เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัยแต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา
เพื่อให้หลักเมืองคงอยู่ ท่านพันท้ายนรสิงห์ ต้องพลีชีพ
ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน
หากคนทำผิดกฏ ไม่ยอมรับโทษ ก็จะเกิดเรื่องราวซ้ำซาก คนไทยทั้งหลายต้อง สร้างค่านิยม ในการยอมรับผิด ทำให้ทุกคนเคารพในกฏหมาย เกรงกลัว ซึ่งจะทำให้สังคมไทยดีขึ้น และ ทุกคนมีความสุขในที่สุด ปัญหาการ คดโกงจะหมดสิ้นไปจาก แผ่นดินไทย
รณรงค์ คนไทย หัวใจพันท้ายนรสิงห์
เพื่อให้หลักเมืองคงอยู่ ท่านพันท้ายนรสิงห์ ต้องพลีชีพ
ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน
หากคนทำผิดกฏ ไม่ยอมรับโทษ ก็จะเกิดเรื่องราวซ้ำซาก คนไทยทั้งหลายต้อง สร้างค่านิยม ในการยอมรับผิด ทำให้ทุกคนเคารพในกฏหมาย เกรงกลัว ซึ่งจะทำให้สังคมไทยดีขึ้น และ ทุกคนมีความสุขในที่สุด ปัญหาการ คดโกงจะหมดสิ้นไปจาก แผ่นดินไทย