เมื่อสามปีที่แล้วผมได้ชมละครหงส์เหนือมังกรที่เคยฉายทางช่อง 5 ในช่องact channel ฉากแรกที่ดูแล้วก็ ติดใจคือฉากขึ้นบัลลังก์ของหลิว(แสดงโดยมาช่า) จากนั้นก็ตามดูจนจบ แล้วก็หาบทประพันธ์มาอ่าน หากคนที่ทั้งอ่านนิยายทั้งดูละครจะพบว่ามันมีความแตกต่างกันมากเหลือเกิน ทั้งสถานะตัวละคร(เฮียไฮ้ที่เป็นแค่เจ้าพ่อภูธรคนหนึ่ง กลายมาเป็นเจ้าพ่อในสังกัดของนางเอก) แผนการแก้แค้น(ในนิยายจางเหาล่อเพื่อนมาฆ่า เพื่อเดินตามแผน) และมีการเสริมตัวละครและเพิ่มบทมากมายเพื่อสีสันของเรื่อง อีกทั้งยังมีการใส่ความรักเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะหลิวจางเหา เพิ่มตัวละครอย่างสร้อยมาคู่กับตี๋เล็ก ทำให้ตัวละครดูมีมิติมากขึ้นและน่าเห็นใจมากขึ้น
จากตี๋เล็ก ที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากอารมณ์ร้อนในบทประพันธ์ แต่พอนำมาสู่ละคร กลายเป็นผู้ที่แข็งนอกอ่อนใน อีกด้านหนึ่งก็คือคนที่มีความรักให้แก่คนใกล้ชิด แม้แต่ลูกน้องอย่างเก๊า(แสดงโดยพี่แฟร้ง เดอะสตาร์)
บทบาทความรักระหว่างหลิวกับจางเหา ในนิยายหลิวกับจางเหาแทบจะตามฆ่ากันทั้งเรื่อง มาดีกันตอนจบ แต่สิ่งที่ทั้งคู่มีให้กัน ไม่ใช่ความรัก น่าจะเป็นแบบผู้มีบุญคุณหรือสหายกันมากกว่า(จางเหาช่วยหลิว หลิวไว้ชีวิตจางเหา จางเหาสัญญาว่า"ใครโค่นลื้อ อั๊วจะฆ่ามัน") พอมาในละครความแค้นทีจางเหามีต่อหลิวก็มิได้น้อยไปกว่าในละครเลย แม้อาหลิวจะแอบรักอาจางที่เป็นศัตรูฆ่าพ่อตน หากแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ สุดท้ายจางเหาก็แพ้ใจหลิวจนได้
และตัวละครอื่นๆเช่นเสี่ยไฮ้ เสี่ยจั๊บ(ในนิยายเป็นใครก็ไม่รู้โผล่มาแค่หน้าเดียวเอง) บิ๊กชาย (ในนิยายแค่ถูกกล่าวถึง) เถ้าแก่หลัก(ถูกเพิ่มมาจากบทประพันธ์) ไกรสร(มีบทบาทแค่ตอนท้ายๆในบทประพันธ์) จุงใช้(แสดงโดยคุณถนอม นวลอนันต์ เป็นอีกคนที่ดูไม่มีอะไร แต่พอมาตอนจบกลับเป็นจุดพลิกของเรื่อง) ก็มาช่วยร่วมสร้างสีสันและมิติตัวละครเอก ดูจะเป็นการเพิ่มมาที่ไม่เฝือเหมือนละครบางเรื่อง เพราะช่วยให้เราได้เห็นมิติใหม่ๆของตัวละครแต่ละตัว
ส่วนบทเต็งล้อนี่ก็สำคัญ แต่ผมเห็นว่าในละครไม่ได้มีการตีความเพิ่มอะไรจากตัวละครตัวนี้จึงขอไม่กล่าวถึงมาก
สิ่งที่ผมชอบที่สุดคือบทของปราโมท(คนที่เคยอ่านนบทประพันธ์จะพบว่าแค่ถูกกล่าวถึงแค่ชื่อ"ไอ้โมทย์") เปิดฉากแรกไอ้โมทย์คนนี้เป็นศัตรูกับพวกนางเอก ดูเป็นลุคแบบผู้ร้าย(เอาจริงๆมันก็ผู้ร้ายทั้งเรื่องแหละ ฆ่าคนทั้งพระเอก นางเอก) แต่บทโทรทัศน์กลับเล่นบทของตัวไอ้โมทย์คนนี้เป็นคุณพ่อผู้ที่ทำงานกับมาเฟีย ที่แยกทางกับภรรยา แต่ใจยังรักลูกหมั่นติดต่อลูกสาวเป็นประจำ จนวินาทีสุดท้ายก่อนจะตายก็ยังพูดว่า"พ่อรักลูกนะ"
การตีความจากบทประพันธ์สู่บทโทรทัศน์นี้ผมถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของคนเขียนบทเลยทีเดียว การเพิ่มบทตัวละครทุกตัวให้มีมิติ คนดูไม่เกลียดตัวใดตัวหนึ่งทั้งฝ่ายตัวเอกหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะทุกคนทำตามเหตุผลของตนเอง มิใช่แต่ฝักใฝ่ในอำนาจ ที่มีแต่ฆ่าๆๆแบบในนิยาย
หากจะมองอีกมุม จะว่าไม่เคารพบทประพันธ์ก็ไม่ได้ เพราะผมว่าถึงบทบาทและเนื้อเรื่องอาจจะเปลี่ยนไปจากในหนังสือ แต่ก็รักษาบรรยากาศได้เหมือนในบทประพันธ์
ผมจึงหลงรักทุกอย่างที่เป็นทั้งนิยายและละครเรื่องนี้เลยทีเดียว
หงส์เหนือมังกรเวอร์ชั่น exact กับการตีความที่งดงาม
จากตี๋เล็ก ที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากอารมณ์ร้อนในบทประพันธ์ แต่พอนำมาสู่ละคร กลายเป็นผู้ที่แข็งนอกอ่อนใน อีกด้านหนึ่งก็คือคนที่มีความรักให้แก่คนใกล้ชิด แม้แต่ลูกน้องอย่างเก๊า(แสดงโดยพี่แฟร้ง เดอะสตาร์)
บทบาทความรักระหว่างหลิวกับจางเหา ในนิยายหลิวกับจางเหาแทบจะตามฆ่ากันทั้งเรื่อง มาดีกันตอนจบ แต่สิ่งที่ทั้งคู่มีให้กัน ไม่ใช่ความรัก น่าจะเป็นแบบผู้มีบุญคุณหรือสหายกันมากกว่า(จางเหาช่วยหลิว หลิวไว้ชีวิตจางเหา จางเหาสัญญาว่า"ใครโค่นลื้อ อั๊วจะฆ่ามัน") พอมาในละครความแค้นทีจางเหามีต่อหลิวก็มิได้น้อยไปกว่าในละครเลย แม้อาหลิวจะแอบรักอาจางที่เป็นศัตรูฆ่าพ่อตน หากแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ สุดท้ายจางเหาก็แพ้ใจหลิวจนได้
และตัวละครอื่นๆเช่นเสี่ยไฮ้ เสี่ยจั๊บ(ในนิยายเป็นใครก็ไม่รู้โผล่มาแค่หน้าเดียวเอง) บิ๊กชาย (ในนิยายแค่ถูกกล่าวถึง) เถ้าแก่หลัก(ถูกเพิ่มมาจากบทประพันธ์) ไกรสร(มีบทบาทแค่ตอนท้ายๆในบทประพันธ์) จุงใช้(แสดงโดยคุณถนอม นวลอนันต์ เป็นอีกคนที่ดูไม่มีอะไร แต่พอมาตอนจบกลับเป็นจุดพลิกของเรื่อง) ก็มาช่วยร่วมสร้างสีสันและมิติตัวละครเอก ดูจะเป็นการเพิ่มมาที่ไม่เฝือเหมือนละครบางเรื่อง เพราะช่วยให้เราได้เห็นมิติใหม่ๆของตัวละครแต่ละตัว
ส่วนบทเต็งล้อนี่ก็สำคัญ แต่ผมเห็นว่าในละครไม่ได้มีการตีความเพิ่มอะไรจากตัวละครตัวนี้จึงขอไม่กล่าวถึงมาก
สิ่งที่ผมชอบที่สุดคือบทของปราโมท(คนที่เคยอ่านนบทประพันธ์จะพบว่าแค่ถูกกล่าวถึงแค่ชื่อ"ไอ้โมทย์") เปิดฉากแรกไอ้โมทย์คนนี้เป็นศัตรูกับพวกนางเอก ดูเป็นลุคแบบผู้ร้าย(เอาจริงๆมันก็ผู้ร้ายทั้งเรื่องแหละ ฆ่าคนทั้งพระเอก นางเอก) แต่บทโทรทัศน์กลับเล่นบทของตัวไอ้โมทย์คนนี้เป็นคุณพ่อผู้ที่ทำงานกับมาเฟีย ที่แยกทางกับภรรยา แต่ใจยังรักลูกหมั่นติดต่อลูกสาวเป็นประจำ จนวินาทีสุดท้ายก่อนจะตายก็ยังพูดว่า"พ่อรักลูกนะ"
การตีความจากบทประพันธ์สู่บทโทรทัศน์นี้ผมถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของคนเขียนบทเลยทีเดียว การเพิ่มบทตัวละครทุกตัวให้มีมิติ คนดูไม่เกลียดตัวใดตัวหนึ่งทั้งฝ่ายตัวเอกหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะทุกคนทำตามเหตุผลของตนเอง มิใช่แต่ฝักใฝ่ในอำนาจ ที่มีแต่ฆ่าๆๆแบบในนิยาย
หากจะมองอีกมุม จะว่าไม่เคารพบทประพันธ์ก็ไม่ได้ เพราะผมว่าถึงบทบาทและเนื้อเรื่องอาจจะเปลี่ยนไปจากในหนังสือ แต่ก็รักษาบรรยากาศได้เหมือนในบทประพันธ์
ผมจึงหลงรักทุกอย่างที่เป็นทั้งนิยายและละครเรื่องนี้เลยทีเดียว