โดย : สาวิตรี รินวงษ์ : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หญิงแกร่งวาทะเยินยอ'สุชาดา อิทธิจารุกุล'จากปากเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แม่ทัพหญิงจึงถูกจับตาศิลปะแปลงกลยุทธ์หมากล้อมแมคโครบุก11ประเทศเอเชีย
จังหวะปะเหมาะ เมื่อการแถลงข่าวครบรอบ 25 ปี “แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ” ในเช้าวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา วันแรกที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ "กฎอัยการศึก” และไม่รู้เพราะเหตุการณ์นี้หรือไม่ จึงทำให้แม่ทัพหญิงแห่งวงการค้าปลีก อย่าง “สุชาดา อิทธิจารุกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ตอบคำถามสื่อแบบสงวนถ้อยคำจนจบการสนทนา
เริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนที่มาที่ไปของกิจกรรมดังกล่าวที่แม็คโครได้ทำต่อเนื่องเกือบ 20 ปี ว่า เป็นความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และได้ช่วยเหลือคู่ค้า ร้านค้ารายเล็กรายย่อย สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรในการพัฒนาผู้ประกอบการให้ยืนหยัดอย่างยั่งยืน ก่อนจะเล่าต่อว่า...
“ปี 2532 พี่เป็นคนขายสินค้าให้แม็คโคร ตอนนั้นอยู่บริษัท อินช์เคป (ประเทศไทย) ขายปากกาเชฟเฟอร์” เธอเล่าถึงความสัมพันธ์กับแม็คโคร ตั้งแต่ค้าปลีกต่างชาติรายนี้เข้ามาบุกเบิกในไทยในปี 2531
กระทั่งปี 2538 เธอมีโอกาสร่วมงานกับแม็คโคร ไต่เต้าจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน พิสูจน์ฝีมือจนได้เป็นแม่ทัพหญิงแห่งวงการค้าปลีกอีกคน
ระยะเวลา 19 ปี ผลงานของสุชาดา การันตีด้วยคำชมจากเจ้าของเดิมที่เป็นทุนสัญชาติดัชต์ “เนเธอแลนด์” บริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เพราะทำยอดขายเติบโตทะลุทะลวง ครั้นเปลี่ยนถ่ายเจ้าของ มาอยู่ใต้อาณาจักรเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) ในนามบมจ.ซีพีออลล์ เธอยังรั้งตำแหน่งผู้นำธุรกิจค้าปลีกประเภทค้าขายเงินสด (Cash&Carry) แห่งนี้ไว้เหนียวแน่น แถมยังได้รับการยกย่องจากเจ้าสัวธนินท์ว่าเป็นหญิงแกร่ง
“ต้องขอบคุณ (เจ้าสัวธนินท์) ที่ให้เกียรติขนาดนั้น” เพราะตลอดระยะเวลาของการขับเคลื่อนธุรกิจ เธอและพนักงานทุกคนทำงานชนิดที่เรียกว่าไม่นึกถึงตัวเอง
“พวกพี่ทำงานกันแบบถวายหัวเลยนะ !” เธอบอกก่อนขยายความว่า แม้จะทำงานหนักกันมาก แต่ทุกการปฏิบัติล้วนเต็มเปี่ยมด้วยความสุข และแฮปปี้กับทีมงาน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พนักงานผูกพันกับแม็คโคร มาก ไม่ค่อยโยกย้ายเปลี่ยนงาน
บริหารธุรกิจมายาวนาน ถามว่ามีอะไรที่บรรลุผลสำเร็จ (achieve) หรือพลาดหวังบ้าง เธอพูดชัดว่า ตามวิสัยทัศน์ของแม็คโครตั้งแต่ต้น ถือว่าประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ แต่ก็ยังมีสิ่งที่อยากทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จากแม็คโครธุรกิจค้าปลีกที่ซื้อมาค้าไปเป็นเงินสด สร้างยอดขายปีแรก 600 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2556 ยอดขายทะลุ 1.29 แสนล้านบาทไปแล้ว
สเต็ปต่อไปของแม็คโคร คือการขยายสาขาในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งแม็คโคร ฟูดเซอร์วิส รองรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มโฮเรก้า (โรงแรม ภัตตาคารร้านอาหารและบริการจัดเลี้ยง) ที่ “เติบโตสูง” ทุกปีราว 20% เทียบฐานลูกค้าร้านโชห่วยที่เติบโต 7% นอกจากนี้ปัจจุบันแม็คโคร ฟูดเซอร์วิสยังมีสาขาน้อย 4-5 แห่งเท่านั้น จึงยังมีโอกาสเพิ่ม รวมถึงการขยายร้านสยามโฟรเซ่นมากขึ้นในอนาคต
ทว่า...ก้าวสำคัญหนีไม่พ้นการออกไปเปิดสาขาในต่างประเทศ เพราะจากวิสัยทัศน์ของซีพี เจ้าของใหม่ลั่นวาจาชัดว่า...
จะอาศัยไลเซ่นส์แม็คโครทะลวง 11 ประเทศในเอเชีย
“ไม่รู้เขาจะให้พี่ทำหรือเปล่า ? ” เธอเปรยถึงการไปต่างแดนของแม็คโคร โดยเบื้องต้นได้ศึกษาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพา ลาว พม่าและเวียดนาม) ไว้บ้างแล้ว แต่ออกปากว่า “การเปิดสาขาในต่างประเทศอาจจะไม่เร็วนัก เพราะที่ดินราคาแพง อย่างพม่าราคาที่ดินแพงกว่าไทย 4 เท่าตัว” เธอแจกแจงและว่ายังต้องศึกษาความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอีกมาก รวมทั้งเคาะโมเดลค้าปลีกที่จะไปให้ชัด
วันนี้ชิมลางด้วยการส่งสินค้าแบรนด์ aro ซึ่งเป็นแบรนด์ของแม็คโคร (Own brand) ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด แห้ง (Grocery) ไปยังประเทศพม่าหมาดๆ
ทว่า...การบุกค้าปลีกนอกบ้านของแม็คโครยังมีแต้มต่อ จากรากฐานธุรกิจเกษตร ปศุสัตว์ของเครือซีพี
“การที่ซีพีมีธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านมากมาย นั่นคือสิ่งที่ดีทำให้แม็คโคร เรียนรู้ตลาดได้ง่ายขึ้น แต่คงไม่รู้ทั้งหมด เพราะเขาก็ไม่ได้ขายแชมพู ผงซักฟอก”
กว่า 1 ปีใต้ปีกซีพี การผนึกกำลัง(Synergy)กับซีพี ออลล์ เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นทั้งการร่วมกันซื้อสินค้าและวัตถุดิบจากผู้ผลิต(ซัพพลายเออร์)บางราย แม้จะยังไม่เกิดผลประโยชน์ร่วมกันมากนัก แต่ระยะยาวจะเกิดประโยชน์มหาศาล เธอว่า
“เราจะได้ประโยชน์ระยะยาวในการจัดซื้อร่วมกัน แต่ตอนนี้ยังน้อยเพราะแม็คโครมีสินค้านับหมื่นรายการ แต่ซีพีออลล์มีสินค้าเล็กน้อย และส่วนใหญ่เป็นอาหารพร้อมรับประทาน (RTE: ready to eat)”
แต่สิ่งที่จะก่อเกิดพลังมหาศาลนั้นมาจาก “คน” ซึ่งวันนี้ทั้ง 2 บริษัทร่วมกันปั้นบุคลากรด้านค้าปลีกผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในเครือซีพี ป้อนเซเว่นอีเลฟเว่นและแม็คโคร โดยแบ่ง 50% เรียนในห้อง และอีก 50% ทำงานสัมผัสประสบการณ์จริง
“เมื่อขยายสาขา เราจำเป็นต้องมีคนเพิ่ม” เพราะเมื่อพิจารณาปัจจุบันทั้ง 2 บริษัท ยอดขายรวมกันทะลุ 4 แสนล้านบาท มีพนักงานกว่า 1.3 แสนคน (ซีพีออลล์กว่า 1.2 แสนคน และแม็คโครกว่า 1.3 หมื่นคน)
เกือบ 2 ทศวรรษที่สุชาดา เข้ามาคุมทัพค้าปลีกแม็คโคร เธอยังสร้างการเติบโตยอดขายมากถึง 2.5 หมื่นล้านบาท เมื่อต้องรับบทหนักบริหารค้าปลีกเกมรุกตามวิสัยทัศน์ของนายใหม่ คงต้องมาดูว่าเธอจะพิสูจน์ฝีมือสมกับที่ได้รับคำยกย่องจากของเจ้าสัวธนินท์ได้หรือไม่ ต้องจับตา...
'สุชาดา อิทธิจารุกุล'ทำงานถวายหัว เคลื่อนทัพแม็คโครสู่เอเซีย
หญิงแกร่งวาทะเยินยอ'สุชาดา อิทธิจารุกุล'จากปากเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แม่ทัพหญิงจึงถูกจับตาศิลปะแปลงกลยุทธ์หมากล้อมแมคโครบุก11ประเทศเอเชีย
จังหวะปะเหมาะ เมื่อการแถลงข่าวครบรอบ 25 ปี “แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ” ในเช้าวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา วันแรกที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ "กฎอัยการศึก” และไม่รู้เพราะเหตุการณ์นี้หรือไม่ จึงทำให้แม่ทัพหญิงแห่งวงการค้าปลีก อย่าง “สุชาดา อิทธิจารุกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ตอบคำถามสื่อแบบสงวนถ้อยคำจนจบการสนทนา
เริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนที่มาที่ไปของกิจกรรมดังกล่าวที่แม็คโครได้ทำต่อเนื่องเกือบ 20 ปี ว่า เป็นความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และได้ช่วยเหลือคู่ค้า ร้านค้ารายเล็กรายย่อย สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรในการพัฒนาผู้ประกอบการให้ยืนหยัดอย่างยั่งยืน ก่อนจะเล่าต่อว่า...
“ปี 2532 พี่เป็นคนขายสินค้าให้แม็คโคร ตอนนั้นอยู่บริษัท อินช์เคป (ประเทศไทย) ขายปากกาเชฟเฟอร์” เธอเล่าถึงความสัมพันธ์กับแม็คโคร ตั้งแต่ค้าปลีกต่างชาติรายนี้เข้ามาบุกเบิกในไทยในปี 2531
กระทั่งปี 2538 เธอมีโอกาสร่วมงานกับแม็คโคร ไต่เต้าจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน พิสูจน์ฝีมือจนได้เป็นแม่ทัพหญิงแห่งวงการค้าปลีกอีกคน
ระยะเวลา 19 ปี ผลงานของสุชาดา การันตีด้วยคำชมจากเจ้าของเดิมที่เป็นทุนสัญชาติดัชต์ “เนเธอแลนด์” บริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เพราะทำยอดขายเติบโตทะลุทะลวง ครั้นเปลี่ยนถ่ายเจ้าของ มาอยู่ใต้อาณาจักรเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) ในนามบมจ.ซีพีออลล์ เธอยังรั้งตำแหน่งผู้นำธุรกิจค้าปลีกประเภทค้าขายเงินสด (Cash&Carry) แห่งนี้ไว้เหนียวแน่น แถมยังได้รับการยกย่องจากเจ้าสัวธนินท์ว่าเป็นหญิงแกร่ง
“ต้องขอบคุณ (เจ้าสัวธนินท์) ที่ให้เกียรติขนาดนั้น” เพราะตลอดระยะเวลาของการขับเคลื่อนธุรกิจ เธอและพนักงานทุกคนทำงานชนิดที่เรียกว่าไม่นึกถึงตัวเอง
“พวกพี่ทำงานกันแบบถวายหัวเลยนะ !” เธอบอกก่อนขยายความว่า แม้จะทำงานหนักกันมาก แต่ทุกการปฏิบัติล้วนเต็มเปี่ยมด้วยความสุข และแฮปปี้กับทีมงาน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พนักงานผูกพันกับแม็คโคร มาก ไม่ค่อยโยกย้ายเปลี่ยนงาน
บริหารธุรกิจมายาวนาน ถามว่ามีอะไรที่บรรลุผลสำเร็จ (achieve) หรือพลาดหวังบ้าง เธอพูดชัดว่า ตามวิสัยทัศน์ของแม็คโครตั้งแต่ต้น ถือว่าประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ แต่ก็ยังมีสิ่งที่อยากทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จากแม็คโครธุรกิจค้าปลีกที่ซื้อมาค้าไปเป็นเงินสด สร้างยอดขายปีแรก 600 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2556 ยอดขายทะลุ 1.29 แสนล้านบาทไปแล้ว
สเต็ปต่อไปของแม็คโคร คือการขยายสาขาในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งแม็คโคร ฟูดเซอร์วิส รองรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มโฮเรก้า (โรงแรม ภัตตาคารร้านอาหารและบริการจัดเลี้ยง) ที่ “เติบโตสูง” ทุกปีราว 20% เทียบฐานลูกค้าร้านโชห่วยที่เติบโต 7% นอกจากนี้ปัจจุบันแม็คโคร ฟูดเซอร์วิสยังมีสาขาน้อย 4-5 แห่งเท่านั้น จึงยังมีโอกาสเพิ่ม รวมถึงการขยายร้านสยามโฟรเซ่นมากขึ้นในอนาคต
ทว่า...ก้าวสำคัญหนีไม่พ้นการออกไปเปิดสาขาในต่างประเทศ เพราะจากวิสัยทัศน์ของซีพี เจ้าของใหม่ลั่นวาจาชัดว่า...
จะอาศัยไลเซ่นส์แม็คโครทะลวง 11 ประเทศในเอเชีย
“ไม่รู้เขาจะให้พี่ทำหรือเปล่า ? ” เธอเปรยถึงการไปต่างแดนของแม็คโคร โดยเบื้องต้นได้ศึกษาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพา ลาว พม่าและเวียดนาม) ไว้บ้างแล้ว แต่ออกปากว่า “การเปิดสาขาในต่างประเทศอาจจะไม่เร็วนัก เพราะที่ดินราคาแพง อย่างพม่าราคาที่ดินแพงกว่าไทย 4 เท่าตัว” เธอแจกแจงและว่ายังต้องศึกษาความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอีกมาก รวมทั้งเคาะโมเดลค้าปลีกที่จะไปให้ชัด
วันนี้ชิมลางด้วยการส่งสินค้าแบรนด์ aro ซึ่งเป็นแบรนด์ของแม็คโคร (Own brand) ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด แห้ง (Grocery) ไปยังประเทศพม่าหมาดๆ
ทว่า...การบุกค้าปลีกนอกบ้านของแม็คโครยังมีแต้มต่อ จากรากฐานธุรกิจเกษตร ปศุสัตว์ของเครือซีพี
“การที่ซีพีมีธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านมากมาย นั่นคือสิ่งที่ดีทำให้แม็คโคร เรียนรู้ตลาดได้ง่ายขึ้น แต่คงไม่รู้ทั้งหมด เพราะเขาก็ไม่ได้ขายแชมพู ผงซักฟอก”
กว่า 1 ปีใต้ปีกซีพี การผนึกกำลัง(Synergy)กับซีพี ออลล์ เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นทั้งการร่วมกันซื้อสินค้าและวัตถุดิบจากผู้ผลิต(ซัพพลายเออร์)บางราย แม้จะยังไม่เกิดผลประโยชน์ร่วมกันมากนัก แต่ระยะยาวจะเกิดประโยชน์มหาศาล เธอว่า
“เราจะได้ประโยชน์ระยะยาวในการจัดซื้อร่วมกัน แต่ตอนนี้ยังน้อยเพราะแม็คโครมีสินค้านับหมื่นรายการ แต่ซีพีออลล์มีสินค้าเล็กน้อย และส่วนใหญ่เป็นอาหารพร้อมรับประทาน (RTE: ready to eat)”
แต่สิ่งที่จะก่อเกิดพลังมหาศาลนั้นมาจาก “คน” ซึ่งวันนี้ทั้ง 2 บริษัทร่วมกันปั้นบุคลากรด้านค้าปลีกผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในเครือซีพี ป้อนเซเว่นอีเลฟเว่นและแม็คโคร โดยแบ่ง 50% เรียนในห้อง และอีก 50% ทำงานสัมผัสประสบการณ์จริง
“เมื่อขยายสาขา เราจำเป็นต้องมีคนเพิ่ม” เพราะเมื่อพิจารณาปัจจุบันทั้ง 2 บริษัท ยอดขายรวมกันทะลุ 4 แสนล้านบาท มีพนักงานกว่า 1.3 แสนคน (ซีพีออลล์กว่า 1.2 แสนคน และแม็คโครกว่า 1.3 หมื่นคน)
เกือบ 2 ทศวรรษที่สุชาดา เข้ามาคุมทัพค้าปลีกแม็คโคร เธอยังสร้างการเติบโตยอดขายมากถึง 2.5 หมื่นล้านบาท เมื่อต้องรับบทหนักบริหารค้าปลีกเกมรุกตามวิสัยทัศน์ของนายใหม่ คงต้องมาดูว่าเธอจะพิสูจน์ฝีมือสมกับที่ได้รับคำยกย่องจากของเจ้าสัวธนินท์ได้หรือไม่ ต้องจับตา...