ข่าวสด
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชง คสช. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำมันในราคาที่เป็นธรรมขึ้น ชี้ ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการบางราย
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีหนังสือส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กรณีการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับประโยชน์ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น
โดย นางผาณิต ระบุเหตุผลประกอบข้อเสนอว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ที่ระบุว่า การจ่ายเงินเป็นทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย โดยโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติประกอบไปด้วย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซธรรมชาติ (LPG) ภาษีและเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน เป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมันผ่านหน่วยงานบริหารการจัดเก็บภาษี ทำให้ผู้ค้าน้ำมันผลักภาระเงินที่จะต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวไปยังประชาชนผู้บริโภคในรูปของราคาขายปลีกที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากประชาชนผู้บริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเรียกเก็บผ่านผู้ค้าน้ำมันโดยหน่วยงานบริหารการจัดเก็บภาษีของรัฐ คือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายได้ของรัฐที่รัฐบาลบังคับเก็บจากผู้บริโภค โดยไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรง เงินส่งเข้ากองทุนดังกล่าวจึงเป็นการนำเงินไปใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพียงบางราย การเรียกเก็บเงินและการจ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงเป็นการดำเนินการไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับและให้อำนาจไว้ ขณะที่ตามหลักการคลังมหาชนการเก็บเงินจากประชาชนของภาครัฐนั้นจะต้องใช้ฐานอำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวยังระบุอีกว่า ที่นายกฯ อ้างว่าออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 แต่เมื่อพิจารณาแล้ว พ.ร.ก. ฉบับนี้แล้วไม่พบว่ามีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจในเรื่องนี้ การมีคำสั่งนายกฯ ครั้งนี้จึงเป็นการออกคำสั่งที่มีเนื้อหาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ขณะเดียวกันการจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนี้ต้องออกเป็นกฎหมายในลำดับชั้นเดียวกัน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชง คสช. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง..สรุปว่าน้ำมันจะแพงหรือถูกลงกันแน่ครับ?
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชง คสช. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำมันในราคาที่เป็นธรรมขึ้น ชี้ ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการบางราย
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีหนังสือส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กรณีการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับประโยชน์ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น
โดย นางผาณิต ระบุเหตุผลประกอบข้อเสนอว่า การจัดตั้งกองทุนน้ำมันตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ที่ระบุว่า การจ่ายเงินเป็นทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย โดยโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติประกอบไปด้วย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซธรรมชาติ (LPG) ภาษีและเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน เป็นผู้เรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมันผ่านหน่วยงานบริหารการจัดเก็บภาษี ทำให้ผู้ค้าน้ำมันผลักภาระเงินที่จะต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าวไปยังประชาชนผู้บริโภคในรูปของราคาขายปลีกที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากประชาชนผู้บริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเรียกเก็บผ่านผู้ค้าน้ำมันโดยหน่วยงานบริหารการจัดเก็บภาษีของรัฐ คือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายได้ของรัฐที่รัฐบาลบังคับเก็บจากผู้บริโภค โดยไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรง เงินส่งเข้ากองทุนดังกล่าวจึงเป็นการนำเงินไปใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพียงบางราย การเรียกเก็บเงินและการจ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงเป็นการดำเนินการไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับและให้อำนาจไว้ ขณะที่ตามหลักการคลังมหาชนการเก็บเงินจากประชาชนของภาครัฐนั้นจะต้องใช้ฐานอำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวยังระบุอีกว่า ที่นายกฯ อ้างว่าออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 แต่เมื่อพิจารณาแล้ว พ.ร.ก. ฉบับนี้แล้วไม่พบว่ามีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจในเรื่องนี้ การมีคำสั่งนายกฯ ครั้งนี้จึงเป็นการออกคำสั่งที่มีเนื้อหาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ขณะเดียวกันการจะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนี้ต้องออกเป็นกฎหมายในลำดับชั้นเดียวกัน