ก็ได้โยเกิร์ตกับขนมปังรองท้องมาเล็กน้อย สำหรับของที่เสิร์ฟบนเครื่องที่หลายคนพูดตรงกันว่าอร่อยก็คือน้ำแอปเปิ้ล
แม้ว่าพาโรจะเป็นเหมือนประตูบานแรกที่เปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศภูฏาน แต่ตัวเมืองพาโรก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่อะไรมาก ถือเป็นเมืองเล็กๆ ที่น่ารักก็ว่าได้ ช่วงที่เราไปถึงร้านรวงต่างๆ ยังไม่เปิดบริการเท่าไหร่นัก
ร้านอาหารของพวกเราอยู่บนชั้น 2 ของอาคารเช่นเดียวกับร้านอาหารที่ภูฏานส่วนใหญ่ ช่วงที่เราไปถึงเป็นช่วงที่ประชากรนักท่องเที่ยวยังไม่เยอะมาก มีเพืยงชาวตะวันตก 2-3 โต๊ะเท่านั้น มื้อแรกของเราที่ภูฏานก็คือข้าวต้ม ข้าวผัด ผัดผัก แล้วก็แตงโม ด้วยความที่อาหารบนเครื่องเปิดตัวด้วยความประทับใจสุดๆ มื้อนี้เราก็เลยต้องสงวนท่าทีไว้ก่อน แต่หลังจากที่ลองชิมแล้วปรากฏว่าข้าวต้มซึ่งทำจากข้าวแดง อร่อยมาก เราไม่แน่ใจว่ามีการใส่ชีสไปด้วยรึเปล่า เพราะรสชาติมันๆ คล้ายกะทิ ส่วนข้าวผัดนั้นแข็งไปหน่อย
วันที่เราไปถึงภูฏานตรงกับวันแรกของเทศกาลระบำหน้ากากเมืองพาโร หรือ Paro Tsechu พอดี เราก็เลยโชคดีได้ร่วมงานเทศกาลประจำปีของที่นี่ด้วย เทศกาลระบำหน้ากากจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงท่านคุรุรินโปเช ซึ่งแต่ละเมืองจะจัดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
ระหว่างทางเดินที่จะไปชมเทศกาลระบำหน้ากากที่จัดขึ้นบริเวณลานใกล้ๆ กับพาโร รินปุง ซอง เราจะเห็นชาวภูฏานทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมไปถึงเด็กตัวเล็กๆ พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดประจำชาติสีสันสดใส ชุดประจำชาติของผู้ชายเรียกว่า โก (Kho) ส่วนชุดของผู้หญิงจะเรียกว่า คีร่า (Kira)
เราใช้เวลาอยู่ที่ลานแสดงเกือบ 3 ชั่วโมงก็เลยสามารถเก็บภาพบรรยากาศต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่ว่าเราไม่ค่อยได้สนใจการแสดงระบำหน้ากากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเดินไปเดินมาเพื่อถ่ายรูปเด็กๆ มากกว่า เทศกาลระบำหน้ากากถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญของภูฏาน วันนี้ก็เลยมีบุคคลสำคัญมาร่วมงานด้วย และเราก็มีโอกาสได้ไปยืนใกล้ๆ กับขบวนรับเสด็จฯ แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ตอนแรกเราก็ไม่รู้เหมือนว่าเป็นใคร แต่มารู้ทีหลังว่าเป็นขบวนเสด็จฯ ของอดีตพระราชินี หรือ Queen Mother ซึ่งเป็นป้าของกษัตริย์จิกมี่
หลังจากเก็บภาพบรรยากาศต่างๆ จนพอใจและเริ่มรู้สึกว่าร้อนแล้ว เราก็ไปเดินเล่นต่อในพาโร รินปุง ซอง แบบงงๆ เพราะว่าต่างคนไปต่างไป เรียกได้ว่ากลุ่มที่มาด้วยกันกระจัดกระจายกันสุดๆ แต่ก็ดีที่อิสระไปอีกแบบ
ด้านในของพาโร รินปุง ซอง สวยงามเหมือนที่คิดไว้ แต่ความกว้างและความสูงของตัวอาคารนั้นเกินกว่าความสามารถของกล้องเราจะเก็บมาได้หมด สุดท้ายก็เลยได้แต่เก็บภาพไว้ในความทรงจำเท่านั้น
เนื่องจากวันที่เราไปภูฏานตรงกับช่วงเทศกาลของท้องถิ่นและยังตรงกับวันหยุดยาวของไทย นักท่องเที่ยวก็เลยเยอะกว่าปกติ ไกด์ชาวภูฏานเลยไม่สามารถแจ้งเวลาที่จะเจอกันได้ก่อนที่พวกเราจะสลายตัว เพราะต้องโทรเช็คกับทางร้านอาหารก่อน วันนั้นพวกเราก็เลยต้องรอสมาชิกกันนานเป็นพิเศษกว่าจะครบองค์ประชุม
เราเดินตามครอบครัวที่น่ารักครอบครัวหนึ่งมายืนรอคนอื่นๆ ที่ลานจอดรถ ระหว่างนั้นก็สังเกตคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นไปด้วย จะว่าหิวก็หิว จะว่าเพลินก็เพลิน แต่ที่ชอบที่สุดก็คือการนั่งมองแฟชั่นของหนุ่มสาวที่นี่ โดยเฉพาะหนุ่มๆ ชาวภูฏานที่นิยมสวมแว่นตาดำยี่ห้อ Ray-Ban บางคนมองผ่านๆ นึกว่าพระเอกฮ่องกงสวมชุดโกซะอีก
พวกเรากลับไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านเดิม (ร้านเดียวกับตอนเช้า) มื้อนี้หลายคนต้องเริ่มหันมาพึ่งพาน้ำพริกตาแดง เพื่อให้เจริญอาหารขึ้น รวมถึงตัวเราด้วย และที่ร้านนี้เราก็ต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ขาดน้ำเป็นครั้งแรก เพราะน้ำไม่ไหล ทำให้พวกเราต้องตักน้ำจากหน้าห้องน้ำเข้าไปทีละถังๆ ห้องน้ำที่ร้านอาหารในภูฏานจะมีแค่ 2 ห้อง ผู้ชายและผู้หญิงอย่างละหนึ่งห้อง แต่แถวผู้หญิงมักจะยาวกว่าเสมอ สุดท้ายห้องน้ำชายก็ถูกยึดไปในที่สุด
หลังจากอาหารกลางวันเราเดินทางต่อไปยังกรุงทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน ใช้เวลาประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง ระหว่างทางเราได้แวะชมวิวที่จุดชมวิววัดตัมชู ซึ่งมีสะพานโซ่ที่เก่าแก่เป็นเอกลักษณ์ เส้นทางระหว่างพาโรและทิมพูจะมีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านตลอด ความรู้สึกตอนนี้เราไม่รู้จะอธิบายยังไงดี มันชิลล์บอกไม่ถูก โดยเฉพาะตอนที่เราเปิดเพลงคลอไปด้วย อากาศเย็นๆ กับเพลงฟังสบายๆ ฟินสุดๆ
ทิมพูน่าจะเป็นเมืองหลวงที่เงียบสงบแล้วก็น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อากาศช่วงเย็นของวันนี้ประมาณ 5 องศา อากาศดีเหมาะกับการเดินเล่นชมเมืองมากๆ โชคดีที่โรงแรมที่เราพักอยู่ใจกลางเมือง เราก็เลยออกมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศได้อย่างสบายๆ
อากาศเย็นๆ เดินเล่น(คนเดียว)แบบชิลล์ๆ ก็สนุกไปอีกแบบ ในย่านช็อบปิ้งของเมืองทิมพู เราจะเห็นวัยรุ่นใส่กางเกงยีนส์กับรองเท้าบูทเดินไปเดินมาอยู่หลายกลุ่ม ตอนแรกเราคิดว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี แต่จริงๆ แล้วพวกเธอคือสาวๆ ชาวภูฏานนั่นเอง
Part II: http://ppantip.com/topic/32202027