สวัสดีครับ
ผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข
ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก
คนโบราณมีความเชื่อว่าต้นลั่นทมนั้นไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ
ลั่นทมในสมัยก่อนปลูกเฉพาะที่วัด และตามวังเจ้านายต่าง ๆ ไม่นิยมปลูกตามบ้านเรือนเพราะเชื่อว่าไม่เป็นมงคลของบ้าน
อันเนื่องมาจากชื่อลั่นทม ( เพราะไม่ได้ศึกษาคำแปลกัน) และเนื่องจากทุกส่วนของต้นสั่นทมจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ
โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric Acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
และต้นลั่นทมนี้กิ่งยังเปราะและหักง่ายอีกด้วย จึงไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่เท่าไหร่นัก
ลั่นทม (Plumeria) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ปีย์ ชาร์ล พลูมมิเยร์(ค.ศ.1646 -1706)
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ให้แสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆในเขตร้อน เขาได้เดินทางไปยังหมู่เกาะแคริเบียนถึง 3 ครั้ง
ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ จึงได้นำกลับมาที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17
ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ฟรังกีปานี (frangipani) ซึ่งมีสมมุติฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า
ฟรองจีปานเญ (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า กลิ่นหอม (fragrance)
ต้นลั่นทมพบอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ 17
โดยเข้ามาทางอาณาจักรขอม ในยุคสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1650 – 1700) ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ทรงสร้างพระนครวัด
ในครั้งนั้นเจ้าฟ้างุ้ม พระโอรสแห่งเมืองลาวได้ไปพำนักที่อาณาจักรขอมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาได้เป็นมหาดเล็กในราชสำนัก
เมื่อเจริญขันษาขึ้นจึงเดินทางจากอาณาจักรขอม มีบันทึกว่าได้เข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองลาว
สันนิษฐานว่าเจ้าฟ้างุ้มน่าจะนำต้นไม้ชนิดกลับไปยังประเทศลาวด้วย เพราะจากบันทึกของประเทศลาว
ได้กล่าวถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า จำปา (ชื่อเรียกต้นลั่นทมในภาษาลาว)
นอกจากนี้ประเทศลาวเอง ยังมีเมืองสำคัญแห่งหนึ่งชื่อ จำปาสัก ซึ่งหมายถึงต้นลั่นทม นั่นเอง
แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงนี้
แต่เป็นที่น่าคิดว่า สมัยสุโขทัยที่มีการยึดอำนาจอาณาจักรขอมน่าจะนำเอาต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาบ้าง(หรือไม่)
ปีย์ ชาร์ลส์ พลูมิเยร์ เดินทางไปแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีสเพื่อคันหาพืชพันธุ์ใหม่ๆ ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
และพบพันธุ์ไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่งซึ่งนิยมปลูกตามสุสาน ดอกมีกลิ่นหอม ต้นไม้ที่ว่านั้นคือลั่นทม
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชแห่งราชอาณาจักรสยาม มีการเจริญสันพันธ์ไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
ในคณะทูตานุทูตฝรั่งเศสชุดที่2 ได้เขียนเล่าเรื่องราวของกรุงสยามเป็นภาษาฝรั่งเศสและบันทึกถึงชื่อต้นไม้ ที่ชื่อลั่นทม
แต่เนื่องจากพื้นที่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูน้ำหลากมักเกิดน้ำท่วมขัง จีงยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ราวปี พ.ศ.2260 กรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อทำการค้ากับประเทศสเปน
ในช่วงนี้มีการนำเอาต้นลั่นทมเข้ามามากที่สุดจากฟิลิปปินส์ โดยทหารสเปนที่เข้ามายึดฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคม
นำลั่นทมจากประเทศแถบละตินอเมริกาเข้ามายังภูมิภาคนี้
ขอบคุณภาพจาก โอเคเนชั่น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังที่จังหวัดเพชรบุรี ชื่อพระนครคีรี หรือเขาวัง
โดยนำเอาลั่นทมสีขาว (Plumeria obtuse L.) มาปลูกเรียงรายขึ้นไป แลเห็นเป็นเสมือนภูเขาลั่นทม
ขอบคุณภาพ ไปด้วยกัน ดอท คอม
เช่นเดียวกันกับพระราชฐานฤดูร้อนที่เกาะสีชัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น
พระราชทานนามว่า “จุฑาธุชราชฐาน” ครั้งนั้นมีการปลูกต้นลั่นทมเป็นจำนวนมากที่เกาะสีชังจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเกาะนี้ในเวลาต่อมา
ส่วนลั่นทมชนิดดอกแดง (Plumeria ruba L.) นั้น พระยาอัชราชทรงสิริเป็นผู้นำมาจากปีนัง และนำมาปลูกที่จังหวัดภูเก็ต
คราวพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสปีนัง (พ.ศ. 2467) ตั้งแต่นั้นมาจึงเริ่มเห็นดอกลั่นทมสีต่างๆ มากขึ้น
ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียมีการเรียกชื่อพื้นเมืองของลั่นทมแตกต่างกันไป
เขมร เรียกว่า จำไป และ จำปาซอ
มาเลเซีย เรียกว่า กำโพชา จำปากะ
อินโดนีเซีย เรียกว่า กำโพชา
อินเดีย เรียกว่า พหูล แคร์จำปา ซอนจำปา จินจำปา
พม่า เรียกว่า ต่ายกสะกา
เมืองไทยเรียกดอกลั่นทมแตกต่างกันตามพื้นที่ดังนี้
ภาคเหนือ เรียก จำปาลาว
ภาคอีสาน เรียก จำปาขาว
ภาคใต้ เรียก จำปาขอม
ภาคกลาง เรียก ลั่นทม
ส่วนความหมายของชื่อมีแตกต่างกันไปดังนี้
ลั่นทม แปลว่า ดอกไม้ใหญ่ ลั่น แปลว่าใหญ่ หรือดัง ทม แปลว่าดอกไม้
ลั่นทม แปลว่า ละทิ้งจากความโศกเศร้า ลั่นแปลว่าทิ้ง ทม แปลว่าระทม
ลั่นทม แปลว่า รักอันยิ่งใหญ่ เพี้ยนมาจากคำว่า สรัลทม (ภาษาเขมร)
บ้างก็ว่า ลั่นทม เพี้ยนมาจากคำว่าลานธม ในอดีตของชาวขอมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นครธม
ชาวขอมจะไปยังลานหินแล้วนำเอาดอกไม้ชนิดนี้ไปวางที่ “ลานธม” จีงเพี้ยนกลายเป็นลั่นทม
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.yensaby.com
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดีย และกูเกิล
ลั่นทม
ผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข
ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก
คนโบราณมีความเชื่อว่าต้นลั่นทมนั้นไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ
ลั่นทมในสมัยก่อนปลูกเฉพาะที่วัด และตามวังเจ้านายต่าง ๆ ไม่นิยมปลูกตามบ้านเรือนเพราะเชื่อว่าไม่เป็นมงคลของบ้าน
อันเนื่องมาจากชื่อลั่นทม ( เพราะไม่ได้ศึกษาคำแปลกัน) และเนื่องจากทุกส่วนของต้นสั่นทมจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ
โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric Acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
และต้นลั่นทมนี้กิ่งยังเปราะและหักง่ายอีกด้วย จึงไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่เท่าไหร่นัก
ลั่นทม (Plumeria) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ปีย์ ชาร์ล พลูมมิเยร์(ค.ศ.1646 -1706)
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ให้แสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆในเขตร้อน เขาได้เดินทางไปยังหมู่เกาะแคริเบียนถึง 3 ครั้ง
ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ จึงได้นำกลับมาที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17
ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ฟรังกีปานี (frangipani) ซึ่งมีสมมุติฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า
ฟรองจีปานเญ (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า กลิ่นหอม (fragrance)
ต้นลั่นทมพบอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ 17
โดยเข้ามาทางอาณาจักรขอม ในยุคสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1650 – 1700) ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ทรงสร้างพระนครวัด
ในครั้งนั้นเจ้าฟ้างุ้ม พระโอรสแห่งเมืองลาวได้ไปพำนักที่อาณาจักรขอมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาได้เป็นมหาดเล็กในราชสำนัก
เมื่อเจริญขันษาขึ้นจึงเดินทางจากอาณาจักรขอม มีบันทึกว่าได้เข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองลาว
สันนิษฐานว่าเจ้าฟ้างุ้มน่าจะนำต้นไม้ชนิดกลับไปยังประเทศลาวด้วย เพราะจากบันทึกของประเทศลาว
ได้กล่าวถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า จำปา (ชื่อเรียกต้นลั่นทมในภาษาลาว)
นอกจากนี้ประเทศลาวเอง ยังมีเมืองสำคัญแห่งหนึ่งชื่อ จำปาสัก ซึ่งหมายถึงต้นลั่นทม นั่นเอง
แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงนี้
แต่เป็นที่น่าคิดว่า สมัยสุโขทัยที่มีการยึดอำนาจอาณาจักรขอมน่าจะนำเอาต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาบ้าง(หรือไม่)
ปีย์ ชาร์ลส์ พลูมิเยร์ เดินทางไปแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีสเพื่อคันหาพืชพันธุ์ใหม่ๆ ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
และพบพันธุ์ไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่งซึ่งนิยมปลูกตามสุสาน ดอกมีกลิ่นหอม ต้นไม้ที่ว่านั้นคือลั่นทม
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชแห่งราชอาณาจักรสยาม มีการเจริญสันพันธ์ไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส
ในคณะทูตานุทูตฝรั่งเศสชุดที่2 ได้เขียนเล่าเรื่องราวของกรุงสยามเป็นภาษาฝรั่งเศสและบันทึกถึงชื่อต้นไม้ ที่ชื่อลั่นทม
แต่เนื่องจากพื้นที่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูน้ำหลากมักเกิดน้ำท่วมขัง จีงยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ราวปี พ.ศ.2260 กรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อทำการค้ากับประเทศสเปน
ในช่วงนี้มีการนำเอาต้นลั่นทมเข้ามามากที่สุดจากฟิลิปปินส์ โดยทหารสเปนที่เข้ามายึดฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคม
นำลั่นทมจากประเทศแถบละตินอเมริกาเข้ามายังภูมิภาคนี้
ขอบคุณภาพจาก โอเคเนชั่น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังที่จังหวัดเพชรบุรี ชื่อพระนครคีรี หรือเขาวัง
โดยนำเอาลั่นทมสีขาว (Plumeria obtuse L.) มาปลูกเรียงรายขึ้นไป แลเห็นเป็นเสมือนภูเขาลั่นทม
ขอบคุณภาพ ไปด้วยกัน ดอท คอม
เช่นเดียวกันกับพระราชฐานฤดูร้อนที่เกาะสีชัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น
พระราชทานนามว่า “จุฑาธุชราชฐาน” ครั้งนั้นมีการปลูกต้นลั่นทมเป็นจำนวนมากที่เกาะสีชังจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเกาะนี้ในเวลาต่อมา
ส่วนลั่นทมชนิดดอกแดง (Plumeria ruba L.) นั้น พระยาอัชราชทรงสิริเป็นผู้นำมาจากปีนัง และนำมาปลูกที่จังหวัดภูเก็ต
คราวพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสปีนัง (พ.ศ. 2467) ตั้งแต่นั้นมาจึงเริ่มเห็นดอกลั่นทมสีต่างๆ มากขึ้น
ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียมีการเรียกชื่อพื้นเมืองของลั่นทมแตกต่างกันไป
เขมร เรียกว่า จำไป และ จำปาซอ
มาเลเซีย เรียกว่า กำโพชา จำปากะ
อินโดนีเซีย เรียกว่า กำโพชา
อินเดีย เรียกว่า พหูล แคร์จำปา ซอนจำปา จินจำปา
พม่า เรียกว่า ต่ายกสะกา
เมืองไทยเรียกดอกลั่นทมแตกต่างกันตามพื้นที่ดังนี้
ภาคเหนือ เรียก จำปาลาว
ภาคอีสาน เรียก จำปาขาว
ภาคใต้ เรียก จำปาขอม
ภาคกลาง เรียก ลั่นทม
ส่วนความหมายของชื่อมีแตกต่างกันไปดังนี้
ลั่นทม แปลว่า ดอกไม้ใหญ่ ลั่น แปลว่าใหญ่ หรือดัง ทม แปลว่าดอกไม้
ลั่นทม แปลว่า ละทิ้งจากความโศกเศร้า ลั่นแปลว่าทิ้ง ทม แปลว่าระทม
ลั่นทม แปลว่า รักอันยิ่งใหญ่ เพี้ยนมาจากคำว่า สรัลทม (ภาษาเขมร)
บ้างก็ว่า ลั่นทม เพี้ยนมาจากคำว่าลานธม ในอดีตของชาวขอมบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นครธม
ชาวขอมจะไปยังลานหินแล้วนำเอาดอกไม้ชนิดนี้ไปวางที่ “ลานธม” จีงเพี้ยนกลายเป็นลั่นทม
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.yensaby.com
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก วิกิพีเดีย และกูเกิล