ฐานสูตร

[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เหตุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
มีเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม
มีเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๑
มีเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ  และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม
มีเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ  และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๑



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเหตุ ๔ ประการนั้น
เหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้มนี้
บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำ โดยส่วนทั้งสองทีเดียว
คือ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำแม้โดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ
ย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำแม้โดยเหตุที่เมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
พึงทราบคนพาลและบัณฑิตได้ ในเพราะกำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ

คนพาล ย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้า
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขาไม่กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม

ส่วน บัณฑิต ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า
เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้ เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้
เขาย่อมกระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขากระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม
พึงทราบคนพาลและบัณฑิต ในเพราะกำลังของบุรุษในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ

คนพาล ย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม ดังนี้
เขาย่อมกระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขากระทำอยู่ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม
ส่วนบัณฑิตย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า
เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความยิ้ม ดังนี้
เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขาไม่กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง ๒ ทีเดียว
คือ ย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และโดยเหตุที่เมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เหตุนี้ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง ๒ ทีเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เหตุ ๔ ประการนี้แล ฯ

----------------

ฐานสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๓๒๕๐ - ๓๒๘๔.  หน้าที่  ๑๓๙ - ๑๔๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=3250&Z=3284&pagebreak=1
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=115
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่