คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
1. ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด แสงเป็นสิ่งที่เดินทางเร็วที่สุดในโลกใช่ไหมครับ ถ้างั้นก็หมายความว่าแสงเดินทางไปถึงดาวดวงนี้
ใช้เวลา 1 ปี ถ้างั้นยานอวกาศที่เดินทางไปถึงก็ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี ถูกไหมครับ?
- ถูกต้องครับ และที่จริงแล้วจะมากกว่า 1 ปีอย่างมาก หรือหากประเมินตอนนี้อาจจะเป็นไปได้ยากมาก
เพราะระยะทาง 1 ปีแสงมันไกลมาก ไกลเสียจนเราไม่สามารถเดินทางด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ได้
เคยคำนวณเล่น ๆ หากจะเดินทางด้วยระบบขับเคลื่อนปัจจุบัน ระยะ 1 ปีแสงจะต้องใช้เวลานับแสนปี
2. สมมุติว่ายานอวกาศเดินทางไปถึงดาวดวงนี้ละ แล้วก็ปล่อยหุ่นยนต์ลงไปสำรวจพื้นผิว จากนั้นหุ่นบนค์ก็ส่งสัญญาณ
ภาพวีดีโอกลับมายังโลก สัญญาณนี้ต้องเดินทางด้วยความเร็วช้ากว่าแสง เพราะงั้นก็ต้องเดินทางมากกว่า 1 ปี
เพื่อกลับมายังโลกใช่ไหมครับ? ทำไมบางทีผมรู้สึกว่ามันเร๊วเร็ว
- สมมุติว่าไปได้จริง การส่งสัญญาณกลับมายังโลกนั้น
จะต้องใช้คลื่นวิทยุผสมสัญญาณ VDO หรือข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งคลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วเท่าแสง
ดังนั้น ก็จะใช้เวลา 1 ปี (เท่าแสง) สัญญาณ VDO นั้นจึงมาถึงโลกครับ
ที่ จขกท.รู้สึกว่ามันเร็ว เป็นเพราะว่าเป็นการสื่อสารภายในโลกของเรา จึงเร็วพริบตาเท่านั้น
3. สมมุติว่าไม่มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวดวงนี้นะครับ แต่นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องนอกชั้นบรรยากาศโลกส่องดู
ภาพที่เขาจะเห็นก็จะเป็นภาพของดาวดวงนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้วใช่ไหมครับ? เพราะแสงที่กระทบกับดาวดวงนี้
กว่าจะเดินทางมาถึงกล้องก็ต้องใช้เวลา 1 ปี ช้าจากภาพจริงๆ ของดาวดวงนี้ในปัจจุบันไป 1 ปี
- ถูกต้องครับ ภาพที่เราส่องกล้องเห็นนั้นคือภาพ (แสง) เมื่อ 1 ปีที่แล้ว
เช่น เริ่มส่องดูเมื่อ มิถุนายน 2557 นั่นคือภาพเมื่อ มิถุนายน 2556
และหากดาวดวงนั้นเป็นอะไรไป กว่าแสงจะเดินทางมาถึง (เห็นที่โลก) ก็จะเป็น มิถุนายน 2558
4. ถ้าผมเข้าใจถูกต้องในข้อ 3 ดาวบางดวงที่อยู่ห่างออกไปมากๆ หลายๆ ปีแสงนั้น ข้อมูลที่ได้จากการส่องกล้องดู
ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปหมดเหรอครับ?
- วัตถุอวกาศทุกประเภท จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
เช่น แสง (ความแปรปรวนแสง) สี ขนาด การเคลื่อนที่ (สัมพัทธ์) ดังนั้นเราก็อาจได้ข้อมูลที่
ไม่คลาดเคลื่อนมากนักครับ เช่น หากเราตรวจพบระบบดาวหนึ่งที่มีความสว่างระดับ 9
และมีดาวเคราะห์โคจรรอบตัวมัน 3 ดวง ครบรอบในเวลา 100 วัน
ข้อมูล 3 อย่างนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงเลยมาตลอดนับล้านปี ดังนั้น นักดาราศาสตร์ก็จะถือว่านี่คือข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว
ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดที่นักดาราศาสตร์ทราบดีครับ
แต่ในกรณีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แสงจะเดินทางภายในหน่วย "ชั่วโมง" เท่านั้น
จึงไม่ค่อยคลาดเคลื่อนเท่าใดเลย
5. หรืออย่างดาวที่ยังไม่มีการสำรวจแต่นักวิทยาศาสตร์ส่องกล้องเอา แล้วเขารู้ได้ไงครับว่า ดาวดวงนี้มีชั้นบรรยากาศ
แบบนี้ มีก๊าซแบบนั้น ชั้นบรรยากาศหนาหรือบาง พื้นผิวเป็นธาตุนั้นธาตุนี้ ใต้พื้นผิวลงไปมีภูเขาไฟ คือผมสงสัยครับว่า
แค่มองดูเฉยๆ และเป็นภาพที่เกิดขึ้นในอดีตด้วย เขามั่นในได้ไงครับว่าดาวดวงนั้นมันเป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ
- เรารู้ได้จากการวิเคราะห์ atmosphere spectrum ครับ
คือการวิเคราะห์แสงจากดาวเคราะห์ หรือ ดาวฤกษ์ดวงนั้น นำมาเข้าเครื่อง Spectrometer
ซึ่งมีความแม่นยำพอที่จะวิเคราะห์ "แถบแสง" อันจาง ๆ ของดาวเหล่านั้น
ว่าบ่งบอกถึงธาตุใดบ้างครับ สำหรับการรู้ลึกถึงภูเขาไฟหรือขนาดนั้น
ได้ข้อมูลมาจากการถ่ายภาพมาตรง ๆ เลยครับ เช่น ภาพจาก Probe ที่ส่งไปสำรวจดาวบริวาร
ของดาวพฤหัส ซึ่งแน่นอนว่าหากเราไม่ได้ภาพจาก Probe เราคงไม่รู้ถึงขั้นว่ามีภูเขาไฟแน่ ๆ
ภาพแสดง Atmosphere spectrum ของดาวเคราะห์
ใช้เวลา 1 ปี ถ้างั้นยานอวกาศที่เดินทางไปถึงก็ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี ถูกไหมครับ?
- ถูกต้องครับ และที่จริงแล้วจะมากกว่า 1 ปีอย่างมาก หรือหากประเมินตอนนี้อาจจะเป็นไปได้ยากมาก
เพราะระยะทาง 1 ปีแสงมันไกลมาก ไกลเสียจนเราไม่สามารถเดินทางด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ได้
เคยคำนวณเล่น ๆ หากจะเดินทางด้วยระบบขับเคลื่อนปัจจุบัน ระยะ 1 ปีแสงจะต้องใช้เวลานับแสนปี
2. สมมุติว่ายานอวกาศเดินทางไปถึงดาวดวงนี้ละ แล้วก็ปล่อยหุ่นยนต์ลงไปสำรวจพื้นผิว จากนั้นหุ่นบนค์ก็ส่งสัญญาณ
ภาพวีดีโอกลับมายังโลก สัญญาณนี้ต้องเดินทางด้วยความเร็วช้ากว่าแสง เพราะงั้นก็ต้องเดินทางมากกว่า 1 ปี
เพื่อกลับมายังโลกใช่ไหมครับ? ทำไมบางทีผมรู้สึกว่ามันเร๊วเร็ว
- สมมุติว่าไปได้จริง การส่งสัญญาณกลับมายังโลกนั้น
จะต้องใช้คลื่นวิทยุผสมสัญญาณ VDO หรือข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งคลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วเท่าแสง
ดังนั้น ก็จะใช้เวลา 1 ปี (เท่าแสง) สัญญาณ VDO นั้นจึงมาถึงโลกครับ
ที่ จขกท.รู้สึกว่ามันเร็ว เป็นเพราะว่าเป็นการสื่อสารภายในโลกของเรา จึงเร็วพริบตาเท่านั้น
3. สมมุติว่าไม่มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวดวงนี้นะครับ แต่นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องนอกชั้นบรรยากาศโลกส่องดู
ภาพที่เขาจะเห็นก็จะเป็นภาพของดาวดวงนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้วใช่ไหมครับ? เพราะแสงที่กระทบกับดาวดวงนี้
กว่าจะเดินทางมาถึงกล้องก็ต้องใช้เวลา 1 ปี ช้าจากภาพจริงๆ ของดาวดวงนี้ในปัจจุบันไป 1 ปี
- ถูกต้องครับ ภาพที่เราส่องกล้องเห็นนั้นคือภาพ (แสง) เมื่อ 1 ปีที่แล้ว
เช่น เริ่มส่องดูเมื่อ มิถุนายน 2557 นั่นคือภาพเมื่อ มิถุนายน 2556
และหากดาวดวงนั้นเป็นอะไรไป กว่าแสงจะเดินทางมาถึง (เห็นที่โลก) ก็จะเป็น มิถุนายน 2558
4. ถ้าผมเข้าใจถูกต้องในข้อ 3 ดาวบางดวงที่อยู่ห่างออกไปมากๆ หลายๆ ปีแสงนั้น ข้อมูลที่ได้จากการส่องกล้องดู
ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปหมดเหรอครับ?
- วัตถุอวกาศทุกประเภท จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
เช่น แสง (ความแปรปรวนแสง) สี ขนาด การเคลื่อนที่ (สัมพัทธ์) ดังนั้นเราก็อาจได้ข้อมูลที่
ไม่คลาดเคลื่อนมากนักครับ เช่น หากเราตรวจพบระบบดาวหนึ่งที่มีความสว่างระดับ 9
และมีดาวเคราะห์โคจรรอบตัวมัน 3 ดวง ครบรอบในเวลา 100 วัน
ข้อมูล 3 อย่างนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงเลยมาตลอดนับล้านปี ดังนั้น นักดาราศาสตร์ก็จะถือว่านี่คือข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว
ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดที่นักดาราศาสตร์ทราบดีครับ
แต่ในกรณีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แสงจะเดินทางภายในหน่วย "ชั่วโมง" เท่านั้น
จึงไม่ค่อยคลาดเคลื่อนเท่าใดเลย
5. หรืออย่างดาวที่ยังไม่มีการสำรวจแต่นักวิทยาศาสตร์ส่องกล้องเอา แล้วเขารู้ได้ไงครับว่า ดาวดวงนี้มีชั้นบรรยากาศ
แบบนี้ มีก๊าซแบบนั้น ชั้นบรรยากาศหนาหรือบาง พื้นผิวเป็นธาตุนั้นธาตุนี้ ใต้พื้นผิวลงไปมีภูเขาไฟ คือผมสงสัยครับว่า
แค่มองดูเฉยๆ และเป็นภาพที่เกิดขึ้นในอดีตด้วย เขามั่นในได้ไงครับว่าดาวดวงนั้นมันเป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ
- เรารู้ได้จากการวิเคราะห์ atmosphere spectrum ครับ
คือการวิเคราะห์แสงจากดาวเคราะห์ หรือ ดาวฤกษ์ดวงนั้น นำมาเข้าเครื่อง Spectrometer
ซึ่งมีความแม่นยำพอที่จะวิเคราะห์ "แถบแสง" อันจาง ๆ ของดาวเหล่านั้น
ว่าบ่งบอกถึงธาตุใดบ้างครับ สำหรับการรู้ลึกถึงภูเขาไฟหรือขนาดนั้น
ได้ข้อมูลมาจากการถ่ายภาพมาตรง ๆ เลยครับ เช่น ภาพจาก Probe ที่ส่งไปสำรวจดาวบริวาร
ของดาวพฤหัส ซึ่งแน่นอนว่าหากเราไม่ได้ภาพจาก Probe เราคงไม่รู้ถึงขั้นว่ามีภูเขาไฟแน่ ๆ
ภาพแสดง Atmosphere spectrum ของดาวเคราะห์
แสดงความคิดเห็น
คำถามของคนรู้น้อย เกี่ยวกับดวงดาวและอวกาศครับ
สมมุติว่ามีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวดวงหนึ่ง เอาว่าอยู่ห่างจากโลกไป 1 ปีแสงนะครับ ใช้สถานการณ์สมมุตินี้ ผมมีคำถามดังนี้ครับ
1. ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด แสงเป็นสิ่งที่เดินทางเร็วที่สุดในโลกใช่ไหมครับ ถ้างั้นก็หมายความว่าแสงเดินทางไปถึงดาวดวงนี้ ใช้เวลา 1 ปี ถ้างั้นยานอวกาศที่เดินทางไปถึงก็ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี ถูกไหมครับ?
2. สมมุติว่ายานอวกาศเดินทางไปถึงดาวดวงนี้ละ แล้วก็ปล่อยหุ่นยนต์ลงไปสำรวจพื้นผิว จากนั้นหุ่นบนค์ก็ส่งสัญญาณภาพวีดีโอกลับมายังโลก สัญญาณนี้ต้องเดินทางด้วยความเร็วช้ากว่าแสง เพราะงั้นก็ต้องเดินทางมากกว่า 1 ปี เพื่อกลับมายังโลกใช่ไหมครับ? ทำไมบางทีผมรู้สึกว่ามันเร๊วเร็ว
3. สมมุติว่าไม่มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวดวงนี้นะครับ แต่นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องนอกชั้นบรรยากาศโลกส่องดู ภาพที่เขาจะเห็นก็จะเป็นภาพของดาวดวงนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้วใช่ไหมครับ? เพราะแสงที่กระทบกับดาวดวงนี้ กว่าจะเดินทางมาถึงกล้องก็ต้องใช้เวลา 1 ปี ช้าจากภาพจริงๆ ของดาวดวงนี้ในปัจจุบันไป 1 ปี
4. ถ้าผมเข้าใจถูกต้องในข้อ 3 ดาวบางดวงที่อยู่ห่างออกไปมากๆ หลายๆ ปีแสงนั้น ข้อมูลที่ได้จากการส่องกล้องดู ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปหมดเหรอครับ?
5. หรืออย่างดาวที่ยังไม่มีการสำรวจแต่นักวิทยาศาสตร์ส่องกล้องเอา แล้วเขารู้ได้ไงครับว่า ดาวดวงนี้มีชั้นบรรยากาศแบบนี้ มีก๊าซแบบนั้น ชั้นบรรยากาศหนาหรือบาง พื้นผิวเป็นธาตุนั้นธาตุนี้ ใต้พื้นผิวลงไปมีภูเขาไฟ คือผมสงสัยครับว่าแค่มองดูเฉยๆ และเป็นภาพที่เกิดขึ้นในอดีตด้วย เขามั่นในได้ไงครับว่าดาวดวงนั้นมันเป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ
ถามด้วยความไม่รู้นะครับ ถูกผิดหรือโชว์โง่ออกไปยังไงกระผมก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย