หลังจากที่เราเฝ้าติดตามละครหงส์เหนือมังกรมาเป็นเวลาเกือบสองเดือนกับ ละคร 15 ตอนจบ โดยมากในสังคมออนไลน์ก็ได้รับFeedback ดี
หงส์เหนือมังกร เวอร์ชั่น ช่อง 7 สี ถือว่าเป็นละครรีเมคอีกเรื่องหนึ่งที่ออกมาได้ดีไม่แพ้เวอร์ชั่นของเก่า ก่อนอื่นจะขอกล่าวข้อดีของละคร
นักแสดงทุกคนในเรื่องสามารถแสดงออกมาได้ดี ตามมาตรฐาน อย่างที่เคยชื่นชม ทุกคนยังรักษามาตรฐานได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่พระ - นาง คือน้องโบ เมลดา คุณบิ๊กเอ็ม กฤตฤทธิ์ คุณแบงค์ อาทิตย์ คุณอั๋น ชัยพล คุณหมวย อัญษณา คุณตฤณ เศรษฐโชค คุณเมย์ ประภัสสร หากที่ต้องชื่นชมหนักมากคือคุณ ปู อนุวัฒน์ นิวาตวงษ์ คนแสดงเป็นเต็งล้อ ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หลายๆฉากออกมาให้ได้เชื่อสนิทใจและอินไปกับสถานการณ์จริงๆ
ฉากร้องไห้เพราะลูกชายตัวเองตาย โดยที่ไม่มีวันได้รู้ว่าตนคือพ่อที่แท้จริง แถมยังมีการหันมองซ้ายมองขวาก่อนจะกลั้นน้ำตา เพราะกลัวคนสงสัยว่าเต็งล้อเป็นอะไรกับตี๋เล็ก
ฉากต่อว่าฟ้าดิน สาปแช่งธรรมกุล เผาศาล แสดงออกมาได้ดีจนรู้สึกกลัวทีเดียว
ทั้งนี้ต้องชื่นชมผู้กำกับ คุณโต้ง ตรัยยุทธ ที่สามารถกำกับให้นักแสดงถ่ายทอดออกมาได้
ต้องชื่นชมคุณอภิวัฒน์ เล่าสกุล บทละครเขียนออกมาได้ค่อนข้างลุ้นทีเดียว คำพูดของตัวละครหลายฉากออกมาได้คมคาย มีการใช้โวหารเปรียบเทียบ ชอบฟัง "นิยายจีน" ของเต็งล้อ พูดมาแต่ละคำมีความหมาย เรียกได้ว่าคำคมความคิดเยอะไม่แพ้นิยาย
หากละครที่บทดี ออกมาให้คนดูได้ลุ้น มีการหักมุมพลิกไปมา ก็จริงแต่ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง คือหลายๆฉากหลายๆเหตุการณ์ยังมีช่องโหว่อยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น
- ตอนที่ตี๋ซุ้งจัดฉากว่าตัวเองตาย ทำไมตำรวจถึงยืนยันศพของตี๋ซุ้งได้ว่าเป็นตี๋ซุ้งจริงๆ ทั้งๆที่ตี๋ซุ้งไม่ได้ตายจริงๆ
- ฉากที่ผู้กำกับชาติชายขโมยศพเต็งล้อ ทำไมไม่มีตำรวจที่ไหนระแคะระคายว่าศพเต็งล้อหายไป ผู้กำกับชาติชายหายไปไหน แต่กลับมีตำรวจโทรมารายงานว่าสารวัตรปราบตายไปแล้ว(เชื่อว่าตำรวจที่โทรมาหาชาติชายคือตำรวจที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับการให้ความร่วมมือกับพวกมาเฟียของผู้กำกับคนนี้ เพราะผู้กำกับเองยังพูดจาให้ร้ายว่าจางเหาเป็นคนฆ่า เหมือนพูดจาโน้มน้าวปัดสวะ)
- สิบสี่เค ตามบทประพันธ์คือมาเฟียฮ่องกง แต่ไม่แน่ใจว่า สิบสี่เคของละครเรื่องนี้คือองค์กรของประเทศอะไรกันแน่ ทั้งๆที่มีสังกัดเป็นมาเฟียระดับประเทศต่างๆ เคหว่องเองก็ดูเหมือนเป็นคนไทย พูดภาษาไทยชัดแจ๋ว ลูกน้องของพวกเคหว่องเองก็ไม่มีใครดูเป็นชาวฮ่องกงหรือชาวต่างชาติ
ละครเรื่องนี้มีการสร้างแตกต่างกับหนังสือนิยายไปพอสมควรโดยเฉพาะตอนท้ายๆ
สุดท้ายของละครเหมือนแทบจะไม่ใช่ “หงส์เหนือมังกร” แต่ขอเรียกว่า “มังกรอำนาจ” หรือ “ตี๋ซุ้งเมาอำนาจ”
สำหรับการตีความของเวอร์ชั่นนี้อยากจะบอกว่าขัดกับสามัญสำนึกอย่างรุนแรง ตี๋ซุ้งเป็นพ่อแท้ๆของหลิว แต่กลับลุ่มหลงในอำนาจมากกว่า บังคับให้หลิวเซ็นคืนอำนาจในแก๊งมาเฟียให้ตน
ตี๋ซุ้งมองเห็นอำนาจสำคัญกว่าลูก ใช้ลูกเป็นกำบังจากกระสุนของจางเหา ยึดอำนาจคืนจากลูกตัวเอง ตี๋ซุ้งจัดฉากว่าตัวเองตาย ให้หลิวเป็นเจ้าแม่หลอกใช้หลิวให้ไปสู้รบกับแก๊งมาเฟียที่เป็นคู่อริแทนตน เหมือนกับว่าหลิวไม่ใช่ลูก อันที่จริงอาจพูดได้ว่า ตี๋ซุ้งทารุณกรรมลูกสาวแท้ๆของตัวเองมากกว่าที่ทำกับตี๋เล็ก ที่ตี๋ซุ้งแค้นนักแค้นหนา ใช้ความเป็นพ่อบ่มนิสัยให้เป็นคนบู่มบ่ามจะได้อายุสั้นเสียอีก
มนุษย์ผู้ที่แม้แต่ลูกแท้ๆยังเห็นเป็นแค่หมากตัวหนึ่งบนกระดาน แบบนี้ตี๋ซุ้งน่าจะไม่เหลือความเป็นคนอยู่อีก จิตใจดำยิ่งกว่าเต็งล้อด้วยซ้ำ เต็งล้อยังรักตี๋เล็ก ถึงแม้จะไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษที่ไม่ออกมายอมรับความผิดทั้งหมดก็ตาม
จะกล่าวการตีความเป็นละครโทรทัศน์เทียบกับนิยาย ที่จริงตี๋ซุ้งรักหลิวมาก เหมือนที่พ่อทั่วไปรักลูกสาว ตี๋ซุ้งเองยังเคยคิด.... ว่าถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากให้หลิวเกิดเป็นลูกตัวเอง ไม่อยากให้หลิวเป็นลูกสาวเจ้าพ่อ การที่ให้หลิวดำรงตำแหน่งเจ้าแม่แทนตนเองนั้นเพียงเพราะความจำยอม และมันเป็นชะตากรรมอย่างช่วยไม่ได้ ทรัพย์สินมรดกถ้าไม่ให้ลูกตัวเองจะให้ใคร ถ้าจะให้ตี๋เล็กคงไม่มีทาง เพราะตี๋ซุ้งรู้อยู่ตลอดว่าตี๋เล็กไม่ใช่ลูกตัวเอง
ถ้าแลกกัน....ให้เต็งล้อแบบเดียวกับที่ตี๋ซุ้งทำยังจะดีกว่า ยังสมจริง เมคเซ้นส์มากกว่า เพราะอันที่จริง ตามบทประพันธ์คนที่หลอก(บังคับ)ให้หลิวดื่มยาพิษก็คือเต็งล้อ เพื่อต้องการปิดปากเรื่องที่รู้ว่าตี๋เล็กเป็นลูกชายตัวเอง ผลพลอยได้ก็คืออำนาจต่อจากอาหลิว
หงส์เหนือมังกร เวอร์ชั่น 2560 ฉีกออกไปจากนิยายพอสมควร และแมสเซจหลายอย่างที่นิยายได้สื่อสารกับคนอ่านอย่างตรงมาตรงไปไว้นั้นได้หายไปอย่างน่าเสียดาย
แต่กระนั้นตรงนี้ยังมีฉากที่ชื่นชอบมากคือ ฉากท้ายๆที่ตี๋ซุ้งโดนจางเหายิงล้มลงหลังกระแทกกับแท่นป้ายวิญญาณก่อนจะล้มลง หลังจากนั้นป้ายวิญญาณของตัวตี๋ซุ้งเองร่วงลงมาบนศพของตี๋ซุ้ง ชอบมากๆ
แต่ถ้าหากเรามองว่าเป็นละครบู๊ดูเอามันส์ๆ ตามจังหวะภาพ ถือว่าเป็นละครที่ใช้ได้ ภาพสวย แสงดี จังหวะการกำกับดีมาก ซาวด์ก็เพราะทุกซาวด์ ทั้งจังหวะตื่นเต้น จังหวะดราม่า จังหวะเศร้า ชอบที่เอาเพลง"ยิ่งสูงยิ่งหนาว" มาประกอบ ชอบหลายอย่าง นักแสดงสามารถถ่ายทอดความเป็นตัวละครออกมาได้ดีทุกคน
ในฐานะแฟนของบทประพันธ์ชุดนี้คนหนึ่ง ถึงแม้มีการเปลี่ยนบทประพันธ์ แต่ก็ไม่อยากให้แมสเซจบางอย่างในนิยายหายไปมากนัก
รีวิวหงส์เหนือมังกร หลังละครจบ
หงส์เหนือมังกร เวอร์ชั่น ช่อง 7 สี ถือว่าเป็นละครรีเมคอีกเรื่องหนึ่งที่ออกมาได้ดีไม่แพ้เวอร์ชั่นของเก่า ก่อนอื่นจะขอกล่าวข้อดีของละคร
นักแสดงทุกคนในเรื่องสามารถแสดงออกมาได้ดี ตามมาตรฐาน อย่างที่เคยชื่นชม ทุกคนยังรักษามาตรฐานได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่พระ - นาง คือน้องโบ เมลดา คุณบิ๊กเอ็ม กฤตฤทธิ์ คุณแบงค์ อาทิตย์ คุณอั๋น ชัยพล คุณหมวย อัญษณา คุณตฤณ เศรษฐโชค คุณเมย์ ประภัสสร หากที่ต้องชื่นชมหนักมากคือคุณ ปู อนุวัฒน์ นิวาตวงษ์ คนแสดงเป็นเต็งล้อ ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หลายๆฉากออกมาให้ได้เชื่อสนิทใจและอินไปกับสถานการณ์จริงๆ
ฉากร้องไห้เพราะลูกชายตัวเองตาย โดยที่ไม่มีวันได้รู้ว่าตนคือพ่อที่แท้จริง แถมยังมีการหันมองซ้ายมองขวาก่อนจะกลั้นน้ำตา เพราะกลัวคนสงสัยว่าเต็งล้อเป็นอะไรกับตี๋เล็ก
ฉากต่อว่าฟ้าดิน สาปแช่งธรรมกุล เผาศาล แสดงออกมาได้ดีจนรู้สึกกลัวทีเดียว
ทั้งนี้ต้องชื่นชมผู้กำกับ คุณโต้ง ตรัยยุทธ ที่สามารถกำกับให้นักแสดงถ่ายทอดออกมาได้
ต้องชื่นชมคุณอภิวัฒน์ เล่าสกุล บทละครเขียนออกมาได้ค่อนข้างลุ้นทีเดียว คำพูดของตัวละครหลายฉากออกมาได้คมคาย มีการใช้โวหารเปรียบเทียบ ชอบฟัง "นิยายจีน" ของเต็งล้อ พูดมาแต่ละคำมีความหมาย เรียกได้ว่าคำคมความคิดเยอะไม่แพ้นิยาย
หากละครที่บทดี ออกมาให้คนดูได้ลุ้น มีการหักมุมพลิกไปมา ก็จริงแต่ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง คือหลายๆฉากหลายๆเหตุการณ์ยังมีช่องโหว่อยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น
- ตอนที่ตี๋ซุ้งจัดฉากว่าตัวเองตาย ทำไมตำรวจถึงยืนยันศพของตี๋ซุ้งได้ว่าเป็นตี๋ซุ้งจริงๆ ทั้งๆที่ตี๋ซุ้งไม่ได้ตายจริงๆ
- ฉากที่ผู้กำกับชาติชายขโมยศพเต็งล้อ ทำไมไม่มีตำรวจที่ไหนระแคะระคายว่าศพเต็งล้อหายไป ผู้กำกับชาติชายหายไปไหน แต่กลับมีตำรวจโทรมารายงานว่าสารวัตรปราบตายไปแล้ว(เชื่อว่าตำรวจที่โทรมาหาชาติชายคือตำรวจที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับการให้ความร่วมมือกับพวกมาเฟียของผู้กำกับคนนี้ เพราะผู้กำกับเองยังพูดจาให้ร้ายว่าจางเหาเป็นคนฆ่า เหมือนพูดจาโน้มน้าวปัดสวะ)
- สิบสี่เค ตามบทประพันธ์คือมาเฟียฮ่องกง แต่ไม่แน่ใจว่า สิบสี่เคของละครเรื่องนี้คือองค์กรของประเทศอะไรกันแน่ ทั้งๆที่มีสังกัดเป็นมาเฟียระดับประเทศต่างๆ เคหว่องเองก็ดูเหมือนเป็นคนไทย พูดภาษาไทยชัดแจ๋ว ลูกน้องของพวกเคหว่องเองก็ไม่มีใครดูเป็นชาวฮ่องกงหรือชาวต่างชาติ
ละครเรื่องนี้มีการสร้างแตกต่างกับหนังสือนิยายไปพอสมควรโดยเฉพาะตอนท้ายๆ
สุดท้ายของละครเหมือนแทบจะไม่ใช่ “หงส์เหนือมังกร” แต่ขอเรียกว่า “มังกรอำนาจ” หรือ “ตี๋ซุ้งเมาอำนาจ”
สำหรับการตีความของเวอร์ชั่นนี้อยากจะบอกว่าขัดกับสามัญสำนึกอย่างรุนแรง ตี๋ซุ้งเป็นพ่อแท้ๆของหลิว แต่กลับลุ่มหลงในอำนาจมากกว่า บังคับให้หลิวเซ็นคืนอำนาจในแก๊งมาเฟียให้ตน
ตี๋ซุ้งมองเห็นอำนาจสำคัญกว่าลูก ใช้ลูกเป็นกำบังจากกระสุนของจางเหา ยึดอำนาจคืนจากลูกตัวเอง ตี๋ซุ้งจัดฉากว่าตัวเองตาย ให้หลิวเป็นเจ้าแม่หลอกใช้หลิวให้ไปสู้รบกับแก๊งมาเฟียที่เป็นคู่อริแทนตน เหมือนกับว่าหลิวไม่ใช่ลูก อันที่จริงอาจพูดได้ว่า ตี๋ซุ้งทารุณกรรมลูกสาวแท้ๆของตัวเองมากกว่าที่ทำกับตี๋เล็ก ที่ตี๋ซุ้งแค้นนักแค้นหนา ใช้ความเป็นพ่อบ่มนิสัยให้เป็นคนบู่มบ่ามจะได้อายุสั้นเสียอีก
มนุษย์ผู้ที่แม้แต่ลูกแท้ๆยังเห็นเป็นแค่หมากตัวหนึ่งบนกระดาน แบบนี้ตี๋ซุ้งน่าจะไม่เหลือความเป็นคนอยู่อีก จิตใจดำยิ่งกว่าเต็งล้อด้วยซ้ำ เต็งล้อยังรักตี๋เล็ก ถึงแม้จะไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษที่ไม่ออกมายอมรับความผิดทั้งหมดก็ตาม
จะกล่าวการตีความเป็นละครโทรทัศน์เทียบกับนิยาย ที่จริงตี๋ซุ้งรักหลิวมาก เหมือนที่พ่อทั่วไปรักลูกสาว ตี๋ซุ้งเองยังเคยคิด.... ว่าถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากให้หลิวเกิดเป็นลูกตัวเอง ไม่อยากให้หลิวเป็นลูกสาวเจ้าพ่อ การที่ให้หลิวดำรงตำแหน่งเจ้าแม่แทนตนเองนั้นเพียงเพราะความจำยอม และมันเป็นชะตากรรมอย่างช่วยไม่ได้ ทรัพย์สินมรดกถ้าไม่ให้ลูกตัวเองจะให้ใคร ถ้าจะให้ตี๋เล็กคงไม่มีทาง เพราะตี๋ซุ้งรู้อยู่ตลอดว่าตี๋เล็กไม่ใช่ลูกตัวเอง
ถ้าแลกกัน....ให้เต็งล้อแบบเดียวกับที่ตี๋ซุ้งทำยังจะดีกว่า ยังสมจริง เมคเซ้นส์มากกว่า เพราะอันที่จริง ตามบทประพันธ์คนที่หลอก(บังคับ)ให้หลิวดื่มยาพิษก็คือเต็งล้อ เพื่อต้องการปิดปากเรื่องที่รู้ว่าตี๋เล็กเป็นลูกชายตัวเอง ผลพลอยได้ก็คืออำนาจต่อจากอาหลิว
หงส์เหนือมังกร เวอร์ชั่น 2560 ฉีกออกไปจากนิยายพอสมควร และแมสเซจหลายอย่างที่นิยายได้สื่อสารกับคนอ่านอย่างตรงมาตรงไปไว้นั้นได้หายไปอย่างน่าเสียดาย
แต่กระนั้นตรงนี้ยังมีฉากที่ชื่นชอบมากคือ ฉากท้ายๆที่ตี๋ซุ้งโดนจางเหายิงล้มลงหลังกระแทกกับแท่นป้ายวิญญาณก่อนจะล้มลง หลังจากนั้นป้ายวิญญาณของตัวตี๋ซุ้งเองร่วงลงมาบนศพของตี๋ซุ้ง ชอบมากๆ
แต่ถ้าหากเรามองว่าเป็นละครบู๊ดูเอามันส์ๆ ตามจังหวะภาพ ถือว่าเป็นละครที่ใช้ได้ ภาพสวย แสงดี จังหวะการกำกับดีมาก ซาวด์ก็เพราะทุกซาวด์ ทั้งจังหวะตื่นเต้น จังหวะดราม่า จังหวะเศร้า ชอบที่เอาเพลง"ยิ่งสูงยิ่งหนาว" มาประกอบ ชอบหลายอย่าง นักแสดงสามารถถ่ายทอดความเป็นตัวละครออกมาได้ดีทุกคน
ในฐานะแฟนของบทประพันธ์ชุดนี้คนหนึ่ง ถึงแม้มีการเปลี่ยนบทประพันธ์ แต่ก็ไม่อยากให้แมสเซจบางอย่างในนิยายหายไปมากนัก