ศึกหนัก"คสช."ค่าครองชีพพุ่ง "โทลล์เวย์-รถไฟฟ้า-น้ำ-ไฟ"ดาหน้าขึ้นราคา
updated: 14 มิ.ย. 2557 เวลา 09:59:37 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ประชาชนกระอัก ศึกหนัก คสช. "โทลล์เวย์-รถไฟฟ้า-น้ำประปา-ไฟฟ้า" เรียงหน้าขอปรับราคา ใช้ "โทลล์เวย์" จ่ายเพิ่ม 15 บาท เป็น 100 บาท รถไฟฟ้าใต้ดิน-บีทีเอส-บีอาร์ทีไม่น้อยหน้า การประปาเอาด้วยขึ้นค่าน้ำ ส่วนค่าไฟฟ้างวดใหม่เดือน พ.ค.-ส.ค.ใกล้ทะลุ 4 บาท/หน่วย ข้าวถุงขอเพิ่มอ้างต้นทุนขยับ
สัปดาห์ที่สามของการเข้าควบคุมอำนาจรัฐ ฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะสั้น ระยะยาว โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อจัดระบบระเบียบนโยบายและวางมาตรการหลากหลายเรื่อง ในจำนวนนี้บางส่วนมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว อย่างการจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าว การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ)
พิจารณาโครงการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ ที่รอพิจารณาอนุมัติอยู่กว่า 700 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ การรื้อโครงสร้างพลังงาน รื้อภาษี การบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ
ขณะเดียวกันหลังปลดล็อกปัญหาค่าครองชีพ โดยสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เรียกผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคมาขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าออกไป 6 เดือนถึงสิ้นปีแล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าและกำลังจะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่คือ ค่าสาธารณูปโภคทั้งค่าผ่านทางโทลล์เวย์ รถไฟฟ้า น้ำประปา ไฟฟ้า ที่ต้องปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน หรือตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
โทลล์เวย์โขกเพิ่ม 15 บาท
นายสมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง ผู้รับสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 22 ธ.ค.นี้ จะครบกำหนดต้องปรับขึ้นค่าผ่านทางด่วนโทลล์เวย์ ตามสัญญาสัมปทานกับกรมทางหลวง (ทล.) ที่ให้ปรับขึ้นทุก 5 ปี ครั้งนี้จะปรับเพิ่มอีก 15 บาท ตลอดสายทาง จากปัจจุบัน 85 บาท เป็น 100 บาท
"การขึ้นค่าผ่านทางเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน บริษัทจะแจ้งให้กรมทางหลวงทราบล่วงหน้า 30 วัน ก่อนค่าผ่านทางจะมีผลบังคับใช้" (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
3 ก.ค.รถใต้ดินขยับ 1-2 บาท
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.อยู่ระหว่างเสนอ คสช.ขออนุมัติปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินเช่นเดียวกัน เนื่องจาก บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็มซีแอล) ผู้รับสัมปทานเดินรถเสนอขอปรับค่าโดยสารเพิ่มอีกระยะละ 1-2 บาท จาก 16-40 บาท เป็น 16-42 บาท ตามสัญญาที่จะให้ปรับขึ้นทุก 2 ปี จะครบกำหนด 3 ก.ค.นี้ (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
สิ้นปีบีทีเอสจ่อปรับทั้งระบบ
สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ระบุว่า หลังขึ้นค่าโดยสารล่าสุด เมื่อ 1 มิ.ย. 2556 เป็นอัตรา 15-42 บาท ตามสัญญาจะปรับเพิ่มทุก 18 เดือน เมื่อดัชนีผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 5% และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า จะครบกำหนดต้องปรับค่าโดยสารเพิ่มอีกครั้งเดือน ธ.ค. 2557 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล ยังไม่ทราบว่าจะปรับขึ้นเท่าไหร่ แต่ตามเพดานราคาบริษัทสามารถปรับขึ้นได้สูงสุดถึง 56 บาท
ขณะที่รถเมล์บีอาร์ที ปัจจุบัน กทม.ลดราคาลงจากเดิมที่ต้องจัดเก็บ 10 บาท เหลือ 5 บาทตลอดสาย จะสิ้นสุดสิ้นปีนี้ คาดว่าจะกลับมาเก็บ 10 บาทตลอดสายเดือน ม.ค. 2558 ด้วย (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
กปน.ขึ้นค่าน้ำอีกหน่วยละ 1 บาท
นอกจากค่าทางด่วน รถไฟฟ้า รถเมล์บีอาร์ทีแล้ว สาธารณูปโภคหลักอย่างน้ำประปา ไฟฟ้า ก็มีแผนจะขยับราคาขึ้นหลังอั้นมานาน โดยนายธนะศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า กปน.เตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กปน.พิจารณาปรับขึ้นค่าน้ำดิบสำหรับที่อยู่อาศัยอีก 1 บาท/หน่วย จาก 8.50 บาท เป็น 9.50 บาท เนื่องจากในปีงบประมาณ 2558 กปน.มีภาระต้องลงทุนขยายกำลังการผลิตน้ำประปาเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตน้ำเพิ่มขึ้น หลังไม่ได้ปรับขึ้นค่าน้ำมานานถึง 15 ปีเต็ม หากได้รับอนุมัติคาดว่าจะเริ่มปรับค่าน้ำตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป
ค่าไฟขึ้นใกล้ทะลุ 4 บาท/หน่วย
ด้านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ให้ความเห็นชอบปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่า Ft งวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2557 เพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์/หน่วย รวมค่า Ft ทั้งหมดเท่ากับ 69 สตางค์/หน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.27 บาท/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าตามรอบบิลที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 3.96 บาท/หน่วย (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
ข้าวถุงขอตรึงแค่ 3 เดือน
ด้านนายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ.ปทุมไรซ์มิล แอนด์ แกรนารี เปิดเผยว่า สมาชิกให้ความร่วมมือตรึงราคาข้าวถุงต่อไปอีก 6 เดือนตามนโยบาย คสช. แต่ได้แจ้งถึงสถานการณ์การผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวในปัจจุบันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือกที่เริ่มขยับสูงขึ้นอีกตันละ300-500 บาท หลังสิ้นสุดโครงการรับจำนำ จึงยังเหลือสต๊อกข้าวเอกชนที่จะจำหน่ายในราคาเดิมได้อีก 3 เดือน จากนั้นต้องประเมินสถานการณ์การผลิตข้าวเปลือกนาปรังรอบ 2 ที่จะออกช่วงเดือน ก.ค.อีกครั้งว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งหรือไม่
ยันตรึงราคาสินค้าได้ถึงสิ้นปี
นายบุญชัยโชควัฒนา ประธานกรรมการ บมจ.สหพัฒนพิบูล กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การตรึงราคาสินค้าที่ คสช.ขอความร่วมมือไม่กระทบต่อบริษัท แต่จะกระทบกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และอาจมีบางรายฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการสูง สำหรับสหพัฒน์จะยังตรึงราคาไว้ก่อน ยังไม่มีแผนปรับขึ้น เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมผู้บริโภคช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก แม้การขอความร่วมมือตรึงราคาจะได้ผลน้อย เพราะไม่ได้มีบทลงโทษชัดเจน แต่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่จะปรับราคาระมัดระวังขึ้น และเห็นว่าการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและควบคุมราคาพลังงาน ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าระยะยาวได้
อ่านเพิ่มเติมจากลิงค์ค่ะ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402658627
ศึกหนัก"คสช."ค่าครองชีพพุ่ง "โทลล์เวย์-รถไฟฟ้า-น้ำ-ไฟ"ดาหน้าขึ้นราคา (มนุษย์เงินเดือนเตรียมตัวรัดเข็มขัดต่อไปอีกระยะ)
ศึกหนัก"คสช."ค่าครองชีพพุ่ง "โทลล์เวย์-รถไฟฟ้า-น้ำ-ไฟ"ดาหน้าขึ้นราคา
updated: 14 มิ.ย. 2557 เวลา 09:59:37 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ประชาชนกระอัก ศึกหนัก คสช. "โทลล์เวย์-รถไฟฟ้า-น้ำประปา-ไฟฟ้า" เรียงหน้าขอปรับราคา ใช้ "โทลล์เวย์" จ่ายเพิ่ม 15 บาท เป็น 100 บาท รถไฟฟ้าใต้ดิน-บีทีเอส-บีอาร์ทีไม่น้อยหน้า การประปาเอาด้วยขึ้นค่าน้ำ ส่วนค่าไฟฟ้างวดใหม่เดือน พ.ค.-ส.ค.ใกล้ทะลุ 4 บาท/หน่วย ข้าวถุงขอเพิ่มอ้างต้นทุนขยับ
สัปดาห์ที่สามของการเข้าควบคุมอำนาจรัฐ ฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะสั้น ระยะยาว โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อจัดระบบระเบียบนโยบายและวางมาตรการหลากหลายเรื่อง ในจำนวนนี้บางส่วนมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว อย่างการจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าว การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ)
พิจารณาโครงการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ ที่รอพิจารณาอนุมัติอยู่กว่า 700 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ การรื้อโครงสร้างพลังงาน รื้อภาษี การบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ
ขณะเดียวกันหลังปลดล็อกปัญหาค่าครองชีพ โดยสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เรียกผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคมาขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าออกไป 6 เดือนถึงสิ้นปีแล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าและกำลังจะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่คือ ค่าสาธารณูปโภคทั้งค่าผ่านทางโทลล์เวย์ รถไฟฟ้า น้ำประปา ไฟฟ้า ที่ต้องปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน หรือตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
โทลล์เวย์โขกเพิ่ม 15 บาท
นายสมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง ผู้รับสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 22 ธ.ค.นี้ จะครบกำหนดต้องปรับขึ้นค่าผ่านทางด่วนโทลล์เวย์ ตามสัญญาสัมปทานกับกรมทางหลวง (ทล.) ที่ให้ปรับขึ้นทุก 5 ปี ครั้งนี้จะปรับเพิ่มอีก 15 บาท ตลอดสายทาง จากปัจจุบัน 85 บาท เป็น 100 บาท
"การขึ้นค่าผ่านทางเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน บริษัทจะแจ้งให้กรมทางหลวงทราบล่วงหน้า 30 วัน ก่อนค่าผ่านทางจะมีผลบังคับใช้" (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
3 ก.ค.รถใต้ดินขยับ 1-2 บาท
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.อยู่ระหว่างเสนอ คสช.ขออนุมัติปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินเช่นเดียวกัน เนื่องจาก บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็มซีแอล) ผู้รับสัมปทานเดินรถเสนอขอปรับค่าโดยสารเพิ่มอีกระยะละ 1-2 บาท จาก 16-40 บาท เป็น 16-42 บาท ตามสัญญาที่จะให้ปรับขึ้นทุก 2 ปี จะครบกำหนด 3 ก.ค.นี้ (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
สิ้นปีบีทีเอสจ่อปรับทั้งระบบ
สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ระบุว่า หลังขึ้นค่าโดยสารล่าสุด เมื่อ 1 มิ.ย. 2556 เป็นอัตรา 15-42 บาท ตามสัญญาจะปรับเพิ่มทุก 18 เดือน เมื่อดัชนีผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 5% และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า จะครบกำหนดต้องปรับค่าโดยสารเพิ่มอีกครั้งเดือน ธ.ค. 2557 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล ยังไม่ทราบว่าจะปรับขึ้นเท่าไหร่ แต่ตามเพดานราคาบริษัทสามารถปรับขึ้นได้สูงสุดถึง 56 บาท
ขณะที่รถเมล์บีอาร์ที ปัจจุบัน กทม.ลดราคาลงจากเดิมที่ต้องจัดเก็บ 10 บาท เหลือ 5 บาทตลอดสาย จะสิ้นสุดสิ้นปีนี้ คาดว่าจะกลับมาเก็บ 10 บาทตลอดสายเดือน ม.ค. 2558 ด้วย (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
กปน.ขึ้นค่าน้ำอีกหน่วยละ 1 บาท
นอกจากค่าทางด่วน รถไฟฟ้า รถเมล์บีอาร์ทีแล้ว สาธารณูปโภคหลักอย่างน้ำประปา ไฟฟ้า ก็มีแผนจะขยับราคาขึ้นหลังอั้นมานาน โดยนายธนะศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า กปน.เตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กปน.พิจารณาปรับขึ้นค่าน้ำดิบสำหรับที่อยู่อาศัยอีก 1 บาท/หน่วย จาก 8.50 บาท เป็น 9.50 บาท เนื่องจากในปีงบประมาณ 2558 กปน.มีภาระต้องลงทุนขยายกำลังการผลิตน้ำประปาเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตน้ำเพิ่มขึ้น หลังไม่ได้ปรับขึ้นค่าน้ำมานานถึง 15 ปีเต็ม หากได้รับอนุมัติคาดว่าจะเริ่มปรับค่าน้ำตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป
ค่าไฟขึ้นใกล้ทะลุ 4 บาท/หน่วย
ด้านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ให้ความเห็นชอบปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่า Ft งวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2557 เพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์/หน่วย รวมค่า Ft ทั้งหมดเท่ากับ 69 สตางค์/หน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.27 บาท/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าตามรอบบิลที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 3.96 บาท/หน่วย (อ่านเพิ่มจากลิงค์)
ข้าวถุงขอตรึงแค่ 3 เดือน
ด้านนายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ.ปทุมไรซ์มิล แอนด์ แกรนารี เปิดเผยว่า สมาชิกให้ความร่วมมือตรึงราคาข้าวถุงต่อไปอีก 6 เดือนตามนโยบาย คสช. แต่ได้แจ้งถึงสถานการณ์การผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวในปัจจุบันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือกที่เริ่มขยับสูงขึ้นอีกตันละ300-500 บาท หลังสิ้นสุดโครงการรับจำนำ จึงยังเหลือสต๊อกข้าวเอกชนที่จะจำหน่ายในราคาเดิมได้อีก 3 เดือน จากนั้นต้องประเมินสถานการณ์การผลิตข้าวเปลือกนาปรังรอบ 2 ที่จะออกช่วงเดือน ก.ค.อีกครั้งว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งหรือไม่
ยันตรึงราคาสินค้าได้ถึงสิ้นปี
นายบุญชัยโชควัฒนา ประธานกรรมการ บมจ.สหพัฒนพิบูล กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การตรึงราคาสินค้าที่ คสช.ขอความร่วมมือไม่กระทบต่อบริษัท แต่จะกระทบกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และอาจมีบางรายฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการสูง สำหรับสหพัฒน์จะยังตรึงราคาไว้ก่อน ยังไม่มีแผนปรับขึ้น เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมผู้บริโภคช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก แม้การขอความร่วมมือตรึงราคาจะได้ผลน้อย เพราะไม่ได้มีบทลงโทษชัดเจน แต่ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่จะปรับราคาระมัดระวังขึ้น และเห็นว่าการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและควบคุมราคาพลังงาน ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าระยะยาวได้
อ่านเพิ่มเติมจากลิงค์ค่ะ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402658627