เหมือนวันวาน...ที่ไม่อาจลืมเลือน
เรื่องสั้น อิงประวัติศาสตร์ ที่บางมุมที่คนไทยสมัยนี้ไม่เคยรู้...(เป็นคำบอกเล่าจากปู่และย่าของผูเขียน)
เสียงของเรือยนต์ดังไปทั่วคุ้งน้ำ ความเร็วของเรือที่แล่นผ่าน ทำให้น้ำกระเพื่อมขึ้นลงกระทบริมฝั่งคลองเป็น
ระลอก ๆ ทำให้เรือพาย 2 ลำที่สวนกันโดนคลื่นซัดโอนเอนไปมาตามแรงของคลื่นจนแทบจะพลิกค่ำ แต่คนขับเรือยนต์ลำนั้นก็ยังไม่ลดระดับ
ความเร็วลง ชายชรามองไปที่เรือยนต์ลำนั้น เห็นชายหลายคนอยู่บนเรือ มองดูก็รู้ว่าเป็นพวกทหารญี่ปุ่น ที่อยู่ในค่ายริมคลอง
บางกอกน้อยใกล้ ๆ แถวนี้
“มันจะเร่งรีบไปถึงไหนกัน” ชายชราที่นั่งอยู่บนเรืออีกลำที่แล่นสวนมาตะโกนไล่หลังเรือยนต์ลำนั้นไปอย่างไม่สบอารมณ์นัก
แกดึงผ้าขาวม้าที่คาดเอวขึ้นมาเช็ดละอองน้ำที่สาดกระเซ็นมาโดนทั้งใบหน้าและเนื้อตัว
“นั่นนะซี คงรีบร้อนตามหาเชลยฝรั่งที่หายไปกระมัง ถึงได้ขับเร็วขนาดนั้น” หญิงชราที่นั่งอยู่ที่เรืออีกลำหนึ่งสอดขึ้น
พลางยกแขนเสื้อขึ้นเช็ดละอองน้ำที่กระเซ็นมาถูกตัวเช่นกัน
“อีกแล้วรึ แม่สุก” ชายชราหันมาถามเสียงเรียบ ๆ มิได้มีอาการใด ๆ เพราะแกได้ยินบ่อย เรื่องเชลยฝรั่งที่ถูกญี่ปุ่นจับขังในค่าย หายตัวไป วันนี้ก็คงเช่นเคย พวกทหารญี่ปุ่นจะระดมกำลังออกตามหากันทั่วหมู่บ้าน ทุกบ้าน แต่ก็ไม่ได้ตัวกลับคืนสักที เชลยในค่ายก็ลดน้อยถอยลงไป แม้ว่าทางค่ายของญี่ปุ่นจะเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีเชลยฝรั่งใช้ความพยายามหนีออกมาจนได้
“ใช่ ยายสุกยืนยัน เฒ่าแหวงบอกข้าเมือเช้านี้” เฒ่าแหวงที่แม่สุกเอ่ยถึงคือสามีของนางเอง
“เฮ้อ ..ข้าละกลุ้มใจเหลือหลาย เมื่อไหร่สงครามพวกนี้มันจะหยุดสักที ถ้ามันหยุดได้ คนในหมู่บ้านของเราจะได้ไม่ต้องวิ่งหนีระเบิดกันหัวซุกหัวซุนอย่างทุกวันนี้ ข้าละอยู่ไม่เป็นสุขเลย” เฒ่าสุกพูดเสียยืดยาวด้วย น้ำเสียงที่ระอากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“ข้าก็ว่างั้นแหละ” ยายสุกเออออ
“แกไปไหนมาล่ะ” ตาอ่ำถาม พลางชะโงกหน้าดูสัมภาระในเรือหญิงชรา
“ข้าไปตลาดมา ไปซื้อของแห้ง แล้วก็ข้าวสารที่ร้านไอ้ตี๋ มันแบ่งให้นิดเดียวเอง มันบอกเอาไว้ขายให้พวกญี่ปุ่น ได้เงินเยอะกว่า”หญิงชราบอกพรางยกถุงข้าวสารขนาดย่อมที่ได้มาให้ตาอ่ำดู แกถอนหายใจเบา ๆ พูดพึมพำ “ให้ข้านิดเดียวแค่นี้ ที่บ้านข้ามี 3 ปาก นี่จะกินได้สักกี่วัน”
“เอาเถอะ ดีกว่าไม่มีกิน” ตาอ่ำบอก
“ว่าแต่แก กำลังจะไปไหน” คราวนี้ยายสุกเปลี่ยนเรื่องย้อนถามบ้าง
“ข้าว่าจะไปหาหลวงพ่อที่วัดหน่อย หลวงพ่อนัดญาติโยมให้ไปฟัง ไม่รู่ว่ามีเรื่องอะไร ข้าไปนะ” พูดเสร็จชายชรา
ยกไม้พายจ้วงลงน้ำ พายเรือมุ่งไปยังเบื้องหน้า ส่วนยายสุก เบนหัวเรือพายเรือเทียบริมฝั่งคลอง
ก่อนหน้านี้ หญิงชราจำได้ว่าพวกข้าวสาร อาหารแห้งต่าง ๆ หาซื้อได้ง่าย ไม่เคยขาดแคลนเลย ยิ่งรัฐบาลประกาศ
รณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ว่าเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยมีคำขวัญปลุกใจว่า "'งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ป่าวประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุก ๆวัน ยิ่งทำให้ชาวบ้านขยันขึ้นอีกเท่าตัว แต่แกก็ไม่รู้จุดหมายหรอกว่า รัฐบาลรณรงค์เรื่องนี้เพราะอะไร จวบจนเห็นทหารญี่ปุ่นจำนวนมาก และมีฝรั่ง อีกหลายร้อยคน มาตั้งค่ายอยู่ริมตลิ่งเลยหัวโค้งน้ำใกล้บ้านแกไปประมาณสัก 2 กิโลเมตร แกจึงได้เข้าใจ เพราะข้าวปลา อาหารที่ชาวบ้านหามาได้ พวกญี่ปุ่นเหมาซื้อไปหมด โดยไม่เกี่ยงราคา ชาวบ้านมีสินค้าเท่าไหร่ก็เข็นมาขายให้และมีไม่พอขายด้วยซ้ำไป พ่อค้าเริ่มกักตุนสิ่งของ อีกทั้งยัง ขึ้นราคาสินค้าเพื่อเอากำไรอีก ทำให้ชาวบ้านบริเวณแถบนี้ ต่างหน้าตั้งหน้าตั้งตาปลูกผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นสวนมะพร้าว มะนาว กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า บางหมู่บ้านไปค้าขายกันไกล ๆ และต้องออกจากบ้านกันแต่เช้ามืด ต้องห่อข้าวไปกินกันกลางทาง เอาไปขายที่ตลาดในวัด หรือตามย่านต่าง ๆ
สำหรับตัวยายสุก แกกับลูกสาว จะปลูกผักสวนครัวตามกำลังที่มีอยู่ ส่วนหนึ่งปลูกไว้กิน ส่วนหนึ่งนังนิ่มลูกสาววัย 16 ปี ก็เก็บไปขายที่ตลาด เงินที่ได้ก็เล็กน้อย จะอาศัยตาแหวงสามีก็คงจะไม่ได้เรื่องอะไร เพราะตั้งแต่ทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่ายใกล้บ้าน สามีแก่ก็ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน เมื่อถึงตอนพลบค่ำเป็นต้องลงเรือน บอกแต่ว่าต้องไปอยู่เป็นเพื่อนหลวงพ่อที่วัด สำหรับลูกชายแก ไม่ต้องพูดถึง สมัครไปเป็นทหารตั้งแต่ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าเมืองไทยแล้ว
พวกทหารญี่ปุ่นเขามาทำอะไรที่นี่ แกไม่รู้ จวบจนตาแหวงสามีแกบอกกล่าวขึ้น ว่า “พวกทหารญี่ปุ่นรบกับทหารฝรั่ง หลวงพ่อที่วัดบอกว่าทหารญี่ปุ่นขอผ่านแดนไทยเพื่อจะไปพม่า” หญิงชราจึงรู้มาเพียงแค่นี้
ชาวบ้านบริเวณนี้ จะนับถือหลวงพ่อที่วัดมาก หลวงพ่อพูดอะไร ทุกคนจะเชื่อหมด หลวงพ่อท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบริเวณนี้
วันนั้น หญิงชรายังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้แม่นยำ
พลบค่ำวันนั้น มีเครื่องบินหลายลำ บินอยู่บนท้องฟ้า ไม่นานเสียงดังตูมดังสนั่นขึ้นหลายครั้ง ชาวบ้านแถวริมคลองรวมทั้งแกด้วย ต่างตระหนกตกใจ พากันอกสั่นขวัญแขวน เป็นเสียงอะไรมันจึงดังได้ขนาดนั้น
“ระเบิดลง” เสียงชาวบ้านแถวนั้นตะโกนบอกกันอื้ออึง “ลงจากเรือนเร็ว ๆ เข้า” ชาวบ้านทั้งหลายที่ได้ยิน รวมทั้งตัวแกเอง และนังนิ่ม ลูกสาว พากันวิ่งลงเรือนแทบจะตกบันใด ฉุดกระชากลากกันหายเข้าไปในสวนหลังบ้าน กระโดดลงไปในร่องน้ำแล้วห่อตัวนั่งคดคู้ ใจเต้น ตัวสั่นงันงกด้วยความกลัว ที่เห็นขอบฟ้าสีแดงวาบ ๆ และหูได้ยินเสียงดังตูม ๆ
ทุกครั้งที่ระเบิดลง แรงของระเบิดสะเทือนแผ่นดินไปทั่วบริเวณ ภาพและเสียงที่ได้ยินนั้น มันน่ากลัวเหลือเกิน จวบจนเสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินเหล่านั้นเงียบเสียงหายไป และมีเสียงหวอดังมาจากวัดนั่นแหละ แกกับลูกสาว จึงค่อย ๆ พากันโผล่หัว ขึ้นจากท้องร่อง มองซ้าย มองขวา เห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว จึงพากันกลับไปที่เรือน เห็นตาแหวงสามีของยืนอยู่บนเรือนตรงทางขึ้นบันใด
“ตาแหวง” “พ่อ” สองแม่ลูกตะโกนขึ้นพร้อมกัน
“แกไปอยู่เสียที่ไหนมา ข้าละเป็นห่วงแทบแย่” ยายสุกถามด้วยเสียงที่ร้อนรนและเป็นห่วง
“นั่นนะซีพ่อ ข้ากับแม่เป็นห่วงพ่อเสียแทบแย่” นังนิ่ม ลูกสาวพูดขึ้นบ้าง พลางวิ่งขึ้นเรือนเข้าไปเกาะแขนผู้เป็นพ่อ
“ข้าก็อยู่แถว ๆ นี้แหละ” ตาแหวงบอกลูกสาว น้ำเสียงบ่งบอกว่าไม่ได้ตกอกตกใจกับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปเท่าใดนัก
“ปลอดภัยกันทุกคนก็ดีแล้ว รีบกินข้าวแล้วดับไฟเข้านอนแต่หัววัน” ตาแหวงบอกภรรยากับลูกสาว ส่วนตัวแกเองเตรียมขยับเท้าก้าวจะลงบันใด
“จะไปไหนอีกละ ” ยายสุกร้องถามทันที “แกไม่กลัวเหรอ ระเบิดน่ะ ”
“ไม่กลัวหรอก ข้าจะไปหาหลวงพ่อหน่อย ข้ามีเรื่องปรึกษา” พูดจบตาแหวงก้าวลงเรือนจ้ำอ้าวไปในทันที ยายสุกมองตามจนลับตา เป็นห่วงสามีอยู่ในใจลึก ๆ ระเบิดเพิ่งจะลง ยังจะไปนอกบ้านอีก มืดค่ำอย่างนี้
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ชาวบ้านต่างขนเครื่องไม้เครื่องมือก่อสร้าง เช่น จอบ เสียม ถึงน้ำ ฆ้อน ตะปู ไม้ สังกะสี ไปที่วัด
หลวงพ่อที่วัดระดมชาวบ้านทำหลุมหลบภัย ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนักจะ อยู่ในระยะที่ชาวบ้านสามารถวิ่งลงจากเรือนไปที่หลุมหลบภัยได้ทันเมื่อได้ยินเสียงเตือนดังขึ้น หลุมหลบภัยของหลวงพ่อนั้น ท่านให้ทำแบบง่าย ๆ โดยให้ขุดหลุมลึก และกว้างพอประมาณ เอาไม้ ลงไปวางเรียงกันไว้ใต้หลุม หลังคาก็ใช้ไม้พาดปากหลุมแล้วเอาสังกะสีทับไว้ ทำไว้หลายหลุม ชาวบ้านบางคนบอกหลวงพ่อว่า หากมีระเบิดทิ้งลงจริงๆแล้ว หลุมหลบภัยแบบนี้ จะคุ้มชีวิตได้หรือ แต่ทุก ๆครั้งที่ได้ยินเสียงเครื่องบินแว่วมาแต่ไกลในยามค่ำคืน ชาวบ้านก็จะวิ่งกรูกันไปที่หลุม แย่งกันลงไปนั่งเยียดเสียดในหลุมหลบภัยใต้หลังคาสังกะสีของหลวงพ่อทุกครั้งไป
บางครอบครัว ก็จะจัดทำหลุมหลบภัยขึ้นเองใกล้บ้าน ตรงท้องร่องในสวน ตามแต่จะจัดทำที่สามารถหลบภัยระเบิดได้ ซึ่งแตกต่างกันไป
ต่อมา รัฐบาลได้ติดตั้งสัญญาณเตือนภัย จะเรียกเสียงนี้ว่า "เสียงหวอ" เมื่อได้ยินเสียงเครื่องบินบินเข้ามา หน่วยระวังภัยของรัฐบาลจะส่งสัญญาณเตือนโดยการเปิดเสียงหวอก้องกังวานไปทั่วคุ้งน้ำ จะได้ยินกันทั่วทั้งบาง แล้วชาวบ้านก็พากันวิ่งลงจากเรือน ไปหลบภัยที่ท้องร่องในสวนที่ทำไว้ จะเป็นเช่นนี้ทุกครั้ง
มีหลายครัวเรือน กลัวระเบิดมาก ถึงกลับย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อื่น บอกว่าอยู่ใกล้ค่ายทหารญี่ปุ่นแล้วไม่ปลอดภัย
สงครามเกิดขึ้นล่วงเลยมาได้กว่า 3 ปีแล้ว ทหารญี่ปุ่นก็ยังปักหลักอยู่ที่เดิม ยังไม่ย้ายค่ายไปไหน สงครามก็ไม่มีทีท่าว่าจะยุติ ข้าวสารเริ่มขาดแคลน ตอนนี้แทบไม่มีให้ซื้อ เพราะทุกบ้านจะกักตุนเก็บเอาไว้กินเอง ยิ่งบ้านไหนมีสมาชิกมาก ก็ยิ่งกักตุนของกินของใช้ไว้มากเพื่อปากท้องคนในบ้าน ในยุคข้าวยากหมากแพง คนไปวัดก็น้อยลง บางมื้อหลวงพ่อต้องให้พระเณรหุงหาข้าวฉันเอง เพราะไม่มีชาวบ้านนำข้าวปลาไปถวาย
หญิงชราก้าวลงจากเรือเดินขึ้นฝั่ง บ้านของแกตั้งอยู่ริมคลอง ถึงแม้ว่าแกจะอายุมากแล้ว แต่ การใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร ไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ สำหรับตัวแกเลย
ตัวยายสุกเอง เกิดที่นี่ โตที่นี่ พายเรือเป็นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จนเป็นสาวออกเรือน มีลูกชาย ลูกสาว ไปไหน มาไหนแกก็ไป
ของแกคนเดียวได้ ไม่ต้องอาศัยลูก อาศัยผัว เพราะแกบอกว่า แกพายเรือคล่องแคล่วกว่าเป็นไหนๆ จะมีแต่เพียงว่า การยกแข้ง
ยกขาก้าวเท้าขึ้นหรือลงจากเรือ อาจเชื่องช้าลงบ้าง ก็เป็นไปตามประสาคนมีอายุขัย วัย 55 ปี
บ้านของหญิงชรา เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง คล้าย ๆ กับบ้านหลังอื่น ๆ การอาศัยอยู่ริมคลอง บ้านต้องปลูกให้ใต้ถุนสูงเข้าไว้ เผื่อน้ำท่วม เพราะไม่รู้ว่าน้ำจะท่วมสูงเท่าไหร่ ทุกปีน้ำจะท่วมไม่เท่ากัน บางปีท่วมมากจนเกือบติดพื้นบน บางปีท่วมเพียงครึ่งเสา แต่ปีนี้ยังไม่ถึงฤดูหน้าน้ำหลาก เลยยังไม่รู้ว่าจะท่วมแค่ไหน แต่ก็คงไม่น้อยไปกว่าปีก่อน ๆ
นางกำลังจะก้าวขึ้นบันใดบ้าน แต่ต้องหยุดชะงักนิดหนึ่ง เสียงไอ้แดง หมาตัวโปรดที่แกเลี้ยงไว้ ส่งเสียงเห่าเป็นระยะ ถี่และดังขึ้นเรื่อย ๆ ตรงพุ่มไม้ ใกล้กับกระท่อมเก็บของ ซึ่งไม่ห่างจากตัวบ้านเท่าใดนัก นางแปลกใจ จึงเงี่ยหูฟัง เพราะปกติหมาตัวโปรดของนางจะไม่ค่อยเห่า จะส่งเสียงร้องหงิง ๆ และวิ่งไปมาใต้ถุนบ้าน เสียงกระดิ่งดังเป็นจังหวะตามแรงวิ่ง และเป็นที่รู้กันของคนบ้านนี้ว่าไอ้แดงเริ่มหิว แล้วนางจะจัดแจงผสมข้าวและกับข้าวที่กินเหลือแต่ละมื้อคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำไปวางไว้ใกล้พุ่มไม้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไอ้แดงกินข้าวประจำ วันนี้นางก็คลุกข้าวใว้ให้แล้วก่อนไปทำธุระ แต่ทำไมมันยังส่งเสียงไม่หยุด
“ไอ้แดง หยุดเห่าได้แล้ว” หญิงชราเอ่ยห้ามปราม แต่ตรงกันข้าม ไอ้แดงกลับส่งเสียงเห่าถี่และดังขึ้นไม่มีทีท่าจะหยุด
นางตัดสินใจ ค่อย ๆ ย่องเดินตรงไปยังที่พุ่มไม้ ที่ไอ้แดงยืนเห่า เมื่อเห็นเหตุการณ์นางก็ต้องผงะ ตกใจสุดขีด เพราะ
เบื้องหน้าของแกในขณะนี้คือร่างของชายผู้หนึ่ง นอนตะแคงคดคู้ ร่างที่ผอมบางนั้น เห็นท้องกระเพื่อมขึ้นลงตามแรงลมหายใจ หลับอยู่ข้าง ๆ พุ่มใม้ใกล้กระท่อม โดยไม่มีทีท่าว่าจะตื่นสักนิด แม้ว่าเสียงเห่าของไอ้แดงจะดังสักเพียงใดก็ตาม เสื้อยืดสีเทาที่สวมเห็นแล้วสกปรกพอ ๆ กันกับกางเกงสีเดียวกันที่สวมใส่อยู่
หญิงชรา หันซ้ายแลขวา เห็นกิ่งไม้ขนาดกลางอยู่ใกล้มือ นางหยิบมันขึ้นมา รวมรวมความกล้าเดินเข้าไปใกล้ร่างที่นอนอยู่ เอาไม้เขี่ยร่างที่ไม่ไหวติงนั้น....
(จะเขียนต่อ ถ้ามีเพื่อนๆ อยากจะอ่าน)
เหมือนวันวาน...ที่ไม่อาจลืมเลือน
เรื่องสั้น อิงประวัติศาสตร์ ที่บางมุมที่คนไทยสมัยนี้ไม่เคยรู้...(เป็นคำบอกเล่าจากปู่และย่าของผูเขียน)
เสียงของเรือยนต์ดังไปทั่วคุ้งน้ำ ความเร็วของเรือที่แล่นผ่าน ทำให้น้ำกระเพื่อมขึ้นลงกระทบริมฝั่งคลองเป็น
ระลอก ๆ ทำให้เรือพาย 2 ลำที่สวนกันโดนคลื่นซัดโอนเอนไปมาตามแรงของคลื่นจนแทบจะพลิกค่ำ แต่คนขับเรือยนต์ลำนั้นก็ยังไม่ลดระดับ
ความเร็วลง ชายชรามองไปที่เรือยนต์ลำนั้น เห็นชายหลายคนอยู่บนเรือ มองดูก็รู้ว่าเป็นพวกทหารญี่ปุ่น ที่อยู่ในค่ายริมคลอง
บางกอกน้อยใกล้ ๆ แถวนี้
“มันจะเร่งรีบไปถึงไหนกัน” ชายชราที่นั่งอยู่บนเรืออีกลำที่แล่นสวนมาตะโกนไล่หลังเรือยนต์ลำนั้นไปอย่างไม่สบอารมณ์นัก
แกดึงผ้าขาวม้าที่คาดเอวขึ้นมาเช็ดละอองน้ำที่สาดกระเซ็นมาโดนทั้งใบหน้าและเนื้อตัว
“นั่นนะซี คงรีบร้อนตามหาเชลยฝรั่งที่หายไปกระมัง ถึงได้ขับเร็วขนาดนั้น” หญิงชราที่นั่งอยู่ที่เรืออีกลำหนึ่งสอดขึ้น
พลางยกแขนเสื้อขึ้นเช็ดละอองน้ำที่กระเซ็นมาถูกตัวเช่นกัน
“อีกแล้วรึ แม่สุก” ชายชราหันมาถามเสียงเรียบ ๆ มิได้มีอาการใด ๆ เพราะแกได้ยินบ่อย เรื่องเชลยฝรั่งที่ถูกญี่ปุ่นจับขังในค่าย หายตัวไป วันนี้ก็คงเช่นเคย พวกทหารญี่ปุ่นจะระดมกำลังออกตามหากันทั่วหมู่บ้าน ทุกบ้าน แต่ก็ไม่ได้ตัวกลับคืนสักที เชลยในค่ายก็ลดน้อยถอยลงไป แม้ว่าทางค่ายของญี่ปุ่นจะเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีเชลยฝรั่งใช้ความพยายามหนีออกมาจนได้
“ใช่ ยายสุกยืนยัน เฒ่าแหวงบอกข้าเมือเช้านี้” เฒ่าแหวงที่แม่สุกเอ่ยถึงคือสามีของนางเอง
“เฮ้อ ..ข้าละกลุ้มใจเหลือหลาย เมื่อไหร่สงครามพวกนี้มันจะหยุดสักที ถ้ามันหยุดได้ คนในหมู่บ้านของเราจะได้ไม่ต้องวิ่งหนีระเบิดกันหัวซุกหัวซุนอย่างทุกวันนี้ ข้าละอยู่ไม่เป็นสุขเลย” เฒ่าสุกพูดเสียยืดยาวด้วย น้ำเสียงที่ระอากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“ข้าก็ว่างั้นแหละ” ยายสุกเออออ
“แกไปไหนมาล่ะ” ตาอ่ำถาม พลางชะโงกหน้าดูสัมภาระในเรือหญิงชรา
“ข้าไปตลาดมา ไปซื้อของแห้ง แล้วก็ข้าวสารที่ร้านไอ้ตี๋ มันแบ่งให้นิดเดียวเอง มันบอกเอาไว้ขายให้พวกญี่ปุ่น ได้เงินเยอะกว่า”หญิงชราบอกพรางยกถุงข้าวสารขนาดย่อมที่ได้มาให้ตาอ่ำดู แกถอนหายใจเบา ๆ พูดพึมพำ “ให้ข้านิดเดียวแค่นี้ ที่บ้านข้ามี 3 ปาก นี่จะกินได้สักกี่วัน”
“เอาเถอะ ดีกว่าไม่มีกิน” ตาอ่ำบอก
“ว่าแต่แก กำลังจะไปไหน” คราวนี้ยายสุกเปลี่ยนเรื่องย้อนถามบ้าง
“ข้าว่าจะไปหาหลวงพ่อที่วัดหน่อย หลวงพ่อนัดญาติโยมให้ไปฟัง ไม่รู่ว่ามีเรื่องอะไร ข้าไปนะ” พูดเสร็จชายชรา
ยกไม้พายจ้วงลงน้ำ พายเรือมุ่งไปยังเบื้องหน้า ส่วนยายสุก เบนหัวเรือพายเรือเทียบริมฝั่งคลอง
ก่อนหน้านี้ หญิงชราจำได้ว่าพวกข้าวสาร อาหารแห้งต่าง ๆ หาซื้อได้ง่าย ไม่เคยขาดแคลนเลย ยิ่งรัฐบาลประกาศ
รณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ว่าเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยมีคำขวัญปลุกใจว่า "'งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ป่าวประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุก ๆวัน ยิ่งทำให้ชาวบ้านขยันขึ้นอีกเท่าตัว แต่แกก็ไม่รู้จุดหมายหรอกว่า รัฐบาลรณรงค์เรื่องนี้เพราะอะไร จวบจนเห็นทหารญี่ปุ่นจำนวนมาก และมีฝรั่ง อีกหลายร้อยคน มาตั้งค่ายอยู่ริมตลิ่งเลยหัวโค้งน้ำใกล้บ้านแกไปประมาณสัก 2 กิโลเมตร แกจึงได้เข้าใจ เพราะข้าวปลา อาหารที่ชาวบ้านหามาได้ พวกญี่ปุ่นเหมาซื้อไปหมด โดยไม่เกี่ยงราคา ชาวบ้านมีสินค้าเท่าไหร่ก็เข็นมาขายให้และมีไม่พอขายด้วยซ้ำไป พ่อค้าเริ่มกักตุนสิ่งของ อีกทั้งยัง ขึ้นราคาสินค้าเพื่อเอากำไรอีก ทำให้ชาวบ้านบริเวณแถบนี้ ต่างหน้าตั้งหน้าตั้งตาปลูกผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นสวนมะพร้าว มะนาว กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า บางหมู่บ้านไปค้าขายกันไกล ๆ และต้องออกจากบ้านกันแต่เช้ามืด ต้องห่อข้าวไปกินกันกลางทาง เอาไปขายที่ตลาดในวัด หรือตามย่านต่าง ๆ
สำหรับตัวยายสุก แกกับลูกสาว จะปลูกผักสวนครัวตามกำลังที่มีอยู่ ส่วนหนึ่งปลูกไว้กิน ส่วนหนึ่งนังนิ่มลูกสาววัย 16 ปี ก็เก็บไปขายที่ตลาด เงินที่ได้ก็เล็กน้อย จะอาศัยตาแหวงสามีก็คงจะไม่ได้เรื่องอะไร เพราะตั้งแต่ทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่ายใกล้บ้าน สามีแก่ก็ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน เมื่อถึงตอนพลบค่ำเป็นต้องลงเรือน บอกแต่ว่าต้องไปอยู่เป็นเพื่อนหลวงพ่อที่วัด สำหรับลูกชายแก ไม่ต้องพูดถึง สมัครไปเป็นทหารตั้งแต่ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าเมืองไทยแล้ว
พวกทหารญี่ปุ่นเขามาทำอะไรที่นี่ แกไม่รู้ จวบจนตาแหวงสามีแกบอกกล่าวขึ้น ว่า “พวกทหารญี่ปุ่นรบกับทหารฝรั่ง หลวงพ่อที่วัดบอกว่าทหารญี่ปุ่นขอผ่านแดนไทยเพื่อจะไปพม่า” หญิงชราจึงรู้มาเพียงแค่นี้
ชาวบ้านบริเวณนี้ จะนับถือหลวงพ่อที่วัดมาก หลวงพ่อพูดอะไร ทุกคนจะเชื่อหมด หลวงพ่อท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบริเวณนี้
วันนั้น หญิงชรายังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้แม่นยำ
พลบค่ำวันนั้น มีเครื่องบินหลายลำ บินอยู่บนท้องฟ้า ไม่นานเสียงดังตูมดังสนั่นขึ้นหลายครั้ง ชาวบ้านแถวริมคลองรวมทั้งแกด้วย ต่างตระหนกตกใจ พากันอกสั่นขวัญแขวน เป็นเสียงอะไรมันจึงดังได้ขนาดนั้น
“ระเบิดลง” เสียงชาวบ้านแถวนั้นตะโกนบอกกันอื้ออึง “ลงจากเรือนเร็ว ๆ เข้า” ชาวบ้านทั้งหลายที่ได้ยิน รวมทั้งตัวแกเอง และนังนิ่ม ลูกสาว พากันวิ่งลงเรือนแทบจะตกบันใด ฉุดกระชากลากกันหายเข้าไปในสวนหลังบ้าน กระโดดลงไปในร่องน้ำแล้วห่อตัวนั่งคดคู้ ใจเต้น ตัวสั่นงันงกด้วยความกลัว ที่เห็นขอบฟ้าสีแดงวาบ ๆ และหูได้ยินเสียงดังตูม ๆ
ทุกครั้งที่ระเบิดลง แรงของระเบิดสะเทือนแผ่นดินไปทั่วบริเวณ ภาพและเสียงที่ได้ยินนั้น มันน่ากลัวเหลือเกิน จวบจนเสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินเหล่านั้นเงียบเสียงหายไป และมีเสียงหวอดังมาจากวัดนั่นแหละ แกกับลูกสาว จึงค่อย ๆ พากันโผล่หัว ขึ้นจากท้องร่อง มองซ้าย มองขวา เห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว จึงพากันกลับไปที่เรือน เห็นตาแหวงสามีของยืนอยู่บนเรือนตรงทางขึ้นบันใด
“ตาแหวง” “พ่อ” สองแม่ลูกตะโกนขึ้นพร้อมกัน
“แกไปอยู่เสียที่ไหนมา ข้าละเป็นห่วงแทบแย่” ยายสุกถามด้วยเสียงที่ร้อนรนและเป็นห่วง
“นั่นนะซีพ่อ ข้ากับแม่เป็นห่วงพ่อเสียแทบแย่” นังนิ่ม ลูกสาวพูดขึ้นบ้าง พลางวิ่งขึ้นเรือนเข้าไปเกาะแขนผู้เป็นพ่อ
“ข้าก็อยู่แถว ๆ นี้แหละ” ตาแหวงบอกลูกสาว น้ำเสียงบ่งบอกว่าไม่ได้ตกอกตกใจกับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปเท่าใดนัก
“ปลอดภัยกันทุกคนก็ดีแล้ว รีบกินข้าวแล้วดับไฟเข้านอนแต่หัววัน” ตาแหวงบอกภรรยากับลูกสาว ส่วนตัวแกเองเตรียมขยับเท้าก้าวจะลงบันใด
“จะไปไหนอีกละ ” ยายสุกร้องถามทันที “แกไม่กลัวเหรอ ระเบิดน่ะ ”
“ไม่กลัวหรอก ข้าจะไปหาหลวงพ่อหน่อย ข้ามีเรื่องปรึกษา” พูดจบตาแหวงก้าวลงเรือนจ้ำอ้าวไปในทันที ยายสุกมองตามจนลับตา เป็นห่วงสามีอยู่ในใจลึก ๆ ระเบิดเพิ่งจะลง ยังจะไปนอกบ้านอีก มืดค่ำอย่างนี้
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ชาวบ้านต่างขนเครื่องไม้เครื่องมือก่อสร้าง เช่น จอบ เสียม ถึงน้ำ ฆ้อน ตะปู ไม้ สังกะสี ไปที่วัด
หลวงพ่อที่วัดระดมชาวบ้านทำหลุมหลบภัย ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนักจะ อยู่ในระยะที่ชาวบ้านสามารถวิ่งลงจากเรือนไปที่หลุมหลบภัยได้ทันเมื่อได้ยินเสียงเตือนดังขึ้น หลุมหลบภัยของหลวงพ่อนั้น ท่านให้ทำแบบง่าย ๆ โดยให้ขุดหลุมลึก และกว้างพอประมาณ เอาไม้ ลงไปวางเรียงกันไว้ใต้หลุม หลังคาก็ใช้ไม้พาดปากหลุมแล้วเอาสังกะสีทับไว้ ทำไว้หลายหลุม ชาวบ้านบางคนบอกหลวงพ่อว่า หากมีระเบิดทิ้งลงจริงๆแล้ว หลุมหลบภัยแบบนี้ จะคุ้มชีวิตได้หรือ แต่ทุก ๆครั้งที่ได้ยินเสียงเครื่องบินแว่วมาแต่ไกลในยามค่ำคืน ชาวบ้านก็จะวิ่งกรูกันไปที่หลุม แย่งกันลงไปนั่งเยียดเสียดในหลุมหลบภัยใต้หลังคาสังกะสีของหลวงพ่อทุกครั้งไป
บางครอบครัว ก็จะจัดทำหลุมหลบภัยขึ้นเองใกล้บ้าน ตรงท้องร่องในสวน ตามแต่จะจัดทำที่สามารถหลบภัยระเบิดได้ ซึ่งแตกต่างกันไป
ต่อมา รัฐบาลได้ติดตั้งสัญญาณเตือนภัย จะเรียกเสียงนี้ว่า "เสียงหวอ" เมื่อได้ยินเสียงเครื่องบินบินเข้ามา หน่วยระวังภัยของรัฐบาลจะส่งสัญญาณเตือนโดยการเปิดเสียงหวอก้องกังวานไปทั่วคุ้งน้ำ จะได้ยินกันทั่วทั้งบาง แล้วชาวบ้านก็พากันวิ่งลงจากเรือน ไปหลบภัยที่ท้องร่องในสวนที่ทำไว้ จะเป็นเช่นนี้ทุกครั้ง
มีหลายครัวเรือน กลัวระเบิดมาก ถึงกลับย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อื่น บอกว่าอยู่ใกล้ค่ายทหารญี่ปุ่นแล้วไม่ปลอดภัย
สงครามเกิดขึ้นล่วงเลยมาได้กว่า 3 ปีแล้ว ทหารญี่ปุ่นก็ยังปักหลักอยู่ที่เดิม ยังไม่ย้ายค่ายไปไหน สงครามก็ไม่มีทีท่าว่าจะยุติ ข้าวสารเริ่มขาดแคลน ตอนนี้แทบไม่มีให้ซื้อ เพราะทุกบ้านจะกักตุนเก็บเอาไว้กินเอง ยิ่งบ้านไหนมีสมาชิกมาก ก็ยิ่งกักตุนของกินของใช้ไว้มากเพื่อปากท้องคนในบ้าน ในยุคข้าวยากหมากแพง คนไปวัดก็น้อยลง บางมื้อหลวงพ่อต้องให้พระเณรหุงหาข้าวฉันเอง เพราะไม่มีชาวบ้านนำข้าวปลาไปถวาย
หญิงชราก้าวลงจากเรือเดินขึ้นฝั่ง บ้านของแกตั้งอยู่ริมคลอง ถึงแม้ว่าแกจะอายุมากแล้ว แต่ การใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร ไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ สำหรับตัวแกเลย
ตัวยายสุกเอง เกิดที่นี่ โตที่นี่ พายเรือเป็นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จนเป็นสาวออกเรือน มีลูกชาย ลูกสาว ไปไหน มาไหนแกก็ไป
ของแกคนเดียวได้ ไม่ต้องอาศัยลูก อาศัยผัว เพราะแกบอกว่า แกพายเรือคล่องแคล่วกว่าเป็นไหนๆ จะมีแต่เพียงว่า การยกแข้ง
ยกขาก้าวเท้าขึ้นหรือลงจากเรือ อาจเชื่องช้าลงบ้าง ก็เป็นไปตามประสาคนมีอายุขัย วัย 55 ปี
บ้านของหญิงชรา เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง คล้าย ๆ กับบ้านหลังอื่น ๆ การอาศัยอยู่ริมคลอง บ้านต้องปลูกให้ใต้ถุนสูงเข้าไว้ เผื่อน้ำท่วม เพราะไม่รู้ว่าน้ำจะท่วมสูงเท่าไหร่ ทุกปีน้ำจะท่วมไม่เท่ากัน บางปีท่วมมากจนเกือบติดพื้นบน บางปีท่วมเพียงครึ่งเสา แต่ปีนี้ยังไม่ถึงฤดูหน้าน้ำหลาก เลยยังไม่รู้ว่าจะท่วมแค่ไหน แต่ก็คงไม่น้อยไปกว่าปีก่อน ๆ
นางกำลังจะก้าวขึ้นบันใดบ้าน แต่ต้องหยุดชะงักนิดหนึ่ง เสียงไอ้แดง หมาตัวโปรดที่แกเลี้ยงไว้ ส่งเสียงเห่าเป็นระยะ ถี่และดังขึ้นเรื่อย ๆ ตรงพุ่มไม้ ใกล้กับกระท่อมเก็บของ ซึ่งไม่ห่างจากตัวบ้านเท่าใดนัก นางแปลกใจ จึงเงี่ยหูฟัง เพราะปกติหมาตัวโปรดของนางจะไม่ค่อยเห่า จะส่งเสียงร้องหงิง ๆ และวิ่งไปมาใต้ถุนบ้าน เสียงกระดิ่งดังเป็นจังหวะตามแรงวิ่ง และเป็นที่รู้กันของคนบ้านนี้ว่าไอ้แดงเริ่มหิว แล้วนางจะจัดแจงผสมข้าวและกับข้าวที่กินเหลือแต่ละมื้อคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำไปวางไว้ใกล้พุ่มไม้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไอ้แดงกินข้าวประจำ วันนี้นางก็คลุกข้าวใว้ให้แล้วก่อนไปทำธุระ แต่ทำไมมันยังส่งเสียงไม่หยุด
“ไอ้แดง หยุดเห่าได้แล้ว” หญิงชราเอ่ยห้ามปราม แต่ตรงกันข้าม ไอ้แดงกลับส่งเสียงเห่าถี่และดังขึ้นไม่มีทีท่าจะหยุด
นางตัดสินใจ ค่อย ๆ ย่องเดินตรงไปยังที่พุ่มไม้ ที่ไอ้แดงยืนเห่า เมื่อเห็นเหตุการณ์นางก็ต้องผงะ ตกใจสุดขีด เพราะ
เบื้องหน้าของแกในขณะนี้คือร่างของชายผู้หนึ่ง นอนตะแคงคดคู้ ร่างที่ผอมบางนั้น เห็นท้องกระเพื่อมขึ้นลงตามแรงลมหายใจ หลับอยู่ข้าง ๆ พุ่มใม้ใกล้กระท่อม โดยไม่มีทีท่าว่าจะตื่นสักนิด แม้ว่าเสียงเห่าของไอ้แดงจะดังสักเพียงใดก็ตาม เสื้อยืดสีเทาที่สวมเห็นแล้วสกปรกพอ ๆ กันกับกางเกงสีเดียวกันที่สวมใส่อยู่
หญิงชรา หันซ้ายแลขวา เห็นกิ่งไม้ขนาดกลางอยู่ใกล้มือ นางหยิบมันขึ้นมา รวมรวมความกล้าเดินเข้าไปใกล้ร่างที่นอนอยู่ เอาไม้เขี่ยร่างที่ไม่ไหวติงนั้น....
(จะเขียนต่อ ถ้ามีเพื่อนๆ อยากจะอ่าน)